รถบรรทุกผลไม้กว่า 700 คันไปจีน ต้องพบกับความเสียหายที่ด่านชายแดนมูเซ

รถบรรทุกผลไม้กว่า 700 คัน ติดอยู่ที่ประตูพรมแดน Kyinsankyawt และ Pangsaing (Kyugok) ในด่านมูเซ ทางตอนเหนือของรัฐฉานพบว่าเกิดความเสียหายในการส่งออกไปจีนเนื่องจากพบปัญหาความล่าเพราะรถมีจำนวนมาก มีรถบรรทุกสินค้าเพียง 80 คันเท่านั้นที่สามารถเข้าและออกจากประเทศจีนได้หลังจากที่คนขับถูกพบว่าติด Covid-19 และปัญหาจากสถานการณ์ทางการเมืองของเมียนมา ซึ่งตอนนี้ตลาดเมลอนอยู่ในเกณฑ์ราคาดี แต่มีรถบรรทุกจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถเข้าจีนได้หลังจากคนขับติดเชื้อไวรัส อีกทั้งรถบรรทุกประมาณ 600 คันติดอยู่ด้านนอก แต่มีเพียง 80 เท่านั้นที่สามารถเข้าไปได้ และยังพบว่าธนาคารเกิดปัญหาปิดทำการ เหตุดังกล่าวส่งผลกระทบต่อผู้ค้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อีกทั้งชาวจีนเน้นการใช้รถตัวเองในการบรรทุก ปัจจุบันค่าขนส่งผลไม้อยู่ที่ประมาณ 1.5 ล้านจัตต่อการบรรทุกจากพะโคหรือย่างกุ้งและ 1.4 ล้านจัตจากมัณฑะเลย์หรือเขตสะกาย

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/over-700-fruit-trucks-bound-for-china-stranded-face-damage-at-border-gates-in-muse

NBC ขอบคุณ IMF หลังร่วมประเมินสถานการณ์หลังโควิด-19 ในกัมพูชา

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และกัมพูชาได้พบกันเพื่อหารือและประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจมหภาคของกัมพูชาหลังเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงดำเนินอยู่ในปัจจุบัน โดยการประชุมดังกล่าวจัดขึ้นผ่านการประชุมทางวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ระหว่างผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) และหัวหน้าทีม IMF ประจำประเทศกัมพูชา ซึ่งในระหว่างการประชุมผู้ว่าการได้แจ้งให้กับทีม IMF ทราบถึงความพยายามของรัฐบาลในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 และในการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจของประเทศนับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของไวรัส รวมถึงสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งได้มีการปรับปรุงนโยบายทางด้านการเงินภายในประเทศ รวมถึงการผ่อนคลายกฎระเบียบต่าง ๆ เพื่อเพิ่มการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ รวมทั้งสนับสนุนให้มีการปรับโครงสร้างเงินกู้เพื่อช่วยผู้กู้ที่ประสบปัญหาทางการเงินที่เป็นผลมาจากโควิด-19 โดยผู้ว่าการได้กล่าวขอบคุณ IMF สำหรับการสนับสนุนการพัฒนาของกัมพูชาโดยเฉพาะในภาคธนาคารที่ผ่านมา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50815896/nbc-governor-thanks-imf-for-development-support/

รัฐบาลเมียนมาทุ่มเงินหนุนการใช้ไฟฟ้าช่วงโควิด

เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 64 กระทรวงไฟฟ้าและพลังงานประกาศว่ารัฐบาลจะให้เงินอุดหนุนสำหรับการใช้ไฟฟ้าในประเทศจำนวน 150 หน่วยในเดือนนี้ ซึ่งออกมาตรการนี้ได้ถูกใช้ไปเมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้วเพื่อช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายของประชากรในช่วงการระบาดของCOVID -19 จากนั้นเงินอุดหนุนจะขยายออกไปเป็นรายเดือนไป คาดว่าจะใช้วงเงินประมาณ 35,000 ล้านจัตต่อเดือน โดยถ้าใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยหรือเท่ากับ 11,550 จัตจะถูกเรียกเก็บเงินแบบก้าวหน้า ขณะที่มิเตอร์ไฟฟ้าและอุปกรณ์ประเภทอื่น ๆ จะไม่ถูกนำมารวมในมาตรการนี้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/government-extends-subsidies-electricity-myanmar.html

เริ่มแล้ว ‘ม33เรารักกัน’ เปิดลงทะเบียนรับ 4,000 บาท ตั้งแต่วันนี้–7 มี.ค. 2564

วันที่ 21 ก.พ. 2564 กระทรวงแรงงาน ได้เปิดลงทะเบียนโครงการ ‘ม33เรารักกัน’ รับเงินเยียวยา 4,000 บาท เป็นวันแรก สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19  โดยสามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.ม33เรารักกัน.com และตรวจสอบการได้รับสิทธิ ตั้งแต่วันนี้ -7 มี.ค.64  โดยผู้ได้รับสิทธิ์สามารถตอบสอบคุณสมบัติ ลายละเอียด และลงทะเบียนได้ในเว็บไซต์ https://www.xn--33-nqia4jubqa0kcg0o.com/ ทั้งนี้คาดว่าจะมีผู้ประกันตน ม.33 เข้าข่ายมีสิทธิได้รับเงินเยียวยาในครั้งนี้ จำนวน 9.27 ล้านคน ใช้วงเงินทั้งสิ้นประมาณ 37,100 ล้านบาท

ที่มา: https://workpointtoday.com/m-33-we-love/

เศรษฐกิจเวียดนามโต 5.8% หากควบคุมพิษโควิด-19 ระบาดได้

สถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจและนโยบายเวียดนาม (VEPR) คาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัว 5.8% ในปีนี้ หากไม่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในเขตชุมชน และส่งผลให้เศรษฐกิจในประเทศจะกลับมาเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งการเติบโตทางเศรษฐกิจจะต่ำกว่าที่รัฐบาลตั้งไว้ที่ 6.5% อย่างไรก็ตาม สถาบันฯ ได้ทำการประเมินอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไว้ที่ 1.8% หากมีการระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นและขัดขวางกิจกรรมทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ เวียดนามมีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 มากถึง 679 ราย นับตั้งแต่มีการระบาดในพื้นที่ชุมชน

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/economy/economy-to-expand-5-8-pct-if-covid-19-outbreak-contained-4235863.html

รัฐบาลกัมพูชารายงานการจัดเก็บภาษีในช่วงเดือนมกราคม

กรมสรรพากร (GDT) กระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน รายงานถึงรายรับจากการจัดเก็บภาษีจำนวน 879 พันล้านเรียล (ประมาณ 217 ล้านดอลลาร์) ในช่วงเดือนมกราคมปีนี้ ซึ่งจัดเก็บได้เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ถึงร้อยละ 116 ของรายรับที่วางแผนไว้สำหรับเดือนมกราคม แต่เมื่อเทียบกับเดือนมกราคมปีที่แล้วรายรับที่ได้จากภาษีลดลงร้อยละ 8 อยู่ที่ประมาณ 19 ล้านดอลลาร์ โดยรัฐบาลได้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในการจัดเก็บภาษีและทำการปฏิรูประบบการจัดการให้มารวมกันเพื่อส่งผลให้มีประสิทธิภาพในการรวบรวมรายรับจากภาษีมากขึ้น ภายใต้ผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของ COVID-19 ซึ่งรายรับจากภาษีที่จัดเก็บทั้งหมดอยู่ที่ 2.889 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2020 ทั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาหดตัวถึงร้อยละ 3.1

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50814324/217-million-collected-through-tax-in-january-pm/

ผู้ให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์ในกัมพูชามีมุมมองเชิงบวกสำหรับปี 2021

แม้ชาวต่างชาติที่เคยพักอาศัยอยู่ในกัมพูชาจะลดลงเป็นอย่างมากในช่วงที่มีการระบาดของ Covid-19 ทำให้ภาคธุรกิจการปล่อยเช่าไม่ค่อยจะดีนักในกัมพูชา แต่ก็ได้คาดการณ์ว่าจะฟื้นตัวกลับมาดีขึ้นในปี 2021 โดยผู้จัดการฝ่ายขายของ Asian Condo Brokers กล่าวว่ากัมพูชาโดยรวมยังคงเป็นสถานที่ยอดนิยมสำหรับการลงทุนจากต่างชาติแม้ว่าจะมีการระบาดอย่างหนักในปัจจุบันก็ตาม ซึ่งสิ่งนี้ทำให้เกิดความต้องการในอสังหาริมทรัพย์ที่หลากหลายและกระตุ้นความต้องการของตลาดให้เช่าในกัมพูชาได้ในอนาคต โดยชาวต่างชาติประมาณร้อยละ 80 ได้ทำการย้ายถิ่นฐานกลับไปยังภูมิลำเนาของตนเองในช่วงแรกของการระบาดของ COVID-19 ส่งผลทำให้ราคาค่าเช่าลดลงประมาณร้อยละ 20 และบริมาณการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ลดลงประมาณร้อยละ 40 ภายในสิ้นปี 2020 ซึ่งหากวัคซีนมีประสิทธิภาพมากพอและมีการพิจารณาให้เปิดพรมแดนอีกครั้งคาดว่าตลาดการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์จะกลับสู่สภาวะปกติในปี 2021

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50814018/rental-sector-businesses-share-positive-outlook-for-market-in-2021/

ศุลกากรเมียนมาขยายเวลาเว้นภาษีถึง ก.พ.64

กรมศุลกากรเมียนมา กระทรวงการวางแผนการเงินและอุตสาหกรรมได้ขยายระยะเวลายกเว้นภาษีเงินได้จากการส่งออกไปจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ การขยายเพดานการยกเว้นภาษี (Tax Holiday) สำหรับภาษีรายได้นิติบุคคลล่วงหน้า /2% ของการส่งออกได้รับการอนุมัติครั้งแรกในเดือนเมษายน 2020 เพื่อช่วยลดภาระทางของธุรกิจในช่วงการระบาดของ COVID-19 ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีจนถึงสิ้นเดือนมกราคม 2564 สำนักงานผู้เสียภาษีขนาดใหญ่ (LTO) และสำนักงานผู้เสียภาษีขนาดกลาง (MTO) จะต้องฝึกทำระบบการประเมินตนเอง (SAS) ตามกรมกำหนด ผู้เสียภาษีควรชำระภาษีทุก ๆ สามเดือนล่วงหน้าสำหรับการค้านำเข้า / ส่งออกผ่านการซื้อขายสินค้าหรือศูนย์การค้าชายแดน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-customs-department-extends-tax-exemption-period.html

เศรษฐกิจไทย 63 ติดลบ 6.1% หดตัวสูงสุดในรอบสองทศวรรษ

น.ส.ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 ปี 2563 หดตัวติดลบ 4.2% เทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ทำให้ทั้งปี 2563 เศรษฐกิจไทยหดตัวติดลบ 6.1% ซึ่งเป็นการหดตัวสูงสุดในรอบ 2 ทศวรรษ แต่ยังดีกว่าที่ ธปท. ประเมินไว้ทั้งในรายงานนโยบายการเงินเดือน ธ.ค. 2563 และในการประชุม กนง. ในเดือน ก.พ.2564 ที่ผ่านมา โดยองค์ประกอบที่ดีกว่าคาดมาจากการสะสมสินค้าคงคลังที่เร่งขึ้นมากตามผลผลิตเกษตรและเพื่อรองรับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น และการบริโภคภาคเอกชนที่สามารถกลับมาขยายตัวได้เล็กน้อยเนื่องจากได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการส่งออกสินค้าที่ปรับดีขึ้นตามเศรษฐกิจคู่ค้าและวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปี 2564 เศรษฐกิจไทยจะกลับมาขยายตัวได้แต่ยังต่ำกว่าระดับศักยภาพ โดยในระยะสั้นเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากสถานการณ์และมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ในช่วงต้นปี แต่คาดว่าผลกระทบโดยรวมจะน้อยกว่าการแพร่ระบาดในระลอกแรก เนื่องจากมาตรการเข้มงวดน้อยกว่าและบังคับใช้เฉพาะพื้นที่ อย่างไรก็ดี สถานการณ์ดังกล่าวอาจเป็นการซ้ำเติมบางภาคเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้ช้ากว่ากลุ่มอื่น ทำให้การฟื้นตัวมีความแตกต่าง ผลกระทบต่อบางกลุ่มธุรกิจและแรงงานจึงควรได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ในระยะข้างหน้าเศรษฐกิจไทยยังเผชิญความไม่แน่นอนอีกมาก ทั้งการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ และประสิทธิผลและการกระจายวัคซีนป้องกัน COVID-19 ดังนั้น โดยรวมเศรษฐกิจไทยจึงยังต้องการมาตรการที่ตรงจุด เพียงพอ และต่อเนื่องเพื่อประคับประคองการฟื้นตัว ทั้งนี้ ธปท. จะมีการประเมินการขยายตัวเศรษฐกิจและเผยแพร่อีกครั้งในรายงานนโยบายการเงินฉบับเดือนมี.ค.2564

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/825641

เวียดนามเผย ม.ค. ยอดส่งออกผักและผลไม้ ลดลง 7.6%

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) เผยว่าในเดือนมกราคม เวียดนามส่งออกผักและผลไม้อยู่ที่ 260 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 7.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว สาเหตุส่วนใหญ่มาจากไม่สามารถคาดการณ์ถึงการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ ซึ่งหน่วยงานดังกล่าว ชี้ว่าประเทศจีนยังเป็นผู้นำเข้าผักและผลไม้รายใหญ่ที่สุดในปีที่แล้ว ด้วยสัดส่วน 56.3% ของส่วนแบ่งตลาดรวม ถึงแม้ว่ายอดการส่งออกผักและผลไม้ไปยังตลาดจีน จะลดลง 25.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี อยู่ที่ระดับ 1.84 พันล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาตลาดสหรัฐฯ (168.8 ล้านเหรียญสหรัฐ) ไทย เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ตามลำดับ นอกจากนี้ มูลค่าการนำเข้าผักและผลไม้ในเดือนมกราคมอยู่ที่ 140 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 22.3% โดยประเทศจีน สหรัฐฯและออสเตรเลียเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ที่สุดในตลาดเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญแนะนำถึงบริษัทในท้องถิ่นว่าควรจะยกระดับคุณภาพของสินค้า เพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิดกฎระเบียบและทำให้แน่ใจว่าถูกต้องตามกฎด้านอาหารและความปลอดภัย

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/fruit-and-vegetable-exports-decline-by-76-in-january-836248.vov