การส่งออกเพิ่มแม้เงินจัตแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ

เงินจัตของเมียนมาแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์และราคาซื้อขายอยู่ที่ 1465 จัตต่อดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่เดือนพฤศจิกายน 62 ยังอยู่ที่ 1500 จัตต่อดอลลาร์สหรัฐ สำหรับช่วงสี่เดือนแรกของปีงบประมาณ 62-63 ซึ่งอยู่ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 62 จนถึงขณะนี้ปริมาณการส่งออกสูงถึง 5.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นมากกว่า 28% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณก่อน การนำเข้าในช่วงเวลาเดียวกันมีมูลค่าทั้งสิ้น 6.3 พันล้านเหรียญสหรัฐซึ่งเพิ่มขึ้นเพียง 19% ต่อปี นำไปสู่ขาดดุลการค้าประมาณ 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณปัจจุบันเทียบกับ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน การส่งออกที่เพิ่มขึ้นนั้นเป็นผลมาจากความต้องการสินค้า เช่น เสื้อผ้า สินค้าเกษตร และแร่ธาตุ เนื่องจากการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมาถึงและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกทำให้นักลงทุนต่างชาติมีความระมัดระวังมากขึ้น กระทรวงพาณิชย์ (MOC) คาดว่าการส่งออกทั้งหมดในปีนี้จะสูงถึง 15.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและการนำเข้าจะถึง 17.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายใต้ยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ 63-68 สิ่งสำคัญลำดับแรก ได้แก่ การแปรรูปเกษตร สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มส่วนประกอบไฟฟ้า การประมง ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ เทคโนโลยีสารสนเทศ บริการโลจิสติกส์ การจัดการคุณภาพ ข้อมูลการค้า นวัตกรรมและผู้ประกอบการ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/exports-rise-even-kyat-strengthens-against-us-dollar.html

CBM อาจลดดอกเบี้ยหากมีความจำเป็น

ธนาคารกลางแห่งเมียนมา (CBM) อาจพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นหากมีความเป็น อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันคือ 10% ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากขั้นต่ำตั้งไว้ที่ 8% และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงสุดที่ 13% เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอาเซียนอื่น ๆ อัตราดอกเบี้ยในเมียนมาจะสูงกว่านี้มาก ขณะที่ สส.บางส่วนเห็นว่าควรลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อให้สินเชื่อในธุรกิจท้องถิ่นมีเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้นซึ่งจะเอื้อต่อการเติบโตของธุรกิจและสามารถแข่งขันได้ทั้งในและต่างประเทศ ในขณะที่นโยบายอัตราดอกเบี้ยช่วยผลักดันเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาด้านการเงินแล้ว แต่เมียนมายังไม่ถึงขั้นนั้น ก่อนหน้านี้ในช่วงการประชุมสภาผู้แทนราษฎรแห่งเมียนมา (Hluttaw) CBM จะไม่ลดอัตราดอกเบี้ยในระดับปัจจุบันเพราะอยู่ในอัตราที่เหมาะสมแล้ว

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/cbm-set-reduce-interest-rates-if-needed.html

สิ้นปี 62 CPI เมียนมาพุ่งขึ้นเป็น 161.72%

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมาอยู่ที่ 161.72% เพิ่มขึ้น 9.45% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วตามรายงานของสำนักงานสถิติกลางแห่งเมียนมา (CSO) พบว่ากลุ่มอาหารพุ่งขึ้น 174.13% กลุ่มที่ไม่ใช่กลุ่มอาหาร 144.26% ดัชนีราคาผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มัณฑะเลย์เพิ่มสูงสุดถึง 15.38% ส่วนยะไข่เพิ่มต่ำสุดที่ 3.16% โดยอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยอยู่ที่ 8.81% และอัตราเงินเฟ้อปีต่อปีเท่ากับ 9.45%

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/cpi-hits-16172-pc-in-late-december

ความพยายามของรัฐบาลเมียนมาในการจัดการสิ่งแวดล้อม

ธุรกิจจำนวนมากที่รัฐบาลให้ส่งแผนการจัดการสิ่งแวดล้อม (EMP) เดือนมกราคม 61 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (MONREC) ได้ประกาศให้แก่ธุรกิจในเก้าภาคเพื่อส่งกระทรวง ในเดือนกรกฎาคม 62 กระทรวงออกประกาศอีกครั้งเกี่ยวกับข้อกำหนด แต่ให้ขยายเวลาหกเดือนเพื่อให้ธุรกิจสามารถวางแผน ข้อกำหนดมีไว้สำหรับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผลิตแอลกอฮอล์ ไวน์ และเบียร์ อาหารและเครื่องดื่ม บรรจุภัณฑ์ของสารกำจัดศัตรูพืช ปูนซีเมนต์ สิ่งทอและการย้อมสี การหลอมโลหะและการกลั่นและการผลิตเหล็ก เหล็กดิบและโลหะผสมต่ำ การฟอกและตกแต่งหนัง โรงงานผลิตเยื่อและกระดาษ และการผลิตน้ำตาล กระทรวงประกาศว่าจะดำเนินการกับธุรกิจที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดของ EMP ภายใต้กฎหมายการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของประเทศ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/govts-efforts-environmental-management-making-progress-official.html

อนุมัติวงเงิน 50 ล้านยูโรสำหรับโครงการพลังงานจากขยะในย่างกุ้ง

รัฐสภาแห่งเมียนมา ได้อนุมัติเงินกู้ยืมจำนวน 50 ล้านยูโรจากโปแลนด์เพื่อใช้สำหรับโครงการพลังงานขยะในย่างกุ้ง ในระหว่างการประชุมเมื่อวันที่ 31 มกราคมด้วยคะแนนเสียง 534 เสียงต่อ 12 เสียง โครงการจะดำเนินการที่หลุมฝังกลบ Hteinpin ในเมือง Hlaing Tharyar เมืองย่างกุ้งและคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 65 โดยจะถูกผลิตเป็นก๊าซธรรมชาติอัด (CNG), คาร์บอนไดออกไซด์, เชื้อเพลิงที่ได้จากขยะ (RDF) และปุ๋ยหมัก CNG ที่ผลิตได้ 30 ตันต่อวันจะถูกขายให้กับรถยนต์ โดยจะมีการเจรจากับธุรกิจ เช่น โรงงานทำอิฐ และสำหรับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ  ตัวอย่างเช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เหลวประมาณ 40 ตันจะขายให้กับผู้ผลิตน้ำอัดลมและห้องเย็นสำหรับเนื้อสัตว์และผักในทุกๆ วัน มีระยะเวลาชำระหนี้ 62 ปี ระยะเวลาผ่อนผัน 5 ปีอัตราดอกเบี้ย 0.1% ต่อปี รายรับคาดว่าจะมีอย่างน้อย 1,750 ล้านจัต หรือประมาณ 950,000 ยูโร ซึ่งสามารถชำระเงินคืนการกู้ยืมได้แน่นอน ขยะจาก 33 เมืองในย่างกุ้งอยู่ระหว่าง 2,300 ถึง 2,500 ตันต่อวัน ขยะอุตสาหกรรมอีก 150 ตัน และขยะทางการแพทย์ 2.4 ตัน ทั้งหมดถูกส่งไปยัง Hteinpin ทุกวัน ส่วนการเจรจาอื่น ๆ กำลังดำเนินการสำหรับโครงการนำร่องกับกลุ่ม Right Right Group จากประเทศเยอรมนีเพื่อผลิตพลังงานจากขยะ 120 ตัน และการแปรรูปขยะ 380 ตันโดยความร่วมมือกับเกาหลีใต้ จากการศึกษาในสี่ปีข้างหน้าย่างกุ้งจะไม่มีที่ว่างในหลุมฝังกลบขยะอีกต่อไป

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/approval-given-eu50-million-loan-waste-energy-project-yangon.html

ผลผู้ชนะการประมูลโครงการทางหลวงย่างกุ้งจะรู้ผลเร็วๆ นี้

กระทรวงการก่อสร้างจะประกาศผลผู้ชนะการประมูลในช่วงแรกของโครงการทางด่วนยกระดับย่างกุ้ง (YEX) ในเดือนพฤษภาคมนี้ กระทรวงได้กำหนดให้ข้อเสนอ (RFP) ขั้นที่ 1 ของ YEX ในฐานะหุ้นส่วนภาครัฐ (PPP) ถึง 10 ราย โดยกำหนดเวลาส่งการเสนอราคาภายในวันที่ 31 มีนาคม 63 ระยะที่หนึ่งของโครงการ YEX ซึ่งเป็นโครงการขนส่งแรกที่ได้รับการพัฒนาภายใต้โครงการ PPP ซึ่งมีความสำคัญสำหรับรัฐบาล การก่อสร้างคาดว่าจะใช้เวลาประมาณสามปีครึ่ง โดยจะสร้างถนนยกระดับสี่เลนระยะทาง 47.5 กิโลเมตรซึ่งเชื่อมโยงตอนใต้ของย่างกุ้งรวมถึงท่าเรือย่างกุ้งและเขตเศรษฐกิจพิเศษติวาล่า ทางทิศเหนือเป็นสนามบินนานาชาติย่างกุ้ง นิคมอุตสาหกรรมมิงกะลาดอน สวนสาธารณะและทางด่วนย่างกุ้ง – มันดาเลย์ การประมูลระยะที่สองคาดจะเริ่มปลายปีนี้ โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรในกรุงย่างกุ้งและปรับปรุงการเชื่อมต่อสำหรับธุรกิจและชุมชนในศูนย์กลางการค้าของประเทศ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/winning-bidder-yangon-highway-project-be-announced-soon-ministry.html

ข้อเสนอการนำเข้าตาลของกรีกเป็นผลดีสำหรับเมียนมา

สมาคมอ้อยน้ำตาลของเมียนมาเผย กรีซเสนอซื้อน้ำตาลจากเมียนมาที่ราคา fob อยู่ที่ 400 ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน/เดือน  ปัจจุบันราคาน้ำตาลปรับตัวลดลงเนื่องจากอุทานส่วนเกินล้นตลาด คลังสินค้าได้รับความเสียหายจากปีก่อนจึงทำให้คุณภาพลดลง นี่เป็นครั้งแรกที่กรีซนำเข้าน้ำตาลเนื่องจากอนุญาตให้นำเข้าและส่งออกและกลับมาเพิ่มปริมาณการค้าในปี 2558 ในอดีตส่วนใหญ่ส่งออกไปจีนเป็นหลัก อย่างไรก็ตามเพื่อควบคุมการส่งออกที่ผิดกฎหมาย จึงจำกัดการนำเข้าน้ำตาลจากเมียนมาและห้ามนำเข้าทั้งหมดในเดือนกันยายน 60 ปัจจุบันมีชาวไร่อ้อยเกือบ 500,000 คน ซึ่งป้อนให้กับโรงงานน้ำตาล 23 แห่งในประเทศ เกษตรกรยังขอให้รัฐบาลจำกัด การนำเข้าน้ำตาลที่ล้นตลาด ปกติแล้วอ้อยจะผลิตและแปรรูปในเดือนพฤศจิกายน แต่โรงงานน้ำตาลในพื้นที่ก็เริ่มหีบอ้อยในเดือนธันวาคมของปีนี้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/greek-offer-myanmar-sugar-draws-interest.html