FTA กู้วิกฤตดันส่งออกสินค้าเกษตร 7 เดือนปี 64 ทะลุ 1 หมื่นล้าน!

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงข้อมูลการส่งออกสินค้าเกษตร (กสิกรรม ประมง และปศุสัตว์) ไป 18 ประเทศคู่เจรจา FTA ช่วง 7 เดือนปี 64 ทะลุ 11,664.8 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่ม 33% ความตกลงการค้าเสรี (FTA) มีส่วนสำคัญในการสร้างแต้มต่อทางการค้าให้กับสินค้าเกษตรของไทยในตลาดโลก เนื่องจากประเทศที่มี FTA กับไทยได้ยกเลิกการเก็บภาษีศุลกากรกับสินค้าเกษตรที่ไทยส่งออกส่วนใหญ่แล้ว ทำให้สินค้าไทยได้เปรียบด้านราคาและต้นทุนทางภาษีเมื่อต้องแข่งขันกับสินค้าจากประเทศอื่น ช่วยให้สินค้าเกษตรมีการส่งออกขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้พบตลาดเกาหลีใต้โตแรง มั่นใจ! แนวโน้มส่งออกขยายตัวต่อเนื่อง หลังเศรษฐกิจตลาดสำคัญฟื้นตัว

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-757862

ส่งออกสินค้าเกษตรเมียนมา โตทะลุ 25%

สถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา ระบุ การส่งออกสินค้าเกษตรในช่วงสิบเดือนที่ผ่านมา (1 ต.ค.63 – 20 ส.ค.64) ของปีงบประมาณ 63-64 มีมูลค่า 4.30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ พุ่งขึ้น 25% ท่ามกลางการปิดด่านชายแดนสำคัญอย่างด่านมูเซ จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แม้ว่าการส่งออกในกลุ่มอื่น ๆ มีแนวโน้มลดลงเป็นผลมาจากมาตรการคุมเข้มการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในแถบชายแดนและต้นทุนการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่เพิ่มขึ้น สะท้อนถึงตัวเลขเพิ่มขึ้น 877 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณนี้ การส่งออกสินค้าเกษตรมีมูลค่า 3.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณก่อน โดยในภาคการส่งออก อุตสาหกรรมการเกษตรมีอนาคตที่สดใสที่สุด โดยคิดเป็น 34% ของการส่งออกโดยรวม สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวและข้าวหัก ถั่วและข้าวโพด ผลไม้และผัก งา ใบชาแห้ง น้ำตาล และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่นๆ ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ จีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกาเป็นหลัก

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-agro-exports-grow-25-per-cent-as-of-20-aug/

กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 89.7 ในช่วง 8 เดือนแรกของปี

กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรปริมาณรวม 5.54 ล้านตัน ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2021 เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 89.7 จากปริมาณ 2.92 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีก่อน รายงานโดยรัฐมนตรีกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ซึ่งกัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรไปยัง 66 ประเทศ โดยสร้างรายรับรวม 3.23 พันล้านดอลลาร์ จากการส่งออกในช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคมของปีนี้ ซึ่งสินค้าเกษตรหลักของกัมพูชา ได้แก่ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง มะม่วง กล้วยสด พริกไทย เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ข้าวโพด น้ำมันปาล์ม และยาสูบ เป็นต้น โดยจีนยังคงเป็นผู้ซื้อข้าวสารรายใหญ่ของกัมพูชา โดยคิดเป็นกว่าร้อยละ 48 ของการส่งออกข้าวทั้งหมดของกัมพูชา หรือคิดเป็นจำนวน 165,612 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50927787/cambodias-agricultural-exports-up-89-7-percent-in-first-8-months-netting-3-23-billion-in-revenue/

ราคาเมล็ดกาแฟที่เพิ่มขึ้นและอุปทานที่ไม่เพียงพอในกัมพูชา

ผู้จำหน่ายเมล็ดกาแฟในกัมพูชารายงานถึงราคาเมล็ดกาแฟที่พุ่งสูงขึ้นประมาณร้อยละ 50 ในปีนี้ รวมไปถึงความไม่แน่นอนต่อสถานการณ์การผลิตเมล็ดกาแฟในบราซิล ซึ่งเป็นผู้ผลิตเมล็ดกาแฟรายใหญ่ของโลกที่กำลังเผชิญอยู่กับภาวะปริมาณน้ำฝนที่ไม่แน่นอน โดยทางการกัมพูชาสนับสนุนให้เกษตรกรทดลองเพาะปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสต้า ที่มีลักษณะพันธุ์ที่แข็งแกร่งและเติบโตได้ดีในหลายพื้นที่ของกัมพูชา รวมถึงอาจจะเป็นการเพิ่มพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในอนาคตให้กับกัมพูชา ซึ่งสถานการณ์การส่งออกกาแฟของกัมพูชาลดลงกว่าร้อยละ 54.4 โดยมีปริมาณการส่งออกในปีที่แล้วเพียง 965 ตัน ตามข้อมูลจากเว็บไซต์ Tridge ซึ่งเชื่อมโยงผู้ซื้อรายใหญ่ อาทิเช่น Walmart และ Costco กับผู้ขายพืชผลและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่นๆ โดยยอดขายกาแฟในต่างประเทศของกัมพูชายังคงน้อยกว่าเวียดนามที่เป็นผู้ส่งออกเมล็ดกาแฟรายใหญ่อันดับ 5 ของโลก ซึ่งควบคุมตลาดโลกได้ร้อยละ 6.4 ในปีที่แล้ว โดยส่งออกเมล็ดกาแฟมูลค่ากว่า 1.74 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50927112/rising-prices-and-short-supply-present-fresh-opportunities-for-coffee-farmers/

ปีงบฯ 64 ส่งออกสินค้าเกษตรเมียนมาพุ่ง ! 4.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

การส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มสูงขึ้นเป็น 4.22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงสิบเดือนที่ผ่านมา (ต.ค.63-ก.ค.64) ของปีงบประมาณ 63-64 แม้ว่าการส่งออกสินค้าอื่นๆ มีแนวโน้มลดลงจากผลกระทบของโควิด-19 สะท้อนการเพิ่มขึ้น 913.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณนี้ ซึ่งการส่งออกเมื่อปีงบประมาณ 62-63 ซึ่งมีมูลค่า 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ส่งผลกระทบความต้องการจากต่างประเทศในกลุ่มสินค้าอื่นๆ สินค้าเกษตร ประมง ปศุสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่า สินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป และสินค้าอื่นๆ โดยการส่งออกของอุตสาหกรรมการเกษตร คิดเป็น 35% ของการส่งออกโดยรวม สินค้าส่งออกที่สำคัญในภาคเกษตร ได้แก่ ข้าวและข้าวหัก ถั่วและข้าวโพด ผลไม้และผัก งา ใบชาแห้ง น้ำตาล ฯลฯ ส่วนตลาดนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกาเป็นหลัก ปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์กำลังเร่งช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหา เช่น ต้นทุนการผลิต การจัดหาเมล็ดพันธุ์ ต้นทุนการเพาะ และสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/agro-exports-surge-to-us-4-2-bln-during-oct-july-period/

เวียดนามเผยยอดการส่งออกสินค้าเกษตร พุ่ง 28.2%

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท เปิดเผยว่าการส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมงในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เป็นมูลค่า 24 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 28.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี ราคาข้าวของเวียดนามปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ความต้องการข้าวในต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น อาทิ จีนและเกาหลีใต้ ตลอดจนธุรกิจเวียดนามส่วนใหญ่เซ็นสัญญาส่งออกไปแล้วในไตรมาสที่ 2-3 ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งหลังของปี เวียดนามได้ใช้ประโยชน์จากข้อตกลงทางการค้า เช่น ข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม และข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก เพื่อเจาะตลาดใหม่

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/industries/agricultural-exports-up-28-2-pct-4309366.html

ส่งออกสินค้าเกษตรมาแรง พุ่ง 3.88 พันล้านดอลลาร์

แปดเดือนครึ่งของปีงบประมาณ 2563-2564 การส่งออกสินค้าเกษตรพุ่งสูง 3.88 พันล้านดอลลาร์ เพิ่ม  923.9 ล้านดอลลาร์จากช่วงเดียวหันของปีก่อนที่ส่งออกสินค้าเกษตรมีมูลค่า 2.95 พันล้านดอลลาร์ สวนทางกับการส่งออกสินค้าอื่นๆ ที่มีแนวโน้มลดลง ท่ามมาตรการคุมเข้มวิกฤติโควิด-19 ที่เข้มงวดในพื้นที่ชายแดนและค่าขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่เพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมการเกษตรมีแววรุ่งที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 37 ของการส่งออกโดยรวม สินค้าส่งออกที่สำคัญในภาคเกษตร ได้แก่ ข้าวและข้าวหัก ถั่วและข้าวโพด ผลไม้และผัก งา ใบชาแห้ง น้ำตาล และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่นๆ ตลาดนำเข้าหลักจะเป็นจีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกา ซึ่งการส่งออกแบบ G to G ยังช่วยสร้างแข็งแกร่งให้กับตลาด ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ยังผลักดันและช่วยเกษตรกรจัดการปัญหาที่ยากจะควบคุม เช่น ต้นทุนการผลิตที่สูง การจัดหาเมล็ดพันธุ์ ต้นทุนการเพาะปลูกที่สูง และสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/agro-exports-surge-to-3-88-bln-as-of-18-june/#article-title

กัมพูชาผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตรไปตลาดจีน

กัมพูชาผลักดันผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีศักยภาพเพื่อการส่งออกไปยังจีน หลังจากกัมพูชาได้ทำการส่งออกมะม่วงโดยตรงไปยังประเทศจีนได้สำเร็จเป็นครั้งแรก โดยผลผลิตทางการเกษตรที่มีศักยภาพของกัมพูชา ได้แก่ ลำไย ทุเรียน แก้วมังกร และรังนก เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้รวมไปถึงมะม่วงสดและกล้วยที่ถือเป็นสินค้าเกษตรซึ่งกัมพูชาได้รับอนุมัติให้ทำการส่งออกไปยังจีนได้ภายใต้ข้อตกลง โดยจีนถือเป็นตลาดสำคัญในการส่งออกของกัมพูชา ซึ่งมีประชากรรวมกว่า 1.4 พันล้านคน ด้านตัวเลขการส่งออกจากกระทรวงเกษตรแสดงให้เห็นว่ากัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรที่นอกเหนือจากข้าวรวมกว่า 3 ล้านตัน ในช่วงเดือร ม.ค.-พ.ค. เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 67 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สร้างรายได้รวม 1.799 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50869417/more-potential-agricultural-products-named-for-export-to-china/

สถานการณ์การส่งออกกัมพูชาในช่วงไตรมาสแรกของปี 2021

ไตรมาสแรกของปี 2021 กัมพูชาส่งออกสินค้ารวมมูลค่า 4,428 ล้านดอลลาร์ ตามรายงานของกรมศุลกากรและสรรพสามิต โดยเน้นถึงการส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้าที่ไม่ใช่เครื่องนุ่งห่มมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ซึ่งการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่มในเดือน มกราคม-มีนาคม มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 2,527 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่การส่งออกสินค้าที่ไม่ใช่เครื่องนุ่งห่มปรับตัวเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 52 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทะยานสู่ระดับ 887 ล้านดอลลาร์ โดยการเติบโตของมูลค่าการส่งออกสำหรับสินค้าที่ไม่ใช่เครื่องนุ่งห่ม แสดงให้เห็นถึงความต้องการสินค้าที่ผลิตจากกัมพูชาอย่างมีนัยสำคัญในตลาดโลก เช่นสหรัฐอเมริกา ซึ่งเศรษฐกิจกำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัว ส่วนการส่งออกสินค้าเกษตรทำสถิติสูงสุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 70 รวมมูลค่ากว่า 1,014 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50865678/4-4-billion-in-cambodias-export-of-garment-non-garment-and-agricultural-products/

ปีงบฯ 63-64 เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตรพุ่ง 33%

7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2563-2564 การส่งออกสินค้าเกษตรของเมียนมาพุ่งแตะ 33.36% มูลค่า 3.46 พันล้านดอลลาร์ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2563-2564 ในปัจจุบัน แม้จะมีข้อจำกัดของการเปิดทำการของธนาคารและมาตรการควบคุมโควิด-19 แถบชายแดน สะท้อนจากการเพิ่มขึ้น 866.066 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากปีงบประมาณ (2562-2563) ที่ 2.59 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อุตสาหกรรมการเกษตรคิดเป็น 22% ของการส่งออกโดยรวม สินค้าส่งออกอันดับต้น ๆ ได้แก่ ข้าวและปลายข้าว เมล็ดถั่ว ข้าวโพด ผักและผลไม้ งา ใบชา แห้งน้ำตาล และผลิตภัณฑ์เกษตรอื่น ๆ ตลาดส่งออกสำคัญ เช่น จีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังกลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกา แต่บางครั้งตลาดสำคัญยังคงมีความไม่แน่นอนความต้องการของตลาดโลก ปัจจุบันภาครัฐได้เข้ามาช่วยเกษตรกรในการบริหารจัดการต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น การจัดหาเมล็ดพันธุ์ และรับมือกับกับสภาพอากาศที่ยากจะคาดเดา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/agro-exports-up-33-per-cent-this-fy/