เวียดนามเผยตู้คอนเทนเนอร์สินค้าเพิ่มขึ้น 22% ในช่วงครึ่งปีหลัง

สำนักงานบริหารการเดินเรือเวียดนาม (VMA) เผยการจัดส่งสินค้าที่เป็นตู้คอนเทนเนอร์ผ่านท่าเรือของเวียดนาม ยังคงเติบโตได้ดีในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ แม้ว่าจะมีการระบาดของโควิด-19 ก็ตาม โดยเฉพาะ ยอดรวมของการจัดส่งสินค้าผ่านท่าเรือที่มีปริมาณกว่า 363 ล้านตันในช่วง 6 เดือนแรก เพิ่มขึ้น 7% ต่อปี และการใช้ตู้คอนเทนเนอร์เพื่อการส่งออก มีประมาณ 4 ล้านตู้ เพิ่มขึ้น 17% ทั้งนี้ ตามตัวเลขสถิติของสำนักงานข้างต้น ชี้ให้เห็นว่าในช่วงเริ่มต้นของปีนี้ ท่าเรือหลายแหล่งมีปริมาณสินค้าตู้คอนเทนเนอร์เพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ มีเถ่อ เพิ่มขึ้น 74%, อานซาง (50%), นครโฮจิมินห์ (17%) และบ่าเหรี่ยะ – หวุงเต่า (38%)

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/container-goods-via-seaports-up-22-percent-in-h1/203177.vnp

กลุ่มโลจิสติกส์เรียกร้องให้รัฐบาลผ่อนปรนข้อจำกัดด้านการขนส่ง

ในขณะที่ธุรกิจภายในประเทศกัมพูชากำลังเผชิญกับความกดดัน พยายามดำเนินการภายใต้ข้อจำกัดของรัฐบาลหลังจากที่ได้ออกมาตรการล็อกดาวน์ ร่วมกับความกังวลเรื่องความปลอดภัยทางด้านอาหาร โดยสมาคมโลจิสติกส์แห่งกัมพูชา (CLA) จึงได้ขอให้รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงเพื่อช่วยบรรเทาความตึงเครียดเหล่านี้ลง ซึ่งอุปสรรคที่พบในขณะนี้คือบริษัทที่มีสำนักงานในเขตพื้นที่สีแดงจำเป็นต้องหยุดกิจการชั่วคราว เจ้าหน้าที่เกือบทั้งหมด ไม่สามารถเดินทางผ่านไปยังพื้นที่นั้นๆได้ โดยถูกจำกัดหรือห้าม กิจกรรมทางศุลกากร ซึ่ง CLA ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อหน่วยงานรัฐเพื่อขอใบอนุญาตจราจรสำหรับรถบรรทุกสำหรับงานหนักทุกประเภทที่มีความจำเป็นในการเดินทางเข้าและออกจากพื้นที่ที่ถูกปิดกั้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50843076/logistics-group-calls-on-govt-to-ease-restrictions-to-ensure-deliveries/

ค้าชายแดนระนอง‘คึก’ ‘เมียนมา’ติดหล่มวิกฤติ เร่งสั่งสินค้าทะลัก

การค้าชายแดนไทย-เมียนมาด้านจังหวัดระนอง ที่ขนส่งกันทางเรือ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาซบเซาลงตามเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวจากสงครามการค้า ต่อด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ที่เริ่มคลี่คลายหลังคุมการแพร่ระบาดได้ ทำให้การค้าชายแดนด้านจังหวัดระนองเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ปลายปี 2563 กระทั่งเกิดเหตุรัฐประหารในเมียนมาเมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2564 กลายเป็นวิกฤติรุนแรงยืดเยื้อ ที่หลายฝ่ายวิตกว่าจะกระทบถึงการค้าชายแดนไทย-เมียนมา ทั้งนี้ นายนิตย์ อุ่ยเต็กเค่ง รองประธานหอการค้าจังหวัดระนอง เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า วิกฤติการเมืองในประเทศเมียนมา และการแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบใหม่ ไม่กระทบต่อบรรยากาศการค้าชายแดนด้านระนอง แต่กลับส่งผลให้มีความคึกคักมาอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมี.ค. 2564 ที่ผ่านมา พบว่าสถานการณ์ในเมียนมามีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น อีกทั้งผู้ประท้วงมีการยกระดับการชุมนุม โดยเฉพาะการนัดหยุดงานในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนสินค้าที่จำเป็น สินค้าในเมียนมาเกือบทุกรายการมีการปรับราคาขึ้น โดยเฉพาะน้ำมันพืชและข้าวสาร ที่ปรับขึ้นถึง 20-30%

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/474656

MAI พร้อมแล้วกับการขนส่งสินค้าทางอากาศ

Myanmar Airways International (MAI) ซึ่งให้บริการเที่ยวบินเส้นทางอินชอน – ย่างกุ้งตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2562 จะพัฒนาขีดความสามารถด้านการขนส่งโดยการบรรทุกสินค้าของห้องโดยสารเครื่องบินภายในประเทศหรือเส้นทางจีนบางเส้นทาง โดยบริการเที่ยวบินที่ไม่มีผู้โดยสารแต่มีเพียง cargos ที่จะช่วยเพิ่มความสามารถในการขนส่งในอนาคต MAI เป็นกลุ่มสายการบินที่ใหญ่ที่สุดในเมียนมาพร้อมด้วยสายการบินน้องอย่าง KBZ ถือได้ว่าเป็นสายการบินที่มีเครือข่ายที่แข็งแกร่งโดยมี 15 จุดหมายปลายทางในประเทศ ได้แก่ Heho, Bagan, Mandalay และ Nay Pyi Taw และจะเพิ่มการเข้าถึงสันทางเมียนมาจากเกาหลีอย่างต่อเนื่อง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-airways-international-continue-cargo-transportation.html

ผู้โดยสาร YBS เพิ่มขึ้นในช่วง COVID-19

สำนักงานการขนส่งภูมิภาคย่างกุ้ง (YRTA) เผยจำนวนผู้โดยสาร YBS เพิ่มขึ้นเป็น 250,000 คน แม้จะมีข้อจำกัดสำหรับ COVID-19 อย่างต่อเนื่องในเมียนมา จำนวนผู้โดยสาร YBS เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมาจาก 100,000 คน เมื่อต้นเดือนเป็น 250,000 คน รถเมล์ยังคงวิ่งมากกว่า 2,000 คันทุกวัน โปสเตอร์จากกระทรวงสาธารณสุขและกีฬาติดโปสเตอร์ในรถบัส YBS ซึ่งกระตุ้นให้ผู้โดยสารสวมหน้ากากและรักษาระยะห่างที่ปลอดภัยขณะเดินทางบนรถบัส

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/ybs-passengers-rise-during-covid-19.html

เมียนมาปิดประตูเข้าออกชายแดนบังคลาเทศ

รัฐบาลเมียนมาได้ปิดการเข้าและออกของผู้คนในประตูชายแดนกับบังกลาเทศตั้งแต่วันที่ 13 เมษายนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่จะบรรเทาการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั้งนี้ได้ห้ามการเข้าและออกของผู้คนจากประตูชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินเดีย จีน ไทยและสปป.ลาวและเปิดเฉพาะการขนส่งสินค้าเท่านั้น ซึ่งสินค้าระหว่างเมียนมาและบังคลาเทศก็จะดำเนินต่อไปเช่นกัน วันที่ 13 และ 14 เมษายน 2563 เมียนมามีจำนวนผู้ป่วย 62 คนโดยมีผู้เสียชีวิต 4 รายและหายป่วยไปแล้วสองราย

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-stops-entry-exit-people-bangladesh-border-gates.html

กระทรวงโยธาธิการและการขนส่งได้ประกาศระงับการให้บริการรถบัสทั้งหมด

กระทรวงโยธาธิการและการขนส่งได้ประกาศระงับการให้บริการรถบัสทั้งหมดและปิดสถานีรถบัสเป็นการชั่วคราวระหว่างวันที่ 1-10 เมษายน เพื่อป้องกัน Covid-19 หลังจากมีการยืนยันผู้ติดเชื้อเพิ่ม มาตราการดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขยืนยันจำนวนการติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็น 9 คน นอกจากนี้การดำเนินการดังกล่าวยังสอดคล้องไปกับมาตราการควบคุมต่างๆ ทั้งการให้ทุกคนกักตัวไม่ให้พบปะกัน การปิดพรหหมแดน ไม่เพียงแต่การแพร่ระบาดที่รัฐบาลได้ออกมาตราการต่างๆมาควบคุม เพราะในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ประชาชนสปป.ลาวมีการกักตุนอาหารทำให้ราคาสินค้าอาจมีการปรับตัว แต่อาจมีผู้ไม่หวังดีในช่วงนี้ที่จะปรับราคาเกินที่กำหนด รัฐบาลจึงต้องมีประกาศออกมาควบคุมในเรื่องราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในช่วงนี้เพื่อไม่ให้ราคาสูงเกินไป รัฐบาลจะจัดตั้งหน่วยงานเพื่อตรวจสอบอย่างเข้มงวดหากร้านค้ามีการปรับขึ้นราคาเกินจริงจะถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos65.php

เรือขนส่งวัตถุดิบจากจีน 12 ลำสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มจะมาถึงกัมพูชาในสัปดาห์นี้

สมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในประเทศกัมพูชา (GMAC) กล่าวถึงเรือขนส่งสินค้าจากจีน 12 ลำที่ขนวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มจะมาถึงกัมพูชาภายในสัปดาห์นี้ ณ ท่าเรือ Sihanoukville Autonomous Port ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดพระสีหนุ ซึ่งเสริมว่ามาตรการ “กรีนเลน” ที่ดำเนินการโดยกระทรวงเศรษฐกิจและการเงินผ่านกรมศุลกากรและสรรพสามิตช่วยทำให้ง่ายต่อการขนส่งวัตถุดิบไปยังโรงงานในพื้นที่ต่างๆรวมถึงกรุงพนมเปญ นายกรัฐมนตรีฮุนเซนกล่าวว่ากว่า 60% ของวัตถุดิบสำหรับการผลิตในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและรองเท้าในกัมพูชานำเข้าจากจีน กระทรวงแรงงานกล่าวว่าอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและรองเท้าเป็นภาคการส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชามีพนักงานประมาณกว่า 750,000 คน ในโรงงานและมีสาขากว่า 1,100 แห่ง ซึ่งภาคดังกล่าวมีรายรับรวม 9.32 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้วเพิ่มขึ้น 11% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50700937/12-more-chinese-ships-carrying-garment-raw-materials-to-arrive-in-cambodia-this-week

ทางหลวงสู่สีหนุวิลล์แล้วเสร็จไปกว่า 20%

โครงการทางด่วนแห่งแรกในกัมพูชาเชื่อมโยงระหว่างเมืองหลวงกรุงพนมเปญกับสีหนุวิลล์ได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว 20% นับตั้งแต่เริ่มก่อสร้างอย่างเป็นทางการเมื่อปีที่แล้วตามรายงานจากกระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง (MPWT) สร้างโดย China Road และ Bridge Corp (CRBC) ซึ่งเป็นของรัฐผ่านบริษัทย่อยของบริษัท PPSHV Expressway Co Ltd. โดยคาดว่าค่าใช้จ่ายของโครงการจะมีมูลค่าประมาณ 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ระยะทางทอดยาว 190 กิโลเมตร ความกว้าง 24.5 เมตร ซึ่งถือเป็นพื้นฐานในการให้บริการอุตสาหกรรมที่ทันสมัยของประเทศและอำนวยความสะดวกในกิจกรรมการขนส่งระหว่างประเทศ การก่อสร้างทางด่วนเป็นไปตามวัตถุประสงค์การรวมตัวของภูมิภาคอาเซียนและอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งจะเชื่อมโยงเครือข่ายการขนส่งในระดับภูมิภาคจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง โดยทางหลวงใหม่นี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งของกัมพูชาควบคู่ไปกับการพัฒนาโลกาภิวัตน์ ซึ่งการพัฒนาทางพิเศษเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “Belt and Road” ของรัฐบาลจีนครอบคลุมเกาะเทียมในศรีลังกา สะพานในบังคลาเทศและโครงการไฟฟ้าพลังน้ำทั้งในเนปาลและอินโดนีเซีย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50697727/billion-dollar-highway-to-sihanoukville-20pct-ready

รถไฟเชื่อมระหว่างกัมพูชาและไทยใกล้ที่จะเปิดทำการในเร็วๆนี้

เจ้าหน้าที่การรถไฟของกัมพูชาและไทยจะประชุมเพื่อหารือเรื่องการขนส่งทางรถไฟข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยปลัดกระทรวงโยธาธิการและการขนส่งกล่าวว่าข้อตกลงด้านการขนส่งทางรถไฟข้ามพรมแดนได้ลงนามไว้ตั้งแต่เดือนเมษายนปีที่แล้ว แต่ยังไม่ได้ดำเนินการหรือเปิดทำการ ซึ่งการเชื่อมต่อใหม่จะช่วยให้การขนส่งสินค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุน ปรับปรุงความปลอดภัย ลดปัญหาการจราจรติดขัดและมีส่วนช่วยในการพัฒนาของทั้งสองประเทศรวมทั้งเพิ่มการเชื่อมโยงเพิ่มเติมกับสมาชิกอาเซียนและอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งรัฐบาลของทั้งสองประเทศคาดหวังว่าจะปรับปรุงการขนส่งและส่งเสริมการค้า นอกจากนี้ยังเปิดตัวสะพานมิตรภาพ Stung Bot – Ban Nong Ian เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าระหว่างสองประเทศอีกด้วย  โดยเส้นทางรถไฟสายเหนือจะเชื่อมต่อกัมพูชาและไทยเริ่มต้นที่กรุงพนมเปญและเดินทางไปยังปอยเปตที่ชายแดนไทยระยะทาง 386 กิโลเมตร ซึ่งจากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์พบว่าการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและไทยอยู่ที่ 9.41 พันล้านเหรียญสหรัฐ ณ ปี 2562 เพิ่มขึ้นจาก 8.39 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2561

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50689585/cambodia-thailand-railway-a-stop-nearer-being-ready