Vietnam Economic Factsheet : Q4/2564

FACTSHEET VIETNAM Q4.64

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเวียดนามในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 ขยายตัว 5.22% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งฟื้นตัวขึ้นจากการหดตัว 6.02% ในไตรมาส 3 I เศรษฐกิจเวียดนามฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งในไตรมาสนี้ หลังทางการเริ่มต้นยกเลิกมาตรการจำกัดการเดินทางในเดือน ต.ค.

ด้านการผลิต : ภาคเกษตร ป่าไม้และประมง ขยายตัว 3.16%, ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง 5.61% และภาคบริการ 5.42%

ด้านการใช้จ่าย : การอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชน ขยายตัว 3.86% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว, การสะสมทุน ขยายตัว 3.37%, การส่งออกสินค้าและบริการ ขยายตัว 14.28% และการนำเข้าสินค้าและบริการ ขยายตัว 11.36%

Vietnam Economic Factsheet : Q3/2564

FACTSHEET VIETNAM Q3.64

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเวียดนามในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 หดตัว 6.17% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นับว่าเป็นการลดลงมากที่สุดตั้งแต่เวียดนามคำนวณและประกาศจีดีพีรายไตรมาสจนถึงปัจจุบัน

ด้านการผลิต : ภาคเกษตร ป่าไม้และประมง ขยายตัว 1.04%, ภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง หดตัว 5.02% และภาคบริการ หดตัว 9.28%

ด้านการใช้จ่าย : การอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชน หดตัว 2.83% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว, การสะสมทุน ขยายตัว 1.61%, การส่งออกสินค้าและบริการ ขยายตัว 2.51% และการนำเข้าสินค้าและบริการ ขยายตัว 10.75%

Vietnam Economic Factsheet : Q2/2564

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเวียดนามในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 คาดว่าขยายตัว 6.61% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และปรับตัวดีขึ้นมากกว่า 0.39% ในไตรมาสที่ 2 ของปีก่อนหน้า แต่ต่ำกว่า 6.73% ของไตรมาสที่ 2 ของปี 61-62

การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) ได้แพร่กระจายไปยังหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน และสถานการณ์ยังมีความซับซ้อนและคาดการณ์ไม่ได้ ส่งผลให้เวียดนามเผชิญกับความท้าทายและความเสี่ยงครั้งใหญ่ ทั้งด้านการควบคุมการระบาดและการพัฒนาเศรษฐกิจ

ยังกระจายไปสู่ท้องถิ่นบางแห่ง ส่งผลกระทบในทิศทางลบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อย่างไรก็ตาม การเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกปีนี้ แสดงให้เห็นถึงความพยายามอย่างหนักของรัฐบาลเวียดนาม ตลอดจนความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชน ภาครัฐบาลและภาคธุรกิจ ในการควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

โครงสร้างทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปีนี้ ภาคเกษตรกรรม ป่าไม้และประมง มีสัดส่วน 10.98%, ภาคอุตสาหกรรมและก่อสร้าง 38.33%, ภาคบริการ 41.26% และมูลค่าเพิ่มที่หักลบด้วยภาษีการผลิตสุทธิ 9.43% ต่อ GDP

ในช่วงเวลาเดียวกันการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้าย พบว่าขยายตัว 3.18% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว, การปรับเงินทุนเพิ่มขึ้น 6.05%,  การส่งออกสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น 29.81% และการนำเข้าสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น 28.53%

ที่มา : General Statistics Office of Vietnam, CEIC Data, International Monetary Fund

Vietnam Economic Factsheet : Q1/2564

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเวียดนามในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ขยายตัว 4.48% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และยังสูงกว่าระดับ 3.68% ของไตรมาสแรกปี 2563

ตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมจนถึงต้นเดือนมีนาคม การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) ยังกระจายไปสู่ท้องถิ่นบางแห่ง ส่งผลกระทบในทิศทางลบต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อย่างไรก็ตาม การเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกปีนี้ แสดงให้เห็นถึงความพยายามอย่างหนักของรัฐบาลเวียดนาม ตลอดจนความร่วมมือของทุกภาคส่วน ทั้งภาคประชาชน ภาครัฐบาลและภาคธุรกิจ ในการควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ ภาคเกษตรกรรม ป่าไม้และประมง ขยายตัว 3.16%, ภาคอุตสาหกรรมและก่อสร้าง ขยายตัว 6.3% และภาคบริการ ขยายตัว 3.34%

โครงสร้างทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกของปีนี้ ภาคเกษตรกรรม ป่าไม้และประมง มีสัดส่วน 10.55%, ภาคอุตสาหกรรมและก่อสร้าง 36.58%, ภาคบริการ 42.78% และมูลค่าเพิ่มที่หักลบด้วยภาษีการผลิตสุทธิ 10.09% ต่อ GDP

ในช่วงเวลาเดียวกัน การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้าย พบว่าขยายตัว 4.59% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว, การปรับเงินทุนเพิ่มขึ้น 4.08%,  การส่งออกสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น 17.01% และการนำเข้าสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น 16.38%

ที่มา : General Statistics Office of Vietnam, CEIC Data, International Monetary Fund

Vietnam Economic Factsheet : Q4/2563

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของเวียดนามในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 คาดว่าขยายตัว 4.48% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ถือว่าขยายตัวต่ำที่สุดของทุกช่วงไตรมาสที่ 4 ในปี 2554-2563 การควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) ยังคงเข็มงวด ทั้งนี้ เศรษฐกิจค่อยๆกลับมาสู่ภาวะปกติใหม่ ในขณะที่ข้อตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 สิ.ค. 2563 ได้สร้างแรงขับเคลื่อนให้กับเศรษฐกิจเวียดนาม

GDP ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2563 เติบโตได้อย่างดีเมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว โดยภาคเกษตรกรรม ป่าไม้และประมง ขยายตัว 4.69% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว, อุตสาหกรรมและการก่อสร้าง ขยายตัว 5.60%, ภาคบริการ ขยายตัว 4.29% และภาษีเงินอุดหนุนสินค้า ขยายตัว 1.07%

ในช่วงเวลาเดียวกัน การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้าย พบว่าขยายตัว 1.48% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว, การปรับเงินทุนเพิ่มขึ้น 5.29%,  การส่งออกสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น 15.25% และการนำเข้าสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น 14.83%

ที่มา : General Statistics Office of Vietnam, CEIC Data, International Monetary Fund

Vietnam Economic Factsheet : Q3/2563

GDP ของเวียดนามในไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ขยายตัวร้อยละ 2.62 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ถือว่าเป็นการขยายตัวต่ำที่สุดในทุกไตรมาสที่ 3 ปี 2554-2563 เป็นผลมาจาก [1] ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ต่อเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) อย่างเข็มงวด แต่คาดว่าเศรษฐกิจจะค่อยๆกลับมาฟื้นตัวเป็นภาวะปกติ ด้วยเหตุนี้ GDP ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ จะเติบโตได้อย่างดีเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ พบว่าขยายตัวร้อยละ 1.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว, การปรับเงินทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.79,  การส่งออกสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.86 และการนำเข้าสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.88

หัวข้อสำคัญ ดังต่อไปนี้

ด้านการผลิต

  • ภาคเกษตรกรรม (พื้นที่การเกษตร (ผลผลิตข้าว), ผลผลิตไม้ และผลผลิตประมง)
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (IPI)
  • ยอดการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการ
  • จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ

ด้านการใช้จ่าย

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT/GST)
  • การใช้จ่ายภาครัฐบาลรวม
  • การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่, ยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์
  • การค้าระหว่างประเทศ

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

  • ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
  • ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI)
  • อัตราการว่างงาน
  • ดุลบัญชีเดินสะพัด

ภาคการเงิน

  • อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้
  • อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Policy Rate)

ที่มา : General Statistics Office of Vietnam, CEIC Data, International Monetary Fund

Vietnam Economic Factsheet : Q2/2563

เศรษฐกิจเวียดนาม ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 : ขยายตัวในระดับต่ำที่ 0.36% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งลดลงจาก 3.68% ในไตรมาสแรกของปีนี้ หลังเศรษฐกิจของเวียดนามเผชิญกับปัญหาการส่งออกที่ชะลอตัวจากการระบาดของไวรัส COVID-19

หัวข้อสำคัญ ดังต่อไปนี้

ด้านการผลิต

  • ภาคเกษตรกรรม (พื้นที่การเกษตร (ผลผลิตข้าว), ผลผลิตไม้ และผลผลิตประมง)
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (IPI)
  • ยอดการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการ
  • จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ

ด้านการใช้จ่าย

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT/GST)
  • การใช้จ่ายภาครัฐบาลรวม
  • การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่, ยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์
  • การค้าระหว่างประเทศ

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

  • ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
  • ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI)
  • อัตราการว่างงาน
  • ดุลบัญชีเดินสะพัด

ภาคการเงิน

  • อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้
  • อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Policy Rate)

ที่มา : General Statistics Office of Vietnam, CEIC Data, International Monetary Fund

Laos Economic Factsheet : Q3/2562

เศรษฐกิจสปป.ลาว ไตรมาสที่ 3 ปี 2562

หัวข้อสำคัญ ดังต่อไปนี้

  • สถานการณ์เศรษฐกิจประจำไตรมาสที่ 3/2562
  • ดัชนีราคาผู้บริโภค
  • อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินกีบ
  • ทุนสำรองระหว่างประเทศ
  • สถานการณ์การนำเข้า-ส่งออก
  • สถานการณ์การนำเข้า-ส่งออกของกลุ่มประเทศเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาและกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว
  • รายงานภาวะเศรษฐกิจ สปป.ลาวโดยรวม

ที่มา : CEIC DATA

Cambodia Economic Factsheet : Q3/2019

เศรษฐกิจภาพรวมกัมพูชา ณ ไตรมาส 3/2019
– ดัชนีราคาผู้บริโภค
– การใช้จ่ายภาครัฐบาล
– ดุลบัญชีเดินสะพัด
– ภาคการท่องเที่ยว
– การบริโภคภาคครัวเรือน
– การลงทุนในหมวดก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัย
– เงินสำรองระหว่างประเทศ
– อัตราแลกเปลี่ยน
– สถานการณ์ในช่วงไตรมาส 3/2019

Vietnam Economic Factsheet : Q1/2563

เศรษฐกิจเวียดนาม ไตรมาสที่ 1 ปี 2563

หัวข้อสำคัญ ดังต่อไปนี้

ด้านการผลิต

  • ภาคเกษตรกรรม (พื้นที่การเกษตร (ผลผลิตข้าว), ผลผลิตไม้ และผลผลิตประมง)
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (IPI)
  • ยอดการค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการ
  • จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ

ด้านการใช้จ่าย

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT/GST)
  • การใช้จ่ายภาครัฐบาลรวม
  • การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทใหม่, ยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์
  • การค้าระหว่างประเทศ

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

  • ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
  • ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI)
  • อัตราการว่างงาน
  • ดุลบัญชีเดินสะพัด

ภาคการเงิน

  • อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้
  • อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Policy Rate)

ที่มา : General Statistics Office of Vietnam, CEIC Data, International Monetary Fund