INFOGRAPHIC : เวียดนามเผยดัชนี CPI เดือนพ.ค. ลดลง

สำนักงานสถิติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเวียดนามในเดือนพ.ค. ลดลง 0.03% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และร้อยละ 1.24 เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค. ปีก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.39 เมื่อเทียบกับปีก่อน

ที่มา : General Statistics Office (GSO)

INFOGRAPHIC : ผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 1% เวียดนาม

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ขยายตัว 1%

ที่มา : General Statistics Office (GSO)

เวียดนามเผยยอดค้าปลีกดิ่งลง ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้

จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่ายอดค้าปลีกและบริการของเวียดนามโดยรวมลดลงร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แตะระดับ 82.36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ในขณะเดียวกัน ในเดือนพ.ค. ยอดค้าปลีกและบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 27 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องมาจากการผ่อนคลายมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้กำลังซื้อเริ่มกลับมาฟื้นตัวในท้องถิ่น ทั้งนี้ หากจำแนกแหล่งที่มาของยอดค้าปลีก พบว่าการซื้ออาหารขยายตัวร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน รองลงมาเครื่องใช้ในบ้าน (2%) ขณะที่ผลิตภัณฑ์ด้านการศึกษาและวัฒนธรรม ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.2 และเครื่องนุ่งห่ม (3%) ด้านเมืองที่มีการเติบโตของการค้าปลีก ได้แก่ เมืองไฮฟอง รองลงมากรุงฮานอยและโฮจิมินห์ นอกจากนี้ ธุรกิจที่พักและการท่องเที่ยวลดลงอย่างมาก ถึงแม้ว่าธุรกิจกลับมาดำเนินงานต่อและผู้คนในท้องถิ่นกังวลต่อสถานการณ์ดังกล่าวน้อยลงกว่าแต่ก่อน แต่ในช่วง 5 เดือนแรกปีนี้ รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงร้อยละ 54 แตะระดับ 8.3 ล้านล้านด่ง จากการที่เวียดนามหยุดการออกวีซ่าแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศยังไม่ฟื้นตัว

ที่มา : https://en.nhandan.com.vn/business/item/8729302-vietnam%E2%80%99s-retail-sales-down-in-five-months.html

เวียดนามตั้งเป้าส่งออกข้าว 7 ล้านตันในปีนี้

เวียดนามเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก ตั้งเป้าส่งออกข้าวไว้ที่ 7 ล้านตันในปี 2563 ปริมาณส่งออกมากกว่าปีที่แล้ว ตามแถลงการณ์ของรัฐบาลในวันอังคารที่ผ่านมา โดยกลับมาส่งออกข้าวในเดือนพ.ค. หลังระงับการส่งออกในเดือนมี.ค. และจำกัดการส่งออกข้าวในเดือนเม.ย. ไว้ที่ 500,000 ตัน ซึ่งมาตรการดังกล่าว เพื่อรับรองว่าอาหารจะมีเพียงพอในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในขณะที่ ปริมาณส่งออกข้าวปีนี้ 400,000-500,000 ตัน มากกว่าปีที่แล้ว ทั้งนี้ จากข้อมูลของศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ปริมาณส่งออกข้าวอยู่ที่ 2.86 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน

ที่มา : https://tuoitrenews.vn/news/business/20200603/vietnam-aims-to-export-7-million-tonnes-of-rice-this-year-govt/54897.html

ยอดเกินดุลการค้าในเดือนม.ค.-พ.ค. ของเวียดนาม ลดลงสู่ระดับ 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) รายงานว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการค้าของเวียดนามอยู่ที่ 196.84 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ขณะที่ ในเดือนพฤษภาคม มีแนวโน้มขาดดุลการค้าถึง 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากตั้งแต่เดือนม.ค.-พ.ค. ยอดเกินดุลการค้าลดลงแตะ 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนาม พบว่าโทรศัพท์และชิ้นส่วนคาดว่าสร้างรายได้มากที่สุดในช่วงเดือนม.ค.-พ.ค. อยู่ที่ 18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.11 ของมูลค่าการส่งออกรวม ส่วนสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ มีรายได้ประมาณ 15.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว, เสื้อผ้า (10.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.), อุปกรณ์และชิ้นส่วน, รองเท้า, ไม้และผลิตภัณฑ์ทำมาจากไม้, ยานพาหนะขนส่ง, สินค้าการประมงและอื่นๆ เป็นต้น ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น สหรัฐฯ ยังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม รองลงมาจีนและสหภาพยุโรป ในขณะเดียวกัน จีนยังคงเป็นซัพพลายเออร์รายใหญ่ของเวียดนาม รองลงมาเกาหลีใต้และอาเซียน

ที่มา : https://vnexplorer.net/vietnam-trade-surplus-narrows-to-us1-9-billion-in-jan-may-a202045252.html

ภาคการผลิตของเวียดนาม ส่งสัญญาฟื้นตัวในเดือนพฤษภาคม

Nikkei และ HIS Markit รายงานว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เพิ่มขึ้นจาก 32.7 ในเดือนเมษายน (ต่ำที่สุด) มาอยู่ที่ 42.7 ในเดือนพ.ค. (+10) ซึ่งส่งสัญญาว่าสภาวะของภาคธุรกิจเริ่มจะฟื้นตัวกว่าเดือนก่อนหน้า ผู้ผลิตยังคงปรับลดการผลิตลง จากการจัดซื้อ และคลังสินค้าทั้งที่มาจากการจัดซื้อและสินค้าสำเร็จรูป ทั้งนี้ การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้เกิดห่วงโซ่ปุทานเกิดภาวะชะงักงัน ถือเป็นลักษณะสำคัญจากการสำรวจในเดือนพ.ค. นอกจากนี้ การขาดแคลนของวัตถุดิบบางอย่าง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ในขณะที่ ต้นทุนปัจจัยการผลิตลดลงในเดือนที่สอง สะท้อนได้จากราคาน้ำมันลดลง ด้วยเหตุนี้ ผู้ผลิตจึงปรับลดราคาสินค้าในแต่ละเดือน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนก.พ. ถึงแม้ว่าจะเริ่มผ่อนคลายลงในเดือนเม.ย. นอกจากนี้ การควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสในเวียดนาม ส่งผลให้ผู้ผลิตส่วนใหญ่มองว่ากิจกรรมการผลิตจะเพิ่มขึ้นในปีหน้า ตามแนวโน้มเชิงลบในเดือนก่อน

ที่มา : https://vnexplorer.net/vietnams-manufacturing-activity-signals-improvement-in-may-a202045256.html

เมืองโฮจิมินห์เผยดัชนี CPI ปรับตัวลดลง 0.33% ในเดือนพ.ค.

สำนักงานสถิติประจำเมือง เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเมืองโฮจิมินห์ของเวียดนาม ในเดือนพ.ค. ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.33 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและร้อยละ 1.38 เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค. 2562 อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือน พ.ต. เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับปีก่อน ทั้งนี้ มีสินค้าและบริการ 11 รายการที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน กลุ่มขนส่งดิ่งลงอย่างหนักร้อยละ 2.29 รองลงมาอาหารและบริการจัดเลี้ยง (0.41) และกลุ่มที่อยู่อาศัย ไฟฟ้า พลังงานและวัสดุก่อสร้าง (0.97) แต่สำหรับกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม รองเท้าและการศึกษายังไม่แสดงเห็นความผันผวนมากนัก ขณะที่กลุ่มอื่นๆปรับตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ดัชนี CPI เฉลี่ยของเทศบาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.76 เมื่อเทียบกับปีก่อน ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/petrol-prices-continue-to-rise-in-latest-adjustment/174029.vnp