‘เวียดนาม’ แม่เหล็กดึงดูดนวัตกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การผลักดันสตาร์ทอัพของเวียดนามและสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการทำงานด้านนวัตกรรม เป็นผลมาจากความพยายามของรัฐบาล กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะศูนย์นวัตกรรมแห่งชาติเวียดนาม (NIC)

คุณ Nguyễn Thị Ngọc Dung ตัวแทนจากศูนย์ฯ กล่าวกับสำนักข่าวเวียดนาม (VNA) ว่ากิจการในประเทศตระหนักถึงความสำคัญของนวัตกรรม เมื่อเผชิญกับการแพร่ระบาด โดยศูนย์ดังกล่าวได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญชาวเวียดนามกว่า 1 พันคนที่อยู่ในวงการการศึกษาและวิจัยที่มีชื่อเสียงทั่วโลก ยกตัวอย่างเช่น “Genetica” สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medtech) ในสหรัฐฯ ซึ่งมีการให้บริการส่วนใหญ่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเมื่อเดือน ต.ค.64 ธุรกิจประกาศว่าได้พัฒนาศูนย์การศึกษาการหาลำดับคู่เบสในสาย DNA ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค ตั้งอยู่ในศูนย์นวัตกรรมแห่งชาติเวียดนาม ด้วยกำลังการผลิต 500,000 จีโนมต่อปี

ทั้งนี้ ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพ “Genetica” ชักชวนให้บริษัทหันมาเปิดสำนักงานใหญ่ในเวียดนาม ประกอบกับนาย Nguyễn Chí Dũng รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนาม ได้ให้คำมั่นว่าจะสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงาน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1142897/viet-nam-working-to-become-innovation-magnet-in-southeast-asia.html

สำนักงานการบิน ‘เวียดนาม’ เชื่อมั่นจะฟื้นตัวกลับมาอย่างเข็มแข็งอีกครั้งในปีนี้

สำนักงานการบินพลเรือนเวียดนาม (CAAV) เปิดเผยว่าปริมาณเที่ยวบินที่ให้บริการในประเทศ รวมทั้งสิ้น 126,280 เที่ยวบินในปี 2564 หดตัว 41.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว และส่วนใหญ่ราว 60% อยู่ในช่วงก่อนที่เกิดการแพร่ระบาด โดยเที่ยวบินระหว่างประเทศยกเลิกการบินเมื่อตั้งแต่การระบาดระลอกแรก ยกเว้นกรณีเที่ยวบินที่นำชาวเวียดนามที่อยู่ในต่างประเทศกลับมายังประเทศแม่ (เวียดนาม) หรือผู้เชี่ยวชาญต่างชาติ

ทั้งนี้ คุณ Pham Viet Dung ประธานสมาคมธุรกิจการบินเวียดนาม (VABA) กล่าวว่าสายการบินเวียดนามมีรายได้ลดลง 80-90% อย่างไรก็ตาม ตัวแทนจากสายการบินเวียดนาม กล่าวว่าส่วนแบ่งการตลาดของสายการบินและรายได้จากการขนส่งยังเป็นผู้นำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีมูลค่ากว่า 8 ล้านล้านดองในปี 2564 เพิ่มขึ้น 60% จากปี 2560

ที่มา : https://en.nhandan.vn/business/item/11143502-vietnam%E2%80%99s-aviation-expected-to-strongly-rebound-this-year.html

สปป.ลาวอนุญาตให้บริษัทเอกชนศึกษาการสร้างสายส่งไฟฟ้าไปเวียดนาม

รัฐบาลสปป.ลาวได้ให้ไฟเขียวสำหรับบริษัทเอกชนสองแห่งในการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าขนาด 220kV ซึ่งจะนำไฟฟ้าจากเขื่อน 5 แห่งทางตอนเหนือของสปป.ลาวไปยังเวียดนาม หากการศึกษาได้รับการอนุมัติ สายการผลิตจะส่งกระแสไฟฟ้าจากเขื่อนน้ำอู๋ที่ 3, 4, 5, 6 และ 7 ผ่านจังหวัดหลวงพระบางและจังหวัดพงสาลีไปยังเวียดนาม การศึกษาความเป็นไปได้จะใช้เวลา 18 เดือน และหากผลลัพธ์เป็นบวก การก่อสร้างในสายการผลิตจะเริ่มทันทีหลังจากนั้น การเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นในบริบทที่สปป.ลาวต้องการเพิ่มการส่งออกไฟฟ้าเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นของเวียดนาม ปัจจุบันสปป.ลาวส่งออกไฟฟ้ามากกว่า 6,423MW ส่วนใหญ่ไปยังประเทศเพื่อนบ้านรวมถึงเวียดนาม

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/laos-allows-private-firms-to-study-building-power-line-to-vietnam-post922950.vov

Vietnam Economic Factsheet : 2564

FACTSHEET VIETNAM ปี 2564

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเวียดนาม ปี 2564 ขยายตัว 2.58% ซึ่งชะลอลงจากการขยายตัว 2.9% ในปี 2563 (หากเทียบตามไตรมาสแล้ว GDP ในไตรมาสแรก ขยายตัว 4.72%YoY ในไตรมาสที่ 2 ขยายตัว 6.73%YoY ในไตรมาสที่ 3 ขยายตัว 6.02%YoY และในไตรมาสที่ 4 ขยายตัว 5.22%YoY ตามลำดับ) เนื่องจากโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 3/64 หลายพื้นที่ดำเนินใช้มาตรการ “เว้นระยะห่างทางสังคม” (Social Distancing) เป็นระยะเวลายาวนาน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

โครงสร้างทางเศรษฐกิจ ปี 2564  พบว่าภาคเกษตร ป่าไม้และประมง คิดเป็นสัดส่วน 12.36% ของ GDP, ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง (37.86% of GDP), ภาคบริการ (40.95% of GDP) และภาษีเงินอุดหนุน (8.83% of GDP)

ด้านการใช้จ่าย ปี 2564 พบว่าการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้าย ขยายตัว 2.09%, การสะสมสินทรัพย์ ขยายตัว 3.96%, การส่งออกสินค้าและบริการ ขยายตัว 14.01% และการนำเข้าสินค้าและบริการ ขยายตัว 16.16%

ที่มา : General Statistics Office of Vietnam, CEIC Data, International Monetary Fund, Ministry of Finance of Vietnam

10 อันดับตลาดนำเข้ายางพารารายใหญ่ ของ ‘เวียดนาม’

จากข้อมูลของศูนย์พาณิชยกรรมระหว่างประเทศ (ITC) เปิดเผยว่าภาวะการนำเข้ายางพารา (Rubber) ของตลาดสำคัญในปี 2564 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะตลาดที่มีมูลค่าการนำเข้าสูง ได้แก่ มาเลเซีย อินเดีย ตุรกี บราซิลและสหรัฐฯ ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2564 จีนยังคงเป็นตลาดนำเข้ายางพาราใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยมูลค่า 11.35 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 16.2%YoY โดยเวียดนามมีส่วนแบ่งการตลาดยางพารา 17.7% ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดจากจีนในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น 15.5%YoY ในขณะที่ตลาดยางพาราของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วน 9.4% ของมูลค่าการนำเข้ายางพาราทั้งหมดจากกลุ่มประเทศในอาเซียน เพิ่มขึ้น 6.9%YoY นอกจากนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าการนำเข้ายางพาราของเวียดนามจาก 10 ตลาดนำเข้าที่ใหญ่ที่สุดในโลกทั้งหมด มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดเมื่อเทียบกับปี 2563

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/10-biggest-rubber-import-markets-increase-purchase-of-vietnamese-rubber-post922643.vov

‘Fitch Ratings’ ประเมินเศรษฐกิจเวียดนามฟื้นตัวอย่างรวดเร็วในปี 65

สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Fitch Ratings เปิดเผยรายงานพบว่าระดับการฉีดวัคซีนในประเทศที่เพิ่มขึ้น ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงที่การระบาดจะมีผลต่อการฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในอนาคต อย่างไรก็ตามสถานการณ์ยังคงอยู่ในความไม่แน่นอน โดยเฉพาะจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามในปี 2564 ขยายตัว 2.6% ซึ่งเติบโตต่ำกว่าที่สถาบันฯคาดการณ์ไว้ที่ 7% เมื่อเดือนเม.ย.64 รวมถึงได้ประกาศอันดับเครดิตของเวียดนามที่ ‘BB’ และมีมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจโดยภาพรวม ทั้งนี้ สถาบันฯ Fitch มองว่าปัจจัยหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า GDP Q3/64 หดตัวลง 6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว เป็นผลมาจากรัฐฯ ควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดไม่ให้เพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับผลกระทบจากการแพร่ระบาดเมื่อตั้งแต่ครั้งก่อน โดยภาครัฐได้ปรับแนวนโยบายจาก “ZERO COVID” ให้ทำการปรับแบบยืดหยุ่น เนื่องจากอัตราการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnamese-economy-to-recover-fast-in-2022-fitch-ratings/221688.vnp

‘เวียดนาม’ เผย 1-3 ก.พ. ส่งออกสินค้าเกษตรไปยังจีน 287 ตัน ทะลุชายแดนหล่าวกาย

เวียดนามส่งออกสินค้าเกษตรไปยังจีน ปริมาณกว่า 287 ตัน ผ่านด่านชายแดน Kim Thanh ในจังหวัดหล่าวกาย (Lao Cai) ที่มีพรมแดนติดกับจีน เมื่อเทศกาลตรุษจีน (1-3 ก.พ.) ปริมาณดังกล่าว มีจำนวนแก้วมังกร 38 ตัน, แตงโม 66 ตัน และกล้วย 183 ตัน ในขณะเดียวกัน ผลผลิตทางการเกษตรของจีน ปริมาณราว 877 ตันที่นำเข้ามายังเวียดนาม โดยในช่วงเวลาดังกล่าว มีผู้ขนส่งและผู้ช่วยขับรถมากกว่า 200 คน เกิดหยุดชะงักที่ประตูชายแดน Kim Thanh ส่วนใหญ่ขนส่งสินค้าเกษตรจากจังหวัดในภาคใต้

อย่างไรก็ตาม ตามรายงานทางสถิติของกรมศุลกากร เปิดเผยว่ามูลค่าการนำเข้าและส่งออกรวมทั้งสิ้นที่ผ่านด่านชายแดน อยู่ที่ 1.7 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว รายได้จากการส่งออก 768,000 เหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-exports-287-tonnes-of-farm-produce-to-china-through-lao-cai-from-feb1-3-post922349.vov

‘ศก.เวียดนาม’ กลับมาฟื้นตัว

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ในปีที่แล้ว ส่งผลชะลอตัวการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงสร้างผลกระทบต่อการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานโลก ทำให้ราคาวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น นับว่าเป็นความท้าทายครั้งสำคัญของการผลิตและการดำเนินธุรกิจในหลายๆ ประเทศทั่วโลก

คุณ เหงียน ถิ เฮือง ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม กล่าวว่า GDP ของเวียดนามในปี 2564 ขยายตัว 2.58% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เป็นผลมาจากผลกระทบทางลบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมในไตรมาสที่ 3/64

ทั้งนี้ คุณ Jacques Morisset หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์และหัวหน้ากลุ่มโครงการของธนาคารโลกประจำเวียดนาม กล่าวว่าเวียดนามกำลังเผชิญกับอุปสรรคหลายประการในการกลับมาเริ่มต้นฟื้นฟูเศรษฐกิจอีกครั้ง หลังจากเว้นระยะห่างทางสังคมเป็นเวลานาน อย่างไรก็ตาม มีสัญญาเชิงบวกจากเดือนสุดท้ายของปี 2564 ที่บ่งชี้ว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจจะดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและจะกลับมาเติบโตอย่างแข็งแกร่ง

ที่มา : https://en.nhandan.vn/business/item/11135102-vietnamese-economy-on-the-rebound.html

มูลค่าการส่งออกข้าวของสปป.ลาวครึ่งปี 2564 ชะลอตัว

เวียงจันทน์ไทมส์รายงาน มูลค่าการส่งออกข้าวของสปป.ลาวในปี 2564 ลดลงเกือบครึ่งหนึ่งเนื่องจากมาตรการจำกัดโควิด-19 รายงานอ้างคำพูดของกระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ของสปป.ลาวว่า ข้าวสร้างรายได้กลับสู่ประเทศมากถึง 52.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่ากว่า 35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มาจากตลาดที่ใหญ่ๆที่สำคัญได้แก่ จีน เวียดนามและสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตามแม้ว่าจีนจะเปิดพรมแดนบ่อเต็นกับสปป.ลาวอีกครั้งแล้วในเดือนพฤศจิกายน 64 แต่การค้าแบบสองทางยังคงชะลอตัวเนื่องจากมาตรการป้องกันและควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 ปัจจุบันจีนซื้อผลิตผลทางการเกษตรที่ส่งออกของลาวมากกว่าร้ยละ 80 ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่เป็นมันสำปะหลัง กล้วย แตงโม อ้อย และยาง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/laos-rice-export-value-nearly-halves-in-2021/221665.vnp