มูลค่าการส่งออกยางพาราเพิ่มขึ้น

มูลค่าการส่งออกยางพาราของสปป.ลาวเพิ่มขึ้น โดยสร้างรายได้แก่สปป.ลาวถึง 217.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2563 จากการที่พื้นที่เพาะปลูกลดลงในระยะ 3 ปีที่ผ่านทำให้ราคายางพาราเพิ่มขึ้นจาก 3,000-4,000 kip ในปี 60 มาเป็น5,000-6,000 kip ในช่วงนี้ ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยจากความต้องการยางพาราของจีนมากถึง 10,000 ตัน จากปีที่แล้วและปี63สปป.ลาวได้รับโควต้าในการส่งออกไปยังจีนอีก 20,000 ตัน ปัจจุบันถึงแม้เกิดการแพร่ระบาดของ covid-19 แต่การส่งออกยางาราไปยังจีน จากแขวงน้ำทาก็ยังทำได้ปกติและสร้างมูลค่ามหาศาลแก่สปป.ลาว

ที่มา: http://annx.asianews.network/content/rubber-falls-second-place-export-value-despite-rise-foreign-sales-114828

รัฐบาลสปป.สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเกษตรเพื่อผลผลิตที่มั่นคง

คณะกรรมการป้องกันและควบคุมภัยพิบัติแห่งชาติกำลังช่วยเหลือเกษตรกรทั่วประเทศโดยการวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชที่มีความยืดหยุ่นต่อสภาพอากาศในสปป.ลาวโดยเฉพาะความทดทานในช่วงฤดูแล้ง โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2562 ปริมาณน้ำลดลงร้อยละ 41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วทำให้สปป.ลาวจะต้องเผชิญกับสภาพอากาศแห้งแล้งเร็วขึ้น ทำให้อาจส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตเกษตรจากเดิมที่ตั้งเป้าไว้ว่าจะมีพื้นที่เพาะปลูกในช่วงนี้ 384,300 เฮกตาร์ ซึ่งจากความแห้งแล้งดังกล่าวผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมคาดว่าจะนำมาซึ่งความแห้งแล้งและอุทกภัยที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ โดยผลผลิตอาจลดลง 10% ในปี 2563 และ 30% ในปี 2593 ดังนั้นการทำการศึกษาและวิจัยเพื่อพัฒนาการเกษตรจึงเป็นสิ่งที่สปป.ลาวกำลังผลักดันและให้การสนใจอย่างยิ่งตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2559-2563)เพื่อความมั่นคงด้านอาหารภายในประเทศและประสิทธิภาพการผลิตภาคเกษตร

ที่มา  : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Farmers_43.php

แม้มีข้อจำกัดการเพาะปลูก กล้วยยังคงเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของสปป.ลาว

มูลค่าการส่งออกของกล้วยไปยังประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะจีนและไทยในปี 62 เพิ่มขึ้น 198 ล้านเหรียญสหรัฐเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 76 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ถึงแม้รัฐบาลจะมีมาตราการสั่งห้ามไม่ให้มีการเพาะปลูกเพิ่มเละยังมีการปิดโรงงานกว่า 90 บริษัทที่ลงทุนในสวนกล้วยครอบคลุม 26,177 เฮคเตอร์ทั่วประเทศลาวเนื่องจากการเพาะปลูกกล้วยของบริษัทบางส่วนมีการละเมิดกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมและไม่เป็นมิตต่อระบบนิเวศโดยมีการใช้สารเคมี Paraquat และ DDTที่อาจส่งผลต่อร่างกายมนุษย์ได้ ทำให้พืชดังกล่าวถูกควบคุมอย่างเคร่งครัดและหากต้องการจะปลูกต้องมีการขออนุญาตจากภาครัฐก่อน อย่างไรก็ตามกล้วยก็ยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของสปป.ลาวเพราะมีมูลค่าเป็นอันดับ 4 ในกลุ่มสินค้าเกษตรที่สร้างรายได้แก่สปป.ลาวนอกจากนี้ยังสร้างงานและรายได้ที่มั่นคงแก่เกษตรกรอีกด้วย จึงเป็นสิ่งที่ทำให้รัฐบาลต้องกลับมาทบทวนถึงข้อจำกัดต่างๆ ที่ทำให้ผลผลิตลดลงและไม่มีนักลงทุนกล้าที่จะเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ ทั้งทีมีมูลค่าสูง ในท้ายที่สุดหากมีข้อสรุปที่เหมาะสม กล้วยจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของสปป.ลาวต่อไป

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/bananas-remain-large-slice-laos%E2%80%99-export-pie-114628

ดุลการค้าสปป.ลาวขาดดุลลดลง

มูลค่าการนำเข้าสินค้าของลาวลดลงเล็กน้อยจาก 5.8 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2018 เป็น 5.7 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 62 โดยสินค้านำเข้าห้าอันดับแรก ได้แก่ อุปกรณ์ก่อสร้างน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊สที่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ชิ้นส่วนยานยนต์และอาหาร มีมูลค่าลดลงในขนาดที่สินค้าส่งออกสำคัญมีการเพิ่มขึ้นทำให้ดุลการค้าขาดดุลลดลงต่อในตลอด 3 ปี ที่ผ่านจากการส่งเสริมการส่งออกและการผลิตเพื่อบริโภคในประเทศ เมื่อมีการขาดดุลน้อยลงก็เปรียบได้ว่าสปป.ลาวมีทุนสำรองมากขึ้นเป็นตัวบ่งชี้เสถียรภาพของภาคต่างประเทศที่ดี นอกจากการเพิ่มการส่งออกและผลผลิตจะทำให้สปป.ลาวแก่ปัญหาเรื่องการขาดอาหารและยังทำให้เศรษฐกิจเติบโตต่อเนื่องไปได้อีกด้วย

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/value-imports-dips-trade-deficit-plummets-laos-114627

รายได้ของลาวจากการขายข้าวไปยังประเทศจีนเพิ่มขึ้น

ข้าวที่ส่งออกไปยังจีนสร้างรายได้แก่สสป.ลาวในปี 62 มากถึง 14.54 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 7.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจากการลงนามการค้า ACFTA ทำให้เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสปป.ลาวส่งออกสินค้าไปยังประเทศจีนได้มากขึ้นโดยข้อตกลงนี้จะลดหรือยกเว้นภาษีแก่สินค้าที่สปป.ลาวส่งไปยังจีนและนโยบายการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศทำให้การค้าจีนกับสปป.ลาวขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยจีนถือเป็นตลาดส่งออกข้าวที่ใหญ่ที่สุดของสปป.ลาว ในแต่ละปีสปป.ลาวมีโควตาส่งออกข้าวให้แก่จีนถึง 50,000 ตันและมีแนวโน้มที่จะส่งออกได้มากกว่าเดิมจากการเติบโตของเศรษฐกิจจีนทั้งในแง่ของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น รายได้ต่อหัวที่สูงขึ้น กำลังซื้อคนในประเทศเพิ่มขึ้นปัจจัยต่างๆเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้มีการนำเข้าข้าวจากสปป.ลาวมากขึ้นและส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศ 

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos%E2%80%99-earnings-rice-sales-china-rise-114545