โครงการทางพิเศษสีหนุวิลล์ของกัมพูชาคาดว่าแล้วเสร็จก่อนกำหนด

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและคมนาคมกัมพูชา กล่าวว่าการก่อสร้างทางด่วนพนมเปญ-สีหนุวิลล์ที่ลงทุนโดยนักลงทุนชาวจีน ได้ดำเนินไปอย่างราบรื่นแม้จะเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จก่อนกำหนด ลงทุนโดย China Road and Bridge Corporation (CRBC) มูลค่าโครงการ 2 พันล้านดอลลาร์ โดยทางพิเศษนี้จะเชื่อมต่อกับเมืองหลวงของกรุงพนมเปญสู่ท่าเรือน้ำลึกในจังหวัดสีหนุวิลล์ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ ซึ่งเริ่มก่อสร้างขึ้นในเดือนมีนาคม 2019 และมีกำหนดจะแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2023 โดยบริษัทผู้รับผิดชอบในการก่อสร้างคาดว่าจะสามารถสร้างทางพิเศษให้แล้วเสร็จได้ภายในเดือนกันยายน 2023 จนถึงขณะนี้ การก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณร้อยละ 55 ซึ่งหากโครงการแล้วเสร็จจะใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมง ในการเดินทางระหว่างจุดหมายปลายทางทั้งสอง เมื่อเทียบกับปัจจุบันที่ใช้ระยะเวลาถึง 5 ชั่วโมง โดยรัฐมนตรีกล่าวเสริมว่า ถนนสายนี้จะมีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชา เนื่องจากเป็นการเชื่อมโยงเมืองหลวงกับท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50878781/sihanoukville-expressway-cooperation-project-expected-to-be-completed-ahead-of-schedule/

เวียดนามเผยพร้อมจัดตั้งเขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรม แต่ต้องดึงดูดนักลงทุนมากขึ้น

ตามข้อมูลของ CBRE ระบุว่าภาคอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ มีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นก่อนที่จะเกิดการระบาดของเชื้อไวรัส เนื่องจากเวียดนามกลายมาเป็นจุดหมายปลายทางของการย้ายฐานการผลิตจากกประเทศจีน บริษัทเวียดนาม เผยว่าอสังหาริมทรัพย์จะก้าวขึ้นเป็น “กระดูกสันหลัง” ของเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประเทศ ทั้งนี้ รายงานของกระทรวงวางแผนและการลงทุน (MPI) ณ เดือนพ.ค. 64 เวียดนามมีนิคมอุตสาหกรรม จำนวน 394 แห่ง แบ่งออกเป็นสวนอุตสาหกรรมที่เปิดดำเนินการอยู่ 286 แห่ง ด้วยอัตราการเช่า 71.8% และสร้างงาน 3.78 ล้านตำแหน่ง นอกจากนี้  ดร.ตรัน ดินห์ เตียน อดีตผู้อำนวยการสถาบันเศรษฐกิจของเวียดนาม กล่าวว่าท้องถิ่นได้โอกาสอันสำคัญ และเวียดนามจะเป็นแหล่งดึงดูกการลงทุนชั้นนำของโลก จากความได้เปรียบของข้อตกลงการค้าเสรี อีกทั้ง นักพัฒนาเขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรมแห่งใหม่ ไม่ควรร้อนใจเกินไป เนื่องจากสิ่งสำคัญในตอนนี้ คือ การหานักลงทุนเข้ามาผลักดันนิคมอุตสาหกรรม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/ips-set-up-but-vietnam-still-needs-to-do-more-to-attract-investors/202515.vnp

นักลงทุนไทยเล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจในเวียดนาม

สถานทูตเวียดนามประจำประเทศไทยร่วมกับสภาธุรกิจไทย-เวียดนาม และบริษัท อมตะ วีเอ็น จำกัด (มหาชน) จัดงานแถลงข่าวโอกาสทางการลงทุน เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการฉลองครบรอบ 45 ปี ของความสัมพันธ์ทางการทูตไทยและเวียดนาม นายฟัน จิ้ ทัน เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำประเทศไทย ได้บรรยายถึงความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจของเวียดนามและการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามครั้งที่ 13 โดยคาดว่าจะส่งผลให้เวียดนามก้าวเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัย ด้วยรายได้ปานกลางระดับสูงในปี 2573 และเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี 2588 ทั้งนี้ ธุรกิจไทยทุ่มเงินกว่า 12.84 พันล้านเหรียญสหรัฐไปยัง 600 โครงการในเวียดนาม จำแนกออกเป็นด้านต่างๆ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน, นิคมอุตสาหกรรม, เทคโนโลยีขั้นสูง, พลังงานและเกษตรกรรม เป็นต้น นอกจากนี้ นายสนั่น  อังอุบลกุล  ประธานสภาธุรกิจไทย-เวียดนาม กล่าวว่ามีความสนใจอย่างมากในการลงทุนไปเวียดนาม เนื่องมาจากความมีเสียรภาพทางการเมือง การประสบความสำเร็จในการควบคุมการระบาดของโควิด-19 แรงงานจำนวนมาก กำลังซื้อสูงและสภาพแวดล้อมการลงทุน

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/thai-investors-keen-on-future-business-opportunities-in-vietnam-833370.vov

นักลงทุนคาด เศรษฐกิจเมียนมาจะฟื้นตัวเร็วในอีก 3 ปีข้างหน้า

นักลงทุนคาดธุรกิจจะกลับสู่ภาวะปกติในไตรมาสที่สามของปีนี้ โดยภาคที่ได้รับความนิยมคือเทคโนโลยีสื่อและโทรคมนาคม (TMT) ซึ่งจะเป็นการลงทุนหรือการควบรวมกิจการและการเข้าซื้อกิจการมากที่สุดในอีกสองปีข้างหน้าจากการสำรวจโดย Ascent Capital Partners เมื่อเร็ว ๆ นี้ ในความเป็นจริงเศรษฐกิจคาดจะฟื้นตัวสูงถึง 7% ในปีนี้ตามที่กระทรวงการลงทุนและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจต่างประเทศของสหภาพแรงงานกล่าวในระหว่างการประชุมออนไลน์ที่ผ่านมา ซึ่งการฟื้นตัวจะได้รับแรงผลักดันจากแผนฟื้นฟูและปฏิรูปเศรษฐกิจเมียนมา (MERP) โดยให้ความสำคัญของภาคธุรกิจต่างๆ เช่น การผลิตและบริการในปีหน้าและมาตรการอย่างการปฏิรูประบบราชการและ Digital Transformation ที่จะเกิดขึ้น แต่เศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจยังได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการระบาดของโควิด -19 และยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเกิดการฟื้นตัวเต็มที่เมื่อใด ซึ่ง Ascent Capital เป็นบริษัทที่จดทะเบียนกับ Monetary Authority of Singapore ถือว่าเป็นกองทุนที่เน้นการลงทุนในเมียนมาที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยจัดลำดับความสำคัญไปทืภาคผู้บริโภค การศึกษา สุขภาพ บริการทางการเงิน โลจิสติกส์ ด้วยภาระผูกพันด้านเงินทุน 88 ล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก Temasek Holdings ของสิงคโปร์ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย และผู้ประกอบการเครื่องดื่มภายในท้องถิ่น

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/investors-expect-growth-accelerate-myanmar-over-next-three-years.html

ไทยพาณิชย์ เผยนักลงทุนจีนมาแน่ ปักฐานลงทุนไทยเชื่อมั่นศักยภาพ ขยายตลาดสู่อาเซียน

ธนาคารไทยพาณิชย์ โดยกลุ่มธุรกิจจีน ร่วมกับ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (Economic Intelligence Center: EIC) เผยแพร่รายงานส่องทิศทางการลงทุนของนักลงทุนจีนในประเทศไทยหลังโควิด-19 โดยทำการสำรวจนักธุรกิจจีนตัวจริง พบว่า นักธุรกิจจีนมองไทยเป็นประเทศที่น่าสนใจเข้ามาลงทุนในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า ทั้งจากมุมมองของนักธุรกิจจีนที่เข้ามาลงทุนในไทยแล้ว และที่ยังไม่เข้ามาลงทุน โดยเฉพาะนักธุรกิจในกลุ่มเอสเอ็มอีที่ปรับกลยุทธ์ใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อขยายตลาดท้องถิ่น เชื่อมั่นประเทศไทยเป็นตลาดศักยภาพและอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่พร้อมเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงตลาดสู่กลุ่มประเทศในภูมิภาคอาเซียนให้กับจีนในอนาคต ชี้แนวโน้มนักธุรกิจจีนกำลังปรับโครงสร้างการลงทุนในไทยจากอุตสาหกรรมที่ใช้เงินลงทุนสูง สู่การลงทุนขนาดเล็กลง มุ่งเจาะภาคอุตสาหกรรมบริการ และเทคโนโลยี ในขณะเดียวกัน แนวโน้มใหม่นี้ถือเป็นความท้าทายสำหรับผู้ประกอบการไทยในการเผชิญกับคู่แข่งที่มีความได้เปรียบทั้งด้านต้นทุนที่ต่ำกว่า และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า รวมถึงประสบการณ์จากตลาดที่มีการแข่งขันสูงในประเทศจีน

ที่มา : https://www.isranews.org/article/isranews-pr-news/94810-scb-118.html

นักลงทุนญี่ปุ่นเล็งกลยุทธ์จับพาร์ทเนอร์ M&A ในเวียดนาม

ผู้ประกอบการญี่ปุ่นจำนวนมากเล็งซื้อบริษัทไอทีเวียดนามจากการควบรวมกิจการ (M&A) เพื่อขยายการผลิตและธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากธุรกิจด้านไอทีแล้ว นักลงทุนญี่ปุ่นยังสนใจในสาขาธุรกิจอื่นๆ ได้แก่ โรงแรม นิคมอุตสาหกรรม พลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน อาหารทะเลแปรรูปและเภสัชกรรม เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมการสนับสนุนทางด้านการเงินแก่ธุรกิจ เพื่อความหลากหลายของห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้ จากข้อมูลขององค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) ระบุว่าตัวเลขของผู้ประกอบการญี่ปุ่น 1,400 ราย จาก 3,500 รายที่ทำการสำรวจในปี 2562 พบว่านักธุรกิจญี่ปุ่นส่วนใหญ่ต้องการขยายการผลิตไปเวียดนามอีก 3 ปีข้างหน้า

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/japanese-investors-seek-ma-partners-in-vietnam/181587.vnp

การลงทุนในย่างกุ้งยังคงดำเนินต่อแม้จะการระบาด ของ COVID-19

การระบาดใหญ่ของโคโรนาไวรัสไม่ได้ทำให้นักลงทุนสนใจในย่างกุ้งลดลง ตั้งแต่ตรวจพบเชื้อ COVID-19 ในเมียนมาเมื่อเดือนมีนาคม ซึ่งมี 4  ธุรกิจที่ได้รับอนุมัติให้ลงทุน 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐในย่างกุ้ง การประชุมเชิงปฏิบัติการและโรงงานในยังดำเนินงานตามปกติและไม่ได้รับผลกระทบรุนแรง บริษัท 3 แห่งจากจีนและฮ่องกงและบริษัทท้องถิ่นแห่งหนึ่งได้รับอนุมัติให้ลงทุนในย่างกุ้ง ซึ่งการลงทุนคาดว่าจะสร้างตำแหน่งงานกว่า 656 ตำแหน่ง โดยผู้ผลิตเสื้อผ้าและรองเท้าเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในเขตย่างกุ้ง คณะกรรมการการลงทุนเขตย่างกุ้งจัดการประชุม 2 ครั้งต่อเดือนเพื่อตัดสินใจอนุมัติเงินลงทุนสูงสุด 5 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 6 พันล้านจัต

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/investments-yangon-continue-despite-pandemic.html

แนวโน้มของเมียนมาสำหรับนักลงทุนระยะยาว

รายงานของ Oxford Business Group report การเติบโตของเมียนมาสร้างโอกาสที่น่าตื่นเต้นสำหรับบริษัทที่มองหาโอกาสระยะยาวในการลงทุน ทำการประเมินแนวโน้มและการพัฒนาทั่วทั้งเศรษฐกิจรวมถึงเศรษฐศาสตร์ระดับมหภาค โครงสร้างพื้นฐาน การธนาคารและอื่น ๆ ศักยภาพของพม่าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเผชิญกับความท้าทาย เช่น ช่องว่างของโครงสร้างพื้นฐาน เมียนมาเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุดในอาเซียนในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าทำให้เป็นโอกาสที่น่าตื่นเต้นสำหรับนักลงทุนที่มองหาโอกาสระยะยาว ข้อได้เปรียบโดยธรรมชาติของซึ่งรวมถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและทำเลที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ระหว่างจีนและอินเดีย Oxford Business Group report  เป็น บริษัท วิจัยและให้คำปรึกษาระดับโลก โดยมีสำนักงานอยู่ 30 ประเทศตั้งแต่เอเชีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา จนถึงอเมริกา ให้บริการข้อมูลเชิงลึกบนตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกสำหรับโอกาสในการลงทุนและการตัดสินใจทางธุรกิจ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/good-prospects-myanmar-long-term-investors-oxford-business-group-report.html

กลุ่มนักลงทุนจีนหนุนภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอในกัมพูชา

สมาคมใหม่ของนักลงทุนจีนได้เปิดตัวเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มของกัมพูชาซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่สุดของการเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศ โดยสมาคมสิ่งทอประสานงานกับรัฐบาล ซึ่งจะเน้นไปที่กลุ่มนักลงทุนจีนเป็นพิเศษ โดยกัมพูชามีโรงงานกว่า 663 แห่ง เป็นโรงงานผลิตเสื้อผ้า 520 แห่งและอีก 83 แห่งทำการผลิตรองเท้า ส่วนที่เหลือจะเป็นโรงงานผลิตถุง ซึ่งทั้งอุตสาหกรรมมีแรงงานประมาณ 800,000 คน กว่า 80% เป็นผู้หญิงตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมและหัตถกรรมระบุรายงานเมื่อปีที่แล้ว โดยจากรายงานของ NBC แสดงให้เห็นว่าการส่งออกเสื้อผ้าและรองเท้าของกัมพูชามีมูลค่าถึง 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 24% จาก 8,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2017 โดยผู้ซื้อส่วนใหญ่อยู่ในสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ซึ่งกัมพูชามีค่าแรงขั้นต่ำเป็นอันดับห้าในอาเซียน ค่าแรงขั้นต่ำของกัมพูชาสำหรับภาคตัดเย็บเสื้อผ้าอยู่ที่ 182 เหรียญสหรัฐต่อเดือน แต่จะเพิ่มขึ้นเป็น 190 เหรียญสหรัฐในปีหน้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50655062/china-textile-group-launched-to-bolster-garment-sector/

กลุ่มนักลงทุนจีนลงทุนในอุตสาหกรรมกล้วยมูลค่าโครงการกว่า 30 ล้านเหรียญ

Beijing Capital Agribusiness Group ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของจีนประกาศที่จะศึกษาโครงการการลงทุนมูลค่ากว่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อทำสวนกล้วยในกัมพูชา โดยบริษัทกำลังพิจารณาการซื้อที่ดิน 1,500 เฮกตาร์ ที่จะใช้ในการปลูกกล้วย ซึ่งอธิบดีกรมวิชาการเกษตรของกัมพูชาให้การต้อนรับแผนของ บริษัท และให้คำมั่นที่จะอำนวยความสะดวกในการลงทุนเนื่องจากมองว่าการลงทุนจะมีความสำคัญต่อการพัฒนาภาคเกษตรกรรมของกัมพูชา โดยให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความทันสมัยของภาคและส่งเสริมการแปรรูปบรรจุภัณฑ์รวมถึงการส่งออกสินค้าเกษตรที่มีมาตรฐานคุณภาพสูง จากรายงานล่าสุดของกระทรวงเกษตร กัมพูชาได้ส่งออกกล้วยสดจำนวนกว่า 110,512 ตัน ในช่วงเก้าเดือนแรกของปีซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศจีน เวียดนามและญี่ปุ่น โดยมองว่าในอนาคตมูลค่าการส่งออกกล้วยอาจจะสูงมากกว่ามูลค่าการส่งออกข้าวสารภายในประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50653739/chinese-group-unveils-plan-to-invest-30m-in-banana-industry/