ยุโรปเรียกร้องให้จีนชะลอการชำระหนี้ของเมียนมา

ประเทศในยุโรปตกลงที่จะเลื่อนการชำระคืนเงินกู้ของเมียนมาเป็นจำนวนเงินรวม 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และยังเรียกร้องให้จีนทำเช่นเดียวกัน ออสเตรีย, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมันนี, เนเธอร์แลนด์และโปแลนด์มีการผ่อนผันการชำระคืนเป็นจำนวนเงินรวม 98 ล้านเหรียญสหรัฐรวมทั้งดอกเบี้ยสำหรับงวดเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม 2563 จำนวนหนี้ประกอบด้วยร้อยละ 20 ของการชำระหนี้ตามกำหนดเวลาของเมียนมาซึ่งมีมูลค่าประมาณ 500 ล้านดอลลาร์ในช่วงเวลานี้ สหภาพยุโรปเรียกร้องให้เจ้าหนี้รายใหญ่ของเมียนมาปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน เช่นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุดของคือ จีนและญี่ปุ่น หนี้ของเมียนมาในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 10 พันล้านดอลลาร์ซึ่ง 4 พันล้านดอลลาร์เป็นหนี้ที่กู้จากจีน การบรรเทาหนี้ครั้งนี้จะช่วยให้เมียนมาในการสนับสนุนระบบสาธารณสุขชุมชนและธุรกิจในท้องถิ่น สหภาพยุโรปได้ระดมทุนและตั้งโครงการสำหรับภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากวิกฤต COVID-19 ซึ่งได้แก่กองทุนฉุกเฉิน The Myan Ku Fund เป็นจำนวนเงิน 5 ล้าน สำหรับแรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าใ นเดือนพฤษภาคมและได้จ่ายเงินไปแล้วกว่า 2 พันล้านจัต จากจำนวนแรงงาน 21,690 นอกจากนี้ยังระดมเงินทุนสูงถึง 30 ล้านยูโรสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม พนักงานสาธารณสุข แรงงานข้ามชาติ และผู้ที่อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยและพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/europe-defer-myanmars-debt-payments-urges-china-follow-suit.html

ความต้องการอสังหาริมทรัพย์ในมัณฑะเลย์เพิ่มขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยต่ำและค่าเงินแข็งค่า

แม้มีการระบาดของ COVID-19 แต่ความต้องการในภาคอสังหาริมทรัพย์ของมัณฑะเลย์ยังคงเพิ่มขึ้น ราคาขายอสังหาริมทรัพย์ประมาณ 100 – 300 ล้านจัตส่วนใหญ่ถูกขายให้กับชาวจีน เป็นผลมาจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงและเงินหยวนจีนที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ เศรษฐกิจเมียนมาชะลอตัวลงแต่ตลาดอสังหาริมทรัพย์กลับมาฟื้นตัวหลังจากธนาคารกลางปรับลดอัตราดอกเบี้ย ผู้คนจำนวนมากเริ่มลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มากขึ้น ซึ่งมันดาเลย์มีอสังหาริมทรัพย์ราคาปานกลางที่มีศักยภาพที่จะเติบโต เช่น ที่ Ye Mon Taung Ward และ Htan Koe Pin พื้นที่เหล่านี้เชื่อมต่อกับพื้นที่สำคัญระหว่างถนน 35th, Thate Pan Street และถนนวงแหวน Pyin Oo Lwin-Mandalay ตอนนี้มีโครงการที่อยู่อาศัย คลังสินค้า และโชว์รูมรถยนต์เพิ่มขึ้น อีกทั้งสนามกอล์ฟในบริเวณใกล้เคียงยังช่วยเพิ่มมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ ในขณะเดียวกันจำนวนประชากรก็เริ่มขยายตัว

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/mandalay-property-sales-spike-due-low-rates-strong-currency.html

ธนาคารในเมียนมาเปิดตัวบัตรเดบิต – เครดิตเพื่อผลักดันการใช้เงินสด

ธนาคารประชาชนแห่งเมียนมา (MCB) เตรียมให้บริการบัตรเดบิตโดยร่วมกับสหภาพพม่า Payment Union (MPU) และผู้ให้บริการชำระเงินจากญี่ปุ่นอย่าง JCB ธนาคารประกาศในช่วงสุดสัปดาห์ การร่วมมือกันครั้งนี้ จะช่วยให้ผู้ใช้บัตรอสามารถเข้าถึงเครือข่ายการค้าของ MPU ทั่วประเทศและถอนเงินที่ตู้เอทีเอ็ม MCB, ตู้เอทีเอ็มอื่น ๆ ที่รองรับบัตร MPU / JCB และ ATM ที่รองรับบัตร JCB ในประเทศอื่น ๆ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในการชำระเงินผ่านเครื่อง ณ จุดขาย (POS) ที่เคาน์เตอร์ขายในประเทศและต่างประเทศรวมถึงชำระเงินและเติมเงินออนไลน์ได้ สัปดาห์นี้หลังจากที่ Yoma Bank จับมือกับ Mastercard จะช่วยให้ธนาคารสามารถขยายการให้บริการทางดิจิทัลและความความก้าวหน้าของเศรษฐกิจดิจิทัลของเมียนมา รัฐบาลได้ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ในการพัฒนาและใช้ผลิตภัณฑ์การชำระเงินแบบไร้เงินสดและแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อผลักดันการเติบโตและการรับมือกับการระบาดของ COVID-19

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-local-banks-launch-debit-credit-cards-drive-cashless-push.html

อุตสาหกรรมการก่อสร้างเมียนมาพร้อมต้อนรับแรงงานที่อพยพกลับประเทศ

อุตสาหกรรมการก่อสร้างของประเทศพร้อมเตรียมตำแหน่งงานสำหรับแรงงานอพยพที่มีประสบการณ์ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศเนื่องจาก COVID-19 สหพันธ์ผู้ประกอบการก่อสร้างของเมียนมาจะช่วยบริษัทก่อสร้างในท้องถิ่นให้ดำเนินการตามกระบวนการประกวดราคาของรัฐบาลหากพวกเขาต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งรัฐบาลควรส่งเสริมให้มีการจ้างงานมากขึ้นในประเทศ ณ สิ้นเดือนมีนาคมสถานที่ก่อสร้างเอกชนในเขตย่างกุ้งเกือบทั้งหมดหยุดชะงักเนื่องจาก COVID-19 แต่ธุรกิจเปิดใหม่และการก่อสร้างจะเริ่มต้นในช่วงเดือนมิถุนายน องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ออกโรงเตือนว่าแรงงานข้ามชาติหลายล้านคนทั่วโลกอาจเผชิญกับการว่างงานและความยากจนหลังจากเดินทางกลับจากต่างประเทศกลับประเทศบ้านเกิด สองเดือนที่ผ่านมามีแรงงานเดินทางกลับประเทศมากกว่า 71,000 คนจากประเทศไทย หลายพันคนกลับมาจาก จีน มาเลเซีย สิงคโปร์และเกาหลีใต้ โดยค่าแรงขั้นต่ำต่อวันคือ 4,800 จัต ในขณะที่ประเทศไทยค่าแรงขั้นต่ำต่อวันจะอยู่ที่ 325 บาทหรือประมาณ 15,000 จัต ILO กล่าวว่าด้วยนโยบายที่ถูกต้องของแรงงานอพยพอาจเป็นทรัพยากรสำคัญในการฟื้นตัวจากผลกระทบของ COVID-19 แรงงานข้ามชาติเหล่านี้จะนำความสามารถและทักษะใหม่ ๆ มาพัฒนาประเทศเมียนมาต่อไป

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-construction-industry-ready-provide-jobs-returnees.html

อัตราเงินเฟ้อลดลงท่ามกลางความต้องการที่ลดลง

จากรายงานของธนาคารโลกอัตราเงินเฟ้อในประเทศลดลงเหลือร้อยละ 8.3 ในช่วงเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นผลมาจากความต้องการที่ลดลงของผู้ประกอบการในเมียนมา เนื่องจากผู้บริโภคลดการใช้จ่ายลงท่ามกลางวิกฤติ COVID-19  ปัจจุบันอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือนและคาดว่าจะส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อรายปี อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงจากร้อยละ 9.5 ในเดือนธันวาคม 2562 เป็นร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนเมษายนเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ที่เป็นตัวฉุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานยังคงอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 13 ในเดือนเมษายนนี้คาดว่าเดือนกรกฎาคมจะลดลอีกเนื่องจากอัตราภาษีศุลกากรที่สูงขึ้นเมื่อเทียบเป็นรายปี การใช้จ่ายที่ลดลงและราคาที่ลดลงคาดว่าจะช่วยลดแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อโดยรวมในปีงบประมาณ 2563-2563 ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อควรอยู่ที่ร้อยละ 7.5 ในปีงบประมาณนี้ลดลงจากร้อยละ 8.5 ของปีก่อน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อโลกที่คาดไว้ที่อยู่ที่ร้อยละ 7.5 ในปีนี้อาจสูงกว่าอัตราของธนาคารกลางในปัจจุบันที่ร้อยละ 7 อัตราเงินฝากขั้นต่ำของธนาคารในเมียนมาคือร้อบละ 5 ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้อยู่ที่ร้อยละ 10

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-inflation-declines-amid-falling-demand.html

ส่งอออกข้าวโพดเมียนมาคาดอุปสงค์ตลาดเพิ่ม

กระทรวงพาณิชย์พร้อมหนุนธนาคารปล่อยสินเชื่อเพื่อปลูกข้าวโพดในประเทศซึ่งคาดว่าความต้องการจะเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างกระทรวงกับสมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดเมียนมาที่ถูกจัดตั้งขึ้นใหม่เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2563 เมียนมามีพื้นที่ปลูกข้าวโพดประมาณ 1.9 ล้านเอเคอร์ทั่วทั้งภูมิภาค Ayeyarwady, Nay Pyi Taw, รัฐ Shan, รัฐ Kayah และรัฐ Kayin ซึ่งให้ผลผลิตมากกว่า 3 ล้านตันต่อปีตามข้อมูลของปีที่แล้ว การบริโภคภายในประเทศนั้นน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณการผลิตทั้งหมดส่วนอีกครึ่งหนึ่งส่งออกไปยังประเทศไทยเป็นหลัก ปัจจุบันเมียนมาเป็นผู้ส่งออกข้าวโพดรายใหญ่อันดับสองของอาเซียน ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2562-2563 ความต้องการข้าวโพดได้เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะจากประเทศไทยซึ่งมีความต้องการข้าวโพดเพิ่มขึ้นเนื่องจากอุตสาหกรรมและอาหารสัตว์มีปริมาณเพิ่มขึ้น จากข้อมูลพบว่าในปีนี้ส่งออกข้าวโพดไปแล้วประมาณ 1.8 ล้านตันซึ่งมากกว่าหนึ่งล้านตันเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว  มากกว่าร้อยละ 60 ส่งออกไปยังประเทศไทย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/corn-traders-myanmar-get-organised-anticipation-more-demand.html

เมียนมาลงทุนด้านการดูแลสุขภาพเกษตรและอุตสาหกรรม

เมียนมาให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านการดูแลสุขภาพ การเกษตร ปศุสัตว์และการประมง และเขตอุตสาหกรรมหลังจากที่ได้รับ COVID-19 โดยมีการจัดลำดับความสำคัญในการดึงดูดนักลงทุนในทั้งสามกลุ่มหลังจากได้รับ COVID-19 ในปีนี้ในด้านการดูแลสุขภาพ เช่น ธุรกิจที่ผลิตหน้ากากอนามัย อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล และเจลล้างมือแต่ต้องได้รับการอนุมัติก่อน การพัฒนาระบบฟาร์มเนื้อสัตว์และการประมงเพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านอาหาร การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในภาคการประมงและการเกษตรประกอบคิดเป็น 1%และ 0.5% ของการลงทุนทั้งหมดในประเทศ การลงทุนจะสร้างงานให้กับคนในท้องถิ่นและลดค่าใช้จ่ายทางและความเจ็บป่วยจากการว่างงาน การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมีมูลค่ารวม 4.4 พันล้านเหรียญสหรัฐจนถึงวันที่ 23 มิถุนายนในปีงบประมาณปัจจุบันลดลง 5.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากเป้าหมายของคณะกรรมการการลงทุนของเมียนมา (MIC) ในช่วงปีงบประมาณก่อนหน้าได้อนุมัติการลงทุน 4.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตามธุรกิจที่ได้รับอนุญาตมีทั้งหมด 189 ธุรกิจ ส่งผลให้มีการสร้างงานใหม่ 8,700 ตำแหน่ง ซึ่งรวมถึงธุรกิจ 14 แห่งที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งร้านค้าหรือขยายกิจการในประเทศเมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีรายได้เกือบ 200 ล้านในเมืองหลวงและสร้างงานมากกว่า 2,500 ตำแหน่ง จนถึงตอนนี้มีนักลงทุนจากสิงคโปร์ จีน และไทยได้ลงทุนมากที่สุด ปัจจุบันมี 51 ประเทศที่ลงทุนใน 12 สาขา – ไฟฟ้า 26.6% , 26% ในธุรกิจน้ำมันและก๊าซและ 14       % ในการภาคผลิต

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-lure-investments-healthcare-agri-and-industry.html