“อินเดีย” เมิน นำเข้าถั่วเขียวจากตลาดเมียนมา

องค์การส่งเสริมการค้าเมียนมา เผย อินเดียจำกัดการนำเข้าถั่วเขียวจากเมียนมา คาดจะไม่ส่งผลกระทบมากนักต่อตลาดเมียนมา โดยอินเดียเป็นผู้นำเข้าถั่วดำและถั่วแระของเมียนมารายใหญ่ แต่การนำเข้าถั่วเขียวคิดเป็นสัดส่วนเพียง 12% อินเดียจำกัดการนำเข้าเพื่อป้องกันราคาและผลผลิตช่วงเวลาเก็บเกี่ยวของอินเดียและการแทรกแซงราคาที่จะไม่ต่ำไปกว่าราคาขั้นต่ำที่รัฐกำหนดไว้ แม้จะปิดด่านชายแดนแต่ถั่วเขียวส่วนใหญ่ถูกส่งออกทางทะเลไปยังจีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และยุโรป ซึ่งการจำกัดการนำเข้าของอินเดียนี้จะมีผลตั้งแต่หลังวันที่ 11 ก.พ.2565 เป็นต้นไป

ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมาพร้อมที่จะเจรจากับคู่ค้าอินเดียผ่านรัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศ นอกจากนี้ สมาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยามที่จะค้นหาและเจาะตลาดใหม่ๆ ให้มากขึ้นรวมทั้งตลาดใหม่ๆ ในสหภาพยุโรป เพราะได้ราคาได้ดีกว่า ส่วนด้านผลผลิต เมียนมามีพื้นที่เพาะปลูกเมล็ดถั่วและถั่วพัลส์ต่างๆ ประมาณ 9.9 ล้านเอเคอร์ มีผลผลิตที่ได้ต่อปีอยู่ที่ 4.1 ล้านตัน ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมาส่งออกถั่วเขียวประมาณ 700,000 ตันไปยัง 64 ประเทศ ซึ่งระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2564 ถึง 4 ก.พ. 2565 มีการส่งออกถั่วเขียวไปแล้วจำนวน 147,326 ตัน ในจำนวนนี้ 18,842 ตันถูกส่งไปยังอินเดีย โดยราคาในปัจจุบันเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 1,900-2,350 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/indias-policy-changes-indifferent-to-myanmar-green-gram-market/

ความต้องการเมล็ดงาในเมียนมาลดฮวบ ! ส่งผลราคาดิ่งลง

ผลผลิตเมล็ดงาที่เก็บเกี่ยวใหม่ราคาลดฮวบเหลือ 220,000 จัตต่อถุง ลดลง 20,000 จัต เมื่อเทียบกับราคาเมื่อช่วงต้นเดือนพ.ย.64 ที่ 240,000 จัตต่อถุงในต้นเดือนพ.ย. โดยทั้งเมล็ดงาดิบและเมล็ดงาแปรรูปที่เพิ่มมูลค่าถูกแล้วส่งออกไปยังจีน และเมื่อมาตรการผ่อนคลายหลังการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้คลี่คลาย ตลาดเมล็ดงาจะกลับมาคึกคักอีกครั้งแน่นอน ปกติแล้วเมียนมาส่งออกเมล็ดงาประมาณ 80% ไปยังต่างประเทศ โดยตลาดหลักๆ จะเป็น จีน สาธารณรัฐเกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์ สหภาพยุโรป และไต้หวัน ซึ่งเมล็ดงามีการปลูกตลอดทั้งปี โดยเขตมะกเว ถือว่าเป็นหลักเพาะปลูกและเป็นผู้ผลิตเมล็ดงารายใหญ่ของประเทศ สำหรับพืชน้ำมันที่ใช้สำหรับการประกอบอาหาร เมล็ดงาเป็นพืชที่ใช้พื้นที่เพาะปลูกมากที่สุด คิดเป็น 51.3% ของพื้นที่เพาะปลูกพืชน้ำมันทั้งหมด มีผลผลิตประมาณ 600,000-800,000 ตันต่อปี

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/fresh-sesame-supply-brings-down-price/

แตงโมล้นตลาด แนะเกตรกรแก้ปัญหาลดพื้นที่เพาะปลูกลง 50%

ผลผลิตแตงโมที่ออกมาล้นตลาด เกตรกรได้รับการแนะนำให้ลดพื้นที่การเพาะปลูกลง 50% สำหรับฤดูการที่จะมาถึง การส่งออกแตงโมลดลงจากปีที่แล้วอย่างชัดเจน เห็นได้จากรถบรรทุกแตงโมประมาณ 30,000 คัน และแตงเมล่อน 12,000 คัน ถูกส่งไปยังจีนแตส่งผลกระทบเสียหายแตงโมถูกทิ้งหรือเน่าเสีย เนื่องจากผลผลิตล้นตลาด การขนส่งล่าช้า และการเข้มงวดของมาตรการควบคุมการระบาดของโควิด-19 บริเวณชายแดนสำคัญของเมียนมา-จีน เช่น ชายแดนรุ่ยลี่ ล่าสุดพบผู้ติดเชื้อทำให้ต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์ และเริ่มตรวจหาเชื้อทันที ส่งผลให้การซื้อขายเกิดความล่าช้า โดยต้องใช้เวลาประมาณ 1 เดือนกว่ารถบรรทุกจะเข้าสู่จุดตรวจ รถบรรทุกแตงโม (พันธุ์ 855) ราคาอยู่ที่ 45,000-65,000 หยวนต่อตัน ในเดือนมีนาคม ราคาลดฮวบเหลือ 13,000 หยวน ก่อนหน้านี้ตลาดแตงโมของเมียนมาร์พึ่งพาจีนเป็นหลัก ปัจจุบันเมียนมาส่งแตงโมไร้เมล็ดจำนวน 45 ตันไปยังตลาดดูไบในเดือนธันวาคม 2563 และมกราคม 2564 หลังจากที่ประเทศประสบความสำเร็จในตลาดดูไบ มีแผนที่จะขยายตลาดไปยังฮ่องกง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และกาตาร์ เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2564 ศูนย์ขนถ่ายสินค้าผลไม้หลักไมล์ 105 ได้มีการกำหนดจำนวนรถบรรทุกแตงโมและแตงโมเพื่อการส่งออกเพื่อการส่งออก ทั้งนี้ เมียนมาส่งออกแตงโมกว่า 800,000 ตันต่อปี และเมล่อนประมาณ 150,000 ตันไปยังจีนทุกปี

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/watermelon-growers-suggested-50-production-drop-next-growing-season/

จีนออกใบอนุญาตให้เมียนมาส่งออกข้าวเพิ่มในปีนี้

จากการเปิดเผยของ นาย Muse U Min Thein รองประธานของ Muse Rice Wholesale Center กรมศุลกากรของจีนให้ได้ออกใบอนุญาตการส่งออกข้าวให้แก่ บริษัท ในเมียนมาเพิ่มเติมในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 เพื่อส่งออกข้าวผ่านชายแดนมูเซ บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนเพิ่มขึ้นในปีนี้เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามปริมาณข้าวที่อนุญาตสำหรับการส่งออกยังไม่ได้รับการยืนยัน ใบอนุญาตนำเข้าข้าวของจีนปี 63 หมดอายุในวันที่ 31 ธันวาคม 63 การค้าข้าวถูกระงับ ขณะนี้ผู้ค้าข้าวเมียนมาสามารถส่งออกข้าวภายใต้ใบอนุญาตใหม่ได้แล้ว อย่างไรก็ตามการปิดธนาคารทำให้เกิดปัญหาการทำธุรกรรมหยุดชะงักลง ดังนั้นการซื้อขายจึงลดลงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เมียนมาส่งข้าวและปลายข้าวไปยังต่างประเทศมากกว่า 720,000 ตันระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 63 ถึง 15 มกราคม 64 ของงบฯ ปัจจุบันโดยมีรายได้กว่า 275 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศส่งผลกระทบต่อความพร้อมของชลประทานในการเกษตร ด้วยเหตุนี้สหพันธ์ข้าวแห่งเมียนมาร์ (MRF) จึงตั้งเป้าการส่งออกไว้ที่ 2 ล้านตันในปีงบประมาณปัจจุบันเนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกข้าวในฤดูร้อนลดลง เมียนมามีรายได้กว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกข้าวในช่วงปีงบประมาณ 63-64 ที่ผ่านมาโดยมีปริมาณกว่า 2.5 ล้านตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/china-grant-licences-to-more-myanmar-companies-for-rice-export-this-year/

คำม่วนประกาศใช้กฎเกณฑ์ในการบริหารพื้นที่การเกษตรอย่างยั่งยืน

เว็บไซต์ช่องทางเผยแพร่ข่าวสารของรัฐบาลสปป.ลาว ได้ประกาศราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่เอกสารทางกฎหมายในเรื่องการพัฒนาที่ดินและพื้นที่เพาะปลูก ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การบริหารจัดการด้านการเพาะปลูกและที่ดินเกิดประสิทธิภาพสูงสุด สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมประเทศและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยจังหวัดที่จะเป็นต้นแบบในการพัฒนาคือจังหวัดคำม่วนซึ่งเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพสำหรับการพัฒนาด้านเกษตร เนื่องจากมีพื้นที่เพาะปลูกครอบคลุมประมาณ 132,000 เฮกตาร์โดยมีการอนุรักษ์ 87,000 เฮกแตร์สำหรับการผลิตอาหารและ 44,000 เฮกเตอร์สำหรับทำธุรกิจการเกษตร นอกจากการพัฒนาแล้วยังมีการออกกฎระเบียบในการใช้ที่ดิน โดยเจ้าของที่ดินต้องแจ้งความประสงค์ต่อเจ้าหน้าที่จังหวัดในการนำที่ดินไปใช้ในเรื่องใดและจะมีการเก็บค่าธรรมเนียมหากต้องการเปลี่ยนแปลงพื้นที่เพาะปลูกไปเป็นอย่างอื่นทั้งนี้เพื่อรักษาความมั่นคงและยั่งยืนด้านอาหารของประเทศ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Khammuan_87.php