จับตาส่งออกข้าวไทย-เวียดนาม ระอุ ยอดส่งออกไตรมาสแรกเบียดสูสี

ปี 2565 ไทยส่งออกข้าวรั้งอันดับ 2 ของโลก โดยส่งออกได้  7.69 ล้านตัน เบียดเวียดนามที่เป็นคู่แข่งสำคัญที่ครองอันดับ 2  ของโลกติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี โดยเวียดนามส่งออกได้ 6.31 ล้านตัน แม้ว่าในปี 2565 เวียดนามจะถูกไทยเบียดแซงหล่นมาเป็นอันดับ 3 แต่เวียดนามก็ยังเป็นผู้ส่งออกข้าวในอันดับต้นของโลกอยู่ จากความได้เปรียบในเรื่องของพันธุ์ข้าวที่ตรงต่อความต้องการของตลาด และราคาข้าวของเวียดนาม ไม่มีความผันผวนเกินไป ราคาข้าวยังคงที่ ทำให้สามารถทำตลาดค้าข้าวกับลูกค้าได้ง่าย โดยในปี 2566 เวียดนามตั้งเป้าส่งออกข้าวเพิ่มขึ้น 16% ทั้งนี้ กรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่าในไตรมาสแรกของปี 2566 ไทยและเวียดนามส่งออกข้าวในปริมาณใกล้เคียงกัน ในส่วนของไทยส่งออกข้าว 2,063,927 ตัน เพิ่มขึ้น 18% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในขณะที่เวียดนามส่งออกข้าวได้ 1.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 19% จากแรงหนุนจากข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป – เวียดนาม (EVFTA) ทำส่งออกไปอียูเพิ่มขึ้นจากราคาข้าวได้เปรียบคู่แข่ง

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1064275

การส่งออกของกัมพูชาในช่วงเดือน ก.พ. ขยายตัวร้อยละ 1

แม้การส่งออกของสินค้ากลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูปจะหดตัว แต่มูลค่าการส่งออกโดยภาพรวมกลับเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2023 เทียบกับการลดลงร้อยละ 23.6 ในช่วงเดือนมกราคม ตามรายงานของกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง โดยการส่งออกเครื่องแต่งกายลดลงร้อยละ 4.5 ในช่วงเดือน ก.พ. จากการส่งออกเครื่องนุ่งห่มไปยังตลาดหลักที่ลดลง อาทิเช่น ส่งออกไปยังสหภาพยุโรปลดลงร้อยละ 14.7, สหราชอาณาจักรลดลงร้อยละ 10.8, ญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 3.5 และส่งออกไปยังประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียนลดลงร้อยละ 5.2 ขณะที่การส่งออกเครื่องนุ่งห่มไปยังจีนกลับขยายตัวกว่าร้อยละ 16.4 และส่งออกไปยังสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.7 ในช่วงเวลาเดียวกัน การส่งออกของสินค้ากลุ่มที่ไม่ใช่เครื่องนุ่งห่มขยายตัวร้อยละ 8.6 ในช่วงเดือนดังกล่าว เทียบกับการลดลงร้อยละ 24.7 ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา ซึ่งสินค้าที่ขยายตัวโดดเด่นทางด้านการส่งออก ได้แก่ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า, จักรยาน, ไม้, ข้าว, มันสำปะหลัง, กล้วย, มะม่วง และสินค้าเกษตรอื่นๆ ขณะที่การนำเข้าของกัมพูชาปรับตัวลดลงร้อยละ 14.7 ในช่วงเดือน ก.พ.

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501263373/cambodian-exports-value-up-1-in-february/

กัมพูชาคาดส่งข้าวไปยังยุโรปขยายตัวกว่าร้อยละ 40 ในปี 2023

Chan Sokheang ประธานสมาพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) กล่าวกับ Cambodia Times ว่าปัจจุบันทางสมาคมฯ ได้ตั้งเป้าการส่งออกข้าวไปยังตลาดยุโรปเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 35-40 ภายในปี 2023 โดยประเทศในสหภาพยุโรปมีอยู่ประมาณ 20 ประเทศ ซึ่งในช่วงเดือน มกราคมที่ผ่านมาได้นำเข้าข้าวสารจากกัมพูชาคิดเป็นสัดส่วนประมาณกว่าร้อยละ 48 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด คิดเป็นปริมาณรวมกว่า 17,795 ตัน หรือคิดเป็นมูลค่ามากกว่า 13.44 ล้านดอลลาร์ ตามข้อมูลของ CRF โดยในปี 2019 กัมพูชาได้ทำการส่งออกข้าวไปยังสหภาพยุโรปที่ประมาณ 203,280 ตัน และประมาณ 203,861 ตัน ในปี 2020 ขณะที่การส่งออกข้าวไปสหภาพยุโรปลดลงเหลือ 168,063 ตันในปี 2021 และกลับมาขยายตัวในปี 2022 ที่ 221,709 ตัน ซึ่งจากข้อมูลของ CRF ในบรรดาสายพันธุ์ข้าวทั้งหมดที่ผลิตในประเทศ ข้าวหอมระดับพรีเมียม (Malys Angkor) คิดเป็นปริมาณการส่งออก 22,810 ตัน ในเดือนมกราคม รองลงมาคือ Sen Kra Ob ที่ปริมาณ 9,359 ตัน, ข้าวขาวระดับพรีเมียม 1,721 ตัน, ข้าวนึ่ง 1,867 ตัน และข้าวสีอินทรีย์ 1,144 ตัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501239693/40-rise-in-rice-export-to-europe-likely-in-2023/

“เวียดนาม” พัฒนาเกษตรสีเขียว รับการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปเพิ่มมากขึ้น

เวียดนามให้ความสนใจที่จะพัฒนาเกษตรสีเขียว โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดของการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังสหภาพยุโรป และจากข้อมูลแสดงให้เห็นว่ารายได้จากการส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมงในปีที่แล้ว ทำสถิติมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ 53.22 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 9.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม ตลาดยุโรปมีสัดส่วนเพียง 11.3% ของส่วนแบ่งตลาดทั้งหมด ซึ่งตัวเลขข้างต้นนับว่าเป็นมูลค่าเล็กน้อย ถึงแม้ว่าภาคการเกษตรของเวียดนามมีข้อได้เปรียบหลายประการจากข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) ดังนั้น เวียดนามควรส่งเสริมการส่งออกภาคการเกษตรที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-develops-green-agriculture-to-increase-exports-to-eu-post999144.vov

“สำนักข่าวเบลเยียม” ชี้เวียดนามมีโอกาสทางเศรษฐกิจสูง

สำนักข่าว The Brussels Times ของเบลเยียม ได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง “ความร่วมมือกันกว่า 30 ปีที่รักษาความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นอยู่ที่ดีของสหภาพยุโรปและประชาชนขาวเวียดนาม” โดยประเด็นไฮไลท์สำคัญ คือเวียดนามและกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปกำลังจะกลายเป็นภูมิภาคที่มีความสามารถในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อาทิเช่น การควบคุมเงินเฟ้อและคงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับสูง ถึงแม้เผชิญกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ สถาบันการจัดอันดับ “Moody’s” ปรับขึ้นอันดับความน่าเชื่อถือของเวียดนามจาก Ba3 เป็น Ba2 ในขณะที่นิคเคอิ (Nikkel) จัดอันดับการฟื้นตัวจากโควิด-19 ของเวียดนามอยู่ในอันดับที่ 2 ของโลก เพิ่มขึ้น 12 อันดับ นอกจากนี้ ตามรายงานของธนาคารโลก ประจำเดือนตุลาคม 2565 เปิดเผยว่าเศรษฐกิจของเวียดนามคาดว่าจะขยายตัว 7.2% ในปีนี้ เนื่องจากอุปสงค์ภายในประเทศที่ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งและผลการดำเนินงานทางด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก

ที่มา :https://en.nhandan.vn/brussels-times-speaks-highly-of-vietnams-economic-prospects-post118467.html

“หอการค้ายุโรป” มองเศรษฐกิจเวียดนามมีมุมมองเชิงบวก

คุณ เหงียน ไฮ มินห์ รองประธานหอการค้ายุโรป (EuroCham) ประจำเวียดนาม กล่าวว่าธุรกิจยุโรปมองทิศทางเศรษฐกิจของเวียดนามไปในทิศทางที่เป็นบวกและอยู่ในช่วงค่อยๆ ฟื้นตัว หลังจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ถึงแม้จะเผชิญกับอุปทานที่หยุดชะงักทั่วโลก แต่เวียดนามยังคงส่งออกสินค้าไปยังตลาดสหภาพยุโรป มีมูลค่าเกินกว่า 35.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2563 และมากกว่า 40 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีที่แล้ว ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามทำรายได้จากการส่งออกไปยังตลาดสหภาพยุโรป เพิ่มขึ้น 23.6% คิดเป็นมูลค่า 31.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เวียดนามเกินดุลการค้าราว 21.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ บ่งชี้ให้เห็นถึงผลกระทบในเชิงบวกจากผลของข้อตกลงการค้าเสรี EVFTA อย่างไรก็ตาม ธุรกิจยุโรปในเวียดนาม เปิดเผยถึงผลประโยชน์ที่ได้รับมากขึ้นจากข้อตกลงการค้าเสรีดังกล่าว เนื่องจากการส่งออกของเวียดนามไปยังตลาดสหภาพยุโรปส่วนใหญ่มาจากบริษัท FDI

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/european-enterprises-optimistic-about-vietnams-economy-eurocham/239016.vnp

จีนและสหภาพยุโรป ยังคงเป็นตลาดศักยภาพสำหรับสินค้าเกษตรกัมพูชา

ตลาดจีนและสหภาพยุโรป ยังคงเป็นตลาดที่มีศักยภาพสำหรับสินค้าเกษตรของกัมพูชา โดยกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเรียกร้องให้ผู้ส่งออกและบริษัทต่างๆ ให้ความสำคัญกับตลาดทั้ง 2 แห่ง ด้าน Song Saran ประธานสหพันธ์ข้าวกัมพูชา กล่าวเสริมว่า ปัจจุบันสหพันธ์มีความตั้งใจเป็นอย่างสูงในการสนับสนุนผู้ประกอบการแปรรูปสินค้าทางการเกษตรเพื่อส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะในตลาดจีนและยุโรป เพื่อรักษาระดับการส่งออกของกัมพูชา ซึ่งจีนยังคงเป็นผู้ซื้อข้าวรายใหญ่ของกัมพูชา คิดเป็นกว่าร้อยละ 50 ของปริมาณการส่งออกข้าวของกัมพูชา และตลาดสหภาพยุโรปกินส่วนแบ่งมากกว่าร้อยละ 30 จากการที่กัมพูชามีข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศ โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปี กัมพูชาส่งออกข้าวสารปริมาณ 169,766 ตัน ไปยังจีนสร้างรายได้เข้าประเทศกว่า 89 ล้านดอลลาร์ ในขณะที่การส่งออกข้าวสารไปยังสหภาพยุโรปอยู่ที่ปริมาณ 122,842 ตัน มูลค่า 86 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501145311/china-eu-remain-potential-markets-for-cambodias-agri-products/

“EVFTA” ดันยอดการส่งออกเครื่องเทศ ผักผลไม้เวียดนามไปยังสหภาพยุโรป

เวียดนามได้รับโอกาสอย่างมากจากมาตรการด้านภาษีภายใต้ความตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) ทำให้การส่งออกผักผลไม้ของเวียดนามไปยังตลาดสหภาพยุโรปเพิ่มสูงขึ้น โดยก่อนที่ความตกลงการค้าเสรีข้างต้นจะบังคับใช้ การส่งออกผักผลไม้ของเวียดนามไปตลาดอียู ภายใต้สิทธิพิเศษทางภาษี (GSP) แต่ตัวเลขอัตราภาษีค่อนข้างอยู่ในระดับสูงที่ 10-20% อย่างไรก็ตาม หลังจากข้อตกลงการค้ามีผลบังคับใช้แล้ว สหภาพยุโรปประกาศลดภาษี 94% จากรายการสินค้าทั้งหมด 547 รายการ ส่งผลให้เวียดนามมีความได้เปรียบอย่างมากทางด้านการแข่งขันกับสินค้าทางการเกษตร โดยเฉพาะประเทศคู่แข่ง อาทิ ไทยและจีนที่ยังไม่ได้รับ FTA กับสหภาพยุโรป

นอกจากนี้ ตามข้อมูลของกรมศุลกากร เปิดเผยว่าการส่งออกผักผลไม้ของเวียดนามไปยังตลาดยุโรปในปี 2564 อยู่ที่ 303 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 17.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/evfta-helps-push-up-vietnams-spice-fruit-vegetable-export-to-eu/229764.vnp

ไตรมาสแรกของปีงบฯ 64-65 เมียนมาส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูป พุ่งขึ้น 18.6% เมื่อเทียบกับปีก่อน

สำนักงานสถิติ กระทรวงการวางแผนและการเงินของเมียนมา เผย การส่งออกเสื้อผ้าในช่วงไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2564-2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปีงบประมาณก่อน โดยมีมูลค่าการส่งออกมากกว่า 1,055 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  ขณะที่การส่งออกของไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2563-2564 มีมูลค่าอยู่ที่ 889.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นสามเท่าจาก 337 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2553 เป็นเกือบ 1 พันล้านดอลลาร์ในปี 2557

โดยสินค้าส่งออกหลักของเมียนมา ได้แก่ ข้าว, ถั่ว, ข้าวโพด และสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในกลุ่ม CMP (Cut–Make-Pack) ในบรรดาสินค้าส่งออกจะพบว่า เครื่องนุ่งห่ม (เสื้อผ้าสำเร็จรูป) เพิ่มขึ้นมากกว่า 4 เท่าใน 5 ปี ถือเป็นสินค้าที่มีอนาคตมากที่สุดในภาคการส่งออกของประเทศ ซึ่งเมียนมาจะใช้กระบวนการแบบรับจ้างผลิต ในการตัดเย็บและบรรจุภัณฑ์ (CMP) โดยนำเข้าสินค้าสิ่งทอจากต่างประเทศและนำมาตัดเย็บภายในประเทศ

ด้านสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปเมียนมา เผยสหภาพยุโรป เป็นหนึ่งประเทศชั้นนำที่นำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูป ตามมาด้วย ญี่ปุ่น, เกาหลี, สหรัฐอเมริกา ฯลฯ ทั้งนี้ในปี 2558 การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปมีมูลค่าสูงถึง 1.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 10% ของการส่งออกสินค้าทั้งหมด

ที่มา : https://news-eleven.com/article/227890

มูลค่าการส่งออกข้าวของสปป.ลาวครึ่งปี 2564 ชะลอตัว

เวียงจันทน์ไทมส์รายงาน มูลค่าการส่งออกข้าวของสปป.ลาวในปี 2564 ลดลงเกือบครึ่งหนึ่งเนื่องจากมาตรการจำกัดโควิด-19 รายงานอ้างคำพูดของกระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ของสปป.ลาวว่า ข้าวสร้างรายได้กลับสู่ประเทศมากถึง 52.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมูลค่ากว่า 35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มาจากตลาดที่ใหญ่ๆที่สำคัญได้แก่ จีน เวียดนามและสหภาพยุโรป อย่างไรก็ตามแม้ว่าจีนจะเปิดพรมแดนบ่อเต็นกับสปป.ลาวอีกครั้งแล้วในเดือนพฤศจิกายน 64 แต่การค้าแบบสองทางยังคงชะลอตัวเนื่องจากมาตรการป้องกันและควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 ปัจจุบันจีนซื้อผลิตผลทางการเกษตรที่ส่งออกของลาวมากกว่าร้ยละ 80 ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่เป็นมันสำปะหลัง กล้วย แตงโม อ้อย และยาง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/laos-rice-export-value-nearly-halves-in-2021/221665.vnp