สำนักงานการบิน ‘เวียดนาม’ เชื่อมั่นจะฟื้นตัวกลับมาอย่างเข็มแข็งอีกครั้งในปีนี้

สำนักงานการบินพลเรือนเวียดนาม (CAAV) เปิดเผยว่าปริมาณเที่ยวบินที่ให้บริการในประเทศ รวมทั้งสิ้น 126,280 เที่ยวบินในปี 2564 หดตัว 41.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว และส่วนใหญ่ราว 60% อยู่ในช่วงก่อนที่เกิดการแพร่ระบาด โดยเที่ยวบินระหว่างประเทศยกเลิกการบินเมื่อตั้งแต่การระบาดระลอกแรก ยกเว้นกรณีเที่ยวบินที่นำชาวเวียดนามที่อยู่ในต่างประเทศกลับมายังประเทศแม่ (เวียดนาม) หรือผู้เชี่ยวชาญต่างชาติ

ทั้งนี้ คุณ Pham Viet Dung ประธานสมาคมธุรกิจการบินเวียดนาม (VABA) กล่าวว่าสายการบินเวียดนามมีรายได้ลดลง 80-90% อย่างไรก็ตาม ตัวแทนจากสายการบินเวียดนาม กล่าวว่าส่วนแบ่งการตลาดของสายการบินและรายได้จากการขนส่งยังเป็นผู้นำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีมูลค่ากว่า 8 ล้านล้านดองในปี 2564 เพิ่มขึ้น 60% จากปี 2560

ที่มา : https://en.nhandan.vn/business/item/11143502-vietnam%E2%80%99s-aviation-expected-to-strongly-rebound-this-year.html

นิคเคอิ ชี้เวียดนามเป็นผู้นำการฟื้นตัวของห่วงโซ่อุปทานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สำนักข่าวนิคเคอิของญี่ปุ่น รายงานว่าซัพพลายเชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ในช่วงเร่งการฟื้นตัวอย่างเต็มกำลัง หลังจากหลายเดือนที่ผ่านมาได้ปิดโรงงานและลดกำลังการผลิตลง รวมถึงเวียดนามกำลังจะกลับมาฟื้นตัวเข้าสู่สภาวะปกติอย่างรวดเร็ว โดยโรงงานประมาณ 200 แห่งที่ดำเนินสัญญาว่าจ้างผลิตชุดกีฬาให้กับบริษัทไนกี้ “Nike” ได้กลับมาดำเนินกิจการแล้ว ขณะที่ในส่วนของผู้บริหารเขตอุตสาหกรรมในโฮจิมินห์อ้างว่าให้ความช่วยเหลือโรงงานทั้งสองบริษัท ซัมซุงอิเล็กทรอนิกและอินเทล ให้กลับมาผลิตเต็มรูปแบบในเดือนนี้ ทั้งนี้ Furukawa Electric บริษัทสัญชาติญี่ปุ่น คาดว่าจะกลับมาดำเนินการผลิตในเวียดนาม ด้วยโรงงาน 3 แห่ง ผลิตสายรัดสำหรับรถยนต์ อย่างไรก็ตาม ผลกระทบของโควิด-19 ได้สร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะเวียดนามที่มีโรงงานผลิตชุดสายไฟ

ที่มา : https://en.nhandan.vn/business/item/10745002-nikkei-vietnam-leads-recovery-in-southeast-asia-supply-chains.html

ธ.โลกหั่นคาดการณ์ศก.เอเชียตะวันออกเหตุโควิดสายพันธุ์เดลตาฉุดการเติบโต

ธนาคารโลกเปิดเผยรายงาน “East Asia and Pacific Fall 2021 Economic Update” โดยระบุว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา และคาดว่าปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจอ่อนแรงลง และเพิ่มความไม่เท่าเทียมกันในภูมิภาคเหล่านี้ ทั้งนี้ ‘มานูเอลา เฟอร์โร’ ประธานธนาคารโลกฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกกล่าวว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกกำลังเผชิญกับความพลิกผันในอนาคต ในปี 2563 นั้น ภูมิภาคแห่งนี้สามารถควบคุมการระบาดของโควิด-19 ได้ในขณะที่ภูมิภาคอื่น ๆ ยังไม่สามารถควบคุมได้ แต่ในปี 2564 นี้ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกกำลังเผชิญกับยอดผู้ติดเชื้อที่สูงขึ้น ซึ่งส่งให้การเติบโตของเศรษฐกิจในภูมิภาคอ่อนแอลง

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/962527

บริษัทสัญชาติจีนวางแผนเพิ่มกิจกรรมระหว่างประเทศหลังการแพร่ระบาด

ในขณะที่ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯและจีนไม่มีทีท่าว่าจะลดลง ธุรกิจของทั้งสองชาติจึงเปลี่ยนความสนใจไปยังประเทศทางฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจีนหันไปให้ความสำคัญกับกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังคงมีการพัฒนาน้อยอย่างกัมพูชา โดยสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) 10 ประเทศ ได้รับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) จากทั่วโลกลดลงร้อยละ 31 ในปี 2020 แต่อย่างไรก็ตามจีนกลับเพิ่มการลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียนกว่า 14.36 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 51 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ถือเป็นการส่งสัญญาณถึงความสำคัญของจีนต่อภูมิภาคนี้ในปัจจุบัน โดยอาเซียนถูกมองว่าเป็นตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับสามในเอเชียรองจากจีนและอินเดีย ซึ่งมีประชากรรวมถึง 660 ล้านคน รวมทั้งกลุ่มชนชั้นกลางก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นด้วย ปัจจุบันจีนถือเป็นแหล่ง FDI ลำดับต้นๆของกัมพูชา โดยมีเงินลงทุนเกือบ 900 ล้านดอลลาร์ ในช่วงปี 2020 ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นของ FDI จากทางจีนในกัมพูชาถึงร้อยละ 70

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50858253/chinese-firms-to-increase-post-pandemic-asean-activity/