ILO ชูงานวิจัยความยั่งยืนของตลาดภาคเกษตรในเมียนมา

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และพันธมิตรอย่าง Myanmar Women’s Coffee Alliance (MWCA) ร่วมวิจัยเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการทำงานและความยั่งยืนของตลาดในภาคเกษตรกรรมของเมียนมา โดยพิจารณาว่าธุรกิจการเกษตรดำเนินการตามมาตรฐานความรับผิดชอบหรือไม่ การวิจัยจะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 63 โดยให้ความสำคัญกับปลูกพืชและการผลิตอาหารทะเล ตั้งแต่เมียนมาส่งออกวัตถุดิบความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นปัจจัยสำคัญในห่วงโซ่การผลิต ผู้ซื้อจากต่างประเทศจะพิจารณามากกว่าแบรนด์สินค้าแต่ยังรวมถึงความรับผิดชอบของสินค้านั้นด้วย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/ilo-lead-research-market-sustainability-agriculture.html

SEAC ชวนเช็คสุขภาพเศรษฐกิจเมียนมา เดินหน้าพัฒนาศักยภาพธุรกิจอาเซียน ในงาน Scaling Your

เมียนมาเป็นหนึ่งในประเทศในอาเซียนที่มีสถิติการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ตั้งแต่ปี 2557–2561 สูงถึง 7.2% และคาดการณ์ว่าในปีนี้ จะเติบโตขึ้นอีก 6.6% ปัจจัยมาจากองค์ประกอบหลายส่วน ทั้งการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในทิศทางที่ดีขึ้น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเขตเศรษฐกิจพิเศษ และกฎหมายการลงทุนของชาวต่างประเทศ ทั้งหมดนี้ ส่งผลให้ดัชนีความน่าเชื่อถือและสภาพเศรษฐกิจมวลรวมของประเทศดีขึ้น แต่ยังคงเผชิญกับปัฐหาอีกมากมาย ทั้งนี้ กรรมการผู้จัดการ SEAC (Southeast Asia Center) ระบุว่า SEAC ต้องการเข้าไปพัฒนาศักยภาพของคนและองค์กร โดยทางองค์กรได้มีโอกาสเข้าไปดำเนินธุรกิจในเมียนมา ทำให้เข้าใจภาพรวมของธุรกิจ ซึ่งการปรับขยาย (Scale) คือกุญแจสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างแท้จริง ประกอบการปรับวิธีและรูปแบบการทำงานให้ใช้ทรัพยากรที่น้อย โดยมี 3 ส่วนสำคัญ คือ กรอบความคิด (Mindset) การทดลองและลงมือทำตามวิถี (Design Thinking) และการพัฒนาทักษะที่จำเป็น สำหรับอาเซียนถือเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถ หากเลือกกลยุทธ์ทางธุรกิจได้ถูกต้องและทันต่อเหตุการณ์สำคัญ ทาง SEAC พร้อมจะช่วยเติมศักยภาพให้กับคนและองค์กรในภูมิภาคนี้

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/prg/3078088

รัสเซียกระตือรือร้นสำรวจธุรกิจในเมียนมา

สัปดาห์ก่อนหน้านี้ รมต.กระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ ได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนธุรกิจของรัสเซียในเนปิดอว์ โดยได้หารือถึงโอกาสการลงทุนและการค้ากับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาเศรษฐกิจของสหพันธรัฐรัสเซียและเอกอัครราชทูตของสหพันธรัฐรัสเซีย ในการหารือเมียนมาเรียกร้องให้รัสเซียให้ความสำคัญกับการฝึกอบรมด้านเทคนิคและการอาชีพสำหรับชาวเมียนมาและส่งเสริมการร่วมทุนในภาคเกษตร อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน และการท่องเที่ยว และผลักดันโครงการของรัสเซียที่ได้รับการสนับสนุนเพิ่ม และสร้างเที่ยวบินตรงระหว่างประเทศ ในที่ประชุมเดือน ก.ย. รัสเซียเสนอการช่วยเหลือการเปลี่ยนสื่อออกอากาศของท้องถิ่นจากระบบอนาล็อกเป็นระบบดิจิตอล และสนับสนุนในด้านดิจิทัล เช่น ร่างกฎหมายความมั่นคงทางไซเบอร์เป็นครั้งแรก สร้างแพลตฟอร์มรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และพัฒนาเมืองอัจฉริยะ รัสเซียเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่อันดับที่ 22 ด้วยเงินลงทุนกว่า 90 พันล้านเหรียญสหรัฐในธุรกิจท้องถิ่นสองแห่ง การค้าระหว่างประเทศมีมูลค่ารวม 46 ล้านเหรียญสหรัฐในปีงบประมาณ 61-62

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/russia-keen-explore-business-opportunities-myanmar.html

ธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภาคชนบทได้รับทุนสนับสนุน

ตลาดเกิดใหม่เมียนมา (EME- พม่า) มีบริษัทอีคอมเมิร์ซสำหรับร้านค้าปลีกในชนบทที่ตั้งอยู่ในย่างกุ้ง โดยมีตัวเลขการลงทุนรวมหกหลักแต่ยังไม่เป็นที่เปิดเผย Ezay ก่อตั้งขึ้นในเดือนสิงหาคมเริ่มต้นด้วยการให้บริการแพลตฟอร์มมือถือสำหรับลูกค้าที่จะซื้อหุ้นใหม่จากผู้ค้าส่งรวมถึงจัดส่งสินค้าออนไลน์ แทนที่จะมาร้านค้าด้วยตัวเอง เพื่อเชื่อมโยงผู้ค้าส่งและผู้ค้าปลีกผ่านแพลตฟอร์มมือถือ ทำให้การส่งมอบสินค้าสู่ร้านค้าปลีกทำได้ง่ายขึ้น สามารถแก้ปัญหานี้ในชนบททั่วประเทศ ผลตอบรับเป็นไปในเชิงบวกจากผู้ค้าปลีกว่ามีความสะดวกสบาย การจัดส่งและราคาไม่ต่างกันเมื่อเปรียบเทียบกับออฟไลน์มากนัก บริษัทวางแผนขยายธุรกิจในเมียนมาให้เร็วมากกว่านี้ และพัฒนาด้านซัพพลายเชนการค้าปลีกและสร้างความพึงพอใจของลูกค้า ธุรกิจอีคอมเมิร์ซของเมียนมายังอยู่ในช่วงเริ่มต้นที่มีมูลค่าตลาด 6 ล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตามการช็อปปิ้งออนไลน์บนโซเชียลมีเดียนั้นมีอยู่เป็นจำนวนมากขึ้นเนื่องจากบัญชี Facebook มีมากกว่า 85% ของปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมดของประเทศ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/rural-e-commerce-startup-secures-funding.html

พุกามจัดงานวิ่งส่งเสริมการท่องเที่ยว

การวิ่งของเมียนมาจัดขึ้นครั้งแรกจัดขึ้นที่พุกามเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาโดยมีผู้เข้าร่วมจากทั้งในประเทศและต่างประเทศกว่า 300 คนซึ่งประกอบด้วย หน่วยงาน บริษัทต่างๆ และผู้ที่สนใจสุขภาพเข้าร่วมงาน จัดขึ้นโดย China Daily และ RVIPS Publications โดยวิ่งผ่านจุดชมทิวทัศน์และวัฒนธรรมอันงดงามของพุกาม งานนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นการจัดมิตรภาพระหว่างประเทศเพื่อส่งเสริมโครงการ Belt and Road รวมถึงการส่งเสริมสุขภาพและมิตรภาพระหว่างประเทศ จากยอดค่าธรรมเนียมเข้าชมแหล่งมรดกโลกพุกามท ราว 5 จัต (ประมาณ 3,313 ดอลลาร์สหรัฐ) ช่วยส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน กระทรวงโรงแรมและการท่องเที่ยวได้ออกแคมเปญรณรงค์งดใช้พลาสติกในพุกามเพื่อเป็นการพัฒนาประเทศ การจัดงานครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามโดยมีผู้ชมนับร้อยและเมื่อกีฬาวิ่งได้รับความนิยมมากขึ้นทั่วประเทศควรส่งเสริมการเชื่อมสัมพันธ์ วิถีชีวิต และการรักสุขภาพผ่านกิจกรรมนี้

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/bagan-run-promotes-friendship-tourism

เกษตรกรเร่งรัฐฯ เจรจาส่งออกสับปะรดไปจีน

สมาคมผู้ปลูกสับปะรดกำลังขอให้รัฐบาลเจรจาส่งออกไปยังประเทศจีนโดยเร็วที่สุด ภายหลังเกษตรกรได้รับความเสียหายราว 700 ล้านจัต (458 ล้านเหรียญสหรัฐ) เนื่องจากจีนห้ามนำเข้าผลไม้จากเมียนมาซึ่งมีความเสียหายมากกว่า 24,800 ตันที่เขตการค้าชายแดมูเซ แม้ว่าสมาคมผู้ผลิตผักและผลไม้ของเมียนมา (MFVP) จะขอเจรจาการส่งออกสับปะรดและอโวคาโดแต่ทางการจีนร่วมการือเฉพาะการส่งออกกล้วย ข้าว มันสำปะหลัง และเสาวรส ซึ่งรัฐบาลพยายามอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตามมีความล่าช้าและอีก 6 เดือนเท่านั้นก็จะถึงฤดูเพาะปลูกแล้ว โดยปกติแล้ว 90% ของอาโวคาโดจะถูกส่งออกไปยังไทยและควรมีการเจรจากับจีนเพื่อเร่งการส่งออกก่อนการการเก็บเกี่ยว MFVP กล่าวว่าเกตรกรต้องการลงทุนในลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) เพื่อสร้างโรงงานบรรจุภัณฑ์และโรงงานอบแห้งเพื่อเพิ่มมูลค่าในการส่งออก และเพิ่มทุนสำหรับวัตถุดิบ เครื่องจักร และต้นทุนแรงงานที่เพิ่มขึ้น ทว่าเอสเอ็มอีเผชิญกับความยากลำบากในการจัดหาหลักประกันด้านสินเชื่อของธนาคาร ดังนั้นรัฐบาลควรเข้ามาสนับสนุน ทั้งนี้กระทรวงการคลังและวางแผนกล่าวว่าธนาคารเพื่อการพัฒนาการเกษตรจะให้สินเชื่อพิเศษสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ และกำลังเจรจากับธนาคารเอกชนและธนาคารของรัฐเรื่องข้อกำหนดสำหรับสินเชื่อ SME ต่อไป

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/pineapple-growers-call-official-export-channels-china.html