25 พ.ย. 64 พร้อมเปิดชายแดนเมียนมา-จีน (Kyinsankyawt)

วันที่ 22 พฤศจิกายน การค้าผ่านแดนจะเริ่มทดสอบโดยเริ่มตั้งแต่เวลา 13.00 น. ในช่วงบ่ายเป็นเวลาสามวัน หากการทดสอบเสร็จสิ้นลงแล้ว จะกลับมาเปิดดำเนินการในวันที่ 25 พ.ย. ตามที่กำหนดไว้ ซึ่งรถบรรทุกสินค้าประมาณ 10,000 คันซึ่งถูกจัดเก็บในคลังสินค้าในด่านมูเซ 105 ไมล์ จะถูกวิ่งเพื่อทำการทดสอบก่อนก่อน ตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค. 2564 จีนได้ปิดชายแดน (Kyinsankyawt, Wamting) หลังแพร่ระบาดของ COVID-19 ในเมียนมา ส่งผลให้คนงานราว 400,000-600,000 คนต้องตกงาน นอกจากนี้ ผู้ค้าจากด่านชายแดนมูเซยังสูญเสียรายได้จากการปิดด่านในครั้งนี้ โดยเมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ได้แก่ ข้าว ถั่วและข้าวโพด และผลิตภัณฑ์ประมง เช่น ปู กุ้ง เป็นต้น นอกจากนี้ การส่งออกก๊าซธรรมชาติของเมียนมาไปยังจีนยังดำเนินการผ่านพรมแดนมูเซ-รุ่ยลีอีกด้วย ส่วนการนำเข้าจะเป็น วัตถุดิบ CMP เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-china-kyinsankyawt-border-post-to-resume-operations-on-25-nov/#article-title

5 พ.ย. 64 ส่งออกสินค้าเกษตรเมียนมา ลดลง 315 04 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ ณ วันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรของเมียนมาอยู่ที่ 315.04 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของงบประมาณย่อย (ต.ค. 2564 ถึงมีนาคม 2565) ลดลง 28.49 04 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2563-2564 ที่ 343.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากคู่ค้าหลักอย่างจีนปิดปิดชายแดนจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในภาคการส่งออก อุตสาหกรรมการเกษตรคิดเป็น 37% ของการส่งออกโดยรวม สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ข้าวและข้าวหัก ถั่วและข้าวโพด ผลไม้และผัก งา ใบชาแห้ง น้ำตาล และอื่นๆ โดยตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ จีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกา ปัจจุบันเมียนมาพยายามวางแผนการส่งออกเนื่องจากปัจจุบันตลาดโลกมีความผันผวน การค้าแบบ G to G จึงเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยสร้างตลาดที่แข็งแกร่งสำหรับเกษตรกร ซึ่งกระทรวงพาณิชย์กำลังช่วยเหลือเกษตรกรในด้านต่างๆ เช่น ต้นทุนการผลิตที่สูง การจัดหาเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ ต้นทุนการเพาะปลูก และสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน ปัจจุบันการส่งออกสินค้าเกษตรพุ่งขึ้นเป็น 4.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563-2564 สวนทางกับการส่งออกสินค้าอื่นๆ จะมีแนวโน้มลดลง

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/agricultural-export-tops-315-mln-as-of-5-november/#article-title

วันแรกของเดือน พ.ย. กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรไปกว่า 41,000 ตัน

ตามฐานข้อมูลของกรมวิชาการเกษตร ในวันแรกของเดือนพฤศจิกายน กัมพูชาทำการส่งออกสินค้าเกษตรรวมกว่า 41,671.20 ตัน ไปยัง 10 ประเทศ ซึ่งสินค้าส่งออกสำคัญในช่วงดังกล่าว ได้แก่ ข้าวสารจำนวน 16 ล้านตัน ส่งออกไปยังเวียดนาม, มันฝรั่ง 11.25 ล้านตัน ส่งออกไปยังเวียดนามและไทย, ถั่วเหลือง 2.5 ล้านตัน ส่งออกไปยังเวียดนาม, มะม่วงสด 3,570.58 ตัน ส่งออกไปยังเวียดนาม จีน และไทย และกล้วยสด 3,532.96 ตัน ส่งออกไปยังจีน โดยเวียดนามและไทยยังคงเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญสำหรับสินค้าเกษตรของกัมพูชา ซึ่งในวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา เวียดนามได้กลายเป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชาในปัจจุบัน โดยสินค้าทางการเกษตรที่สำคัญของกัมพูชา ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลังแห้ง มันสำปะหลังสด แป้งมันสำปะหลัง กากมันสำปะหลัง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ข้าวโพด ถั่วเหลือง กล้วยสด ส้มโอ มะม่วงสด น้ำเชื่อมมะม่วง น้ำมันมะพร้าว พริกไทย ยาสูบ และผักนานาชนิด เป็นต้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50964166/in-just-one-day-cambodia-exported-more-than-41000-tons-of-agricultural-products-main-to-vietnam/

จีนไฟเขียวนำเข้าพืชอุตสาหกรรมจากเมียนมา

ประเทศจีน ไฟเขียวอนุญาตให้นำเข้าพืชอุตสาหกรรมจากเมียนมาได้แก่ อ้อย ยางพารา ทรากาคานกัม (tragacanth gum) และฝ้าย ผ่านมณฑลยูนนาน ซึ่งอยู่ใกล้กับชายแดนชินฉ่วยฮ่อ (Chinshwehaw) ในรัฐฉาน แต่ทั้งนี้ต้องรออนุมัติจากกระทรวงพาณิชย์เมียนมาเสียก่อน ซึ่งก่อนหน้าจีนปิดด่านชายแดนทั้งหมดเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 โดยปกติแล้ว เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ได้แก่ ข้าว ถั่วและข้าวโพด อ้อย และพริก ส่วนการนำเข้าจะเป็น วัตถุดิบอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในกลุ่ม CMP (Cut Make Pack) เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าอุปโภคบริโภค จากข้อมูลพบว่า มูลค่าการนำเข้าผ่านชายแดนชินฉ่วยฮ่อ อยู่ที่ 461.378 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563-2564 ซึ่งลดลง 541.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากปีงบประมาณ 2562-2563

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/china-greenlights-import-of-myanmar-industrial-crops/#article-title

ในช่วง 10 เดือนแรก กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 47

กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง (MAFF) กัมพูชา รายงานถึงตัวเลขการส่งออกของสินค้าเกษตรที่มีปริมาณการส่งออกรวมอยู่ที่ 4,221,153 ตัน ในจำนวนนี้ไม่รวมข้าวสารและข้าวเปลือก ซึ่งคิดเป็นการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 47.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของก่อน โดยสินค้าเกษตรสำคัญของกัมพูชาที่ทำการส่งออก ได้แก่ มันสำปะหลัง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ข้าวโพด กล้วยสด ส้มโอ มะม่วง พริกไทย พริก และอื่นๆ ขณะที่การส่งออกข้าวโพด ยาสูบ และผักรวมลดลงอย่างรวดเร็ว ส่วนผลิตภัณฑ์จากมะม่วง (สด แยม น้ำเชื่อม) เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่ว ถั่วเหลือง และพริกไทย ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วระหว่างร้อยละ 120-400 ซึ่งตั้งแต่เดือนมกราคมถึงตุลาคม กัมพูชาส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเกือบ 84 ชนิด ยกเว้นข้าวสารและข้าวเปลือก ไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยสร้างรายได้ประมาณ 2.833 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50963305/cambodias-agricultural-exports-up-over-47-percent-in-first-10-months/

ส่งออกสินค้าเกษตรเมียนมา พุ่ง 132.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย 15 วันแรกของเดือนตุลาคม 2564 มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรอยู่ที่ 132.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของงบประมาณย่อย (Mini Budget) ตั้งแต่ ต.ค. 2564 ถึง มี.ค. 2565 เพิ่มขึ้น 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2563-2564  ที่ส่งออกสูงถึง 87.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นแม้จีนคู่ค้าหลักซึ่งปิดพรมแดนทั้งหมดจากการระบาดของ COVID-19 ในเมียนมา ซึ่งการระบาดกระทบต่อกลุ่มสินค้าส่งออก เช่น สินค้าเกษตร ประมง ปศุสัตว์ แร่ ผลิตภัณฑ์จากป่า สินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป และสินค้าอื่นๆ ในภาคการส่งออก อุตสาหกรรมการเกษตรคิดเป็น 37% ของการส่งออกโดยรวม สินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวและข้าวหัก ถั่วและข้าวโพด ฯ ส่วนใหญ่สินค้าเกษตรส่งออกไปยังจีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกาเป็นหลัก ปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์กำลังให้ความช่วยเกษตรกรในด้านต่างๆ เช่น ต้นทุนการผลิตที่สูง การจัดหาเมล็ดพันธุ์ ต้นทุนการเพาะปลูก และสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/agricultural-export-tops-132-9-mln-as-of-15-oct/

กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรไปยังเกาหลีใต้ปริมาณรวมกว่า 1.2 พันตัน

ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ กัมพูชาทำการส่งออกสินค้าเกษตรปริมาณรวม 1,204 ตัน ไปยังเกาหลีใต้ หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 106 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รายงานโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ซึ่งในปี 2019 กัมพูชาส่งสินค้าทางการเกษตรปริมาณรวมกว่า 6,000 ตัน ไปยังประเทศในเอเชียตะวันออก ในทางกลับกันปี 2020 กัมพูชาส่งออกสินค้าการเกษตรปริมาณเพียง 584 ตัน จากผลกระทบของการแพร่ระบาด โดยในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีนี้ กัมพูชาทำการส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ยางธรรมชาติ ประมาณ 950 ตัน และมะม่วงสดประมาณ 124 ตัน รองลงมาคือน้ำตาลปี๊บ 29 ตัน และข้าวโพด 21 ตัน เป็นสำคัญ ซึ่งกัมพูชาคาดว่าจะมีการส่งออกผลิตผลทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ไปยังเกาหลีใต้เพิ่มขึ้น เนื่องจากทั้งสองประเทศได้ทำการลงนามข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) อย่างเป็นทางการแล้วเมื่อไม่นานมานี้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50959981/cambodia-exported-1204-tonnes-of-agricultural-products-to-south-korea/

ชาวสวนมะเขือเทศอำเภอปหวิ่น-พยู ปลื้ม ได้ราคางาม

ชาวสวนมะเขือเทศอำเภอปหวิ่น-พยู เขตมะกเว ล้วนปลื้มราคามะเชื่อเทศที่เพิ่มขึ้น ในปัจจุบันราคาจำหน่ายที่ 1,500 จัตต่อ viss (1 viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ปีนี้เกษตรกรล้วนมีพอใจเพราะได้ผลผลิตที่ดีหลังมีฝนตกและน้ำบาดาลที่เพียงพอ โดยเกษตรกรในท้องถิ่นส่วนใหญ่จะปลูกมะเขือเทศ พริก หัวหอม มะระ ฟักทอง แตงโม มะเขือยาว ถั่วฝักยาว ผักโขม หัวไช้เท้า (Daikon) และผักเคว (Kayl)  ซึ่งเป็นรายได้หลักของครอบครัวเกษตรกร ขณะที่เดือนที่แล้ว ราคามะเขือเทศขายได้เพียง 400-500 จัตต่อ viss ซึ่งก่อนหน้านี้ เกษตรกรทำการเพาะปลูกด้วยวิธีดั้งเดิม แต่ตอนนี้หันไปเพาะปลูกด้วยวิธีและเทคโนโลยีที่ทันสมัยแล้ว

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/pwintbyu-tomato-growers-enjoy-fairer-prices/

ปีงบฯ 63-64 การค้าระหว่างประเทศของเมียนมา ลดฮวบ 7.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา การค้าระหว่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.63 ถึง 30 ก.ย.64 ในปีงบประมาณ 2563-2564 อยู่ที่ 29.58 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงกว่า 7.15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่ 36.73 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปัจจุบันเมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่า และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ในขณะที่นำเข้าสินค้าทุน วัตถุดิบอุตสาหกรรม และสินค้าอุปโภคบริโภค การส่งออกของประเทศพึ่งพาภาคการเกษตรและการผลิตมากขึ้น กระทรวงพาณิชย์เมียนมาจึงพยายามลดการขาดดุลการค้า ส่งเสริมการส่งออก และเน้นกระจายตลาดให้มากขึ้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/external-trade-down-7-15-bln-this-fy/#article-title

ราคาหัวหอมในประเทศพุ่ง ผลจากความต้องการของบังคลาเทศเพิ่มขึ้น

ความต้องการหัวหอมเมียนมาที่เพิ่มขึ้นจากบังกลาเทศ ทำให้ราคาหัวหอมในตลาดเมียนมาสูงขึ้น ในเดือนมี.ค.64 ราคาอยู่ระหว่าง 250-300 จัตต่อ viss (1 viss = 1.6 กิโลกรัม) จากนั้นราคาก็แตะระดับต่ำสุดที่ 200 วอนต่อครั้ง จึงไม่สามารถส่งออกไปยังจีนได้เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ด้านบังคลาเทศมักจะนำเข้าหัวหอมจากอินเดีย แต่ในตอนนี้อินเดียได้ระงับการส่งออกหัวหอม ดังนั้นบังคลาเทศจึงหันนำเข้าจากเมียนมาแทน ส่งผลให้ ตอนนี้ราคาหัวหอมได้เพิ่มขึ้นเป็น 500 จัตต่อ viss ปัจจุบันสต๊อกหัวหอมในตลาดมัณฑะเลย์ลดน้อยลง ดังนั้นราคาค้าปลีกจึงอยู่ที่ 700 จัตต่อ viss ปัจจุบันหัวหอมส่วนใหญ่ปลูกในเขตมัณฑะเลย์ มะกเว ย่างกุ้ง เนปิดอว์ และรัฐฉาน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/domestic-onion-price-rises-due-to-demand-from-bangladesh/#article-title