สปป.ลาว, IOM เสริมสร้างการตอบสนอง Covid-19 ที่จุดผ่านแดน
รัฐบาลและองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน ได้เปิดตัวโครงการ“ การตอบสนองต่อความท้าทายโควิด -19 ณ จุดเข้าประเทศสปป.ลาว” เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสระลอกที่สอง โครงการมีระยะเวลา 6 เดือนจะสนับสนุนการพัฒนาขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐาน มีการฝึกอบรมเสริมสร้างขีดความสามารถเพื่อเสริมสร้างความพร้อมและความพยายามในการรับมือกับการระบาดของโรคโควิด 19 ของเจ้าหน้าที่ นอกจากนี้จะมีการพัฒนาสื่อการสื่อสารความเสี่ยงที่เหมาะสม ในขณะที่กิจกรรมต่างๆจะดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการด้านอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลและโครงสร้างพื้นฐาน ณ จุดแรกเข้า รัฐบาลและ IOM ได้ติดตามอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับผู้ย้ายถิ่นจำนวนมากที่เดินทางกลับทั่วภูมิภาคเพื่อให้แน่ใจว่าจะได้รับการตอบสนองต่อความท้าทายอย่างมีประสิทธิผลและทันท่วงที ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงการป้องกันการตรวจจับและการตอบสนองต่อการแพร่กระจายของโรค โครงการจะดำเนินการที่จุดเข้าออกระหว่างประเทศ 10 แห่ง ได้แก่ สนามบินนานาชาติวัตไต, สนามบินหลวงพระบาง, สนามบินจำปาสัก, สนามบินสะหวันนะเขต, สะพานมิตรภาพลาว – ไทย 1 ในเวียงจันทน์, สะพานมิตรภาพลาว – ไทย 2 ในสะหวันนะเขต, มิตรภาพลาว – ไทย สะพาน 3 ในคำม่วน, สะพานมิตรภาพลาว – ไทย 4 ในบ่อแก้ว, ด่านพรมแดนระหว่างประเทศวังเตา – ช่องเม็ก ในจังหวัดจำปาสักและจุดผ่านแดนลาว – จีน บ่อเต็น – บ่อฮาน ในแขวงหลวงน้ำทา
ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Ministry182.php
โครงการรถไฟสปป.ลาว – จีนกำลังดำเนินการแล้วเสร็จแม้จะมีการระบาดของ COVID-19
การก่อสร้างทางรถไฟสปป.ลาว – จีนกำลังดำเนินไปตามแผนซึ่งแล้วเสร็จสมบูรณ์ไปแล้วกว่าร้อยละ 91.11 ของโครงการแม้จะมีอุปสรรคจากการระบาดของ COVID-19 ตามรายงานล่าสุดใน China Daily อุโมงค์ทางรถไฟสำหรับข้ามพรมแดนมีความยาว 9.59 กิโลเมตรเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่แล้วเสร็จและได้รับการขนานนามว่า “อุโมงค์มิตรภาพ” ประกอบด้วยอุโมงค์ 7.17 กิโลเมตรในมณฑลยูนนานประเทศจีนและ 2.42 กิโลเมตรที่ชายแดนสปป.ลาว ในช่วงการระบาดของ COVID-19ที่ผ่านมาคาดการณ์อาจส่งผลให้โครงการมีความล่าช้า แต่จากการที่รัฐบาลมีความกระตือรือร้นที่จะเดินหน้าก่อสร้างทางรถไฟโดยได้มีการอำนวยความสะดวกในงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด แม้จะมีข้อจำกัดในการเดินทางแต่รัฐบาลได้อนุญาตให้เปิดสายการบินเที่ยวบินระหว่างเวียงจันทน์และคุนหมิงเป็นกรณีพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวกในการก่อสร้างทางรถไฟและโครงการขนาดใหญ่อื่น ๆ ที่กำลังดำเนินการในสปป.ลาว โครงการทางรถไฟสปป.ลาว – จีน ถือเป็นยุทธศาสตร์ของแผนริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน (One Belt One Road) และแผนของสปป.ลาวในการเปลี่ยนประเทศจากการไม่มีทางออกสู่ทะเลเป็นการเชื่อมโยงทางบกภายในภูมิภาค รัฐบาลสปป.ยังเชื่อว่าโครงการรถไฟเชื่อมต่อสปป.ลาว-จีน จะช่วยส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในสปป.ลาวในอนาคตอันใกล้นี้
ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laosc181.php
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) สนับสนุนเงิน 1.7 ล้านยูโร ช่วยเหลือแรงงานในอุตสาหกรรรมตัดเย็บสปป.ลาว
ปัจจุบันคนงานกว่า 26,000 คนในโรงงานสิ่งทอในสปป.ลาวได้รับผลกระทบจากปัญหาสุขภาพและวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่กำลังดำเนินอยู่ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่ออุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของสปป.ลาว ณ ขณะนี้การส่งออกเครื่องนุ่งห่มลดลงร้อยละ 40-50 ในปีนี้ การลดลงอย่างรวดเร็วทำให้โรงงานหลายแห่งต้องลดหรือระงับการดำเนินงานชั่วคราว ส่งผลให้คนงานตัดเย็บเสื้อผ้าจำนวนมากถูกปลดออกจากงาน ปัญหาดังกล่าวทำให้เยอรมนีเข้ามาสนับสนุนเงินกว่า 14.5 ล้านยูโรเพื่อช่วยเหลือคนงานในอุตสาหกรรมเสื้อผ้า 2 ล้านคนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 การช่วยเหลือดังกล่าวจะดำเนินการผ่านโครงการขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) องค์กรดังกล่าวมีหน้าที่ในการช่วยเหลือแรงงานและส่งเสริมแรงงานในการได้รับสวัสดิภาพที่ควรจะเป็น ในประเทศบังกลาเทศ เอธิโอเปีย กัมพูชา มาดากัสการ์ อินโดนีเซีย เวียดนามและหนึ่งในประเทศที่รับการช่วยเหลือด้านแรงงานคือสปป.ลาว จากเงินสนับสนุนทั้งหมด 14.5 ล้านยูโร สปป.ลาวจะได้งบประมาณในการช่วยเหลือ1.7 ล้านยูโร ในการนำไปใช้ในโครงการที่จะช่วยแรงงานในอุตสาหกรรมตัดเย็บที่กว่าร้อยละ 90 ของแรงเป็นผู้หญิง โครงการดังกล่าวยังเป็นการสนับสนุนด้านมนุษยธรรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามแผนกลยุทธ์ระยะยาวของสปป.ลาว
ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Germent_180.php
สปป.ลาว เหยื่อกับดักหนี้จีนรายล่าสุด
รถไฟความเร็วสูงจีน – สปป.ลาวมูลค่า 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กำลังดำเนินการแล้วเสร็จในปลายปี 64 โครงการรถไฟความเร็วสูงถือเป็นความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมที่ประสบความสำเร็จภายใต้พรรคปฏิวัติของประชาชนลาว แต่ความก้าวหน้าดังกล่าวอาจมาพร้อมกับการสูญเสียอธิปไตยบางอย่างให้กับเพื่อนบ้านยักษ์ใหญ่ทางเหนืออย่างจีนที่ เป็นนายทุนใหญ่ของโครงการดังกล่าว รายงานล่าสุดชี้ให้เห็นว่าสปป.ลาวจะเป็นประเทศล่าสุดที่ตกเป็นเหยื่อของกับดักหนี้ Belt and Road Initiative (BRI) โดยประเทศต่างๆ หากผิดนัดชำระหนี้ที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานหรือโครงการ จะถูกกดดันในการยกสัมปทานบางอย่างให้แก่จีนแทนการชำระหนี้ ปัจจุบันทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของสปป.ลาวลดลงต่ำกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งอาจไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้งวดประจำปีของโครงการ ซึ่งจะนำไปสู่การทำให้สปป.ลาวต้องสูญเสียอธิปไตยของประเทศไปบางส่วน รายงานข่าวยังชี้ให้เห็นอีกว่ากระทรวงการคลังสปป.ลาว ได้ขอให้จีนซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต่างชาติรายใหญ่ที่สุดปรับโครงสร้างหนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ ข้อมูลจากรายงานชี้ให้เห็นว่าการเติบโตสปป.ลาวอาจมีการขยายตัวได้ดีจากการเข้ามาลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของนักลงทุนจีน แต่สิ่งที่สปป.ลาวยังเป็นกังวลและให้ความสนใจคือความสามารถในการชำระหนี้ ที่อาจหากไม่มีประสิทธิภาพอาจนำซึ่งการสูญเสียอธิปไตยของชาติก็เป็นได้
ที่มา : https://asiatimes.com/2020/09/laos-the-latest-china-debt-trap-victim/
นายกรัฐมนตรี แนะบริษัท เวียงจันทน์สตีลอินดัสตรี จำกัด (VSI) พัฒนาการผลิตเพื่อรองรับความต้องการประเทศ
นายกรัฐมนตรีทองลุน สีสุลิดได้แนะนำให้ บริษัท เวียงจันทน์สตีลอินดัสตรี จำกัด (VSI) บริษัทผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์จากเหล็กที่ปัจจุบันบริษัท เวียงจันทน์สตีลอินดัสตรี จำกัด (VSI) สามารถผลิตสินค้าได้หลากหลายโดยมีกำลังการผลิต 350,000 ตันต่อปี สิ่งสำคัญที่จะทำให้บริษัทก้าวต่อไปได้จะต้องมีการดำเนินการพัฒนาด้านการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพสูงขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นของประเทศ จากการที่มีการลงทุนก่อสร้างถนน ทางรถไฟและอาคารเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรียังกล่าวอีกว่า “โรงงานเหล็กแห่งนี้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศ การจัดหาผลิตภัณฑ์เหล็กที่ผลิตในท้องถิ่นจะช่วยลดความต้องการสินค้านำเข้าเพื่อลดการขาดดุลการค้าของประเทศ”
ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_PM_179.php