CLMV รับแรงหนุนที่แตกต่าง หลังเศรษฐกิจโลกฟื้น

โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2564 เป็น 6.0% จากเดิมที่ 5.5% สะท้อนมุมมองเชิงบวกต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างแข็งแกร่งหลังวิกฤตโควิด นำโดยเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่างสหรัฐฯ และจีน ซึ่งคาดว่าจะส่งผลบวกต่อกลุ่มประเทศ CLMV ในระดับที่แตกต่างกันตามความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การส่งออก รายได้ส่งกลับของแรงงานในต่างประเทศ การลงทุนโดยตรง (FDI) และการท่องเที่ยว

เวียดนามเป็นประเทศที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก  จากสัดส่วนการส่งออกที่สูงถึง 104% ของ GDP   โดยมีการผลิตและส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในสัดส่วนสูง นอกเหนือจากอานิสงส์จากรายได้นำส่งกลับของแรงงาน ซึ่งมีสัดส่วนถึง 5.8% ของ GDP

ขณะที่กัมพูชาอาจเป็นอีกประเทศที่ได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของตลาดส่งออกหลักอย่างสหรัฐฯ จีน และยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน เนื่องจากสัดส่วนของการลงทุนโดยตรงสูงถึง 60%​ โดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง

ในส่วนของประเทศสปป.ลาว อาจเป็นประเทศใน CLMV ที่โครงสร้างการส่งออกได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกน้อยที่สุด เนื่องจากการส่งออกมีสัดส่วนไม่มากเมื่อเทียบกับขนาดของเศรษฐกิจ    โดยในด้านการลงทุนตรงจากต่างประเทศ น่าจะได้รับอานิสงส์น้อยกว่ากัมพูชา เนื่องจากสัดส่วนการลงทุนตรงมีเพียง 22% 

ขณะที่เมียนมา ปัจจัยการเมืองภายในประเทศน่าจะลดทอนผลบวกจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก   ในขณะที่สัดส่วนการลงทุนตรงโดยรวมอยู่ที่ 13% ต่ำสุดในกลุ่ม CLMV

ในส่วนของภาคการท่องเที่ยว  เนื่องจากประเทศใน CLMV ส่วนใหญ่พึ่งพานักท่องเที่ยวจากจีนและนักท่องเที่ยวในภูมิภาค ซึ่งมีการฉีดวัคซีนล่าช้ากว่าประเทศในตะวันตก ทำให้โอกาสที่จะบรรลุการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในปี 2564 มีไม่มาก ส่งผลให้การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวน่าจะจำกัดเฉพาะนักท่องเที่ยวจากตะวันตก ซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 10% ของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งหมดใน CLMV

ที่มา : https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/CLMV-FB-28-06-21.aspx

ธนาคาร UOB คาดเศรษฐกิจเวียดนามปี 64 โต 6.7% แม้เผชิญโควิด-19 ระบาด

ธนาคาร United Overseas Bank (UOB) สิงคโปร์ คาดการณ์ว่าตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของเวียดนามในปี 2564 ฟื้นตัวแตะ 6.7% ถึงแม้ว่าจะมีการระบาดระลอกที่ 4 แต่เศรษฐกิจเวียดนามยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไตรมาสแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 4.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ เมื่อเดือนก่อน ยอดการส่งออกของเวียดนามอยู่ที่ 26.19 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 1.3% จากเดือนเม.ย. เนื่องจากได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระบาด แต่หากเมื่อพิจารณาช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ยอดการส่งออกแตะ 131.13 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 33.7% เมื่อเทียบกับปีก่อน อย่างไรก็ดี การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ส่งสัญญาเชิงบวก ด้วยจำนวนโครงการจดทะเบียนใหม่ 613 โครงการในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ คิดเป็นเงินทุนจดทะเบียนรวม 8.33 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 18.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20210626/uob-projects-vietnams-2021-gdp-growth-at-67-despite-covid19/61732.html

เวียดนามคาดตลาดอสังหาฯ กลับมาฟื้นตัว เมื่อควบคุมการระบาดได้

การระบาดใหญ่ของไวรัวโควิด-19 ส่งผลให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว แต่ผู้เชั่ยวชาญหลายท่านมองว่าเป็นเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น และหวังว่าจะฟื้นตัวเมื่อสามารถควบคุมการระบาดได้ คุณ Sử Ngọc Khương ผู้จัดการอาวุโสของบริษัทที่ปรึกษาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ Savills Vietnam กล่าวว่าการระบาดของโควิด-19 ในไตรมาส 2 ของปีนี้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้กำลังซื้อของภาคอสังหาฯ ลดลง และนักลงทุนระมักระวังกันมากขึ้น ทั้งนี้ คุณ Nguyễn Van Đính รองผู้อำนวยการสมาคมอสังหาริมทรัพย์เวียดนาม กล่าวว่าการขาดแคลนของอุปทาน เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคาอพารต์เมนต์สูงขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ คือ การฉีดวัคซีน ถ้าควบคุมการระบาดได้สำเร็จ การลงทุนจะไหลเข้าเศรษฐกิจเอง

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/980408/real-estate-market-expected-to-recover-when-virus-is-under-control.html

ธุรกิจออสเตรเลีย เล็งลงทุนการเกษตรในเวียดนาม

ธุรกิจท้องถิ่นในรัฐนิวเซาท์เวลส์ของประเทศออสเตรเลีย ได้แสดงความสนใจที่จะเข้าร่วมเทคโนโลยีการเกษตร ตลอดจนธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มในเวียดนาม เศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้เป็นที่น่าจับตามองสำหรับบริษัทต่างๆ ทั้งนี้ Karla Lampe ผู้อำนวยการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและส่งเสริมการตลาด กล่าวที่ประชุมออนไลน์ ประเด็นสำรวจโอกาสทางธุรกิจในเวียดนาม พบว่าเวียดนามมีข้อได้เปรียบของประชากรและการยกระดับของผู้ที่มีรายได้ปานกลาง ได้สร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุนให้กับกิจการออสเตรเลียมากขึ้น อีกทั้ง เวียดนามยังเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 9 ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ โดยธุรกิจในรัฐนิวเซาท์เวลส์ให้ความสำคัญกับการเกษตร อาหารและเครื่องดื่มเป็นลำดับสูงสุดสำหรับการลงทุนในเวียดนาม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/australian-businesses-interested-in-agritech-in-vietnam/203572.vnp

เวียดนามเผย 6 เดือนแรก ยอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ กว่า 15 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ตามข้อมูลกระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) เผยว่านักลงทุนต่างชาติแห่เข้าลงทุนในเวียดนาม 15.27 ล้านเหรียญสหรัฐปีนี้ คิดเป็น 97.4% ของจำนวนเม็ดเงินทุนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว กระทรวงฯ รายงานว่าเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. มีเม็ดเงินทุน 9.55 พันล้านเหรียญสหรัฐ เข้าไปอัดฉีดในโครงการที่ได้รับการจดทะเบียนใหม่ จำนวน 804 โครงการ เพิ่มขึ้น 13.2% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่เข้าไปลงทุนในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปมากที่สุด คิดเป็น 45.7% ของเงินลงทุนทั้งหมด รองลงมาการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ในขณะที่ สิงคโปร์เป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ด้วยเม็ดเงินลงทุน 5.64 พันล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาญี่ปุ่นและเกาหลีใต้

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-attracts-over-15-billion-usd-of-fdi-in-six-months/203576.vnp

กิจการเวียดนาม ก้าวลงทุนโครงการต่างประเทศ ทั้งสิ้น 21.81 พันล้านเหรียญสหรัฐ

กระทรวงวางแผนและการลงทุน ระบุว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ นักลงทุนเวียดนามทุ่มเงินรวมทั้งสิ้น 21.81 พันล้านเหรียญสหรัฐ ด้วยจำนวน 1,420 โครงการ โดยส่วนใหญ่จะเข้าไปลงทุนในโครงการภาคเหมืองแร่และภาคเกษตรกรรม และจุดหมายทางการลงทุนยอดนิยมของเวียดนาม อาทิ ประเทศสปป.ลาว กัมพูชาและรัสเซีย คิดเป็นสัดส่วน 23.7%, 13.1% และ 12.9% ตามลำดับ ทั้งนี้ จำนวนเงินลงทุนใหม่และเงินลงทุนเพิ่มเติมในต่างประเทศ ทั้งสิ้น 546.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว นอกจากนี้ ทั้งหมด 15 ประเทศที่ได้รับการลงทุนจากเวียดนาม ช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ได้แก่ สหรัฐฯ 302.8 ล้านเหรียญสหัฐ ตามมาด้วยกัมพูชา 89.1 ล้านเหรียญสหรัฐ แคนาดา 32.08 ล้านเหรียญสหรัฐ และฝรั่งเศส 32 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnamese-firms-invest-us2181-billion-in-overseas-projects-868290.vov

เวียดนามเผยเดือน มิ.ย. ทำสถิติขาดดุลการค้า 1.35 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ตามข้อมูลกรมศุลกากรเวียดนาม เผยว่าในช่วงครึ่งแรกของเดือนมิถุนายน เวียดนามขาดดุลการค้า 1.35 พันล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากการส่งออกเหลืออยู่ที่ 12.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงเกือบ 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับครึ่งหลังของเดือนพฤษภาคม ในบรรดาสินค้าที่มียอดขายดิ่งลง ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ 1.06 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 800 ล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาเครื่องจักร โทรศัพท์และชิ้นส่วน เป็นต้น ตั้งแต่ต้นปีนนี้ เวียดนามมียอดการค้ารวม 288.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งออกเป็นการส่งออก 143.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ และการนำเข้า 145.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ขาดดุลการค้า 1.96 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทางผู้เชี่ยวชาญการค้า มองว่าการขาดดุลการค้าดังกล่าวคงไม่น่าเป็นห่วงเท่าไรนัก เนื่องจากบริษัทต่างๆ เพิ่มการนำเข้าวัตถุดิบ เพื่อป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตตามความต้องการ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-records-135-billion-usd-trade-deficit-in-first-half-of-june/203486.vnp

Grab จับมือ Hyundai นำ ‘รถไฟฟ้า’ มาให้เช่า เริ่มนำร่องที่Singaporeในปี 2021 ก่อนขยายไปอินโดนีเซียและเวียดนาม

Grab และ Hyundai Motor Group ได้ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญ เร่งผลักดันการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเดินหน้ากลยุทธ์ Mobility Service อย่างเต็มรูปแบบ จากผลสำรวจของคนขับที่เช่ารถยนต์ไฟฟ้าจาก GrabRentals ในปี 2020 พบว่า ปัญหาของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่คนขับ Grab และพันธมิตรเดลิเวอรีต้องเผชิญคือ ต้นทุนการเป็นเจ้าของรถยนต์ที่สูง สถานีให้บริการชาร์จมีไม่เพียงพอ และใช้เวลานานในการชาร์จแต่ละครั้ง ดังนั้น เพื่อลดอุปสรรคข้างต้นทาง Grab และบริษัทในเครือ Hyundai จะมีการพัฒนาโมเดลธุรกิจ EV แบบใหม่ เช่น การเช่ารถยนต์ไฟฟ้า และการจัดหาเงินทุนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งมีแผนเปิดตัวออกมาภายในปีนี้ โดยจะเริ่มที่สิงคโปร์เป็นที่แรก ตามมาด้วยอินโดนีเซีย และเวียดนาม

ที่มา : https://thestandard.co/grab-hyundai-electric-cars-for-rent/