สหภาพยุโรป ร่วมกับ Khmer Enterprise กัมพูชา พัฒนาพลังงานสะอาด

Khmer Enterprise ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้กระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน (MEF) และ EnergyLab ซึ่งเป็นศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพด้านพลังงานแห่งเดียวของกัมพูชา ได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการเริ่มต้นพลังงานสะอาดในภาคเกษตรกรรม การประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกัมพูชา ภายใต้การสนับสนุนทางด้านเงินทุนจากสหภาพยุโรป โดยความร่วมมือดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการด้านพลังงานสะอาดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถแข่งขันได้ ซึ่งปรับให้เข้ากับความต้องการด้านพลังงานของผู้ประกอบการประมงในภูมิภาค โดย EnergyLab จะคัดเลือกบริษัทสตาร์ทอัพด้านพลังงานสะอาดจำนวน 5-10 ราย ในแต่ละปีเพื่อเข้าร่วมในโครงการบ่มเพาะระยะเวลาโครงการ 1 ปี ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวแนะนำการเริ่มต้นธุรกิจด้วยการฝึกอบรมอย่างเข้มข้น การให้คำปรึกษาและการฝึกสอนแบบตัวต่อตัวเพื่อนำไปสู่การสร้างพลังงานสะอาดภายในกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50806857/eu-and-khmer-enterprise-fund-partnership-for-clean-energy-innovation-in-the-agri-fishery-sector/

องค์การอาหารและเกษตรร่วมลงบันทึก MoU กับ บริษัท LyLy ในการพัฒนาตลาดกัมพูชา

Lyly Food Industry Co Ltd. และ Food and Agriculture Market ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อจัดหาและจัดซื้อผลิตภัณฑ์ทางธุรกิจการเกษตรในเสียมราฐ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่ากระทรวงพาณิชย์กำลังส่งเสริมการจัดหาผลิตภัณฑ์จากธุรกิจการเกษตรที่ปลูกในประเทศเข้าสู่ตลาดในพื้นที่เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร ซึ่งการผลิตในท้องถิ่นถือเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก แต่คุณภาพยังไม่แน่นอนทั้งในด้านปริมาณหรือคุณภาพของสินค้าเกษตร ส่งผลให้ราคาสินค้าของเกษตรกรในพื้นที่ไม่สอดคล้องกัน โดยกระทรวงพาณิชย์ซึ่งเป็นผู้นำในการดำเนินโครงการ Accelerating Inclusive Markets for Smallholders (AIMS) ได้เริ่มดำเนินการเพื่อปรับปรุงการเชื่อมต่อการผลิตและการตลาดเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่าพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจในครั้งนี้จะเน้นเกี่ยวกับการจัดหาและซื้อผลิตภัณฑ์ผักในเสียมราฐเป็นหลัก ถือเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่มาจากความพยายามของโครงการในการเชื่อมต่อผู้ผลิตผู้รวบรวมและผู้แปรรูปในกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50806848/mou-between-lyly-and-agriculture-market/

NBC กล่าวถึงภาพรวมทางการเงินกัมพูชา ในรายงานประจำปี 2020

ทุนสำรองระหว่างประเทศของกัมพูชามีมูลค่าสูงถึง 21.3 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเพียงพอที่จะรับประกันการนำเข้าสินค้าและบริการในอีก 10 เดือนข้างหน้า เกินกว่าข้อกำหนดขั้นต่ำที่ได้กำหนดไว้ที่  3 เดือนสำหรับประเทศกำลังพัฒนา ตามรายงานประจำปีของธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) โดยยังเพียงพอต่อการรักษาเสถียรภาพภาคการเงินภายในประเทศ ซึ่งรายงานระบุว่าพอร์ตสินเชื่อรวมของภาคธนาคารในปี 2020 อยู่ที่ 30.2 พันล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 จากปี 2019 การแบ่งประเภทสินเชื่อตามภาคนำโดยการค้าปลีกที่ร้อยละ 15.5 การจำนองส่วนบุคคลที่ร้อยละ 12.8 การขายส่งที่ร้อยละ 9.7 สินเชื่อส่วนบุคคลที่ร้อยละ 9.8 การก่อสร้างที่ร้อยละ 9.2 อสังหาริมทรัพย์ที่ร้อยละ 8.4 เกษตรกรรมที่ร้อยละ 7.7 และอื่น ๆ คิดเป็น ส่วนที่เหลือร้อยละ 26.9 เงินฝากธนาคารมีมูลค่ารวม 30 พันล้านดอลลาร์จาก 6.3 ล้านบัญชี เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน การปรับโครงสร้างเงินกู้ในภาคธนาคารสำหรับปี 2020 มีมูลค่ารวม 3.017 พันล้านดอลลาร์ โดยมีการปรับโครงสร้างหนี้จำนวน 43,291 บัญชี NPL ในปี 2020 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 สำหรับภาคธนาคาร และร้อยละ 1.8 สำหรับ MFI รวมถึง NBC ได้คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปีนี้ไว้ที่ประมาณร้อยละ 2.9

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50806041/nbc-annual-report-details-nations-2020-financial-picture/

ท่าเรือเพื่อการท่องเที่ยวในกัมพูชาคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้

การก่อสร้างท่าเรือเพื่อการท่องเที่ยวระหว่างประเทศในจังหวัดกำปอตเสร็จสมบูรณ์แล้วประมาณร้อยละ 50 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปลายปี 2564 โดยความคืบหน้าดังกล่าวได้นำเสนอในที่ประชุมเพื่อทบทวนการดำเนินโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการท่องเที่ยวเพื่อการเติบโต ด้านสิ่งแวดล้อมในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงใน 4 จังหวัดชายฝั่งของกัมพูชา ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและประธานคณะกรรมการบริหารโครงการระดับชาติเป็นประธานการประชุมเมื่อวันที่ 20 ม.ค. โดยการประชุมดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาการท่องเที่ยว ผ่านโครงสร้างพื้นฐานรองรับการท่องเที่ยว ได้แก่ ท่าเรือนานาชาติกำปอตเพื่อการท่องเที่ยว ซึ่งแนะนำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินโครงการอย่างมีประสิทธิผลและสำเร็จลุล่วงตามแผนที่วางไว้ เพื่อเป็นการพัฒนาภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50806066/tourism-seaport-construction-to-be-completed-by-year-end/

กัมพูชาตั้งเป้าเพิ่มปริมาณสกุลเงินเรียลในระบบ และลดมูลค่าสกุลเงินดอลลาร์

กัมพูชาดำเนินไปสู่เป้าหมายในการลดปริมาณเงินดอลลาร์ในระบบลง ร่วมกับการเพิ่มการหนุนเวียนสกุลเงินเรียลเพื่อลดการผูกขาดกับสกุลเงินต่างประเทศและหันมาใช้เงินสกุลท้องถิ่นให้มากขึ้น โดยรายงานของบลูมเบิร์กแสดงให้เห็นว่าสกุลเงินของประเทศที่กำลังพัฒนาส่วนใหญ่ประสบกับภาวะตกต่ำในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาในขณะที่เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่วันที่ 6 มกราคมเนื่องจากประธานาธิบดีโจไบเดนที่เพิ่งขึ้นรับดำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ จากการเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าขึ้นส่งผลดีมากกว่าผลเสียต่อกัมพูชาเพราะตามทฤษฎีแล้วการอ่อนค่าของสกุลเงินต่างประเทศ ส่งผลให้กัมพูชาที่ต้องพึ่งพาการส่งออกเป็นหลักได้รับผลในเชิงบวก แม้ว่าสกุลเงินเรียลของกัมพูชาจะไม่รวมอยู่ในดัชนีของ MSCI แต่ข้อมูลจากธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ก็สนับสนุนการวิเคราะห์ของบลูมเบิร์ก ที่ว่าอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินเรียลแข็งค่าขึ้นอยู่ที่ 4,055 KHR / USD จาก 4,030 KHR / USD ซึ่งแข็งค่าขึ้นร้อยละ 0.61 ในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50805815/rielisation-and-dollars-provide-kingdom-with-an-economic-moat/

อุตสาหกรรม 4.0 สู่ผลกระทบต่อการจ้างงานในกัมพูชา

การศึกษาใหม่ของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ชี้ให้เห็นว่ากัมพูชาควรพิจารณาพัฒนาแผนเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมในภาคส่วนสำคัญ ๆ และวางแผนลงทุนอย่างเพียงพอในการพัฒนาทักษะสำหรับงานใหม่ที่จะเกิดขึ้นเพื่อให้เศรษฐกิจกัมพูชาเปลี่ยนไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (4IR) ผ่าน 6 ข้อสำคัญที่เกิดขึ้นจากการศึกษาถึงประโยชน์ของอุตสาหกรรม 4.0 โดย ADB ทำการศึกษานี้ศึกษาอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและการท่องเที่ยวในกัมพูชาเป็นลำดับแรก ซึ่งทั้งสองอุตสาหกรรมมีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก โดยศึกษาเกี่ยวกับการจ้างงาน ความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศและการเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วย 4IR จากการศึกษาพบว่าเทคโนโลยี 4IR จะกำจัดงานในอุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าและการท่องเที่ยวในรูปแบบปัจจุบัน แต่การสูญเสียเหล่านี้จะถูกชดเชยด้วยความต้องการที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากผลผลิตที่สูงขึ้น อาจทำให้ตำแหน่งงานเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 39 ในภาคการผลิตเสื้อผ้า และร้อยละ 2 ในการจ้างงานการท่องเที่ยว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50805649/industry-4-0-impact-will-transform-skills-and-jobs-says-adb/

กัมพูชาเปิดตัวระบบใหม่ เสริมความร่วมมือด้านภาษีและศุลกากรภายในประเทศ

กรมสรรพสามิต (GDT) และ กรมศุลกากรและสรรพสามิต (GDCE) ได้เปิดตัวระบบข้อมูลอัตโนมัติระหว่างสองสถาบันอย่างเป็นทางการ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน (MEF) เป็นประธานในงานเปิดตัวที่จัดขึ้นในพนมเปญ นอกจากนี้ในการเข้าร่วมยังมีเจ้าหน้าที่อาวุโสจาก MEF, GDCE, GDT และสมาชิกของคณะทำงานด้านเทคนิค โดยการนำระบบส่งผ่านข้อมูลอัตโนมัติมาใช้แสดงถึงการเพิ่มประสิทธิภาพเทคโนโลยีใหม่ภายในประเทศ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบัน ภายใต้ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอัตโนมัติระหว่างหน่วยงานด้านภาษีทั้งสองแห่ง ให้สามารถแบ่งปันและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สำคัญได้ทันที รวมถึงทะเบียนภาษีนิติบุคคล เอกสารนำเข้าและส่งออกของบริษัท บันทึกการขายและการซื้อตลอดจนเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบ ในปรับปรุงการแบ่งปันข้อมูลและการอัปเดตการเติบโตให้แม่นยำยิ่งขึ้นและสอดคล้องกับการปฏิรูปที่กำลังดำเนินอยู่ของรัฐบาล ผ่านโครงการปฏิรูปการจัดการด้านการเงินสาธารณะและกลยุทธ์การระดมรายได้ ประจำปี 2019-2023

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50805140/system-will-strengthen-tax-and-customs-cooperation/

PPSEZ ส่งออกไปยังสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และอาเซียน เพิ่มขึ้นในปี 2020

การส่งออกจากเขตเศรษฐกิจพิเศษพนมเปญ (PPSEZ) ภายใต้ FTA อาเซียน – สหภาพยุโรป และโครงการ GSP / MFN (Generalized System of Preferences / Most-Favored Nation) ของสหรัฐฯ มีมูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ประมาณ 507 ล้านดอลลาร์ ในปี 2020 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 76 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2019 ตามรายงานของกระทรวงพาณิชย์ โดยสินค้าส่งออกส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มเสื้อผ้า สิ่งทอ รองเท้า และสินค้าสำหรับการเดินทาง ไปยังสหรัฐฯ สหภาพยุโรป จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น คิดเป็นการส่งออกเสื้อผ้ารวม 20.34 ล้านดอลลาร์ สินค้าที่เกี่ยวกับการเดินทาง 4.637 ล้านดอลลาร์ และรองเท้าคิดเป็นมูลค่า 826,504 ดอลลาร์ ไปจนถึงหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ คิดเป็น 481.68 ล้านดอลลาร์ ซึ่งในปีนี้จะขึ้นอยู่กับว่าสถานการณ์ COVID-19 นั้นจะอยู่ในทิศทางใด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50805264/ppsez-exports-to-us-eu-and-asean-up-substantially-in-2020/