ความต้องการกาแฟที่ปลูกในท้องถิ่นของเมียนมาเพิ่มขึ้นทั้งในตลาดในประเทศและต่างประเทศ

ตามการระบุของ ผู้ปลูกกาแฟ ระบุว่าทั้งอุปสงค์และอุปทานของกาแฟทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ตลาดพืชผลเพิ่มขึ้น ซึ่งในพม่ามีการปลูกกาแฟอาราบิก้าเป็นหลัก ซึ่งกาแฟเมียนมาได้รับความนิยมทั้งในตลาดท้องถิ่นและต่างประเทศตั้งแต่ปี 2562 ตามข้อมูลของผู้ปลูกและผู้ผลิตกาแฟ อย่างไรก็ดี ในตลาดส่งออก ความต้องการจากเวียดนามอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งจากการวิจัย พบว่าความต้องการจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ไร่กาแฟได้รับการสนับสนุนระดับรัฐ ด้วยความนิยมที่เพิ่มขึ้นทำให้ภาคกาแฟมีการพัฒนาค่อนข้างมาก นอกจากนี้ ในเมียนมามีกาแฟหลายประเภทที่ผลิตจาก Ywangan และ Myeik ซึ่งราคากาแฟอาราบิก้าอยู่ที่ 28,000 จ๊าดต่อกิโลกรัม และกาแฟอาราบิก้าได้รับความนิยมอย่างสูงในตลาดต่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-locally-grown-coffee-demand-rises-in-both-local-and-foreign-markets/

ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าคงที่และยอดขายรถยนต์ใช้น้ำมันในตลาดรถยนต์ชะลอตัว

U Min Min Maung ประธานสมาคมผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายรถยนต์เขตย่างกุ้ง ระบุว่า ในตลาดรถยนต์ของเมียนมา รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ขายได้อย่างต่อเนื่อง แต่ยอดขายรถใช้น้ำมันยังซบเซา ทั้งนี้เนื่องจากมีการออกใบอนุญาตเพิ่มเติมให้กับบริษัทต่างๆ ที่ขายรถยนต์ไฟฟ้า โดยตลาดรถยนต์ที่ซบเซาในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 กลับมามีความเคลื่อนไหวอีกครั้งในช่วงปลายปี 2566 และกลับมาชะลอตัวอีกครั้งในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2567 อย่างไรก็ตาม ราคารถยนต์ที่นำเข้ามาประกอบในประเทศ ที่เป็นรถยนต์แบบพวงมาลัยซ้ายมูลค่าอยู่ที่ 100 ล้านจ๊าด มีราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ในขณะที่รถยนต์แบบพวงมาลับซ้ายมูลค่า 100-200 ล้านจ๊าด ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ในขณะที่ราคารถยนต์ 400–500 ล้านจ๊าด ราคายังคงไม่เปลี่ยนแปลง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/steady-sales-of-electric-cars-and-slowing-sales-of-petrol-cars-in-automobile-market/

โครงการนำร่องเลี้ยงกุ้งลูกผสมน้ำจืดประสบความสำเร็จในเขตอิระวดี

U Tun Win Aung หัวหน้ากรมประมงในเมืองลาบุตตา รายงานความสำเร็จในการเลี้ยงกุ้งน้ำจืดนำร่องในเขตอิระวดี เนื่องจากเมืองลาบุตตาในเขตอิระวดีตั้งอยู่ตามแนวชายฝั่ง การเลี้ยงกุ้งทะเลจึงประสบความสำเร็จ โดยได้รับประโยชน์จากน้ำทะเลที่ไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีรายงานว่ากุ้งน้ำจืดลูกผสมกำลังได้รับการเพาะพันธุ์บนพื้นที่ 115 เอเคอร์ของเมืองลาบุตตา  เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในท้องถิ่นที่เพิ่มขึ้นและตลาดที่กำลังเติบโต การทำฟาร์มนำร่องกุ้งน้ำจืดลูกผสมก็แสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่น่าพอใจ อย่างไรก็ตาม กุ้งน้ำจืดลูกผสมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แม้จะไม่ใช่พันธุ์ดั้งเดิมของพม่า แต่สามารถเพาะพันธุ์ได้ในเชิงพาณิชย์ โดยมีกุ้งตั้งแต่ 80,000 ตัวไปจนถึงกุ้ง 100,000 ตัวบนพื้นที่หนึ่งเอเคอร์ ซึ่งการผสมพันธุ์ใช้เวลาเพียง 6 เดือน หลังจากนั้นกุ้งเหล่านี้ก็สามารถส่งออกสู่ตลาดได้ นอกจากนี้ ธุรกิจห้องเย็นไม่เพียงดำเนินการเพื่อการส่งออกเท่านั้น แต่ยังเพื่อการบริโภคในท้องถิ่นด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/hybrid-freshwater-hybrid-shrimp-pilot-farming-successful-in-ayeyawady-region/#article-title

โครงการสะพานตันลวิน (ตะกาว) ดำเนินการแล้วเสร็จไปกว่า 84%

กระทรวงการก่อสร้าง กำลังดำเนินการก่อสร้างสะพานตันลวิน (ตะกาว) บนถนนเมะติลา-ตองยี-เชียงตุง-ท่าขี้เหล็ก ในรัฐฉานตอนใต้ และขณะนี้งานก่อสร้างร้อยละ 84 ได้ดำเนินการไปแล้ว ตามที่รองผู้อำนวยการ (โยธา) ผู้รับผิดชอบโครงการก่อสร้างสะพานกล่าว ในปัจจุบันการก่อสร้างฐานรากและโครงสร้างย่อยแล้วเสร็จ และกำลังดำเนินการติดตั้งคานเหล็กและคานเหล็กกล่อง อย่างไรก็ดี สะพานตันลวินเก่า เป็นสะพานที่เชื่อมระหว่างรัฐฉาน (ใต้) และรัฐฉาน (ตะวันออก) เป็นหลัก บนถนนเมะติลา-ตองยี-เชียงตุง-ท่าขี้เหล็ก ซึ่งเป็นถนนสายสำคัญสำหรับเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากสินค้าส่งออกและนำเข้าจะถูกขนส่งผ่านทางถนนและสะพาต่อการเข้าถึงประเทศลาว ไทย และจีน ผ่านเมืองเชียงตุงและท่าขี้เหล็กจากตอนกลางของ พม่า เนื่องจากถนนดังกล่าวถูกนำมาใช้ในการขนส่งสินค้า กระทรวงการก่อสร้างจึงได้ปรับปรุงสะพานบนถนนให้สามารถรองรับน้ำหนักได้ 60 ตัน ในขณะที่ สะพานตันลวิน (ตะกาว) แห่งใหม่นี้มีความยาว 351 เมตร (1,151.631 ฟุต) และทำจากคานเหล็กกล่องพร้อมพื้นสร้างจากคอนกรีตเสริม สูง 2.74 เมตร และเสาเข็มเจาะ 1.5 เมตร นอกจากนี้ยังมีช่วงเจ็ดช่วงที่มีความกว้างต่างกัน โดยความกว้างรวม 39.4 ฟุต ซึ่งทางเดินรถกว้าง 20 ฟุต 6 นิ้ว และสำหรับทางเท้ากว้าง 4 ฟุต 5 นิ้ว ซึ่งในแต่ละด้านสามารถรับน้ำหนักได้ถึง 60 ตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/thanlwin-bridge-takaw-project-completes-84-per-cent/#article-title

วางท่อส่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคในเมือง Dala ตามแนวสะพานมิตรภาพเมียนมา-เกาหลี

ตามรายงานจากคณะกรรมการพัฒนาเมืองย่างกุ้งจะวางท่อส่งน้ำสำหรับเมืองดาลาตามแนวสะพาน นอกเหนือจากการก่อสร้างด่านเก็บค่าผ่านทางฝั่งดาลา โดยท่อส่งน้ำ Gyobyu จะถูกวางข้ามสะพานมิตรภาพเมียนมา-เกาหลี (Dala) ด้าน อู เมียว ตัน รัฐมนตรีสหภาพแรงงาน พร้อมด้วยอู โซ เต็ง หัวหน้าคณะรัฐมนตรีประจำเขตย่างกุ้ง ได้ตรวจสอบสถานที่ที่ได้รับเลือกให้เป็นด่านเก็บค่าผ่านทางและการก่อสร้างสะพานทางเข้าที่กำลังดำเนินอยู่เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ รวมทั้ง วิศวกรที่ปรึกษาได้ชี้แจงความคืบหน้าของโครงการ แผนการดำเนินงานต่อไป และลำดับความสำคัญของงาน อย่างไรก็ดี สะพานมิตรภาพเมียนมา-เกาหลี (ดาลา) เป็นหนึ่งในสะพานที่สร้างขึ้นในประเทศเมียนมา โดยมีระดับน้ำผ่านสูงสุดและมีดาดฟ้าสะพานที่สูงที่สุด สะพานหลักและสะพานเชื่อมทางเข้าได้รับการออกแบบมาเพื่อความปลอดภัยของยานพาหนะที่ขับขี่ด้วยความเร็ว 50 กม. ต่อชั่วโมง และ 30 กม. ต่อชั่วโมงบนสะพานลาด

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/gyobyu-water-supply-pipeline-to-be-laid-along-myanmar-korea-friendship-bridge-dala-for-consumption-in-dala-township-2/

MIFER จัดตั้งศูนย์สตาร์ทอัพเพื่อเชื่อมเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการและนักลงทุน

ดร. กัน ซอ รัฐมนตรีกระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศ (MIFER) กล่าวในการประชุมที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ว่า จะจัดตั้งศูนย์สตาร์ทอัพเพื่อเชื่อมเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการและนักลงทุน ซึ่งจะเร่งรัดกิจกรรมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก และขนาดกลาง (MSMEs) เพื่อยกระดับภาคเกษตรกรรม ปศุสัตว์ และ MSMEs การจัดการเรื่องความพอเพียงสำหรับน้ำมันบริโภค และเพิ่มการส่งออก อย่างไรก็ดี ตามสถิติของอุตสาหกรรมเอกชนมี 24 กลุ่มที่ขึ้นทะเบียนที่กระทรวง ในจำนวนนี้ประกอบด้วยอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ 10,205 อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมขนาดกลาง 12,457 อุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมขนาดเล็ก 24,457 อุตสาหกรรม รวมเป็น 47,119 อุตสาหกรรม นอกจากนี้ รัฐมนตรีสหภาพฯ ยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการสร้างโอกาสในการลงทุนเพื่อดึงดูดนักลงทุนและกระตุ้นการลงทุน รวมทั้งเรียนรู้รูปแบบที่ชัดเจนในการที่ธุรกิจต่างประเทศระดมทุนเพื่อดึงดูด FDIs เพื่อวัดผลผลิตรวมสำหรับการส่งเสริมการส่งออก และเพื่อให้การอำนวยความสะดวกด้านการลงทุนในประเทศเพื่อสนับสนุนผลผลิตของธุรกิจการเกษตรในภูมิภาคและรัฐที่เกี่ยวข้อง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/gyobyu-water-supply-pipeline-to-be-laid-along-myanmar-korea-friendship-bridge-dala-for-consumption-in-dala-township/