เมียนมาได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากต่างประเทศมากขึ้นเพื่อต่อสู้กับ COVID-19

ญี่ปุ่นให้เงินช่วยเหลือฉุกเฉิน 45,000 ล้านเยนเพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจของเมียนมาร์จากวิกฤติ COVID-19 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่นได้ขยายการช่วยเหลือทางการเงินระหว่างการพบปะกับที่ปรึกษาแห่งรัฐนางอองซานซูจีที่เมืองเนปยีดอในวันที่ 24 สิงหาคม 63 ซึ่งจะประกอบด้วยงบประมาณช่วยเหลือฉุกเฉิน 30 พันล้านเยน และความช่วยเหลือด้านการพัฒนาอย่างเป็นทางการ (ODA) อีก 1.5 หมื่นล้านเยนเพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ทั้งสองฝ่ายยังหารือถึงแผนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วในเมียนมาและรักษาช่องทางที่ชัดเจนสำหรับการลงทุนของญี่ปุ่น จนถึงขณะนี้ญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค ด้านการแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ มูลค่า 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐแก่เมียนมา การช่วงเหลือเพิ่มเติมเกิดขึ้นไม่นานหลังได้รับเงินกู้ 80 พันล้านจัตภายใต้โครงการริเริ่มระงับการให้บริการหนี้ (DSSI) ที่รับรองโดยธนาคารโลกและประเทศภายใต้ G20 DSSI ได้รับการรับรองในเดือนเมษายน 63 เพื่อตอบสนองต่อการเรียกร้องของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ให้ระงับการชำระหนี้แก่ประเทศที่ยากจนที่สุดเพื่อช่วยจัดการผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 จนถึงขณะนี้เมียนมายังได้รับเงินครึ่งหนึ่งของกองทุนมูลค่า 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐที่ IMF จัดหาให้ในเดือนกรกฎาคม 63 เพื่อสนับสนุนเด้านศรษฐกิจส่วนที่เหลือจะได้รับในปีงบประมาณที่จะถึงนี้ นอกจากนี้รัฐบาลยังสามารถระดมทุนจากธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นเพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจก้าวไปข้างหน้า คาดการณ์ว่างบประมาณที่ใช้ไปจะขาดดุลงบประมาณที่ร้อยละ 5.41 ของ GDP ในปีนี้

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-receives-more-overseas-financial-support-combat-covid-19.html

DICA และ MIC ออกแนวปฏิบัติในการรับชาวต่างชาติเข้าทำธุรกิจในประเทศ

คณะกรรมการด้านการลงทุนและจดทะเบียนธุรกิจ (DICA) และคณะกรรมการการลงทุนของประเทศเมียนมา (MIC) ได้ออกแนวปฏิบัติสำหรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่ต้องการกลับไปยังเมียนมาเพื่อทำธุรกิจเร่งด่วนในช่วงที่มีการระบาดของ COVID-19 ซึ่งทั้งสององค์กรได้ร้องขอให้รัฐบาลอนุญาตให้พนักงานชาวต่างชาติที่ทำงานในบริษัทที่จดทะเบียนกับ MIC และ Myanmar Companies Online (MyCO) ให้บินกลับเข้าไปในเมียนมา ชาวต่างชาติที่ต้องการบินกลับเมียนมาจากต่างประเทศจะได้รับการตรวจและคัดกรองโดยกระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศ (MIFER) ว่ามีธุระด่วนในประเทศจริงหรือไม่ เนื่องปัจจุบันกระทรวงแรงงานการตรวจคนเข้าเมืองและประชากรไม่ได้ออกวีซ่าขาเข้าสำหรับนักเดินทางชาวต่างชาติ ดังนั้นนักลงทุนต่างชาติที่ทำงานในบริษัทที่จดทะเบียนภายใต้ MIC และ MyCO และรวมถึงเจ้าหน้าที่และสมาชิกในครอบครัวจะต้องติดต่อสถานทูตเมียนมาในประเทศของตนเสียก่อน สำหรับการบินเข้าประเทศ MIC และ DICA จะร่วมคัดกรองกรองผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้เดินทางที่ได้รับแจ้งจากสถานทูตเมียนมา กระทรวงการต่างประเทศและ MIFER

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/dica-mic-issue-guidelines-returning-foreign-executives.html

เมียนมามีแผนสร้างสะพานในอิระวดี-รัฐฉาน

จากข้อมูลของกระทรวงการก่อสร้าง สะพานปะเต็ง 2 (Pathein 2) ซึ่งเชื่อมต่อโดยตรงกับถนน Mahabandoola ของเมืองปะเต็ง กับฝั่งตะวันตกของแม่น้ำงะวูน (Ngawun) ในเขตอิรวดีจะเปิดให้สัญจรใช้งานอย่างเป็นทางการในเดือนกันยายน 2563 สะพานถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับการจราจรที่เพิ่มขึ้นอันเป็นผลมาจากการขยายที่อยู่อาศัยริมแม่น้ำ ซึ่งจะแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม รถโดยสารจะสามารถใช้สะพานได้ระหว่างเวลา 05.00 น. ถึง 19.00 น. ก่อนการเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนหน้า สะพานมีความยาว 725 เมตร เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ขณะนี้กระทรวงการก่อสร้างกำลังขออนุมัติเพื่อสร้างสะพานแห่งใหม่ในเมือง Thanlwin ชองรัฐฉานโดยใช้เงินกู้ 8.4 ล้านยูโรจากออสเตรีย Thanlwin Bridge ปัจจุบันเชื่อมระหว่างเมียนมาตอนกลางกับรัฐฉานถูกใช้งานมาตั้งแต่ปี 2542 ทำให้สามารถรองรับน้ำหนักได้ครั้งละ 16 ตันเท่านั้นเมื่อเทียบกับความจุเดิมที่ 30 ตัน ดังนั้นต้องย้ายสินค้าจากรถบรรทุกขนาดใหญ่ไปยังรถขนาดเล็กเพื่อให้สินค้าผ่านได้ต้องใช้เวลานานเกินและไม่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจ สะพานสายใหม่มีความยาว 870 ฟุตและรับน้ำหนักได้สูงสุด 60 ตัน เงินกู้ซึ่งได้รับการอนุมัติจากธนาคาร Uni Credit ของออสเตรียจะปลอดดอกเบี้ยและมีกำหนดชำระคืนภายใน 28.5 ปี ซึ่งรวมระยะเวลาผ่อนผัน 14 ปี

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/new-bridge-infrastructure-planned-ayeyarwady-shan.html

ภาคอุตสาหกรรมเร่งให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมมัคคุเทศก์ในเมียนมา

สมาคมมัคคุเทศก์เมียนมา (MTGA) กล่าวว่าได้ส่งต่อข้อเสนอแนะในการขอสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือมัคคุเทศก์ท้องถิ่นไปยังคณะกรรมการแผนบรรเทาเศรษฐกิจ COVID-19 ของรัฐบาล ความช่วยเหลือทางการเงินและเงินกู้ COVID-19 ในปัจจุบันมอบให้กับภาคการท่องเที่ยวและ บริษัทต่างๆ แต่ไม่ใช่สำหรับไกด์นำเที่ยว ดังนั้นจึงมีการส่งข้อเสนอแนะเพื่อพิจารณาเงินกู้สำหรับมัคคุเทศก์ท้องถิ่น โดยจะช่วยเหลือเพียงมัคคุเทศก์ประเภทเดียวที่ได้รับคือการอุดหนุนเมื่อเข้าร่วมหลักสูตรการฝึกอบรมที่จำเป็นที่ช่วยคนได้ครั้งละไม่กี่ร้อยคนเท่านั้น กระทรวงจะศึกษาข้อเสนอแนะจากสมาคมมัคคุเทศก์เมียนมาและให้ข้อมูลแก่คณะกรรมการที่มีหน้าที่ดูแลพนักงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว คณะกรรมการแผนบรรเทาเศรษฐกิจ COVID-19 ได้ปล่อยเงินกู้เป็นระยะเวลาหนึ่งปีในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 แก่ธุรกิจในภาคต่างๆเช่นเกษตรกรรม การท่องเที่ยว และธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการชะลอตัวของธุรกิจที่เกิดจากการระบาดของ COVID-19

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/industry-body-urges-more-help-tour-guides-myanmar.html

การชำระภาษีอิเล็กทรอนิกส์ของบริษัทในย่างกุ้งเปิดตัวตุลาคมนี้

บริษัททั้งหมดในย่างกุ้งจะต้องใช้ระบบการชำระภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่เโดยการจ่ายภาษีเงินได้ ภาษีการค้า หรือภาษีสินค้าพิเศษจะต้องจ่ายผ่านระบบบนมือถือริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 63 ตามข้อมูลของกรมสรรพากร (IRD) แม้ว่าบริษัทบางแห่งจะมีการจ่ายภาษีด้วยวิธีนี้บ้างแล้ว แต่ตอนนี้บริษัทในย่างกุ้งทั้งหมดจะต้องถูกบังคับให้ใช้ซึ่งนี่เป็นการเตือนให้เตรียมการล่วงหน้า รัฐบาลได้จัดให้มีการชำระเงินผ่านระบบ M-Banking, e-Banking, i-Banking และ Mobile Payment ตลอดจนแพลตฟอร์มการชำระเงินออนไลน์ที่เชื่อมโยงโดยบัตรเดบิตของสมาคมระบบการชำระเงินเมียนมา(Myanmar Payment Union หรือ MPU) และได้ทำข้อตกลงกับ cb bank และ KBZ เมื่อต้นปีที่ผ่านมาและจะสามารถชำระเงินผ่านธนาคารทั้งหมดห้าแห่งในขณะนี้ ซึ่งจะมีรายรับจากภาษีราว 50,000 ล้านจัตผ่านระบบการชำระเงินออนไลน์ ผู้ที่กำลังเสียภาษีเงินได้ ณ สำนักงานภาษีจำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ผู้เสียภาษีเหล่านี้จะต้องชำระผ่านธนาคารแทนที่การใช้สมุดบัญชีเงินฝาก โดยไม่จำเป็นต้องพกเงินสดหรือเช็คอีกต่อไปวิธีการใหม่นี้จะช่วยให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างมาก

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/company-e-tax-payments-introduced-october.html

AGD Bank ร่วมลงนาม Pact Global Microfinance ปล่อยเงินกู้ให้เกษตรกร

Asia Green Development Bank (AGD Bank) หนึ่งในธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในเมียนมาได้ลงนามในข้อตกลงการจัดหาเงินทุนมูลค่า 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (35 พันล้านจัต) กับ Pact Global Microfinance Fund (PGMF) ซึ่งจะแจกจ่ายให้กับเกษตรกรและธุรกิจการเกษตรในชนบท โดยจะมีการเบิกจ่ายเงินกู้ในสกุลเงินท้องถิ่นเป็นครั้งแรกของเมียนมา เพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจในพื้นที่ชนบทห่างไกลของเมียนมาและช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร ข้อตกลงดังกล่าวได้ลงนามในช่วงเวลาที่ COVID-19 กำลังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการเกษตรและภาคการส่งออก ด้วยเหตุนี้การจัดการกับอัตราแลกเปลี่ยนจึงกลายเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก จากข้อตกลงดังกล่าวสามารถโอนเงินในรูปสกุลเงินท้องถิ่นไปยังผู้ประกอบการ 68,000 ครัวเรือน Pact Global Microfinance Fund เป็นสถาบันการเงินรายย่อยที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเมียนมาและให้เงินกู้รายย่อยแก่ชุมชนในพื้นที่ชนบท นาย U Pyi Soe Htin ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายธุรกิจของ AGD Bank กล่าวว่าธนาคารมีเป้าหมายที่จะให้ทุนและสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ชนบทโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการเกษตร

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/agd-bank-pact-global-microfinance-bring-foreign-funds-local-farmers.html

เมียนมา-ญี่ปุ่นหารือแผนแม่บทโลจิสติกส์แห่งชาติ

จากข้อมูลของกระทรวงคมนาคมและการสื่อสาร เมียนมาร์และญี่ปุ่นหารือเกี่ยวกับการดำเนินการขั้นสุดท้ายของแผนแม่บทโลจิสติกส์แห่งชาติซึ่งได้รับความช่วยเหลือจาก Japan International Cooperation Agency (JICA) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาภาคโลจิสติกส์ของเมียนมาเมื่อวันที่ วันที่ 17 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา แผนแม่บทโลจิสติกส์แห่งชาติร่างขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2559 โดยความช่วยเหลือของ  JICA นำโดยกระทรวงคมนาคมและการสื่อสาร ตามแผนแม่บทภาคโลจิสติกส์จะเพิ่มขึ้นสามเท่าของปัจจุบันภายในปี 2573 จากรายงานของ Myanma Port Authority (MPA) มีการสร้างท่าเทียบเรือใหม่ 8 แห่งในย่างกุ้งภายในระยะเวลาสามปีและกำลังดำเนินการขนถ่ายสินค้าด้วยท่าเทียบเรือ 41 แห่ง ชายฝั่งเมียนมาร์มีความยาว 1,385 ไมล์และมีการสร้างท่าเรือ 9 แห่งตามแนวชายฝั่ง ท่าเรือย่างกุ้งเป็นท่าเรือสำคัญและรองรับการค้าทางทะเลระหว่างประเทศมากกว่าร้อยละ 90 ท่าเรือใหม่ที่สร้างขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้แก่ ท่าเทียบเรือ Green Asia ที่มีความยาว 200 เมตร ท่าเทียบเรือ Elite Petrochemical ท่าเรือ Wilmar International และ International Bulk Terminal Thilawa

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-japan-discuss-implementation-of-national-logistics-master-plan