ต้นปี 64 เมียนมาเริ่มส่งออกกาแฟ 100 ตันไปเอเชียตะวันออก

นาย U Ngwe Tun ผู้ก่อตั้ง Genius Coffee เผยเมียนมาจะส่งออกกาแฟ 100 ตันไปยังประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออก โดยกาแฟหกตู้มูลค่าประมาณ 850,000 ดอลลาร์สหรัฐจะถูกส่งออกไปยังเกาหลี ญี่ปุ่น และจีนซึ่งมีความสนใจในกาแฟที่มีการผลิตแบบออร์แกนิก Genius Coffee จะส่งออกเมล็ดกาแฟโดยร่วมมือกับอีก 2 บริษัท ซึ่งจะถูกส่งออกภายในเดือนมกราคม อีก 2 ตู้คอนเทนเนอร์ในเดือนมีนาคมและที่เหลือภายในต้นเดือนพฤษภาคม เป็นโอกาสที่เมียนมาจะได้แสดงคุณภาพของกาแฟสู่สายตาชาวโลก ปัจจุบันผู้ผลิตในท้องถิ่นสามารถผลิตกาแฟคั่วบดได้ประมาณหนึ่งตันต่อวัน ด้วยกำลังการผลิตที่มีอยู่จะใช้เวลาสองสัปดาห์เพื่อตอบสนองความต้องการที่เริ่มมากขึ้นจากตลาดต่างประเทศ ขณะนี้กาแฟเมียนมากำลังได้รับความนิยมหลังงานแสดงกาแฟนานาชาติที่ผ่านมา

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-export-100-tonnes-coffee-east-asia.html

เมียนมาพร้อมขยายตลาดกาแฟผ่านสิงคโปร์

รายงานของ Myanmar Coffee Association เผยเมียนมาขยายการส่งออกกาแฟผ่านสิงคโปร์เพื่อเข้าถึงตลาดใหม่ ๆ จากการระบาดของ COVID-19 ความต้องการกาแฟในท้องถิ่นลดลงและผู้ค้าบางรายพยายามขยายตลาดในต่างประเทศและกำลังเชื่อมต่อกับตลาดใหม่ในภูมิภาคโดยผ่านสิงคโปร์ เมื่อเดือนที่แล้วสมาคมได้เข้าร่วมงาน Singapore Specialty Coffee Online Auction 2020 ซึ่งเป็นเวทีสำหรับผู้ผลิตเมล็ดกาแฟทั่วโลกเพื่อส่งเสริมเมล็ดกาแฟสู่ตลาดเอเชียโดยใช้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลาง เมียนมาเพิ่มความพยายามในการหาตลาดต่างประเทศหลังจากการส่งออกลดลงเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 การส่งออกลดลงครึ่งหนึ่งในปีงบประมาณ 62-63 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าที่ส่งออกมากกว่า 1,000 ตันไปยังสหรัฐฯ เยอรมนี จีน ไทยญี่ ปุ่นเกาหลี และยุโรป การส่งออกกาแฟอาจลดลงอีกในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าตรงกันข้ามกับแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในช่วงห้าปีที่ผ่านมา มูลค่าการส่งออกกาแฟเพิ่มขึ้น 4 เท่าเป็น 6 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 62-63 จาก 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 57 ประชากรร้อยละ90 ของประเทศมีประชากรดื่มกาแฟสำเร็จรูปที่นำเข้าจากต่างประเทศและที่เหลือบริโภคกาแฟในท้องถิ่น

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-coffee-market-expand-through-singapore.html

Starbucks ตั้งเป้าการส่งออกกาแฟในสปป.ลาว

Starbucks มีแผนจะเปิดสาขาในนครหลวงเวียงจันทน์ของสปป.ลาวภายในฤดูร้อนหน้าซึ่งจะดำเนินการโดย Coffee Concepts (Laos) Ltd. ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Maxim’s Caterers Ltd. Starbuck บริษัทตั้งใจที่จะใช้เครื่องข่ายระดับโลกเพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกและโอกาสในการทำงานในผู้ยากไร้ในสปป.ลาว Mr.Michael Wu ประธานและกรรมการผู้จัดการ Maxim’s Caterers Limited กล่าวว่า“ เรายินดีที่จะแนะนำแบรนด์ Starbucks ในสปป.ลาวซึ่งต่อยอดความสัมพันธ์ 20 ปีกับ Starbucks เพื่อขยายอุตสาหกรรมกาแฟไปทั่วเอเชีย” ปัจจุบันพฤติกรรมของชาวสปป.ลาวจำนวนมากดื่มเครื่องดื่มกาแฟผงที่มีนมและน้ำตาลเช่นเดียวกับในชาวเอเชียส่วนใหญ่และที่สำคัญสปป.ลาวมีแหล่งเพาะปลูกกาแฟคุณภาพซึ่งจะเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สคัญให้แก่ Starbucks สาขาในสปป.ลาว  

ที่มา : https://finance.yahoo.com/news/starbucks-targets-market-coffee-exporting-021354059.html

เวียดนามส่งออกกาแฟชุดแรก ภายใต้ข้อตกลง EVFTA

ผู้ประกอบการเวียดนามได้แถลงการณ์เมื่อวันพุธว่าทำการส่งออกเสาวรสและกาแฟชุดแรกไปยังสหภาพยุโรป ตามข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สหภาพยุโรป (EVFTA) ทำให้ภาษีของเมล็ดกาแฟคั่วหรือไม่ได้คั่วลดลงจากร้อยละ 7-11 มาจนถึงร้อยละ 0 ในขณะเดียวกัน ภาษีของผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูปลดลงจากร้อยละ 9-12 มาจนถึงร้อยละ 0 ตามข้อตกลงดังกล่าวที่มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 สิ.ค. 2563 ด้วยเหตุนี้ เวียดนามจึงมีความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างมากในตลาดยุโรป ทั้งนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท ระบุว่าได้ดำเนินการสร้างโครงการในการพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านกาแฟ และการส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปกาแฟ รวมถึงยกระดับแบรน์ผลิตภัณฑ์กาแฟให้ทัดเทียมกับนานาชาติ นอกจากนี้ มูลค่าการส่งออกกาแฟของเวียดนามไปสหภาพยุโรป อยู่ที่ราว 76 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือน สิ.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนก่อน “นับว่าตัวเลขส่งออกข้างต้นอยู่ในระดับน่าพึงพอใจ”

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/772409/viet-nams-first-batch-of-coffee-under-evfta-exported.html

สปป.ลาวเผยยอดส่งออกกาแฟพุ่ง 100% แตะ 40 ล้านดอลลาร์

สปป.ลาวส่งออกเมล็ดกาแฟเกือบ 22,300 ตันมูลค่าเกือบ 40 ล้านดอลลาร์ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นจาก 20 ล้านดอลลาร์จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ประธานสมาคมกาแฟสปป.ลาวกล่าวว่าการเพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากในปีนี้ราคากาแฟในตลาดโลกเพิ่มขึ้น รวมทั้งต้นกาแฟที่ให้ผลผลิตมากกว่าปีที่แล้ว ปริมาณเมล็ดกาแฟที่ผลิตได้ทุกปีจะแตกต่างกันไปจากปัจจัยหลายประการเช่น สภาพอากาศ โรคที่ส่งผลกระทบต่อต้นกาแฟ มาตรการที่เข้มงวดขึ้นซึ่งบังคับใช้โดยรัฐบาลทำให้ผู้ค้าต่างชาติซื้อเมล็ดกาแฟจากเกษตรกรอย่างผิดกฎหมายได้ยากขึ้นและนี่คือเหตุผลสำคัญที่ทำให้การส่งออกเพิ่มขึ้น การส่งออกกาแฟผิดกฎหมายก่อให้เกิดปัญหากับผู้ประกอบการในสมาคมเนื่องจากผู้ค้าต่างชาติซื้อเมล็ดกาแฟโดยไม่เสียภาษีใด ๆ แต่ผู้ประกอบการสปป.ลาวต้องจ่ายภาษีส่งออกให้กับรัฐบาลซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตกาแฟสูงขึ้น ในปีนี้ผู้ประกอบการซื้อเมล็ดกาแฟอาราบิก้าจากเกษตรกรในราคา 1,500-3,200 กีบต่อกิโลกรัมขึ้นอยู่กับช่วงเวลาและคุณภาพของกาแฟ ในขณะที่ราคาเมล็ดกาแฟโดยรวมอยู่ระหว่าง 15,000-16,500 กีบต่อกิโลกรัม ราคาของกาแฟโรบัสต้าปอกเปลือกอยู่ระหว่าง 11,000-12,500 กีบต่อกิโลกรัมในปีนี้  โดยส่งออกกาแฟไปยังกว่า 26 ประเทศในยุโรปเอเชียและสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีบริษัท 8 แห่งที่รับซื้อกาแฟจากเกษตรกรเพื่อส่งออกและขายภายในประเทศ

ที่มา : https://www.phnompenhpost.com/business/laos-ups-its-coffee-exports-100-hit-40m

สปป.ลาว เล็งเห็นรายได้จากกาแฟเพิ่มมากขึ้น

จำนวนสวนกาแฟภายใต้ the Lao Coffee Association ได้ลดลงประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้เนื่องจากผู้ปลูกเปลี่ยนไปปลูกมันสำปะหลังเพื่อรายได้ที่ดีขึ้น จากการที่ราคากาแฟสปป.ลาวลดลงและเผชิญกับความท้าทายที่เกิดจากแมลงศัตรูกาแฟ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาทำให้เกษตรกรบางส่วนเปลี่ยนจากกาแฟไปปลูกพืชเชิงพาณิชย์อื่น แต่มูลค่าของกาแฟส่งออกจากสปป.ลาวเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาเมล็ดกาแฟในท้องถิ่นดีขึ้น ในช่วง 5 เดือนแรกของปีที่แล้วสปป.ลาวส่งออกกาแฟเกือบ 12,000 ตันมูลค่าประมาณ 24.9 ล้านดอลลาร์ ปีนี้เพิ่มขึ้นเกือบ 20,000 ตันมูลค่า 37 ล้านดอลลาร์ ในกรณีของกาแฟ Arabica โดยเฉพาะเมล็ดแดง บริษัทในสปป.ลาวซื้อจากเกษตรกรราคาสูงสุดคือ 3,200 kip ($ 0.35) และราคาต่ำสุดคือ 2,800 kip ในเดือนธันวาคมปีที่แล้ว ในเวลาเดียวกันราคาสูงสุดและต่ำสุดของเมล็ดกาแฟขาวคือ 16,500 kip และ 15,000 kip  ในขณะที่ราคาของ Robusta อยู่ที่ 12,500 kip และ 11,000 kip เนื่องจากการระบาดของโรค Covid-19 ผู้ผลิตกาแฟลาวส่วนใหญ่ต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนคนงานและการสั่งซื้อผู้นำเข้าบางรายได้สั่งระงับและยกเลิกจนกว่าสถานการณ์จะกลับมาเป็นปกติ กาแฟเป็นหนึ่งในรายได้สูงสุดของสินค้าเกษตรส่งออกจากสปป.ลาว คุณภาพของผลิตภัณฑ์กาแฟสปป.ลาวปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากความร่วมมือและการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคม อย่างไรก็ตามเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงผลิตพืชโดยใช้เทคนิคท้องถิ่นซึ่งส่งผลให้ผลผลิตลดลง

ที่มา : https://www.phnompenhpost.com/business/laos-sees-more-revenue-coffee?

อุตสาหกรรมกาแฟเวียดนาม เผชิญขาดทุนหนักไตรมาส 2

สมาคมกาแฟและโกโก้เวียดนาม (VICOFA) เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมกาแฟเวียดนาม เผชิญกับการขาดทุนอย่างหนักในช่วงไตรมาสที่ 2 เนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้หลายๆประเทศทั่วโลกประกาศใช้มาตรการ ‘Social Distancing’ หรือเว้นระยะห่างทางสังคม ส่งผลร้านอาหารและร้านกาแฟต้องปิดตัวลง ด้วยเหตุที่ความต้องการลดลง ทำให้ผู้ผลิตกาแฟส่วนใหญ่ใช้สินค้าคงคลัง ดังนั้น ผู้ประกอบการท้องถิ่นจึงได้สัญญาส่งออกกาแฟได้น้อยลง ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการผลิตในประเทศและส่งออกในช่วงไตรมาสที่ 2 ทั้งนี้ บริษัทกาแฟแห่งชาติเวียดนาม (VINACAFE) เป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกกาแฟรายใหญ่ในเวียดนาม เผชิญกับอุปสรรคมากมายในการเสนอขายสินค้าแก่พาร์ทเนอร์ โดยการบริโภคกาแฟทั่วโลกนั้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20 เมื่อเทียบก่อนการแพร่ระบาด นอกจากนี้ ความต้องการสินค้าอุปโภคเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการแพร่ระบาด แต่กาแฟไม่ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่จำเป็น ส่วนภาครัฐควรจะส่งเสริมอุตสาหกรรมนี้ เพื่อแก้ไขอุปสรรคจากสถานการณ์ดังกล่าว ประกอบกับภัยแล้งในปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรลดลง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/coffee-industry-to-face-more-losses-in-q2/171969.vnp

เกษตรกรชาวไทใหญ่ตั้งเป้าส่งออกกาแฟไปสหรัฐและไทยมากขึ้นในปีนี้

เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในเขตเมือง Ywar Ngan รัฐฉานกล่าวว่าพวกเขาหวังที่จะขายเมล็ดกาแฟให้กับผู้ซื้อในยุโรปสหรัฐอเมริกาและไทยในปีนี้ เนื่องจากสภาพอากาศในปีนี้การเก็บเกี่ยวจะเริ่มในช่วงกลางเดือนมีนาคม เมือง Ywar Ngan จะผลิตเมล็ดกาแฟได้ประมาณ 400 ตันในปีนี้และผู้ซื้อต่างประเทศกำลังติดต่อขอซื้ออยู่แล้ว เมล็ดกาแฟคุณภาพสูงสามารถทำรายได้มากกว่า 6,000 เหรียญสหรัฐ (8.5 ล้านจัต) ต่อตันมีพื้นที่ปลูกกาแฟมากกว่า 3,480 เฮกตาร์ในเขตเมือง Ywar Ngan สามารถผลิตเมล็ดกาแฟได้ 800 ตัน สมาคมผู้ส่งออกกาแฟกำลังพยายามพัฒนาคุณภาพการผลิตให้เป็นมาตรฐานและจัดตั้งศูนย์วิจัยกาแฟในปีนี้ กาแฟของเมียนมาได้ส่งออกไปยังตลาดสหรัฐด้วยความช่วยเหลือจากหน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐ (USAID) และองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรอย่าง Winrock International ขณะนี้พยายามส่งออกไปญี่ปุ่น เกาหลีใต้ แคนาดาและประเทศอื่น ๆ ในตลาดยุโรป จะได้รับการช่วยเหลือจาก GIZ ซึ่งเป็นหน่วยงานพัฒนาของเยอรมนีที่มีสำนักงานใหญ่ในกรุงบอนน์ เมล็ดกาแฟที่ปลูกส่วนใหญ่คือ อาราบิก้าและโรบัสต้าโดยที่อาราบิก้ากำลังเป็นที่นิยม เมล็ดกาแฟที่ผลิตราคาขายอยู่ระหว่าง 1,000 ถึง 8,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันขึ้นอยู่กับคุณภาพ โดยราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 2,000 เหรียญสหรัฐต่อตัน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/shan-growers-set-sights-selling-more-coffee-us-thailand-year.html

กาแฟพืชเศรษฐกิจในอนาคต

เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในเขตคูนแขวงเซี่ยกวงกำลังทำเงินได้ดีจากการเพาะปลูกกาแฟที่มีราคาปรับตัวสูงขึ้นจากอดีต จากข้อมูลของเว็บไซต์ laocoffeeproductprice.la เมล็ดกาแฟอาราบิก้าขายในราคาสูงสุดที่ 3,200 กีบ ต่อกิโลกรัมเพิ่มจากเดิม 1,200 กีบ สาเหตุของการที่ราคาสูงขึ้นมาจากความต้องการสูงจากร้านกาแฟจำนวนมากในเวียงจันทน์และหลวงพระบาง เกษตรกรมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ซื้อซึ่งช่วยให้พวกเขาผลิตกาแฟคุณภาพดีออกมาได้ กาแฟในอนาคตจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของปป.ลาวจากการเติบโตที่สูงและระดับราคาสามารถทำให้เกษตรกรมีชีวิตที่ดีขึ้นได้เป็นผลดีต่อประชาชนในประเทศเพราะประชาชนส่วนใหญ่สปป.ลาวทำอาชีพเกษตรกรหากรัฐบาลมีการสนับสนุนจะทำให้กาแฟเป็นพืชที่สำคัญที่จขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ในอนาคตและมีศักยภาพมากพอที่จะแข่งขันกับนานาประเทศต่อไป

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/xieng-khuang-coffee-growers-profiting-quality-crop-112702

ธุรกิจกาแฟในนครโฮจิมินห์ : โอกาสที่ไม่ควรมองข้าม

ปัจจุบันเวียดนามกลายเป็นแหล่งส่งออกกาแฟกว่า 1.4 ล้านเมตริกตัน เป็นอันดับ 2 รองจากบราซิล (2.5 ล้านเมตริกตัน) คนเวียดนามนิยมดื่มกาแฟวันละหลายแก้ว การบริโภคเฉลี่ยต่อหัวสูงขึ้นถึง 1.5 กิโลกรัม/ปี เพราะปัจจุบันพฤติกรรมการบริโภคกาแฟแบบเดิมเปลี่ยนไปและชนชั้นกลางที่มากขึ้น อย่างร้านกาแฟ/คาเฟ่ที่ได้รับความนิยมในนครโฮจิมินห์มักจะมีการตกแต่งที่ทันสมัย มีบริการ Wifi และเครื่องปรับอากาศ เป็นศูนย์รวมของกิจกรรมทางสังคม อีกทั้งการกินกาแฟยังมีแตกต่างกันออกไปโดยแบ่งเป็นภาคเหนือและภาคใต้ โอกาสของธุรกิจกาแฟในนครโฮจิมินห์ 1) ภาคใต้มีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมและมีชนชั้นกลางจำนวนมาก เหมาะสำหรับการขยายธุรกิจแฟรนไซส์กาแฟเพราะทั้งรายได้ประชากรและนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น 2.) พฤติกรรมการบริโภคที่เร่งรีบมากขึ้น กาแฟแคปซูล จึ่งเป็นสินค้าที่น่าสนใจเพราะมีการเติบโต 11% และกำลังตีตลาดในอาเซียน 3) กาแฟสำเร็จรูปของไทยมีคุณภาพและมีโอกาสที่จะทำตลาดได้ 4) อุตสาหกรรมสนับสนุนหรือธุรกิจต่อยอด เช่น การนำไปใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น เครื่องดื่ม เครื่องสำอางค์

ที่มา: ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในนครโฮจิมินห์

เมษายน 2561