World Bank ชี้ ธุรกิจครอบครัวเมียนมายังน่าเป็นห่วง

จากรายงานของธนาคารโลกกว่าร้อยละ 85 ของธุรกิจครอบครัวและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในเมียนมายังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวในช่วงหลายเดือนจนถึงเดือนมิถุนายนเนื่องจากพิษของ COVID-19 ข้อมูลดังกล่าวถูกรวบรวมจาก COVID-19 Monitoring Platform โดยธนาคารโลกของเมียนมาในเดือนมีนาคมและพฤษภาคมซึ่งได้สำรวจธุรกิจประมาณ 500 แห่งจาก 12 ภาคส่วนใน 6 พื้นที่ ได้แก่ เขตย่างกุ้งเ ขตมัณฑะเลย์ และรัฐชิน ส่วนใหญ่อยู่ในภาคการผลิต บริการ และภาคอื่น ๆ เช่น เกษตรกรรมและการค้า จากการสำรวจร้อยละ 85 มองว่าธุรกิจยังไม่ฟื้นตัว ในความเป็นจริงความเสียหายได้เพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม โดยร้อยละ 81 เห็นว่ารุนแรงกว่าเมื่อเทียบกับร้อยละ 69 ในเดือนมีนาคม ซึ่งธุรกิจในย่างกุ้งจะได้รับความเดือดร้อนมากที่สุด สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่ที่อยู่ที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ รัฐบาลได้รวบรวมกองทุน COVID-19 มูลค่า 1 แสนล้านจัต เพื่อเป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำระยะเวลา 12 เดือนให้กับธุรกิจ SMEs จำนวน 3,000 ถึง 4000 รายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กองทุนเงินกู้นี้มาจาก Japan International Cooperation Agency (JICA) จำนวนเงิน 15,000 ล้านเยน (190 พันล้านจัต) ภายใต้โครงการเงินกู้ฉุกเฉินสองขั้นตอนกับ Myanma Economic Bank ซึ่งเป็นธนาคารของรัฐ ขณะนี้กองทุนเงินกู้ชุดที่สามได้รับการอนุมัติและจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา เช่น รัฐชิน รัฐกะฉิ่น รัฐฉาน รัฐคายาห์ และเขตทานินธารี เงินกู้จำนวน 500 ล้านจัตจะถูกจัดสรรให้กับธุรกิจในพื้นที่เหล่านี้โดยจะปล่อยกู้ผ่านธนาคารเอกชน 11 แห่งซึ่งกู้ยืมจาก Myanma Economic Bank ในระยะเวลาเงินกู้ 5 ปีและอัตราดอกเบี้ยกำหนดโดยธนาคารกลางเมียนมา

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/no-recovery-sight-myanmar-family-businesses-world-bank.html

อินเดียขยายโควตานำเข้าถั่วเพื่ออุ้มเกษตรกรในเมียนมา

ภายหลังการเจรจา 2 เดือน อินเดียได้อนุมัติการนำเข้าถั่วเขียว 150,000 ตัน ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 มีนาคม 2564 ตามประกาศของรัฐบาลเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2563 ซึ่งจะขยายจากกรอบเวลาเดิมคือสามเดือนระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม นอกจากนี้ยังจะผลักดันราคาและเปิดโอกาสให้เกษตรกรและผู้ค้าในท้องถิ่นสร้างรายได้เพิ่มขึ้น อินเดียเริ่มกำหนดโควต้าการนำเข้าถั่วในเดือนสิงหาคม 2560 โดยปีนี้กำหนดโควต้าไว้ที่ 400,000 ตัน สำหรับถั่วที่จะส่งออกระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม อย่างไรก็ตามเกษตรกรเมียนมาสามารถส่งออกได้เพียง 100,000 ตันเท่านั้น ซึ่งเมียนมาถือเป็นผู้ผลิตถั่วและพัลส์รายใหญ่ที่สุดให้กับอินเดีย ขณะนี้อินเดียได้ให้โควต้าการนำเข้าถั่วเขียวไปแล้ว 150,000 ตัน ไปจนถึงเดือนมีนาคม 2564 ในขณะเดียวกันเมียนมาส่งออกถั่วและพัลส์ไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บังกลาเทศ และเนปาล ความต้องการที่สูงขึ้นมีแนวโน้มทำให้ราคาสูงขึ้นตามไปด้วย ราคาถั่วเขียวได้พุ่งสูงถึง 1.12 ล้านจัตต่อตันเมื่อเทียบกับ 1.08 จัตล้านต่อตันก่อนการประกาศในวันที่ 1 ตุลาคม 2563

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/india-extension-bean-import-quota-benefit-myanmar-farmers.html

ภาคการผลิตเมียนมาได้รับผลกระทบจากการล็อกดาวน์ครั้งใหม่

จากข้อมูลล่าสุดของการสำรวจดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) โดย IHS Markit ในเดือนกันยายนภาคการผลิตของเมียนมาได้รับผลกระทบอย่างหนักจากมาตรการล็อกดาวน์ครั้งใหม่ภายหลังพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่เพิ่มสูงขึ้น ให้โรงงานปิดตัวลงเป็นเวลาสองสัปดาห์และให้พนักงานบางส่วนทำงานจากที่บ้าน ดัชนี PMI ของเมียนมาลดลงสู่ระดับ 35.9 ในเดือนกันยายนจาก 53.2 ในเดือนสิงหาคม และ 51.7 ในเดือนกรกฎาคม ซึ่งดัชนีจะมีค่าระหว่าง 0 ถึง 100 โดยค่าที่สูงกว่า 50 แสดงถึงการซื้อโดยรวมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่วนคะแนนที่ต่ำกว่า 50 หมายถึงการซื้อลดลงจากเดือนที่ผ่านมา ผลกระทบดังกล่าวมีความรุนแรงในเดือนเมษายนเมื่อดัชนี PMI อยู่ที่ 29 อุปสงค์ในประเทศลดลงท่ามกลางข้อจำกัดครั้งใหม่ในขณะที่อุปสงค์จากต่างประเทศก็ซบเซาลงเช่นกัน โดยความต้องการที่ลดลงมาจากตลาดเอเชีย ได้แก่ อินเดีย ไทย เวียดนาม และกาตาร์ เนื่องจากโรงงานหลายแห่งปิดทำการชั่วคราวในเดือนกันยายนระดับการจ้างงานโดยรวมลดลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-manufacturing-sector-hit-new-lockdown-measures.html

COVID-19 ดันราคาข้าวในย่างกุ้งพุ่งสูงขึ้น

ตั้งแต่เดือนมีนาคมจากการระบาด COVID-19 ระบาดครั้งแรกในเมียนมาปริมาณข้าวที่มีไว้สำหรับการค้าลดลงอย่างมาก ทำให้การเดินทางระหว่างรัฐและการเคลื่อนย้ายสินค้าหยุดชะงัก ดังนั้นปริมาณข้าวที่ส่งไปยังศูนย์ค้าส่งบุเรงนองในย่างกุ้งจึงลดลง โดยปกติจะมีรถบรรทุกข้าวประมาณ 200 คันเข้าและออกจากศูนย์ค้าส่งบุเรงนองต่อวันลดลงเหลือ 20 ต่อวัน ด้วยเหตุนี้ราคาข้าวหอม Paw San, Shwebo, Myaung Mya และ Phya Pone เพิ่มขึ้นมากกว่า 4,000 จัตต่อถุงในขณะที่ราคาข้าวส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 23,000 จัตต่อถุง รัฐบาลได้ซื้อข้าวจำนวน 50,000 ตันหรือ 10% ของข้าวสำรองไว้สำหรับการส่งออกและจะขายให้ประชาชนได้ในราคาคงที่ ข้าวพันธุ์อื่น ๆ เช่น Shwe Bo Paw San และ Ayeyarwady Paw San จะวางจำหน่ายในราคาตลาด

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/rice-prices-rise-yangon-covid-19-restrictions-squeeze-supply.html

สนามบินนานาชาติย่างกุ้งระงับเที่ยวบินในประเทศถึงวันที่ 31 ตุลาคม 63

Reserved: เนื่องจากการระบาดของโรคโควิด -19 สนามบินนานาชาติย่างกุ้งจะขยายการระงับเที่ยวบินภายในประเทศไปจนถึงสิ้นเดือนตุลาคม เนื่องจากมียอดจำนวนผู้ป่วยรายวันเพิ่มขึ้น โดยสายการบินแห่งชาติเมียนมา (MNA) ระงับเที่ยวบินเป็นครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 11-30 กันยายน 63 และจะระงับเที่ยวบินภายในประเทศทั้งหมดจนถึงวันที่ 31 ตุลาคมเนื่องจากเมืองทั้งหมดในเขตย่างกุ้งอยู่ภายใต้คำสั่งให้หยุดเชื้อโดยการอยู่ในที่พักอาศัย (Stay at Home) สายการบิน Mann Yadanarpon จะยังคงระงับเที่ยวบินภายในประเทศจนถึงวันที่ 15 ตุลาคม สายการบิน Golden Myanmar Airlines ถึงวันที่ 31 ตุลาคม สายการบิน Air KBZ ถึงวันที่ 31 ตุลาคมหรือจนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติมและ สายการบิน Air Thanlwin ถึงวันที่ 16 ตุลาคม

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/yangon-intl-airport-extends-domestic-flight-suspension-until-october-31

ย่างกุ้งกู้เงิน ADB เพื่อปรับปรุงระบบประปา

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้อนุมัติเงินกู้ 180 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อพัฒนาและยกระดับระบบประปาในย่างกุ้ง ภายหลังจากคณะกรรมการพัฒนาเมืองย่างกุ้ง (YCDC) ได้ยื่นขอทุนภายใต้โครงการ Cities Development Initiative for Asia (CDIA) สำหรับโครงการ Yangon City Water Resilience CDIA ซึ่งเป็นกองทุนที่ได้รับการสนับสนุนจาก ADB เพื่อช่วยเหลือเมืองรองในเอเชียและแปซิฟิกในการเตรียมโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนและน่าลงทุน ADB ให้เงินกู้ 180 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อสร้างระบบส่งน้ำระยะทาง 34 กิโลเมตรซึ่งจะช่วยถ่ายเทน้ำ 818 ล้านลิตรต่อวันไปยังย่างกุ้งซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ของสุดในเมียนมา ซึ่งเศรษฐกิจย่างกุ้งคิดเป็น 23% ของ GDP ของเมียนมา ด้วยประชากร 5.2 ล้านคนคิดเป็น 10% ของประเทศ ตั้งแต่ปี 57 ถึง 62 มีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2.2% ต่อปีแต่มีน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของครัวเรือนทั้งหมดที่สามารถเข้าถึงน้ำได้ โครงการนี้จะเสริมสร้างความสามารถของ YCDC ในการดำเนินงานและจัดการบริการน้ำและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยในการจัดทำแผนงานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดหาเงินทุนด้วยตนเองและตอบสนองความต้องการบริการน้ำที่เพิ่มขึ้น

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/yangon-receives-adb-loan-improve-water-supply-system.html