IMF คาดการณ์การเติบโตของ GDP เวียดนาม ไว้ที่ 7% ในปี 2563

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มชะลอตัวลงแตะที่ร้อยละ 2.7 ในปีนี้ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งนี้ มาตรการควบคุมโรคเข้มงวดของเวียดนาม, ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกและอุปสงค์ในประเทศอ่อนแอลง คาดว่าอัตราการขยายตัวเฉลี่ยทางเศรษฐกิจของเวียดนามที่ระดับร้อยละ 7 ในช่วงปี 2561-2562 ‘บางภาคอุตสาหกรรม คาดว่าจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว การขนส่งและที่อยู่อาศัย’  อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจเวียดนามอาจกลับมาฟื้นตัวที่ระดับร้อยละ 7 ในปี 2564 ซึ่งได้รับแรงหนุนจากการผ่อนคลายทางการเงินและการคลัง รวมถึงเวียดนามมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจมหภาคที่ค่อนข้างแข็งแกร่ง

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnams-gdp-to-grow-by-7-in-2020-imf-forecasts-413573.vov

ครม.เคาะแผนพัฒนาแปรรูปอาหาร 6.6 พันลบ.หวังติด TOP10 ผู้ส่งออกอาหารโลก

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันนี้ว่า ที่ประชุม ครม.มีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารระยะที่ 1 (62-70) โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณประจำปี 63-66 ในการดำเนินการ 6,671 ล้านบาท และการสนับสนุนจากเอกชน 2,224 ล้านบาท ซึ่งมีเป้าหมายให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารอนาคตในอาเซียนในปี 70 และเป็น 1 ใน 10 ของประเทศผู้ส่งออกอาหารของโลก ในด้านเศรษฐกิจคาดว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศจากกลุ่มอาหารจะเติบโตขึ้นเป็น 1.42 ล้านล้านบาท รายได้ธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมอาหารเพิ่มขึ้น 4.5 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 7% ต่อปี และจะเกิดการลงทุนใหม่ในอุตสาหกรรมภายในประเทศ 0.48 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 7% ต่อปี สำหรับโครงการนี้ มีวิสัยทัศน์ คือ “ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารแห่งอนาคตแห่งอาเซียนควบคู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก” ส่วนสินค้าเป้าหมาย อาทิ ข้าวและธัญพืช ปศุสัตว์ ประมง ผักและผลไม้ อาหารพร้อมรับประทาน เครื่องปรุงรส เกษตรอินทรีย์ เครื่องดื่มสุขภาพ เป็นต้น

ที่มา : https://www.efinancethai.com/LastestNews/LatestNewsMain.aspx?ref=A&id=dFpiMHdKelpvbXM9

GDP เวียดนามโต 7% อีก 5 ปีข้างหน้า

นายเหงียน ซวน ฟุก นายกรัฐมนตรีเวียดนาม เปิดเผยว่าได้ออกพระราชบัญญัติว่าด้วยแผนพัฒนาเศรษฐกิจ (No. 118/CT-TTg) ในช่วงปี 2564-2568 ซึ่งทางกระทรวงและหน่วยงานท้องถิ่นต้องดำเนินพิจารณาถึงประเด็นสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจอีก 5 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป้าหมายในการเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 7 ในช่วงเวลาดังกล่าว อีกทั้ง นายกรัฐมนตรี ระบุว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจเวียดนามจะเผชิญกับความลำบากและความท้าทายหลายอย่างด้วยกัน จากอุปสรรคปัจจุบัน กระแสสังคมและปัญหาสิ่งแวดล้อม ได้แก่ จำนวนประชากรสูงอายุ ช่องว่างทางรายได้ โรคภัยตามธรรมชาติ เป็นต้น นอกจากนี้ คาดว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-eyes-gdp-growth-of-7-percent-in-next-five-years/171771.vnp

ส่อง GDP กรุงฮานอย โต 3.27% ในช่วงไตรมาสแรก

จากข้อมูลของหน่วยงานสถิติประจำเมือง ระบุว่ากรุงฮานอย มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภูมิภาค (GRDP) ไตรมาสแรกของปี 2563 ปรับตัวขึ้นร้อยละ 3.27 ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยภาคเกษตร ป่าไม้และประมง ลดลงร้อยละ 1.17 ขณะที่ ภาคอุตสาหกรรม การก่อสร้างและภาคบริการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.46 และ 3.2 ตามลำดับ สำหรับภาคการค้าปลีกและบริการ มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 135.7 ล้านล้านด่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะเดียวกัน การท่องเที่ยว การขนส่ง บริการจัดงานเลี้ยง อุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูป การค้าระหว่างประเทศและภาคบริการอื่นๆ ปรับตัวลดลงอย่างหนัก ทั้งนี้ เมืองหลวงดึงดูดเม็ดเงินทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) อยู่ที่ 389 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยโครงการใหม่ 170 โครงการ และอีก 36 โครงการที่ปรับเพิ่มทุน รวมถึงมูลค่าอีก 257.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มาจากการซื้อหุ้น ซึ่งในปัจจุบัน กรุงฮานอยได้ดึงดูดโครงการ FDI อยู่ที่ 6,102 โครงการ คิดเป็นมูลค่าจดทะเบียน 42.75 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/hanoi-reports-327percent-gdp-growth-in-q1/170976.vnp

COVID-19 ฉุดเศรษฐกิจเวียดนามลงมาอยู่ที่ 6.3% : Fitch Solution

จากรายงานของศูนย์วิจัย Fitch Solutions ในวันที่ 24 มี.ค. เปิดเผยว่าปรับลดอัตราการขยายตัวของ GDP เวียดนาม ในปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 6.3 จากที่คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 6.8 ก่อนหน้านี้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) อีกทั้ง แนวโน้มของตลาดเกิดใหม่ (EM) ชี้ให้เห็นว่าเวียดนามมีความยืดหยุ่นทางการคลังอยู่ในระดับต่ำ จากการที่หนี้สินภาครัฐสูง รวมถึงทางศูนย์ฯ ยังปรับลดเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่อื่นๆ “แม้ว่าจะไม่แพร่ระบาดของโควิด-19 มากนักในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ แต่คาดว่าการเติบโตของเศรษฐกิจจะลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3 ในปี 2563” ทั้งนี้ ความตึงเครียดของตลาดการเงินทั่วโลกจะแสดงให้เห็นจากความรัดกุมของสภาพคล่องในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ซึ่งทางศูนย์วิจัยมองว่าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ และการเทขายของตลาดหุ้นส่งผลให้ดัชนีหุ้นอ้างอิงของบริษัทในตลาดเกิดใหม่ (MSCI) ลงมาอยู่ที่ร้อยละ 30 ในขณะที่ ไม่น่าแปลกใจมากนัก จากการที่มีหลักฐานบ่งชี้ว่าความตึงเครียดของตลาดการเงินในตลาดเกิดใหม่ ส่งผลให้การเติบโตลดลงอย่างมากหลังจากภาวะทางการเงินที่ย่ำแย่

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/covid19-to-pull-vietnams-growth-down-to-63-fitch-solutions-411813.vov

เวียดนามเผยการเติบโตของ GDP อาจไม่ถึงที่ตั้งเป้าหมายไว้

จากรายงานของกระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนาม (MPI) เปิดเผยว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจเวียดนามอาจไม่บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในปีนี้ที่ระดับร้อยละ 6.8 จากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก ซึ่งภายในการประชุมในวันพุธที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีได้ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจ หลังการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ‘COVID-19’ ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงเตรียมมาตรการในการช่วยเหลือภาคธุรกิจทุกส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและประเมินทางเลือกต่างๆ เช่น เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ รวมไปถึงปรับลดอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมต่างๆ ทั้งนี้ ทางกระทรวงฯ คาดว่าในไตรมาสแรกของปีนี้ การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อยู่ที่ระดับร้อยละ 6.25 นอกจากนี้ จากข้อมูลของมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ระบุว่าเวียดนามได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบเปิดและทำการค้าตามชายแดนมาอย่างยาวนาน รวมไปถึงค้าขายกับจีนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจำนวนนักท่องเที่ยวลดลงและสินค้าเกษตรที่ติดค้างอยู่ตามด่านชายแดนจีน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/592192/vn-might-not-reach-gdp-growth-target-in-2020-due-to-covid-19-outbreak-ministry.html

รัฐบาลสปป.ลาวคาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตอย่างมั่นคงในปี 2563

รัฐบาลสปป.ลาวคาดหวังอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศจะขยายตัวที่ 9.5% คิดเป็นมูลค่า 54,080 พันล้านกีบในขณะที่รายรับเฉลี่ยต่อหัวจะอยู่ที่ 6,120 ดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ โดยมีเครื่องมือในการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายรอบด้านทั้งการเพิ่มการลงทุนจากทั้งภาครัฐและสนับสนุนเอกชนให้มีการลงทุนเพิ่ม ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีการเม็ดเงินลงทุนสูงถึง 16,700 ล้านกีบนอกจากนี้การพัฒนาให้ภาคอุตสหกรรมสำคัญอย่าง ภาคเกษตร พลังงาน อุตสาหกรรมและบริการมีการขยายตัวจะเป็นปัจจัยที่สำคัญเช่นกันในการทำให้ GDP ขยายตัวได้ตามเป้าหมาย เป็นที่น่าจับตามองถึงอนาคตของสปป.ลาวถึงการเติบโตดังกล่าวเพราะหากทำได้ตามเป้าหมายจะเป็นผลต่อสปป.ลาวอย่างมาก ทั้งดานการลดปัญหาความยากจน การเพิ่มงานให้คนในประเทศจากการที่มีการลงทุนสร้างโรงงานมากขึ้น เศรษฐกิจที่ดีจะทำให้สปป.ลาวพัฒนาได้อย่างยั่งยืน

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/vientiane-expects-stable-economic-growth-2020-112703

ปีหน้าจีดีพียังมีความเสี่ยงด้านต่ำ ผู้ว่าธปท. ส่งซิกต้องช่วยกันมากขึ้น

นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กล่าวในเวทีสัมมนา Thailand Economic Outlook : เศรษฐกิจไทย 2020 โดยระบุว่า  เศรษฐกิจไทย ปีหน้าประมาณการเติบโตไว้ที่ 2.8% เป็นการขยายตัวที่ภาครัฐจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ซึ่งจะเป็นอานิสงส์ทั้งงบประมาณประจำปี 2563 นโยบายการคลังและนโยบายการเงินและแนวโน้มการส่งออกที่มีโอกาสขยายตัวได้ดีกว่าปีนี้ที่คาดว่าส่งออกจะติดลบ 3-4% อย่างไรก็ตาม การเติบโตนั้นยังเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าศักยภาพที่ควรจะขยายตัว 3.5-4% จึงมีความจำเป็นในการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ รอบปีที่ผ่านมา ธปท. ได้ดำเนินนโยบายการเงินทั้งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยและออกมาตรการกำกับแต่ต้องใช้เวลา และอาจจะส่งผลข้างเคียงในระยะยาว ยังมีความเสี่ยงด้านต่ำหลายด้านที่ทำให้เศรษฐกิจไม่เติบโตทั้งสงครามทางการค้าและการเมืองในประเทศและปัจจัยเชิงโครงสร้าง. เช่น แรงกดดันค่าเงินบาท แต่หากปรับตัวได้ก็จะทำให้เข้าสู่ความเสี่ยงด้านสูงได้

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/money_market/417358?utm_source=homepage&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=money_market

SEAC ชวนเช็คสุขภาพเศรษฐกิจเมียนมา เดินหน้าพัฒนาศักยภาพธุรกิจอาเซียน ในงาน Scaling Your

เมียนมาเป็นหนึ่งในประเทศในอาเซียนที่มีสถิติการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ตั้งแต่ปี 2557–2561 สูงถึง 7.2% และคาดการณ์ว่าในปีนี้ จะเติบโตขึ้นอีก 6.6% ปัจจัยมาจากองค์ประกอบหลายส่วน ทั้งการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในทิศทางที่ดีขึ้น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเขตเศรษฐกิจพิเศษ และกฎหมายการลงทุนของชาวต่างประเทศ ทั้งหมดนี้ ส่งผลให้ดัชนีความน่าเชื่อถือและสภาพเศรษฐกิจมวลรวมของประเทศดีขึ้น แต่ยังคงเผชิญกับปัฐหาอีกมากมาย ทั้งนี้ กรรมการผู้จัดการ SEAC (Southeast Asia Center) ระบุว่า SEAC ต้องการเข้าไปพัฒนาศักยภาพของคนและองค์กร โดยทางองค์กรได้มีโอกาสเข้าไปดำเนินธุรกิจในเมียนมา ทำให้เข้าใจภาพรวมของธุรกิจ ซึ่งการปรับขยาย (Scale) คือกุญแจสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างแท้จริง ประกอบการปรับวิธีและรูปแบบการทำงานให้ใช้ทรัพยากรที่น้อย โดยมี 3 ส่วนสำคัญ คือ กรอบความคิด (Mindset) การทดลองและลงมือทำตามวิถี (Design Thinking) และการพัฒนาทักษะที่จำเป็น สำหรับอาเซียนถือเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถ หากเลือกกลยุทธ์ทางธุรกิจได้ถูกต้องและทันต่อเหตุการณ์สำคัญ ทาง SEAC พร้อมจะช่วยเติมศักยภาพให้กับคนและองค์กรในภูมิภาคนี้

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3078088

GDP เวียดนามขยายตัว 25.4% ต่อปี ในช่วงปี 2010-2017 หลังจากปรับปรุงวิธีนับใหม่

จากคำแถลงการณ์ของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ว่าหลังจากการปรับปรุงวิธีการวัดผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศใหม่ ส่งผลให้ GDP เวียดนามขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 25.4 ต่อปี ในช่วงปี 2010-2017 ซึ่งวัตถุประสงค์ในการปรับขนาด GDP เพื่อให้สะท้อนถึงภาพรวมของเศรษฐกิจและประสิทธิภาพของการใช้นโยบายเศรษฐกิจ รวมไปถึงส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างเศรษฐกิจ ทั้งด้านภาคการเกษตรปรับขนาดลดลง ส่วนภาคอุตสาหกรรมและการบริการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ จากตัวเลข GDP ที่ขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นนั้น เป็นผลมาจากปัจจัยหลายอย่างประกอบรวมกัน รวมไปถึงการปรับปรุงของโครงสร้างเศรษฐกิจ และวิธีการการวัดที่ทันสมัย (Methodology)

ที่มา : https://en.nhandan.com.vn/business/item/8223202-vietnam%E2%80%99s-gdp-up-by-25-4-per-year-during-2010-2017-after-revision.html