พัฒนาการของไทย สู่ ‘ฮับ’ ยานยนต์ไฟฟ้าอาเซียน

ยานยนต์ไฟฟ้า ถูกหยิบยกมาพูดถึงกันอย่างจริงจังในประเทศไทยเมื่อ 5-6 ปีที่ผ่านมา ทั้งในฐานะ “อุตสาหกรรมใหม่” และในฐานะ “หนทางแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม” ของประเทศ หลายปีที่ผ่านมาดูเหมือนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเหมือนเช่นที่ผ่านมา ทั้งนี้ยานยนต์ไฟฟ้าในไทยไม่เฉพาะแต่เพียงรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ใช้ไฟฟ้าเป็นพลังงานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยานยนต์ไฟฟ้าในไทย แตกแขนงออกไปในหลากหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นรถบัสโดยสาร รถตุ๊กตุ๊ก รถขนาดเล็ก 4 ที่นั่งสำหรับใช้งานในเมือง บริการเช่ารถไฟฟ้า แอพพลิเคชั่นสำหรับเช่ารถไฟฟ้า เรื่อยไปจนถึงเรือใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่สำหรับให้บริการนักท่องเที่ยว โดยทั้งหมดนั่นเริ่มต้นจากพื้นฐานของการเป็น “ฐานการผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่ที่สุดอันดับ 11 ของโลก และเป็นอันดับ 4 ในเอเชีย เป็นรองเพียงแค่จีน, ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้เท่านั้น” ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา
อุตสาหกรรมรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโควิด-19 ในเวลานี้ “โรดแม็ป” ของไทยในการส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า หรืออีวี ตั้งเป้าหมายเอาไว้ที่ราวร้อยละ 30 ของรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในประเทศในปีหนึ่งๆ หรือราว 750,000 คัน ต้องเป็นรถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้าภายในสิ้นทศวรรษนี้ จัดสรร “แรงจูงใจ” เชิงภาษีให้เพื่อดึงดูดบรรดาค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ให้เข้ามาร่วมอยู่ในโครงการนี้

ที่มา : https://www.matichonweekly.com/column/article_390875

บริษัทผู้จัดจำหน่ายยานยนต์ในกัมพูชากำลังได้รับผลกระทบจากโควิด-19

โควิด-19 ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ของกัมพูชาเป็นอย่างมากโดยปริมาณการค้าลดลงเกือบร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับปีก่อน จากสถิติการนำเข้าและส่งออกล่าสุดในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ปริมาณการส่งออกรถยนต์และรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 34.1 และ 39.5 ตามลำดับ โดยผู้จำหน่ายรถยนต์รายใหญ่ในประเทศระบุว่าอุปทานและอุปสงค์ในภาคนี้ลดลงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นสำคัญ ซึ่ง RMA Group (RMA) ระบุว่าเนื่องจากโครงการลงทุนภาคเอกชนและภาครัฐขนาดใหญ่หลายโครงการในกัมพูชาถูกเลื่อนหรือยกเลิก ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลง อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรมต้องประสบกับความสูญเสียอย่างหนัก ทั้งธนาคารของประเทศที่กำลังระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้นส่งผลให้ความต้องการรถยนต์ลดลงไปด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50795854/automotive-firms-hit-on-imports-exports/

นิงห์บิงห์เล็งก่อสร้างโรงงานยานยนต์ 137 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

การก่อสร้างโรงงานประกอบยานยนต์และอุตสาหกรรมการผลิต คาดว่าจะใช้เงินทุนราว 137.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เริ่มต้นก่อสร้างเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาในจังหวัดนิงห์บิงห์ (Ninh Bình) ซึ่งได้รับเงินทุนจากบริษัท Thanh Cong Group รวมถึงโรงงานผลิตของ Hyundai Thanh Cong แห่งที่ 2 มีกำลังการผลิต 100,000 คันต่อปี ขนาดพื้นที่ครอบคลุม 50 เฮกตาร์อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม Gian Khau ทั้งนี้ นาย Dinh Van Dien ประธานคณะกรรมการประชาชนจังหวัดนิงห์บิงห์ กล่าวว่าการขยายธุรกิจของบริษัทดังกล่าว เป็นไปตามยุทธศาสตร์ของจัวหวัดในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/772558/ninh-binh-eyes-137m-automobile-factory.html

อาเซียนจ่อลงนามข้อตกลงยานยนต์-วัสดุก่อสร้างในปีนี้

รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนไฟเขียวลงนามข้อตกลงยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ และวัสดุก่อสร้างในปีนี้ คาดส่งผลดีต่อการส่งออกไทยแน่ เหตุสินค้าที่ผ่านการตรวจสอบแล้วไม่ต้องตรวจซ้ำอีก เผยยังบรรลุข้อตกลงด้านยาแผนโบราณ-ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารให้มีมาตรฐานเดียวกัน พร้อมย้ำเปิดใช้งานระบบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า 20 ก.ย.นี้ และจับมือภาคเอกชนฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 นายสรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 52 ผ่านระบบทางไกล ระหว่างวันที่ 24-25 ส.ค. 2563 ที่ผ่านมาว่าอาเซียนสามารถบรรลุผลการเจรจาข้อตกลงยอมรับร่วมสินค้ายานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ และข้อตกลงยอมรับร่วมสาขาวัสดุก่อสร้าง โดยพร้อมที่จะลงนามภายในปีนี้ ซึ่งหากข้อตกลงทั้งสองฉบับมีผลใช้บังคับจะช่วยลดต้นทุนการทำธุรกิจของอุตสาหกรรมดังกล่าว เนื่องจากเมื่อสินค้าผ่านการตรวจสอบมาตรฐานของหน่วยงานในประเทศอาเซียนที่ส่งออกแล้ว ไม่ต้องตรวจซ้ำในประเทศอาเซียนที่นำเข้าอีก ทั้งนี้ ในปี 2562 ไทยส่งออกสินค้ายานยนต์ไปยังอาเซียน มูลค่า 5,071.19 ล้านเหรียญสหรัฐ และส่งออกสินค้าวัสดุก่อสร้างไปยังอาเซียน มูลค่า 473.17 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9630000087542

อาเซียนถกแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด จ่อลงนามความตกลงยอมรับร่วมด้านยานยนต์ ส.ค.นี้

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เตรียมร่วมประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน หรือ SEOM ครั้งที่ 3/51 ผ่านระบบทางไกล หารือแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 และมาตรการที่ออกมาใหม่ช่วงการแพร่ระบาด เตรียมพร้อมความตกลงยอมรับร่วม APMRA ให้รัฐมนตรีเศรษฐกิจลงนามในเดือนสิงหาคม 2563 พร้อมถก 11 คู่เจรจา หาแนวทางจัดทำ FTA กับประเทศใหม่ๆ  และเพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 52 ในเดือนสิงหาคม และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 37 ในเดือนพฤศจิกายน 2563 การประชุม ครั้งนี้ จะหารือประเด็นผลกระทบทางเศรษฐกิจตลอดจนแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังโควิด-19 รวมถึงมาตรการที่แต่ละประเทศออกมาในช่วงการแพร่ระบาดใหญ่ รวมทั้งหารือเรื่องการดำเนินงานของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการเตรียมพร้อมเพื่อลงนามความตกลงยอมรับร่วมผลการตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ยานยนต์ของอาเซียน (APMRA) ซึ่งเป็นประเด็นที่ไทยให้ความสำคัญ โดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจจะลงนามความตกลงร่วมกันในเดือนสิงหาคมนี้ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่อาวุโสของอาเซียนจะพบกับ 11 คู่เจรจา ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง สหรัฐฯ แคนาดา อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รัสเซีย และสหภาพยุโรป รวม 12 การประชุม โดยจะหารือประเด็นสำคัญ เช่น การเปิดเสรีเพิ่มเติมภายใต้ความตกลงที่มีอยู่เดิมกับจีน ความเป็นไปได้ในการเจรจาทำความตกลง FTA ใหม่ๆ กับแคนาดาและสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย ที่มีรัสเซียเป็นหัวเรือใหญ่ รวมถึงความคืบหน้าความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียน-สหรัฐฯ ความคืบหน้าการจัดทำขอบเขตการเจรจา FTA กับสหภาพยุโรป และการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านเศรษฐกิจกับญี่ปุ่น เป็นต้น ทั้งนี้ อาเซียนเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทย โดยในปี 2562 การค้าระหว่างไทยกับอาเซียน มีมูลค่าการค้ารวม 107,928 ล้านเหรียญสหรัฐ ไทยเกินดุล 17,880 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการส่งออกไปอาเซียน มูลค่า 62,904 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าจากอาเซียน มูลค่า 45,024 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2563 (ม.ค. – พ.ค.) มีมูลค่าการค้ารวม 41,218 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไทยส่งออกไปอาเซียนมูลค่า 24,697 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าจากอาเซียนมูลค่า 16,522 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดส่งออกและแหล่งนำเข้าสำคัญของไทยในอาเซียน ได้แก่ มาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-493979

สมาคมยานยนต์เวียดนามเผยตลาดยานยนต์ในประเทศกลับมาฟื้นตัว

สมาคมผู้ผลิตรถยนต์เวียดนาม (VAMA) ระบุว่าในเดือนมิ.ย. สมาชิกของสมาคมฯ มียอดขายยานพาหนะ 24,002 คัน ลดลง 13% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยรถยนต์ส่วนบุคคลมียอดขายมากที่สุดจำนวน 17,584 คัน เพิ่มขึ้น 35% รองลงมารถที่มีวัตถุประสงค์พิเศษจำนวน 309 คัน เพิ่มขึ้น 18% และรถเชิงพาณิชย์จำนวน 6,109 คัน เพิ่มขึ้น 5% ซึ่งทางสมาคมฯ มองว่าสถานการณ์ปัจจุบัน ตลาดรถยนต์กำลังส่งสัญญาการฟื้นตัว หลังหมดโควิด ทั้งนี้ ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ สมาชิกของสมาคมฯ ระบุว่ายอดขายยานพาหนะ 107,183 คัน ลดลง 31% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยยอดขายรถยนต์ทุกประเภทลดลง โดยเฉพาะยอดขายรถยนต์ที่มีวัตถุประสงค์พิเศษลดลงหนัก 40% อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญมองว่าตัวเลขยอดขายดังกล่าวไม่ได้แสดงถึงภาพรวมของตลาดรถยนต์ในประเทศทั้งหมด เนื่องจากยังไม่ได้รวมยอดขายของแบรนด์ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของสมาคมฯ ได้แก่ Audi, Jaguar Land Rover, Mercedes-Benz, Subaru, Volkswagen, Volvo และ TC Motor เป็นต้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/automobile-market-on-recovering-track-vama/178435.vnp

สมาคมเวียดนามเผยยอดขายยานยนต์โต 2 เดือนติดต่อกัน

จากแถลงการณ์ของสมาคมผู้ผลิตยานยนต์เวียดนาม (VAMA) เปิดเผยว่ายอดขายยานยนต์ในเดือนมีนาคม อยู่ที่ 19,154 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน นับว่าเป็นการเติบโตของยอดขายพุ่งขึ้น 2 เดือนติดต่อกัน ส่วนรถยนต์ที่ประกอบในประเทศ จำหน่ายได้ 11,878 คัน ทั้งนี้ มีการใช้เครื่องมือดึงดูดการขายหลายช่องทางด้วยกัน อาทิ ส่วนลดหรือของชำร่วยที่มีมูลค่า เป็นต้น นอกจากนี้ ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ สมาคมฯ จำหน่ายรถยนต์ได้ 78,419 คัน ลดลงร้อยละ 33 เมื่อเทียบกับปีก่อน อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าตัวเลขยอดขายข้างต้นนั้น ไม่ได้แสดงถึงภาพรวมทั้งหมดของสภาพตลาดรถยนต์เวียดนาม เนื่องจากยังมีผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นที่ไม่ได้เข้าร่วมสมาคมฯ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/toyota-honda-among-bestselling-car-makers-in-march/171573.vnp

ผู้ผลิตรถยนต์จากเวียดนาม “VinFast” เตรียมเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ภายในปีนี้

VinFast แบรนด์ผู้ผลิตรถยนต์จากเวียดนามของกลุ่ม VinGroup ได้วางแผนที่จะเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ด้วยการออกแบบโมเดลรถยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความหรูหราภายในปีนี้ และอีกทั้งยังสามารถช่วยจัดการมลพิษทางเสียงและทางอากาศอีกด้วย ทั้งนี้ “Lux V8” ได้นำมาแสดงในงานเหล่าสุดยอดรถยนต์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสวิตเซอร์แลนด์ “The Geneva international automobile exhibition” เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และจะทำการผลิตรถยนต์อย่างมีจำนวนจำกัด ขณะที่ Vinbus จะดำเนินบริการขนส่งในเมืองสำคัญ ได้แก่ กรุงฮานอย ไฮฟอง ดานัง เป็นต้น ซึ่งทางบริษัทมองว่าการบริการขนส่งโดยรถบัสดังกล่าวนั้น จะสามารถปรับปรุงด้านโครงสร้างพื้นฐานของเวียดนาม ซึ่งหวังว่าจะแก้ไขมลภาวะทางเสียงและทางอากาศได้ในเขตเมืองและยังสร้างสิ่งแวดล้อมที่มีสนับสนุนสุขภาพและยกระดับคุณภาพชีวิตแก่คนเวียดนามได้ดีมากขึ้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/carmaker-vinfast-to-roll-out-new-automobile-models-this-year-409335.vov

ยอดคำสั่งซื้อยานยนต์ ‘VinFast’ มากกว่า 67,000 คัน ในปี 2562

จากรายงานของบริษัทวินฟาสต์ (VinFast Trading and Production LLC) เป็นบริษัทในเครือวินกรุ๊ป (Vingroup) เปิดเผยว่าในปี 2562 ได้รับยอดคำสั่งซื้อยานยนต์มากกว่า 17,000 คัน และกว่า 50,000 คันสำหรับรถจักรยานยนต์ไฟฟ้ โดยบริษัทได้เปิดตัวสกูตเตอร์ไฟฟ้ายี่ห้อแรกชื่อ “Klara” ในเดือนพฤศจิกายน 2561 และในปัจจุบัน มีการวางจำหน่ายออกมาอีก 3 แบรนด์ รวมไปถึง Ludo, Impes และ Klara S. มีการผลิตสกูตเตอร์สูงถึง 45,118 คัน ทั้งนี้ ในปี 2563 VinFast ได้เปิดตัว ‘VinFast Lux V8’ เป็นการหยิบยืมพื้นฐานโมเดลทั้งสองรุ่นก่อน และจำหน่ายรถโดยสารไฟฟ้า รวมไปถึงทางบริษัทวางแผนที่จะส่งออกยานยนต์ไฟฟ้าไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ ในปัจจุบัน ที่ตั้งโรงงานผลิตยานยนต์ของบริษัท VinFast อยู่ที่เขตเศรษฐกิจ Dinh Vu-Cat Hai Eco nomic Zone ซึ่งติดตั้งอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัย ประกอบกับมีการผลิตยานยนต์อยู่ที่ 250,000 คัน และจำนวนผลิตยานยนต์ไฟฟ้าอยู่ที่ 500,000 คันต่อปี ในช่วงเฟสแรก

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/571324/over-67000-orders-for-vinfast-vehicles-in-2019.html

รัฐบาลเมียนมาอนุญาตนำเข้ายานพาหนะ

กระทรวงพาณิชย์ (MOC) ประกาศเมื่อวันที่ 2 มกราคมว่าจะให้ใบอนุญาตนำเข้ารถยนต์แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐและเจ้าหน้าที่บริการสาธารณะ สามารถนำเข้าโดยตรงโดยไม่ต้องผ่านโชว์รูมหรือตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการจำกัดจำนวนผู้ซื้อที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้า อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ระดับสูงสามารถนำเข้ารถยนต์ที่มีราคาแพงกว่าได้ และอนุญาตให้เฉพาะรถยนต์พวงมาลัยซ้ายที่ผลิตระหว่างปี 61-63 ยานพาหนะที่นำเข้ามาจะได้รับการยกเว้นจากภาษีศุลกากรและ road tax แต่ผู้ซื้อจะต้องชำระค่าสินค้าพิเศษและภาษีการค้า ราคานำเข้ารวมราคาประกันภัยและค่าขนส่ง (CIF) รัฐบาลยังได้ติดต่อธนาคารท้องถิ่นเพื่อจัดเตรียมทางเลือกในการชำระเงินให้กับผู้ซื้อในกรณีเช่าซื้อ ผู้ที่ไม่สามารถชำระเงินด้วยเงินสดล่วงหน้าสามารถขอให้ธนาคารเช่าซื้อและการชำระเงินอื่น ๆ Myanma Economic Bank จะเรียกเก็บดอกเบี้ย 9% เป็นประธานของสมาคมผู้ผลิตและจัดจำหน่ายรถยนต์ของเมียนมากล่าวว่าโครงการดังกล่าวเอื้อประโยชน์สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทรวงพาณิชย์จะพบกับผู้นำเข้ารถยนต์ ตัวแทนจำหน่าย และธนาคารเพื่อชี้แจงใบอนุญาตการนำเข้าในวันที่ 9 มกราคม 63 นี้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/govt-officials-allowed-import-vehicles-favourable-terms.html