‘เวียดนาม’ คาดอุตสาหกรรมสิ่งทอ โต 11.2%

สมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเวียดนาม (VITAS) เปิดเผยว่าภาคธุรกิจสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในประเทศ ตั้งเป้าว่าจะมียอดส่งออกในปีนี้ อยู่ที่ 39 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 11.2% และ 0.2% เมื่อเทียบกับปี 63 และ 62 ตามลำดับ ถึงแม้ว่าจะได้รับผลกระทบในเชิงลบจากการแพร่ระบาดขงโรคโควิด-19 ที่ยังคงยืดเยื้อ แต่ภาคธุรกิจได้เตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับวิกฤติดังกล่าวและคงรักษาระดับการส่งออกให้มีเสถียรภาพ ทั้งนี้ การส่งออกที่คงเติบโตในระดับสูง เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของตลาดโลก โดยเฉพาะตลาดยุโรปและสหรัฐฯ รวมถึงผลประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีที่เวียดนามร่วมลงนามกับประเทศคู่ค้า

นอกจากนี้ การที่รัฐบาลเวียดนามได้ปรับตัวให้มีความยืดหยุ่นต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ทำให้ภาคธุรกิจมีความคล่องตัวในการดำเนินงาน

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/garment-sector-set-to-enjoy-growth-rate-of-112-909982.vov

‘เวียดนาม’ เผยผลสำรวจชี้ธุรกิจมองว่าผลการดำเนินงานจะดีขึ้นในไตรมาสที่ 4

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เผยผลสำรวจในเมืองโฮจิมินห์ พบว่ากิจการส่วนใหญ่ 73.7% มองว่าผลการดำเนินธุรกิจจะปรับตัวดีขึ้นในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ แต่ว่ากิจการอีกประมาณ 26.3% มองว่าจะเผชิญกับอุปสรรคมากขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปี เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วประเทศ โดยเฉพาะจังหวัดในภาคใต้ ซึ่งทำการสำรวจ 19 จังหวัด โดยธุรกิจส่วนใหญ่ 38.6% ชี้ว่าผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 3 ดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ส่วนที่เหลือยังคงประสบปัญหาด้านการผลิตและธุรกิจ อีกทั้ง เมื่อพิจารณาเฉพาะเมืองโฮจิมินห์ พบว่ากิจการเพียงกว่า 9.7% ชี้ว่าการดำเนินงานในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ อยู่ในระดับไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่กิจการกว่า 90.3% เผชิญกับอุปสรรคต่างๆ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/more-firms-upbeat-about-business-performance-in-q4/209225.vnp

ถอดบทเรียนโลกสู้วิกฤตโควิดสู่มาตรการเศรษฐกิจไทย

โดย วิจัยกรุงศรี I ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

การระบาดของโควิดระลอกที่ 3 มีแนวโน้มสูงกว่าที่คาด โดยตัวเลขการคาดการณ์ผู้ติดเชื้อรายวันเข้าสู่กรณีเลวร้าย จากทั้งประสิทธิภาพของมาตรการล็อกดาวน์และประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันสายพันธุ์เดลตาต่ำกว่าที่คาด ทำให้มาตรการควบคุมการระบาดมีแนวโน้มลากยาวไปอย่างน้อยจนถึงสิ้นปี 2564 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม โดยค่าเฉลี่ยของการประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2564 จาก 31 สำนักวิจัยลดลงจาก 3.4% (มีนาคม 2564) อยู่ที่ 1.8% (สิงหาคม 2564)

การชะลอตัวของเศรษฐกิจไทยส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและครัวเรือนในวงกว้าง จากตัวเลขของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนพบว่า มีธุรกิจจำนวน 754,870 รายอยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดหรืออยู่ใน 9 อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบสูง คิดเป็น 93.9% ของจำนวนธุรกิจทั้งหมด ซึ่งมีการจ้างงานถึง 24.8 ล้านคน คิดเป็น 65% ของแรงงานทั้งหมด และในจำนวนนี้มีแรงงานประมาณ 13.7 ล้านคนเป็นผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง

จากวิกฤตโควิดที่มีความรุนแรงและยาวนาน รวมถึงมีผู้ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง มาตรการเยียวยาจึงมีความจำเป็นเพื่อควบคุมการระบาดและประคองให้ภาคธุรกิจและครัวเรือนไทยอยู่รอดต่อไปได้

วิจัยกรุงศรีจึงศึกษาเปรียบเทียบการออกมาตรการบรรเทาผลกระทบจากโควิดในประเทศต่างๆ พบว่า

  • มาตรการให้เงินสำหรับผู้ที่ติดเชื้อหรือผู้ที่ต้องกักตัว: เน้นการสร้างแรงจูงใจและข้อบังคับเพื่อให้คนที่มีความเสี่ยงยอมกักตัวอยู่บ้านเพื่อควบคุมการระบาด
  • มาตรการรักษาระดับการจ้างงาน: เป็นมาตรการจ่ายเงินช่วยเหลือแรงงานผ่านภาคธุรกิจ เพื่อช่วยลดภาระต้นทุนของธุรกิจและรักษาระดับการจ้างงาน เน้นการช่วยเหลือธุรกิจและแรงงานที่มีรายได้น้อย
  • มาตรการให้เงินช่วยเหลือโดยตรงสำหรับภาคธุรกิจ: เป็นมาตรการให้เงินช่วยเหลือครั้งเดียวเพื่อบรรเทาปัญหาสภาพคล่อง โดยจำนวนเงินช่วยเหลือขึ้นกับผลกระทบและความอ่อนไหวของธุรกิจ
  • มาตรการลดค่าใช้จ่ายสำหรับภาคครัวเรือน: รวมถึงการลดค่าใช้จ่ายด้านภาษี ด้านอุปกรณ์ป้องกันโรค ด้านที่อยู่ และด้านรายจ่ายจำเป็นอื่นๆ เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าอาหาร และค่าการศึกษา เป็นต้น
  • มาตรการลดค่าใช้จ่ายสำหรับภาคธุรกิจ: รวมถึงการลดต้นทุนค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์และต้นทุนค่าธรรมเนียมภาษี
  • มาตรการให้เงินช่วยเหลือโดยตรงสำหรับภาคครัวเรือน: เน้นไปที่กลุ่มที่เข้าถึงความช่วยเหลือค่อนข้างยาก ได้แก่ กลุ่มเปราะบางและแรงงานนอกระบบ

อย่างไรก็ตาม มาตรการเยียวยาทั้ง 6 มาตรการที่ทำการศึกษาจะช่วยให้ศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยสามารถประคองตัวอยู่ที่ 3.25% โดยทั้ง 6 มาตรการมีวงเงินรวมกันประมาณ 7 แสนล้านบาทในช่วง 6 เดือนข้างหน้า การใช้มาตรการเหล่านี้จะช่วยให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ดีขึ้น และสามารถสร้างรายได้ถึง 8.6 แสนล้านบาทในช่วง 5 ปีข้างหน้า หรือระหว่างปี 2564-2568

ที่มา : https://www.krungsri.com/th/research/research-intelligence/Covid19-Response-Policy-2021

เศรษฐกิจเวียดนามยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในช่วงแรกของปี 64

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เผยว่าเศรษฐกิจเวียดนามฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ได้รับสัญญาจากการเติบโตของภาคธุรกิจควบคู่กับการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยตัวชี้วัดที่แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจฟื้นตัว ได่แก่ การผลิตทางการเกษตร ป่าไม้ อุตสาหกรรมและดัชนีพัฒนาธุรกิจ เป็นต้น และยังมีตัวชี้วัดอื่น ได้แก่ การดึงดูดของการลงทุนจากภาคเอกชนและกิจกรรมการส่งออก-นำเข้าที่กลับมาดีขึ้น ทั้งนี้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ยอดจดทะเบียนของธุรกิจใหม่กว่า 8,000 แห่งทั่วประเทศ ด้วยเงินทุนจดทะเบียนแตะ 179 พันล้านดอง นอกจากนี้ นาย Tran Toan Thang หัวหน้าศูนย์ข้อมูลและวิเคราห์เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (NCIF) กล่าวว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเวียดนาม ได้รับสัญญาในทิศทางที่เป็นบวกในช่วงไตรมาสที่ 3-4 ของปีที่แล้ว ถึงแม้ว่าจะอยู่ในทิศทางที่ดีขึ้น แต่ธุรกิจในท้องถิ่นหยุดกิจการชั่วคราวกว่า 33,000 แห่งในช่วง 2 เดือนแรกของปี เพิ่มขึ้น 18.6% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnamese-economy-continues-to-reboot-during-first-months-of-2021-29289.html

SME bank กัมพูชาเริ่มเปิดดำเนินการอีกครั้งสำหรับภาคธุรกิจ

ธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) แห่งกัมพูชาจะเริ่มดำเนินการด้านการธนาคารในวันนี้ ณ กรุงพนมเปญ ในฐานะธนาคารที่ดำเนินนโยบายสอดคล้องกับทางภาครัฐบนเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของรัฐบาลกัมพูชา ตามที่กำหนดไว้ภายใต้นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมของกัมพูชา พ.ศ. 2015-2025 โดยธนาคารจะส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มากขึ้นสำหรับเอสเอ็มอีในภาคส่วนที่มีความสำคัญ เช่น การผลิตและแปรรูปอาหาร การผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคในท้องถิ่น การรีไซเคิลขยะ การผลิตสินค้าสำหรับภาคการท่องเที่ยว การผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ชิ้นส่วนอะไหล่หรือการประกอบชิ้นส่วน และการพัฒนาอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลและเทคโนโลยี (IT)

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50780008/sme-bank-of-cambodia-open-for-business/

ธุรกิจเลิกกิจการเกือบ 35,000 ราย ในไตรมาสแรก

จากรายงานของกระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) เปิดเผยว่าธุรกิจเลิกกิจการเกือบ 35,000 รายที่ตั้งฐานอยู่ในเวียดนาม ช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์, ศิลปะ, บันเทิง, ท่องเที่ยว, บริการที่พัก, การขนส่งและคลังสินค้า โดยกลุ่มธุรกิจข้างต้นประสบปัญหาอย่างมากและในที่สุดก็ล้มเลิกกิจการ ยิ่งกว่านี้ จำนวนธุรกิจที่ก่อตั้งใหม่ทั้งหมดมีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยภาพรวมนั้น เวียดนามมีธุรกิจก่อตั้งใหม่อยู่ที่ 29,700 ราย ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ด้วยมูลค่าจดทะเบียนรวม 350,000 พันล้านด่ง ชี้ให้เห็นว่าจำนวนธุรกิจยังคงเพิ่มขึ้น แต่มูลค่าจดทะเบียนดิ่งลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/q1-sees-nearly-35000-businesses-withdraw-from-market-412291.vov

ภาคธุรกิจประเมินความสะดวกในการลงทุนการค้าในสปป.ลาว

สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติสปป.ลาว ทำการประเมินวิธีการอำนวยความสะดวกในแขวงต่างๆและนครหลวงเวียงจันทร์ในการลงทุนและการค้าภายใต้โครงการระยะที่ 2 ของโครงการ ProFIT การประเมินนี้คาดว่าจะสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคธุรกิจและเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐ โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจาก ADB ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อ ADB ที่จะได้รับข้อมูลที่ชัดเจนซึ่งเกี่ยวข้องกับความช่วยเหลือในบางโครงการที่ดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐ การวิเคราะห์จะดำเนินการคาดว่าจะเสร็จสิ้นทั่วประเทศภายในสิ้นเดือนพ.ย. โดยจะจัดลำดับความสะดวกในการทำธุรกิจในแต่ละแขวง และวัตถุประสงค์ของโครงการอีกประการหนึ่งคือการวิเคราะห์และเปรียบเทียบสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามกฎระเบียบ นอกจากนี้ยังประเมินการบริการสาธารณะและการจัดอันดับแขวงที่มีขีดความสามารถเพื่อจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการค้าและการลงทุนและยังส่งเสริมความสามารถของผู้ประกอบการ รัฐบาลได้รับประโยชน์จากการได้รับข้อมูลที่สำคัญสำหรับการเปรียบเทียบการบริการสาธารณะในระดับแขวงเพื่อปรับปรุง ดังนั้นจึงเป็นเครื่องมือวัดและประเมินผลสำหรับรัฐบาล ProFIT จะช่วยให้จังหวัดต่างๆดึงดูดการลงทุนและในขณะเดียวกันธุรกิจก็สามารถนำปัญหามาใช้เพื่อหาแนวทางแก้ไข

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/business-sector-assesses-facilitation-investment-trade-laos-105441