เวียดนามโดนตัดสิทธิ GSP ของข้อตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย

กระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ของเวียดนาม (Vietrade) เมื่อวันที่ 12 ต.ค. เผยว่าเวียดนามถูกลบออกจากรายชื่อประเทศที่มีสิทธิทางด้านภาษีจากข้อตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (EAEU) ภายใต้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) การเคลื่อนไหวดังกล่าว มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อผู้ส่งออกเวียดนามไปยังกลุ่มประเทศ EAEU อาทิ รัสเซีย เบลารุส คาซัคสถาน อาร์เมเนียและคีร์กีซสถาน โดยเฉพาะรัสเซีย เนื่องจากเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ เวียดนามเป็น 1 ใน 75 ประเทศกำลังพัฒนาที่ถูกลบออกจากรายชื่อ ถึงแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่ยอดการค้าระหว่างเวียดนามกับประเทศ EAEU เพิ่มขึ้น 6.5% เป็นมูลค่า 5.2 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-removed-from-list-of-beneficiaries-of-eaeu-tariff-preferences-under-gsp/201933.vnp

ทิศทาง CLMV หลัง COVID-19

โดย BRD Analysis I ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

ประเด็นสำคัญ

  • เศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มขยายตัวโดดเด่นที่สุดใน CLMV ขณะที่รัฐประหารทำให้เศรษฐกิจเมียนมาซึ่งเคยขยายตัวสูงกลับถดถอยและกลายเป็นประเทศที่มีแนวโน้มเศรษฐกิจเติบโตต่ำที่สุดในกลุ่ม
  • นโยบายภาครัฐของกัมพูชาเน้นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ส่งผลให้โรงไฟฟ้าเป็นธุรกิจที่มีโอกาสขยายการลงทุนในระยะข้างหน้า พร้อมกับผลักดันอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทดแทนเสื้อผ้าสำเร็จรูป
  • การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานใหม่ใน สปป.ลาว ต้องอาศัยนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะจากจีน ซึ่งโรงไฟฟ้าพลังน้ำยังคงเป็นเป้าหมายหลัก ขณะที่การลงทุนภาคการผลิตมีโอกาสเพิ่มขึ้นจากโครงการรถไฟจีน – สปป.ลาว
  • ความขัดแย้งในเมียนมาทำให้ธุรกิจต่างชาติต้องเน้นประคองธุรกิจ และการลงทุนใหม่มีแนวโน้มชะลอตัวรุนแรง

————————————————————————————————————————————————————

ทิศทางเศรษฐกิจของ CLMV

กัมพูชา :เศรษฐกิจยังฟื้นตัวได้จำกัดในระยะสั้น แม้ภาคส่งออกจะได้อานิสงส์จากการฟื้นตัวของตลาดหลักอย่างสหรัฐฯ ขณะที่การลงทุน โดยเฉพาะจากจีน มีแนวโน้มฟื้นตัว แต่ภาคท่องเที่ยว ซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของประเทศยังคงต้องใช้ระยะเวลาฟื้นตัวอีก 1-2 ปี

สปป.ลาว : การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจขึ้นกับปัจจัยสนับสนุนภายนอก เนื่องจากภาครัฐประสบปัญหาหนี้สาธารณะในระดับสูง ทำให้ไม่มีเครื่องมือที่ใช้ สำหรับกระตุ้นเศรษฐกิจ และต้องลดการใช้จ่ายภาครัฐลง จึงต้องหวังพึ่งการลงทุนจากต่างประเทศเป็นหลัก

เมียนมา : ยากต่อการคาดการณ์ทิศทางเศรษฐกิจ เนื่องจากรัฐประหารเปลี่ยนทิศทางของประเทศไปโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ IMF คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวกว่า 4% ตั้งแต่ ปี 2566 จากความคาดหวังว่าความวุ่นวายในประเทศจะคลี่คลายลงได้

เวียดนาม : มีแนวโน้มขยายตัวโดดเด่นที่สุดใน CLMVโดยรัฐบาลตั้งเป้าเศรษฐกิจขยายตัว 6.5-7.0% ระหว่างปี 2564-2568 และจะเป็นประเทศที่มีรายได้ ปานกลางค่อนข้างสูงภายในปี 2573

————————————————————————————————————————————————————

ทิศทางธุรกิจและอุตสาหกรรม

กัมพูชา : การดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่นอกเหนือจากเสื้อผ้าสำเร็จรูป โดยมีอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ ดังนี้

ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ : การลงทุนมีแนวโน้มขยายตัว โดยการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของกัมพูชา (สัดส่วนราว 5% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด) ในปี 2563 ขยายตัวราว 220% เนื่องจากความต้องการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของโลกที่เพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่ารัฐบาลจะดึงดูดการลงทุนเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า

โรงไฟฟ้า : การลงทุนมีแนวโน้มขยายตัว เนื่องจากกัมพูชายังมี Supply ของไฟฟ้าไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ โดยโรงไฟฟ้าที่มีศักยภาพการลงทุน ได้แก่ โรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

สปป.ลาว : การลงทุนใหม่ต้องอาศัยนักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะจากจีน ทั้งนี้ สปป.ลาว ยังคาดหวังกับการลงทุน ดังนี้

ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังน้ำ : ยังคงเป็นธุรกิจเป้าหมายของรัฐบาล สปป.ลาว แต่โครงการใหม่ในระยะข้างหน้าต้องพึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด เนื่องจากรัฐบาลเผชิญข้อจำกัดทางการเงิน

ภาคการผลิตที่ได้ประโยชน์จากการเชื่อมโยง สปป.ลาว กับประเทศเพื่อนบ้าน : โครงการรถไฟจีน – สปป.ลาว ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน ธ.ค. 2564 จะดึงดูดการลงทุนในภาคการผลิตของ สปป.ลาว ได้ในอนาคต

เมียนมา : ธุรกิจต่างชาติในเมียนมาเน้นประคองธุรกิจ ขณะที่การลงทุนใหม่มีแนวโน้มชะลอตัวรุนแรง

ภาคการผลิต : การผลิตเพื่อส่งออก (เสื้อผ้าสำเร็จรูป) หยุดชะงัก เนื่องจากผู้นำเข้า โดยเฉพาะชาติตะวันตก หลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมกับเมียนมา จนผู้ประกอบการต่างชาติบางส่วนอาจถอนการลงทุน ขณะที่การผลิตที่เน้นตลาดในประเทศ เผชิญกับความต้องการที่หดตัวตามภาวะเศรษฐกิจเมียนมา

โรงไฟฟ้า : นักลงทุนต่างชาติส่วนใหญ่ชะลอการลงทุน และเป็นโอกาสที่จีนจะมีบทบาทในเมียนมามากขึ้น

เวียดนาม : หลายอุตสาหกรรมในเวียดนามมีแนวโน้มขยายตัวดี โดยอุตสาหกรรมที่เป็นโอกาสการลงทุนของไทย อาทิ

อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป : เนื่องจากความต้องการอาหารที่มีความปลอดภัยและถูกสุขอนามัยเพิ่มขึ้น ประกอบกับรัฐบาลให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มมูลค่าและยกระดับการผลิตสินค้าเกษตร

ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ : มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องตามการขยายตัวของภาคการผลิตในเวียดนาม ซึ่งรวมถึงบรรจุภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปและเครื่องดื่ม

โรงไฟฟ้า : ยังเติบโตจากความต้องการใช้ ไฟฟ้าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 8.6% และ 7.2% ในช่วงปี 2564-2568 และ 2569-2573 ตามล าดับ ซึ่งเวียดนามจะลดการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินและเพิ่มพลังงานหมุนเวียน

https://kmc.exim.go.th/detail/hot-issues/20210512113428ที่มา :

‘ผู้เชี่ยวชาญ’ ชี้ ความตกลงการค้าเสรีของเวียดนาม ผลักดันการส่งออกและนำเข้า

ผู้เชี่ยวชาญ เผยไตรมาสแรก ยอดการส่งออกและนำเข้าของเวียดนาม เพิ่มขึ้น 24% เมื่อเทียบเป็นรายปี ได้รับแรงหนุนมาจากข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) หากแบ่งออกเป็นการส่งออก เพิ่มขึ้น 22% และการนำเข้า 26.3% ทำให้เวียดนามเกินดุลการค้าราว 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งตัวเลขดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่าประเทศกลับมาฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งทั้งด้านการผลิตและการค้าในประเทศ ถึงแม้จะเผชิญโควิด-19 ระบาด ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. Pham Tat Thang อดีตเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า กล่าวว่าหลังจากข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สหภาพยุโรป (EVFTA) ที่มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนสิงหาคม 2563 ยอดการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศ เพิ่มขึ้น 18% ในเดือนมกราคมจนถึงมีนาคม ปีนี้ ในขณะที่การส่งออกไปยังประเทศสมาชิกในข้อตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก (CPTPP) เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงเวลาเดียวกัน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/expert-vietnams-ftas-driving-up-exportsimports/201562.vnp

เอสแอนด์พี ปรับขึ้นอันดับความน่าเชื่อถือของเวียดนามเป็น ‘บวก’

บริษัท S&P Global Ratings (S&P) ได้ปรับคงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศเวียดนามเป็น “บวก” กระทรวงการคลัง เผยว่าเวียดนามเป็นประเทศเดียวกันในโลกที่มีแนวโน้มดีขึ้น จากทั้งบริษัท Moody, S&P และ Fitch ทั้งนี้ S&P ยืนยันว่าเวียดนามประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจและการปฏิรูปทางด้านนโยบายอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 เวียดนามคงจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ประมาณ 1-2 ปีข้างหน้า เนื่องจากมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ตลอดจนการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ การส่งออกที่มั่งคง ความต้องการในประเทศที่แข็งแกร่งและผลกระทบภายนอกเชิงบวก

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/sp-global-ratings-raises-vietnams-outlook-to-positive/201858.vnp

สรุป ‘เศรษฐกิจไทย’ ไตรมาส1/64 GDP ขยับเป็น -2.6 จากเดิม -6.1

ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 ปี 64 และแนวโน้มปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.5-2.5 โดยได้แรงสนับสนุนสำคัญจากการกลับมาขยายตัวของการส่งออกและการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ ทั้งนี้เมื่อดูค่า GDP ประเทศภายในภูมิภาคอาเซียนพบว่า GDP เติบโตที่สุดในอาเซียนคือ เวียดนามขยายตัวร้อยละ 4..5 โดยปัจจัยสำคัญคือนโยบายของการป้องกัน และควบคุมโรคระบาดภายในประเทศทำให้เศรษฐกิจกลับมาอยู่ในสภาวะปกติได้เร็วจึงทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นได้อีกครั้งภายหลังต้องหยุดชะงักไปจากการระบาดโควิด-19

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/939207

สำนักวิจัย ชี้ GDP เวียดนาม โต 7% ปี 64

สํานักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน+3 (AMRO) เผยว่าเวียดนามมีอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 7% ในปี 2564 สะท้อนมาจากการฟื้นตัวของการส่งออกสินค้าและบริการ รวมถึงเศรษฐกิจในประเทศกลับมาฟื้นตัวและการไหลเข้าของเงินทุน ทั้งนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ คาดว่าจะขยายตัวไปอย่างต่อเนื่อง สาเหตุจากการบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้นตามการผ่อนคลายของการเร่งเบิกจ่ายการลงทุนภาครัฐฯ ประกอบกับรัฐบาลให้ความสำคัญกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ

 ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnams-gdp-growth-to-expand-by-7-in-2021-amro-report-859391.vov

เวียดนามเผยสถานประกอบการซบหนัก เหตุโควิด-19

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) ระบุว่ามีสถานประกอบการหยุดกิจการ 40,323 แห่งในไตรมาสแรก เพิ่มขึ้น 15.5% เมื่อเทียบกับปีก่อน ในทางตรงข้ามแล้วนั้น ธุรกิจจดทะเบียนรายใหม่ 29,300 แห่ง ลดลง 1.4% นักเศรษฐศาสตร์มองว่าตัวเลขดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความกังวล เนื่องจากนับเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาที่จำนวนธุรกิจถอนตัวออกจากตลาดได้แซงหน้าจำนวนธุรกิจจดทะเบียนใหม่ ทั้งนี้ ตามรายงานของอาหารค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม เผยว่าการระบาดของไวรัส ก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงลบหลายประการ โดยธุรกิจส่วนใหญ่ 87.2% ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทั้งด้านการเข้าถึงลูกค้า กระแสเงินสดและพนักงาน ตลอดจนประชากรในวัยทำงานกว่า 1.1 ล้านคนต้องตกงานในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 12,100 คน เมื่อเทียบกับปีก่อน

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/covid-19-causes-alarming-withdrawal-rate-from-local-market-859312.vov

เวียดนามเผยไตรมาส 2 ยอดส่งออกอาหารทะเล พุ่ง 10%

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) ระบุว่าในไตรมาสที่ 2 มูลค่าการส่งออกอาหารทะเล คาดว่าจะถึง 2.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบเป็นรายปี ด้วยความคล่องตัวในการสำรวจและกระจายตลาด ทำให้ธุรกิจสามารถที่จะขยายการส่งออกได้ นอกจากนั้นแล้ว คาดว่าในไตรมาสที่ 2 ยอดการส่งออกกุ้งอยู่ที่ 980 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบเป็นรายปี รวมถึงปลาสวายและผลิตภัณฑ์ทางทะเล ยอดส่งออกเพิ่มขึ้น 7% และ 9.6% เป็นมูลค่า 712 และ 816 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ ทั้งนี้ เลขาธิการทั่วไปของสมาคม VASEP กล่าวว่าความตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม ช่วยกระตุ้นการส่งออกอาหารทะเลไปยังสหภาพยุโรปอย่างมาก ในขณะที่ ความตกลงการค้าเสรีสหราชอาณาจักร-เวียดนาม จะเปิดโอกาสในการส่งออกให้กับธุรกิจอาหารทะเลของเวียดนาม

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/951729/seafood-exports-to-go-up-by-10-in-q2.html