ผลผลิตน้ำตาลเมียนมาต่ำสุดในรอบ 7 ปี

รองประธานสมาคมผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์น้ำตาลและอ้อยเมียนมากล่าวว่าการผลิตอ้อยในเมียนมาคาดว่าจะลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 7 ปี ในปีงบประมาณ 2563-2564 จากความต้องการของตลาดโลกที่ลดลง เมียนมาส่งออกน้ำตาลดิบที่ไม่ผ่านการกลั่นไปยังจีน อย่างไรก็ตามจีนได้เพิ่มภาษีนำเข้าเป็นร้อยละ 85 และปราบปรามผู้ค้าที่ผิดกฎหมายตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งนำไปสู่อุปทานส่วนเกินในปัจจุบัน เป็นผลให้การส่งออกน้ำตาลได้ลดลงในช่วงสองปีที่ผ่านมา ในอนาคตคาดว่าเกษตรกรจะลดการปลูกอ้อยอย่างค่อยเป็นค่อยไปในปีงบประมาณ 2553-2564 ที่ลดลงเหลือเพียง 350,000 เอเคอร์ หรือลดลงร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับเจ็ดปีที่ผ่านมาและเป็นสถิติต่ำที่สุด นอกเหนือจากประเทศจีนแล้วมีเพียงไม่กี่ประเทศที่นำเข้าน้ำตาล ส่วนใหญ่ที่ผลิตได้ในตอนนี้จึงถูกนำไปใช้ในการบริโภคภายในประเทศ เมื่อพื้นที่เพาะปลูกลดลงโรงงานจะปิดตัวลงอย่างช้า ๆ และอาจต้องนำเข้าน้ำตาลเพื่อบริโภคแทนเนื่องจากชาวไร่อ้อยจะไม่ปลูกถ้าไม่ทำกำไร

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-sugar-production-hit-lowest-level-seven-years.html

เมียนมาจับมือสิงคโปร์พัฒนาโครงการสาธารณูปโภคขั้นสูง

กระทรวงการวางแผนการเงินและอุตสาหกรรม (MOPFI) เลื่อนการดำเนินการตามโครงสร้างพื้นฐานภายใต้ธนาคารโครงการเมียนมาโดยร่วมมือกับหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (Infra Asia) ของสิงคโปร์ โดยอินฟราเอเชียกำลังทำงานร่วมกับ บริษัท นิวย่างกุ้งดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (NYDC) เพื่อแบ่งปันความรู้เชิงวิชาการและแนวการปฏิบัติที่เป็นเลิศระหว่างประเทศในการพัฒนาเมืองย่างกุ้งใหม่ การประเมินขอบเขตสำหรับการพัฒนาแหล่งจ่ายไฟและการจัดจำหน่าย การจัดหาและจัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติ และโครงสร้างพื้นฐานการเพื่อเชื่อมต่อไซเบอร์ ธนาคารโครงการเมียนมาเป็นแพลตฟอร์มของรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการด้านการเงินที่มีประสิทธิภาพ การประสานงาน และความโปร่งใสของโครงการลงทุนที่สำคัญในเมียนมา จนถึงขณะนี้รัฐบาลได้จัดทำโครงการพัฒนาระดับชาติ 58 โครงการในธนาคารโครงการเมียนมา

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-collaborate-singapore-advance-infrastructure-projects.html

สามประเทศอาเซียนเสนอซื้อข้าวจากเมียนมา

มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์เสนอที่จะซื้อข้าวของเมียนมา ในจำนวน 300,000 ตันและ 50,000 ตันตามลำดับ ขณะที่อินโดนีเซียยังไม่ได้ยืนยันปริมาณที่ต้องการ เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ประเทศในกลุ่มอาเซียนกำลังเพิ่มปริมาณสำรองข้าวซึ่งเป็นโอกาสสำหรับเมียนมาในการส่งออกระยะยาว แต่เมียนมาต้องชั่งน้ำหนักอุปสงค์ระหว่างประเทศสำหรับข้าวต่อความต้องการภายในประเทศ กระทรวงพาณิชย์ระงับการส่งออกในเดือนเมษายน แต่อนุญาตให้ส่งออก 150,000 ตัน จนถึงขณะนี้ได้มีการสร้างปริมาณสำรองส่งออกคิดเป็นร้อยละ 10 ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดและซื้อสำรองภายในประเทศ 50,000 ตัน คาดว่าจะส่งออกข้าว 2.5 ล้านตันในปีงบประมาณ 62-63 และมีรายรับมากกว่า 542 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกข้าว 1.8 ล้านตันจนถึง 15 พ. ค. 63 ประมาณ 14 % เป็นการส่งออกผ่านชายแดน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/three-asean-countries-offer-buy-myanmar-rice.html

JICA ปรับโครงสร้างสินเชื่อเพิ่มช่องทางระดมทุนให้ธุรกิจ SMEs

กระทรวงการวางแผนการเงินและอุตสาหกรรม (MOPFI) และสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (JICA) ร่วมตั้งกองทุน 64 พันล้านจัตให้กับธุรกิจขนาดเล็กขนาดกลางและขนาดย่อม (MSMEs) ของเมียนมาซึ่งได้รับผลกระทบเชิงจาก COVID – 19 ภายใต้โครงการฉุกเฉิน JICA โดยดำเนินการผ่าน Myanma Economic Bank และธนาคารพาณิชย์อื่น ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวนเงินกู้สูงสุดเท่ากับ 300 ล้านจัต อัตราดอกเบี้ยรายปี 5.5% ถึง 10 % ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้กู้ในการจัดหาหลักประกัน ระยะเวลาเงินกู้จะแตกต่างจากสามปีถึงห้าปี สินเชื่อในระยะ 3 ปี จะมีระยะเวลาผ่อนผัน 6 เดือนและสินเชื่อตั้งแต่สามปีถึงห้าปีจะได้ระยะเวลาผ่อนผันสูงสุดถึงหนึ่งปี

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/jica-restructures-loan-program-channel-more-funds-needy-smes.html

รัฐสภาเมียนมาอนุมัติสินเชื่อเพื่อใช้จ่ายและจัดการกับ COVID-19

สัปดาห์ที่ผ่านมารัฐสภาได้อนุมัติเงินจำนวน 2.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อครอบคลุมค่าใช้จ่ายสาธารณะรวมถึงเงินเพื่อจัดการกับ COVID-19 ซึ่งรวมถึง 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF), 30 พันล้านเยนจากสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) และ 250 ล้านดอลลาร์จากสมาคมพัฒนาระหว่างประเทศของธนาคารโลก ในขณะเดียวกันก็ให้การสนับสนุนทางการเงินเพื่อการเติบโตและการพัฒนาในระยะยาวของเมียนมา อย่าง 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) เพื่อจัดตั้งบรรษัทประกันสินเชื่อแห่งแรกของเมียนมาและ 33 ล้านยูโรจากธนาคาร Unicredit ของออสเตรียเพื่อสร้างรหัสอิเล็กทรอนิกส์สำหรับการลงทะเบียนประชากร

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/us25b-loans-public-spending-covid-19-response-approved-last-week.html

กระทรวงสาธารณสุขและกีฬาเมียนมาทุ่ม 46 พันล้านจัตซื้อยาและเครื่องมือแพทย์ ในปีงบประมาณปัจจุบัน

รัฐบาลใช้จ่าย 40 พันล้านจัต ในการซื้อยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์และ 6 พันล้านจัตสำหรับเครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัยสำหรับการดูแลสุขภาพของประชาชนในปีงบประมาณปัจจุบันตามที่กระทรวงสาธารณสุขและการกีฬา โดยรัฐจัได้ดสรรเงินให้แก่กระทรวง 1,000,000 จัต ต่อปีงบประมาณ 2562-2563 ในปีงบประมาณที่ผ่านมากระทรวงได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ เช่นการดำเนินการรณรงค์เพื่อพัฒนาความรู้ด้านสาธารณสุข การสร้างความมั่นใจด้านความปลอดภัยของผู้ป่วย การเผยแพร่ข่าวสารและข้อมูลด้านสุขภาพ การปรับปรุงระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แจกจ่ายยาคุณภาพและอุปกรณ์ทางการแพทย์ หลักสูตรการฝึกอบรม.

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/health-sports-ministry-spends-ks46-bn-on-purchase-of-medicines-medical-equipment-in-current-fy