EU สนับนุนเงิน 43 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อปฏิรูปการศึกษาของเมียนมา

สหภาพยุโรปให้ทุนเพื่อส่งเสริมการปฏิรูปการศึกษาในปีการศึกษาใหม่จำนวน 37.6 ล้านยูโร (ประมาณ 60 พันล้านจัต / 43.08 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในวันที่ 21 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา  ท่ามกลางการระบาดใหญ่ของ COVID-19 และทำให้แน่ใจว่าเด็กทุกคนสามารถกลับไปโรงเรียนได้อย่างปลอดภัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่ารัฐบาลจะยังคงพยายามปรับปรุงการศึกษาและการฝึกอบรมสายอาชีพทั่วประเทศ เงินช่วยเหลือเป็นการชำระเงินครั้งที่สามจำนวน 221 ล้านยูโรจากสหภาพยุโรปเพื่อเพิ่มการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับทุกคนในประเทศ ซึ่งต้องทำให้แน่ใจว่าเด็ก ๆ จะไม่ถูกทิ้งไว้ในช่วงวิกฤตินี้ การเข้าถึงการศึกษาและการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องจะมีความสำคัญต่อการฟื้นฟูอย่างยั่งยืนและความสามารถของเราในการป้องกันและตอบสนองต่อภัยคุกคามดังกล่าวได้ดีขึ้นในอนาคต เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาโรงเรียนกว่า 5,600 แห่งทั่วประเทศเริ่มต้นปีการศึกษาใหม่ คาดว่าโรงเรียนประถมและมัธยมต้นจะเปิดในสองสัปดาห์ รัฐบาลเตรียมห้องเรียนเพื่อรองรับระยะห่างทางสังคม (social distancing) เพื่อให้แน่ใจว่าสอดคล้องกับแนวทางการควบคุมและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ครูจะได้เรียนรู้หลักสูตรใหม่ออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มในการพัฒนาการศึกษาของเมียนมา เพื่อสนับสนุนการการสอนดิจิทัลมากขึ้นมีการเตรียมคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต ให้กับโรงเรียนและครู กระทรวงจะประเมินแต่ละโรงเรียนและปรับให้เข้ากับสถานการณ์ในแต่ละท้องถิ่น

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/eu-releases-43-million-boost-myanmar-education-reforms.html

การเรียนการสอนออกอากาศทางโทรทัศน์เพื่อกระตุ้นการศึกษาทางไกลใน สปป.ลาว

ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาได้ปรึกษาหารือเกี่ยวกับการผลิตรายการโทรทัศน์ตามหลักสูตรอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมการศึกษาทางไกลในพื้นที่ชนบทหลังจากประสบความสำเร็จในการออกอากาศในช่วงปิดโรงเรียน  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการและกีฬาและบริษัท  Lao Asia-Pacific Satellite จำกัด ได้ร่วมมือกันทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาที่ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 9 พ.ค.ที่ผ่านมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการและกีฬาได้เดินทางไปเยี่ยมชมบริษัท ฯ เพื่อหารือเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของโครงการ ซึ่งการออกอากาศรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาและกีฬาที่พิสูจน์แล้วว่าเป็นประโยชน์ต่อภาคส่วน โครงการนี้สามารถถ่ายทอดความรู้จากครูไปสู่นักเรียนได้ และจะยังคงพัฒนาโปรแกรมภายใต้กรอบการศึกษาสำหรับการออกอากาศทางโทรทัศน์วิทยุและโซเชียลมีเดีย สถาบันวิจัยเพื่อการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ได้ผลิตโปรแกรมการศึกษาออนไลน์สำหรับวิชาสำคัญหลังจากรัฐบาลสั่งให้โรงเรียนและสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งปิดทำการชั่วคราวเพื่อป้องกัน COVID-19 ในชุมชน แต่ความท้าทายการออกอากาศทางไกลคือนักเรียนในบางพื้นที่ที่ไม่สามารถเข้าถึงการส่งสัญญาณโทรทัศน์ได้เนื่องจากไม่มีสัญญาณออกอากาศหรือครอบครัวไม่มีโทรทัศน์โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท นอกจากนี้กระทรวงได้เสนอให้จัดหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะการนำเสนอวิดีโอของครูเพื่อการศึกษาออนไลน์

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_TV_113.php

ธนาคารโลกอนุมัติเงินช่วยเหลือ 15 ล้านดอลลาร์ สำหรับระบบการศึกษาในกัมพูชา

คณะกรรมการบริหารของธนาคารโลกได้อนุมัติสินเชื่อจำนวน 15 ล้านดอลลาร์ จากสมาคมการพัฒนาระหว่างประเทศ (IDA) สำหรับโครงการสร้างเสริมความรู้ทางการศึกษาก่อนการให้การบริการสำหรับผู้ประกอบอาชีพด้านสุขภาพของกัมพูชาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบการศึกษาก่อนการบริการด้านสุขภาพภายในประเทศที่ดีขึ้น โดยกัมพูชาประสบปัญหาการขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพโดยเฉพาะในภาครัฐ กัมพูชามีแพทย์เพียง 1.4 คน และพยาบาล 9.5 คน ต่อประชากร 10,000 คน ซึ่งอัตราส่วนเหล่านี้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่ควรจะเป็น คือแพทย์ 9 คน และพยาบาล 19 คน ต่อประชากร 10,000 คน ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้น้อยถึงปานกลางในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก โดยโครงการนี้จะสนับสนุนฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อช่วยให้สาธารณสุขภายในประเทศดีขึ้น รวมถึงกฎระเบียบและมาตรฐานเพื่อการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ และการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50728651/world-bank-approves-15-million-aid-for-cambodias-education-system-for-health-professionals/

การศึกษาทางไกลจะเป็นรากฐานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสปป.ลาว

กระทรวงศึกษาธิการและกีฬาได้เริ่มผลิตโปรแกรมการศึกษาออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคมหลังจากที่รัฐบาลสั่งให้โรงเรียนและสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งปิดทำการชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคมถึง 21 เมษายนเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อของไวรัส Covid-19 โดยโปรแกรมการศึกษาทางไกลเหล่านี้คาดว่าจะออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์แห่งชาติลาวตั้งแต่เวลา 8:00 น. ถึง 8:30 น. และมีกำหนดออกอากาศทุกวันตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันอาทิตย์ ผ่านช่องทางต่างๆทั้งจากสถานีโทรทัศน์ คลื่นวิทยุ และสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ ทั้ง Facebook YouTube ทั้งนี้กระทรวงศึกษาธิการจะมีการพัฒนาและผลักดันให้มีการเรียนออนไลน์กันมากขึ้นเพราะไม่เพียงแค่เพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส covid-19 แต่รัฐบาลสปป.ลาวมีเป้าหมายที่ต้องการวางรากฐานการศึกษาออนไลน์ให้มีคุณภาพเพื่อเป็นโครงสร้างที่ดีในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพมากขึ้นซึ่งการนำระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมาใช้จะทำให้ประชาชนสปป.ลาวสามารถเข้าถึงได้ทั่วประเทศนั้นเอง

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Distance_71.php

องค์กรอิสระและมูลนิธิด้านการศึกษาร่วมมือกับรัฐบาลในการสนับสนุนเงินเพื่อการศึกษาและกีฬา

เมื่อวันที่ 21-22 พ.ย. 62 ได้มีการประชุมเรื่องการจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาด้านการศึกษาและการกีฬาโดยความร่วมมือระหว่าง องค์กรอิสระระหว่างประเทศ มูลนิธิด้านการศึกษาร่วมมือกับรัฐบาลในการให้เงินสนับสนุน 99 ล้านเหรียญสหรัฐ แก่มหาวิทยาลัย โรงเรียนรวมถึงโครงการด้านการศึกษาและกีฬาในสปป.ลาว โดยในที่ประชุมมีแนวทางในการนำงบประมาณของกองทุนจำนวน 17ล้านเหรียญสหรัฐไปเพื่อจัดหาเครื่องแบบและอุปกรณ์การศึกษาเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนรวมถึงการจัดหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อช่วยเสริมสร้างระบบการศึกษาและในอนาคตจะมีการนำเงินของกองทุนไปสนับสนุนในด้านอื่นๆต่อไป จากการสนับสนุนดังกล่าวจะช่วยในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษาและการกีฬา รวมถึงการปรับปรุงคุณภาพการสอนในพื้นที่ห่างไกลเพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาโดยรวมทำให้คุณภาพของคนในสปป.ลาวดีขึ้นจากการศึกษาที่มีมาตราฐานมากขึ้น นำมาซึ่งผลดีในอนาคตที่จะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศเพราะการศึกษาเป็นพื้นฐานของการพัฒนาสังคมที่ดี  

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Ministry_260.php

การลงทุนการศึกษาในเมียนมา

เมื่อหลายวันก่อนสถาบันที่ปรึกษาอัจฉริยะด้านการค้าและการลงทุน (AITI) ของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้ส่งผู้ประกอบการที่ต้องการจะไปลงทุนในเมียนมา มาขอคำปรึกษาจากทั้งหมด 3 ราย หนึ่งในนั้นเป็นผู้ประกอบการที่อายุยังน้อยทำธุรกิจเกี่ยวกับโรงเรียนกวดวิชาที่มีการสอนด้านภาษา ด้านดนตรี ด้านวิชาการและสันทนาการเข้ามาปรึกษาขายแฟรนไชส์การศึกษาที่เมียนมา มีความเป็นไปได้หรือไม่ ซึ่งอยากให้เขาทำการบ้านให้มากกว่านี้ แล้วค่อยมาปรึกษากันใหม่ เมียนมามีความเสี่ยงมากเพราะการศึกษาของเมียนมาต่างจากที่อื่น เมียนมาเรียนในระบบ 6-2-2 ไม่เหมือนไทยที่เรียนระบบ 6-3-3 การสอบเข้ามหาวิทยาลัยที่จะไม่ใช้วิธีการสอบเอนทรานส์ ที่นั่นใช้วิธีวัดผลสอบ โดยเอาคะแนนการสอบปลายปีของปี 10 มายื่นเรื่องขอเรียนต่อในมหาวิทยาลัยได้เลย ข้อสอบจากส่วนกลางจะส่งตรงไปที่เขตจังหวัดเลย ข้อดีคือไม่ซ้ำซ้อน และไม่ต้องสิ้นเปลืองทรัพยากรมากแต่ต้องซื่อสัตย์ การเรียนการสอนของที่เมียนมาคุณภาพจึงเข้มข้นมากๆ ตำราเรียนคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ที่นี่ใช้ตำราเรียนเป็นภาษาอังกฤษ เด็กจึงมีคุณภาพ จบแค่ปี 8 ก็สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ จบจากที่นี่สามารถสอบเข้าเรียนที่สิงคโปร์ ออสเตรเลีย อังกฤษ สหรัฐอเมริกาได้เลย ถ้ามีฐานะดีมักจะคาดหวังที่สี่ประเทศดังกล่าวเป็นอันดับต้นๆ ส่วนที่มีฐานะรองลงมาหรือคนในรัฐฉานที่เป็นไทยใหญ่ ก็ต้องมาที่ประเทศไทยเพราะถูกดีและสามารถพูดไทยได้ อันดับแรกเลยคือต้องทำการสำรวจตลาดก่อน ด้วยการเดินตามโรงเรียนเอกชนต่างๆ และโรงเรียนอินเตอร์อาจจะซึ่งอาจไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายก็เป็นได้ เพราะถ้าสามารถเรียนโรงเรียนอินเตอร์ เป้าหมายไปไกลแล้ว การศึกษาของเราน่าจะสู้สิงคโปร์ลำบาก จากนั้นค่อยมาวางแผนว่าวิสัยทัศน์ว่าจะเดินไปอย่างไร น่าจะเป็นทางออกที่เสี่ยงน้อยกว่า

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/607276