โรงถลุงเหล็กในเมียนมากำลังรอการลงทุน

กระทรวงแผนงาน การเงิน และอุตสาหกรรม กำลังมองหาการการลงทุนจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ที่สนใจลงทุนโรงงานเหล็กของมยินจาน เมืองมยินจานในเขตมัณฑะเลย์ ซึ่งมีกำลังการผลิต 1.8 ล้านตันต่อปี ตอนนี้นิติบุคคลของรัฐที่ดำเนินงานในมยินจาน คือ Heavy Industrial Enterprise กำลังมองหานักลงทุนเข้าร่วมลงทุน คาดว่าจะต้องใช้เงินประมาณ 225 พันล้านจัตในการดำเนินการรวมทั้งนักลงทุนกำลังหาทางช่วยโรงงานให้เสร็จและดำเนินการ ปัจจุบันมีการนำเข้าเหล็กถึง 90% ของประเทศและอีก 10% มาจากการผลิตเองในท้องถิ่น สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณการว่าความต้องการใช้เหล็กของเมียนมาจะยังคงขยายตัวในอัตรา 8% ต่อปีโดยความต้องการใช้เหล็กในประเทศอาจเกิน 3 ล้านตันในปี 2563 และสูงถึง 5 ล้านตันในปี 2568

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/state-owned-steel-mill-seeks-investors.html

ธนาคารโลก ชี้การเติบโตของเมียนมาจะดีขึ้นในปีนี้

การเติบโตคาดว่าพิ่มขึ้น 6.4% ในปีงบประมาณ 62-63 จาก 6.3% ในปี 61-62 และ 6.2% ในปี 60-61 เนื่องจากการใช้จ่ายภาครัฐที่เพิ่มขึ้นและการลงทุนภาคเอกชนด้านโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการสื่อสาร จากรายงานของธนาคารโลก การเติบโตได้รับการสนับสนุนจากโครงการโครงสร้างพื้นฐานภาครัฐที่สูงขึ้นในด้านการขนส่งและการสื่อสาร  การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่มีมากขึ้นในการก่อสร้างคาดว่าจะช่วยกระตุ้นการเติบโต ภาคธนาคารได้รับประโยชน์จากการก่อสร้าง การผลิต และการซื้อขายที่สูงขึ้นผ่านการกู้ยืมกับธนาคารต่างประเทศ รวมถึงการท่องเที่ยวและบริการเช่นเดียวกับการค้าส่งและค้าปลีก ภาคเกษตรควรได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์การส่งออกที่สูงขึ้นและการขาดดุลการค้าที่ลดลง ในขณะเดียวกันแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐานคาดว่าจะรุนแรงมากขึ้นในปีนี้เนื่องจากอัตราค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นและการขาดแคลนพลังงานอย่างต่อเนื่อง ยังคงมีความเสี่ยงรวมถึงการเติบโตของโลกที่ชะลอตัวจากความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน รวมถึงวิกฤตในยะไข่ซึ่งทั้งหมดนี้อาจส่งผลกระทบต่อการลงทุนจากต่างประเทศ

ที่มา:https://www.mmtimes.com/news/world-bank-says-growth-myanmar-improve-year.html

จีน-เมียนมาลงทุนโครงการพลังงานที่เจาะพยู

บริษัท Kyaukphyu Electric Power ลงทุน 172 ล้านเหรียญสหรัฐในโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าในเจาะพยู รัฐยะไข่ จากรายงานของคณะกรรมการลงทุนของเมียนมา (MIC) The Kyaukphyu Electric Power Co ซึ่งเป็นกิจการร่วมค้าระหว่าง Supreme Group ของเมียนมาและ บริษัท Power China Enterprise จะสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซซึ่งสามารถผลิตพลังงานได้ทั้งหมด 135 เมกะวัตต์ บริษัทได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับกระทรวงไฟฟ้าและพลังงานในพ.ย. 62 เนื่องจากความต้องการเพิ่มขึ้นประมาณ 1,000 เมกะวัตต์ต่อปี จึงประกาศสำหรับโครงการระยะยาวสี่โครงการในม.ค. 61 ซึ่งรวมถึงโครงการในเจาะพยู คาดใช้เวลาอย่างน้อยสามปีจึงจะแล้วเสร็จ ในระยะสั้นโครงการพลังงานเจ็ดแห่งที่มีกำลังการผลิตรวม 1,166 เมกะวัตต์กำลังดำเนินการอยู่ โครงการอื่น ๆ จะดำเนินการเพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานของประเทศที่ 1,000 เมกะวัตต์ในปี 2564

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/china-myanmar-invest-power-project-kyaukphyu.html

เมียนมาต้องการตลาดอัญมณีที่ดีขึ้น

ประเทศเพื่อนบ้านของเมียนมากำลังพัฒนาตลาดสำหรับอัญมณีดิบ แม้เมียนมาจะเป็นผู้ผลิตอัญมณีและส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ เช่น ไทยและจีน ซึ่งอัญมณีดังกล่าวถูกนำมาใช้เพื่อผลิตอัญมณีราคาแพงโดยใช้เทคโนโลยีล้ำสมัย ในการติดต่อค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้านต้องเพิ่มมูลค่าและความสามารถให้กับตลาดอัญมณีให้มากขึ้น ปัจจุบันความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการสมาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวทำให้ตลาดอัญมณีในเมียนมาเติบโตช้า ในขณะที่มีตลาดขนาดเล็กสำหรับอัญมณีที่ทำผลิตจากเมียนมา สินค้าสำเร็จรูปจำนวนมากขายในราคาที่ถูกกว่ามากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น เหตุผลหนึ่งก็คืออัญมณีในท้องถิ่นได้ยังขาดคุณภาพ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/better-jewellery-market-needed-myanmar-official.html

เมียนมามีรายรับจากการส่งออกประมง 270 ล้านเหรียญสหรัฐ

เมียนมามีรายรับมากกว่า 270 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกประมงตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมถึง 3 มกราคมในปีงบประมาณนี้และมากกว่า 37 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้ว ปัจจุบันเมียนมาจำเป็นต้องเพิ่มปริมาณการส่งออก 10 เท่าหรือมากกว่านั้น ซึ่งต้องพัฒนาเทคนิคการผสมพันธุ์แทนการจับปลาตามธรรมชาติ โดยจะร่วมมือกับอินโดนีเซีย ไต้หวัน และจีนเพื่อสร้างโรงงานอาหารปลา โรงงานห้องเย็น และโรงงานที่ทันสมัยเพื่อสร้างรายได้ 3 พันล้านเหรียญสหรัฐจากภาคการประมง คาดสามารถสร้างงานได้ถึง 100,000 ตำแหน่ง ซึ่งกระทรวงการวางแผนและการเงินจะให้สินเชื่อเพื่อซื้อที่ดิน สร้างโรงงานสำหรับปลาและกุ้ง

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-earns-us270-m-from-fishery-export

กสิกรไทยเข้าถือหุ้น 35% ใน A Bank ของเมียนมา

ธนาคารกสิกรไทย (กสิกรไทย) กำลังเตรียมลงทุนในธนาคารเพื่อการพัฒนาเกษตรกรอิรวดี โดยซื้อหุ้น 35% ในธนาคาร A และได้ขออนุมัติจากธนาคารกลางของเมียนมา (CBM) ซึ่งจะช่วยให้ KBank สามารถใช้ประโยชน์จากเครือข่ายของธนาคาร A เพื่อเข้าถึงทั่วกลุ่มประเทศ CLMVI (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม และอินโดนีเซีย) และขยายการเข้าถึงธุรกิจในท้องถิ่นและธุรกิจไทย AEC + 3 (ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน + จีนญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) โดยการบริการหลักของธนาคาร คือ สินเชื่อธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางธุรกิจค้าปลีก และธนาคารดิจิทัล หลังจาก CBM อนุญาตให้ธนาคารต่างประเทศเข้าถือหุ้นในธนาคารในประเทศตั้งแต่มกราคม 62 ธนาคารกสิกรไทยเริ่มมองหาธนาคารที่มีศักยภาพและมีแนวคิดทางธุรกิจที่คล้ายคลึงกันซึ่งก็คือธนาคาร A โดยกสิกรจะได้รับประโยชน์จากทรัพยากรบุคคลและความสามารถของธนาคารซึ่งเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการเติบโตอย่างก้าวกระโดด

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/thailands-kbank-acquire-35-stake-myanmars-bank.html