เวียดนามเผยยอดการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติพุ่ง 26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562

จากข้อมูลของสำนักงานการลงทุนจากต่างประเทศ (FIA) เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 เวียดนามดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศ 26.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นักลงทุนต่างชาติยังคงสนใจลงทุนในภาคการผลิตและแปรรูปมากที่สุด ด้วยมูลค่าประมาณ 18.09 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 69.1 ของการลงทุนจากต่างชาติรวม ตามมาด้วยภาคอสังหาริมทรัพย์ ด้วยมูลค่า 2.77 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และภาคการค้าปลีกค้าส่ง ด้วยมูลค่า 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งกว่า 109 ประเทศทั่วโลกที่ลงทุนในเวียดนาม ประเทศฮ่องกง (จีน) เป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่าราว 5.89 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รองลงมาเกาหลีใต้ สิงคโปร์ และญี่ปุ่น ตามลำดับ โดยเมือง/จังหวัดที่ได้รับการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติมากที่สุด ได้แก่ นครฮานอย รองลงมาเมืองโฮจิมินห์ และบิ่ญเซือง ตามลำดับ

ที่มา : https://en.nhandan.com.vn/business/item/7967502-vietnam%E2%80%99s-fdi-inflows-reach-over-us$26-billion-in-nine-months.html

เวียดนามเผยมูลค่าการส่งออกสิ่งทอเพิ่มขึ้น 7% ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2562

จากข้อมูลของสมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเวียดนาม (VITAS) เปิดเผยว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2562 มูลค่าการส่งออกโดยรวมสิ่งทอ เส้นใย และเสื้อผ้าของเวียดนามอยู่ที่ 25.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว รวมไปถึงสัดส่วนของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ร้อยละ 60.6 โดยอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มใช้เงินในการนำเข้า ด้วยมูลค่า 14.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และผลผลิตวัสดุที่ใช้ในการทำเสื้อผ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และอุตสาหกรรมดังกล่าวเกินดุลการค้า 10.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสถานการณ์สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน และทำให้ราคาสินค้าแปรรูปของเวียดนามสูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง ได้แก่ ประเทศเกาหลีใต้และจีน รวมไปถึงส่งผลกระทบต่อยอดคำสั่งส่งออกของผู้ประกอบการในประเทศ ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องหาโซลูชั่นในการผลิตสินค้าและการดำเนินธุรกิจ แต่ว่าอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของประเทศเกาหลีใต้ และไต้หวันในเวียดนาม ได้รับประโยชน์จากสงครามการค้า เนื่องมาจากธุรกิจของประเทศดังกล่าว มีโรงงานผลิตเป็นของตัวเองที่อยู่ภายใต้ห่วงโซ่อุปทาน โดยจากข้อมูลของหนังสือพิมพ์ Dau Tu (Investment) ระบุว่า ผู้ประกอบการสิ่งทอฯ ของเกาหลีใต้ในเวียดนาม ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากสงครามการค้า ด้วยจำนวนธุรกิจกว่า 143 แห่ง คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 50 ของมูลค่าการส่งออกสิ่งทอเครื่องนุ่งห่มของเวียดนามไปยังสหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังมีปัญหาอีกประเด็นอีกอย่าง คือ อุตสาหกรรมสิ่งทอของเวียดนามยังขาดวัสดุในการป้อนเข้าโรงงาน ซึ่งจำเป็นต้องนำเข้าฝ้ายทั้งหมด และร้อยละ 80 ในการนำเข้าผ้า และวัสดุอื่นๆ จากจีน และอินเดีย ดังนั้น ต้นทุนในการผลิตของผู้ประกอบการในประเทศเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับบริษัทจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-s-textile-export-value-up-almost-7-pct-in-eight-months/160559.vnp

FDI ในภาคโรงแรมและการท่องเที่ยวของย่างกุ้งสูงกว่า 230 ล้านเหรียญสหรัฐ

คณะทำงานด้านการท่องเที่ยวภูมิภาคย่างกุ้งได้อนุญาตให้ก่อสร้างโรงแรมและเกสต์เฮาส์ 21 แห่งมีมูลค่าลงทุนรวม 238.29 ล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงสี่เดือนได้ออกใบอนุญาตโรงแรม 33 ฉบับ ใบอนุญาตโรงแรมชั่วคราวหนึ่งใบ อนุญาตเกสต์เฮาส์ 8 ใบ อนุญาตสำหรับการก่อสร้างโรงแรม 18 แห่งจำนวน 2,136 ห้อง ใบอนุญาติก่อสร้างเกสต์เฮาส์ 3 แห่ง ใบอนุญาตทัวร์ขาเข้า 276 ใบ ใบอนุญาตทัวร์ขาออก 121 ใบและใบอนุญาตไกด์นำเที่ยว 218 ใบ การลงทุนรวมสูงถึง 114,924 ล้านจัตและ 238.29 ล้านเหรียญสหรัฐและสามารถสร้างงานใหม่ถึง 2,691 ตำแหน่ง ย่างกุ้งคิดเป็น 70% ของการลงทุนทั้งหมดในภาคโรงแรมและการท่องเที่ยว ในช่วงปลายเดือน ส.ค.อนุญาตให้มีการลงทุนรวม 26,674 ล้านจัต สามารถสร้างงานได้ถึง 335 อัตรา

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/total-fdi-at-hotel-and-tourism-sector-in-yangon-hits-over-230-m-usd

เวียดนามเผยยอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ 11.96 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 6.3% yoy ในช่วงม.ค.-สิ.ค. 62

จากรายงานของกระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนาม (MPI) เปิดเผยว่าในช่วงเดือนมกราคม – สิงหาคมที่ผ่านมา เวียดนามสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้ถึง 11.96 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่ บริษัทต่างประเทศที่ทำการส่งออกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ด้วยมูลค่าราว 117.95 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 69.4 ของการส่งออกเวียดนามโดยรวม นอกจากนี้ ฮ่องกงยังคงเป็นผู้ที่ทำการลงทุนโดยตรงรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม รองลงมาเกาหลีใต้ และสิงคโปร์ ตามลำดับ หากสังเกตในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น พบว่ามีการลงทุนโดยตรงอยู่ที่ 19.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20190827/vietnam-janaug-fdi-inflows-up-63-y-y-to-1196-billion-ministry/51098.html

สิงคโปร์ลงทุนในเมียนมาเพิ่มเป็นสามเท่า

รายงานของกระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศระบุตัวเลขเงินลงทุนจากสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และประเทศตะวันตกมีมูลค่าสูงถึง 1.3 พันล้านเหรียญสหรัฐซึ่งเพิ่มขึ้นสามเท่าในไตรมาสแรกของปีนี้ โดยการลงทุนโดยตรง (FDI) จากจีนและฮ่องกงเพิ่มขึ้น 150% แตะระดับ 590 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาคพลังงานและการขนส่งมีการลงทุนมากขึ้น ภาคการผลิตสูงถึง 700 ล้านเหรียญสหรัฐหรือเพิ่มขึ้น 60% ภาคขนส่งและการสื่อสารสูงถึงหนึ่งพันล้านเหรียญสหรัฐหรือเพิ่มขึ้นสี่เท่า การลงทุนโดยตรงในทุกภาคการลงทุนคาดว่าจะมีการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่ปี 31 – 32 ถึงเดือนมิ.ย. ของปี 61 – 62 มีการลงทุนจาก 49 ประเทศ มูลค่ากว่า 80.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีสิงคโปร์ติดอันดับ FDI มากที่สุด 21.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตามมาด้วยจีนก20.68 พันล้านเหรียญสหรัฐ ไทย 11.309 พันล้านเหรียญ ฮ่องกงกว่า 8.165 พันล้านเหรียญสหรัฐ และอังกฤษ 4.255 พันล้านเหรียญสหรัฐ การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั้งหมดในอีก 20 ปีข้างหน้า คาดว่าจะสูงกว่า 220 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/singapores-investment-increases-threefold

ความกังวลต่อปัญหาภายในประเทศของนักลงทุน

ความกังวลในความสงบและการสู้รบของชนชาติพันธ์กับรัฐบาลกลางของเมียนมา ที่ได้รับฟังมาจากข่าวสารจากหลายช่องทาง ต่างได้รับความกังวลเป็นอย่างมาก ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้นักลงทุนมองว่าประเทศที่สงบที่สุดคือสิงคโปร์ รองลงมาก็มาเลเซียและประเทศอื่นๆ ส่วนไทยอยู่อันดับท้ายๆ จากสถานการณ์การเมือง Death Lock และปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ว่าการค้าการลงทุน Foreign Direct Investment (FDI) เข้ามาในไทยและเมียนมาอยู่ไม่น้อย เพียงแต่ว่าอยู่ที่ช่วงสถานการณ์ของแต่ละประเทศ ดังนั้นมาลองวิเคราะห์ดูว่าเขาคิดอย่างไร การที่จะลงทุนหรือทำการค้าหากเราได้มีโอกาสครองตลาด สามารถต่อรองกับคู่ค้า เพราะสามารถแสดงให้คู่ค้าทั้งสองฝั่งคือฝั่งซื้อและฝั่งขาย ถ้าหากอยากได้โอกาสธุรกิจมาเป็นอันดับแรก ต้องประเมินว่าใช่เวลาอันเหมาะสมกับธุรกิจหรือไม่ ตัวอย่างเช่น บางธุรกิจที่มีน้อย เช่น สิ่งทอ หากมองด้านความเสี่ยง ก็จะมองว่าเร็วเกินไปหรือไม่ที่จะลงทุนทางด้านนี้ หรือถ้าจะบอกว่าคู่ค้าที่เป็นธุรกิจต่อเนื่อง เช่น โรงย้อม โรงพิมพ์ผ้า โรงงานการ์เม้นต์ ยังมีน้อย สามารถตัดสินใจทันทีว่าไม่ลงทุน แต่ในทางกลับกัน ถ้าในอนาคตอันใกล้นี้มาแน่ อาจจะรีบเข้ามาลงทุน แต่นี่เป็นมุมมอง อย่างไรก็ตามนักลงทุนมีความคิดของตัวเอง ไม่มีผิดหรือถูก อยู่ที่จะรอเวลาได้หรือเปล่า

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/586290