ราคาน้ำตาลเคลื่อนไหวผันผวน หนุนราคาอ้อยพุ่งขึ้น 60,000 จัตต่อตัน

ชาวไร่อ้อยจากตำบลที่-กไหย่ง์ อำเภอกะตา  เขตซะไกง์ เผย หลังขึ้นราคาน้ำตาล ราคาอ้อยพุ่งขึ้นเป็น 60,000 จัตต่อตัน จากปีที่แล้วอยู่ที่ 43,000 จัตต่อตัน ในช่วงฤดูหีบอ้อยที่ผ่านมาเก็บเกี่ยวอ้อยได้เพียง 400,000 ตันทั่วประเทศ ลดลง 100,000 ตันเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ส่วนต้นทุนการเพาะปลูกต่อเอเคอร์อยู่ที่ประมาณ 600,000-700,000 จัต และหนึ่งเอเคอร์เก็บเกี่ยวอ้อยได้ประมาณ 30 ตัน ปัจจุบันมีการปลูกอ้อยประมาณ 65,850 เอเคอร์ในจังหวัดชเวโบ จังหวัดกั่นบะลู และจังหวัดกะทะ ของเขตซะไกง์ จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ ราคาอ้อยถูกกำหนดไว้ที่ 40,000 จัตต่อตัน ในปีงบประมาณ 2562-2563

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/sugar-price-hike-rally-continues-sugarcane-price-surges-to-over-k60000-per-tonne/

ราคาข้าวเวียดนามพุ่งแซงไทย

สมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) เปิดเผยว่าราคาส่งออกข้าวหัก 5% ของเวียดนามพุ่งสูงขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ แซงหน้าราคาข้าวไทย อินเดียและปากีสถาน โดยในช่วงกลางเดือน ส.ค. ราคาส่งออกข้าวหัก 5% ของเวียดนามลดลงเหลือ 385 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง 100 เหรียญสหรัฐต่อตันเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.พ. 2563 ในขณะที่ราคาส่งออกข้าวหัก 5% ของเวียดนามอยู่ที่ 8 เหรียญสหรัฐต่อตัน ซึ่งต่ำกว่าข้าวหัก 5% ของไทย แต่ยังสูงกว่าข้าวของอินเดียและปากีสถานอยู่ที่ 25 เหรียญสหรัฐ และ 40 เหรียญสหรัฐต่อตัน ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ราคาส่งออกข้าวหัก 5% ของเวียดนามในปัจจุบัน อยู่ที่ 433-437 เหรียญสหรัฐต่อตัน ถือว่าสูงกว่าของไทย อินเดียและปากีสถานอยู่ที่ 49, 68 และ 55 เหรียญสหรัฐต่อตัน ตามลำดับ

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnams-rice-price-surges-surpasses-that-of-thailand/

ราคาหัวหอมในประเทศพุ่ง ผลจากความต้องการของบังคลาเทศเพิ่มขึ้น

ความต้องการหัวหอมเมียนมาที่เพิ่มขึ้นจากบังกลาเทศ ทำให้ราคาหัวหอมในตลาดเมียนมาสูงขึ้น ในเดือนมี.ค.64 ราคาอยู่ระหว่าง 250-300 จัตต่อ viss (1 viss = 1.6 กิโลกรัม) จากนั้นราคาก็แตะระดับต่ำสุดที่ 200 วอนต่อครั้ง จึงไม่สามารถส่งออกไปยังจีนได้เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ด้านบังคลาเทศมักจะนำเข้าหัวหอมจากอินเดีย แต่ในตอนนี้อินเดียได้ระงับการส่งออกหัวหอม ดังนั้นบังคลาเทศจึงหันนำเข้าจากเมียนมาแทน ส่งผลให้ ตอนนี้ราคาหัวหอมได้เพิ่มขึ้นเป็น 500 จัตต่อ viss ปัจจุบันสต๊อกหัวหอมในตลาดมัณฑะเลย์ลดน้อยลง ดังนั้นราคาค้าปลีกจึงอยู่ที่ 700 จัตต่อ viss ปัจจุบันหัวหอมส่วนใหญ่ปลูกในเขตมัณฑะเลย์ มะกเว ย่างกุ้ง เนปิดอว์ และรัฐฉาน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/domestic-onion-price-rises-due-to-demand-from-bangladesh/#article-title

‘เวียดนาม’ เผยราคาอพาร์ทเม้นท์พุ่งในเมืองโฮจิมินห์และฮานอย แม้ความต้องการลดลง

ราคาอพาร์ทเม้นท์ในเดือนสิ.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้น 9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และ 8% ในเมืองฮานอย แม้ว่าความต้องการลดลง ตามข้อมูลเว็บไซต์อสังหาริมทรัพย์ “Batdongsan.com” เปิดเผยว่าการค้นหาอพาร์ทเม้นท์ในเมืองโฮจิมินห์ลดลง 23% และฮานอย 43% ชี้ให้เห็นถึงความต้องการของผู้คนลดลง สาเหตุสำคัญมาจากราคาที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นาย Dinh Minh Tuan ผู้อำนวยการเว็บไซต์ดังกล่าว มองว่ามาตรการเว้นระยะทางสังคม ทำให้แนวโน้มการลงทุนอสังหาฯ โยกย้ายไปยังตลาดหุ้นจำนวนมาก อย่างไรก็ดียังคงเป็นเพียงชั่วคราว เนื่องจากนักลงทุนยังถือครองอสังหาฯ และรอให้กลับมาซื้ออีกครั้งหลังจากสิ้นสุดการแพร่ระบาด นอกจากนี้ ปัจจัยทางด้านอุปทานที่ดินมีอยู่อย่างจำกัด ราคาที่ดินสูงขึ้น ความล่าช้าในการขอใบอนุญาตและการขาดแคลนอุปทาน ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาอพาร์ทเม้นท์พุ่งสูงขึ้น

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/industries/apartment-prices-rise-in-hcmc-hanoi-despite-falling-demand-4356763.html

ราคาข้าวเวียดนามครึ่งปีแรก พุ่ง

สำนักงานศุลกากร เผยว่าในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เวียดนามส่งออกข้าวประมาณ 3.03 ล้านตัน เป็นมูลค่า 1.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ ราคาข้าวส่งออกเฉลี่ยปรับตัวเพิ่มขึ้น 11.7% แตะ 544.4 เหรียญสหรัฐต่อตัน ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท ชี้ว่าเวียดนามมีข้อได้เปรียบด้วยกันหลายประการ สาเหตุสำคัญมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ความต้องการอาหารในหลายๆประเทศทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ราคาส่งออกข้าวเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 15% มาอยู่ที่ 530.5 เหรียญสหรัฐต่อตัน เมื่อเทียบกับครึ่งแรกของปีที่แล้ว โดยหากนับตั้งแต่ต้นปี ฟิลิปปินส์ยังคงเป็นผู้บริโภคข้าวเวียดนามรายใหญ่ที่สุด ด้วยปริมาณกว่า 1.09 ล้านตัน มูลค่า 579.83 ล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาจีนและกานามา

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnamese-rice-export-price-surges-in-first-half-873820.vov

ราคาแตงโมลดฮวบลงเกือบครึ่ง! เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ผู้ส่งออกแตงด่านมูเซ เผย ราคาแตงโมลดลงกว่าครึ่งเมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากจีนปิดชายแดนในสัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคมจากการระบาดของโควิด-19 ของเมียนมา ส่งผลให้ราคาตกท่ามกลางผลผลิตที่ออกมาล้นตลาด โดยรถบรรทุกแตงโมบรรทุกได้ 36,000 หยวนต่อครั้งเมื่อปีที่แล้ว แต่ปีนี้ราคาลดลงอย่างมากถึง 13,000 หยวน และยังไม่รวมอัตราค่าระวางรถบรรทุกที่ต้องจ่าย ส่งผลให้ผลไม้อย่างแตงโมและมะม่วงพึ่งพิงตลาดต่างประเทศเสียหายอย่างหนักหากจีนขยายเวลาปิดด่านออกไปเป็นเวลานาน ซึ่งภาครัฐแนะนำให้ลดพื้นที่การเพาะปลูกลง 50% เพื่อรักษาสมดุลของตลาดและรักษาคุณภาพของแตงโมไว้ ขณะที่ในปีนี้รถบรรทุกแตงโมประมาณ 30,000 คัน และเมล่อน 12,000 คัน ถูกส่งไปยังชายแดนจีนแต่เน่าเสียหายเพราะติดอยู่ด่านชายเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ในทุกๆ ปี เมียนมาส่งออกแตงโมมากกว่า 800,000 ตันต่อปีและเมล่อนประมาณ 150,000 ตันไปยังจีน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/watermelon-price-decreases-by-half-as-against-last-year/#article-title

เกษตรกรเมืองซะไกง์ โอด ราคาแตงโม ดิ่งฮวบ

นาย U Wai Myint ผู้ปลูกแตงโมและรองประธานสมาคมผู้ส่งออกในเขตซะไกง์ เผย เกษตรกรผู้ปลูกแตงโมและเมล่อนผิดหวังกับราคาที่ลดลง ปัญหาเกิดจากผลผลิตเกินความต้องการเพราะขายแตงโมต่อวันได้เพี่ยง 100 หรือ 200 ลูก แต่มีการประมาณขนส่งประมาณ 1,000 ลูกต่อวัน ดังนั้นรถบรรทุกจึงต้องจอดรอคิวที่ด่านชายแดนมูเซ (Muse 7 Mile และ 5 Mile) ทำให้ผลผลิตไม่สดใหม่และเน่าเสีย ซึ่งปีที่แล้วผลผลิตแตงโมและเมล่อนจากเขตซะไกง์เสียหายประมาณ 90% ดังนั้นปีนี้จึงลดลงอย่างมากเทียบกับปีที่แล้ว ด้านพื้นที่เพาะปลูกเขตซะไกง์ เติบโตขึ้นทุกปี พื้นที่แตงโมประมาณ 20,000 เอเคอร์และเมล่อน 40,000 เอเคอร์ ส่วนแหล่งเพาะปลูกสำคัญอยู่ในเมืองช่องอู้ (Chaung-U) เขตซะไกง์

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/growers-in-sagaing-frustrated-over-lower-prices-of-melons/

เวียดนามปรับขึ้นราคาน้ำมันสูงอย่างต่อเนื่อง

จากคำแถลงของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้ากับกระทรวงการคลัง ประกาศปรับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงเมื่อวันที่ 28 พ.ค. ราคาเบนซินอ็อกเทน 92 จำหน่ายใหม่ที่ 12,402 ด่ง (0.53 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อลิตร, เบนซินอ็อกเทน 95 ปรับขึ้นอยู่ที่ 13,125 ด่ง (0.56 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อลิตร, ดีเซล (0.05%S) และน้ำมันก๊าดอยู่ที่ 10,749 ด่งและ 8,757 ด่งต่อลิตร ปรับตัวขึ้น 892 ด่ง และ 875 ด่งต่อลิตร ตามลำดับ ทั้งนี้ สองกระทรวงข้างต้นทำการตรวจสอบราคาน้ำมันทุกๆ 15 วัน และจะปรับราคาเชื้อเพลิงตามความผันผวนในตลาดโลก เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แสดงให้เห็นว่ามีการผ่อนคลายมาหลายประเทศ และเริ่มดำเนินการผลิตต่อ รวมถึงกิจกรรมทางธุรกิจ ส่งผลให้มีความต้องการเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นและการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันและเชื้อเพลิง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/petrol-prices-continue-to-rise-in-latest-adjustment/174029.vnp

ราคาข้าวพุ่ง เนื่องจากเวียดนามฟื้นการส่งออกให้กลับมาเต็มรูปแบบ

ราคาข้าวส่งออกปรับตัวสูงขึ้นในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ‘กู๋ลอง’ เป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญขนาดใหญ่ที่สุดของเวียดนาม เนื่องจากนายกรัฐมนตรีเหวียน ซวน ฟุ๊ก อนุมัติฟื้นการส่งออกข้าวอีกครั้ง ในวันที่ 1 พ.ค. เป็นต้นไป ส่งผลให้ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นแตะ 200,000-400,000 (8.5-17 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อตัน จากปลายเดือนเม.ย. โดยบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำดังกล่าว สามารถปลูกข้าวฤดูร้อน-ใบไม้ร่วงมากกว่า 750,000 เฮกตาร์ ทั้งนี้ ตามข้อมูลของกรมขยายพันธุ์พืช จ.เหิ่วซาง ระบุว่าต้นข้าวเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยและผลผลิตอยู่ที่ประมาณ 7-8 ตันต่อเฮกตาร์ รวมถึงผู้ปลูกข้าวเตรียมการขั้นสุดท้าย เพื่อที่จะเก็บเกี่ยว ทั้งนี้ เวียดนามเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ติดอันดับ 3 ของโลก รองจากอินเดียและไทย ซึ่งเมื่อปีที่แล้ว เวียดนามส่งออก 6.37 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 2.81 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ ในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ยอดส่งออกสูงถึง 890,000 ตัน มูลค่า 410 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27, 32.6 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า คาดว่าส่งออกข้าวจะเติบโตสูงถึง 43.5 ล้านตัน ในปีนี้

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/716341/rice-prices-rising-as-viet-nam-prepares-to-resume-exports.html

กระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์กำหนดราคาหมูใหม่

กระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์สปป.ลาวกำหนดราคาใหม่สำหรับเนื้อหมูเพื่อแก้ไขปัญหาราคาหมูที่สูงอยู่ ณ ตอนนี้ โดยรัฐบาลพยายามที่จะจำกัดระดับราคาให้อยุ่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมเพราะหากตั้งต่ำเกินไปผู้ผลิตจะขาดทุนหรือหากตั้งสูงเกินไปก็อาจทำให้การบริโภคลดลงไปด้วย ซึ่งก่อนหน้านี้มีการเรียกร้องให้มีการนำเข้าหมูจากเวียดนามหรือไทยเพื่อลดปัญหาดังกล่าว แต่ข้อเรียกร้องดังกล่าวก็ไม่ใช่ทางออกที่ดีเพราะ ราคาหมูในสปป.ลาว ณ ตอนนี้เมื่อเทียบกับไทยแล้วราคาหมูไทยมีราคาสูงกว่าถึงร้อยละ 33 ดังนั้นวิธีดังกล่าวจึงไม่ใช่ทางออกที่ดีนัก อย่างไรก็ตามการตึงราคาไว้เป็นแค่การแก้ไขปัญหาระยะสั้น เพราะสาเหตุของการที่ราคาเพิ่มสูงขึ้นมาจากการขาดแคลนหมูเพราะเกิดโรคไข้หมูรวมถึงการผันผันของค่าเงินและราคาของน้ำมันที่สูงขึ้นเป็นต้นทุนการขนส่งหมูทำให้ราคาหมูสูงตามไปด้วย ปัจจุบันสถานการณ์ดังกล่าวอยู่ในการดูแลอย่างใกล้ชิดของรัฐาบาลเพราะหากไม่มีแนวทางแก้ไข้ปัญหาที่ดี ในระยะยาวอาจส่งผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศได้

ที่มา :http://annx.asianews.network/content/vientiane-commerce-dept-proposes-new-pork-price-amid-limited-supply-112539