เวิลด์แบงก์ชี้เศรษฐกิจปี 63 เมียนมาขยายตัว 6.6%

จากข้อมูลของธนาคารโลกคาดเศรษฐกิจปี 63 ขยายตัว 6.6 สูงกว่าที่ตั้งไว้ 6.5% คาดจะเพิ่มขึ้น 6.7 % ในปี 64 และ 6.8 % ในปี 65 การเติบโตในปี 2020 จะได้รับแรงหนุนจากการลงทุนในภาคการผลิต ประกันภัย และการก่อสร้าง การชะลอตัวจาก 6.8% ในปี 61 เป็น 6.5% ในปี 62 เกิดจากการลดลงของภาคบริการและอัตราเงินเฟ้อที่สูง อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจยังคงเผชิญกับความเสี่ยงขาลงอย่างต่อเนื่อง เช่น ภัยธรรมชาติที่มีผลต่อภาคการเกษตร ผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อและค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น รวมถึงวิกฤติยะไข่ที่ยังไม่คลี่คลายและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่รัฐบาลเชื่อว่าสามารถทำให้ภาคการเงินของมีเสถียรภาพในระดับหนึ่ง โดยนโยบายการเงินและการคลังจะมีประสิทธิภาพเพราะมีเครื่องมือทางการเงินที่ดี การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 58 จาก 9.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็น 5.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 61 โดยมีโอกาสที่จะฟื้นตัวในปีนี้ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯกับจีนส่งผลกระทบน้อย ดังนั้นหลายธุรกิจจึงเรียกร้องให้รัฐบาลใช้ประโยชน์จากโอกาสนี้ เช่น มาตรการเพื่อดึงดูดผู้ผลิตต่างประเทศให้ย้ายฐานการผลิตสู่เมียนมา

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-economy-grow-66-2020-world-bank.html

เศรษฐกิจเวียดนามเติบโตสูงที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากข้อมูลของหน่วยงานรัฐฯ เปิดเผยว่าเวียดนามมีการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) สูงที่สุดในรอบ 9 ปีที่ผ่านมา และเป็นประเทศที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เศรษฐกิจของเวียดนามนั้นมีการขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ในขณะที่ องค์กรระหว่างประเทศและสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือคาดว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะสามารถขยายตัวร้อยละ 6.8-7 ในปี 2562 รวมไปถึงทางข้อมูลของบริษัทฟิทช์ ระบุว่าในไตรมาสที่ 3/2562 เศรษฐกิจเวียดนามจะขยายตัวได้ร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เป็นผลมาจากผลประกอบการของภาคอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง นอกจากนี้ ภาครัฐได้สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ดำเนินหาโซลูชั่นทางเศรษฐกิจ และอำนวยความสะดวกให้กับภาคเอกชน รวมไปถึงสร้างสภาพแวดล้อมในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI)

ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20191003/vietnams-gdp-growth-at-9year-high-topping-southeast-asia-govt/51443.html

การเติบโตของจีดีพีในปี 2652 ของกัมพูชา

แม้การผลิตภาคการเกษตรจะเพิ่มขึ้นช้ากว่าที่คาดการณ์ แต่เศรษฐกิจของกัมพูชาคาดว่าจะเติบโตที่ 7% ในปีนี้เหมือนเดิม จากการเติบโตที่แข็งแกร่งในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอ การท่องเที่ยว การค้า และการก่อสร้าง ตามการคาดการณ์ของธนาคารพัฒนาเอเชีย(ADB) ซึ่งกล่าวว่าภาคอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและรองเท้ามีการเติบโตที่มั่นคงจากการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นกว่า 10.6% ภายในปี 2019 แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ADB ย้ำว่าการเติบโตของ GDP อาจหดตัวลงที่ 6.8% ในปี 2020 และด้วยความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นในสภาพแวดล้อมการค้าโลกและผลกระทบต่อการให้บริการเช่นการท่องเที่ยวกัมพูชาจำเป็นต้องเร่งกลยุทธ์การกระจายความเสี่ยงไปสู่ตลาดเฉพาะกลุ่ม ผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวและบริการที่มีมูลค่าสูงขึ้น ซึ่งสิ่งนี้จะต้องมีการลดความเสี่ยงที่เกิดจากการปล่อยสินเชื่อให้กับภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ร้อนแรงเกินไป ร่วมถึงไปพัฒนาแรงงานให้มีทักษะและความสามารถให้มากขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50646434/gdp-growth-dominated-by-traditional-sectors-in-2019-adb-says/

รมว.คลังมั่นใจ GDP ปีนี้เติบโตได้ถึง 3%

รมว.คลัง มั่นใจ GDP ปีนี้ยังโตได้ร้อยละ 3 เตรียมเสนอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 3.16 แสนล้านบาท เข้า ครม. พรุ่งนี้ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงกรณีที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ประกาศตัวเลข GDP ไตรมาส 2 ของปี 2562 ขยายตัวที่ร้อยละ 2.3 นั้น มองว่าเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ไม่ได้ต่ำเกินความคาดหมาย เนื่องจากเศรษฐกิจโลกมีความผันผวนมาก สงครามการค้า และเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้รัฐบาลต้องมีการออกมาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยประคองให้เศรษฐกิจไทยสามารถเติบโตต่อไปได้ สำหรับวันพรุ่งนี้ กระทรวงการคลังเตรียมเสนอชุดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ วงเงิน 3.16 แสนล้านบาท เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ 1.ช่วยเหลือค่าครองชีพผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2.บรรเทาค่าครองชีพสำหรับเกษตรกรผู้ประสบปัญหาภัยแล้ง และ 3.กระตุ้นการบริโภคและการลงทุนในประเทศ โดยเชื่อว่าหาก ครม. เห็นชอบมาตรการทั้งหมด จะช่วยกระตุ้น GDP ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.55 ทำให้ยังมั่นใจว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ร้อยละ 3 ซึ่งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจนี้จะเริ่มใช้ได้ปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน

ที่มา: https://mgronline.com/stockmarket/detail/9620000079184

“กกร.” คงเป้าส่งออกปี 61 ที่ 8.0-10.0% GDP 4.4-4.8% แต่ห่วงสงครามการค้า น้ำมันผันผวน แนะประชุม “กรอ.” ส่วนกลางสะท้อนปัญหาถึงบิ๊กตู่

คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) ประเมินเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ปี61 การเติบโตชะลอลงจากช่วงครึ่งปีแรก โดยประมาณการปี 61 GDP ขยายตัว 4.4-4.8% และการส่งออกขยายตัว 8.0-10.0% เงินเฟ้อ 0.9-1.5% ผลมาจากสงครามการค้าสหรัฐฯ – จีน การที่ไทยถูกตัดสิทธิ์ GSP จากสหรัฐฯ ใน 11 รายการสินค้าส่งออก และผลกระทบอื่นๆ สำหรับภูมิภาคมีการปรับตัวลง ยกเว้นภาคตะวันออก ผลมาจากปัญหาความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยว (โดยเฉพาะจีน ) รวมถึงราคาสินค้าเกษตรที่ยังอยู่ในระดับต่ำ แต่ด้านบวกคือ การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายฯ อยู่ที่ 1.50% และภาคส่งออกและการค้าชายแดนที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-245844