“เวียดนาม-อินโดนีเซีย” ตั้งเป้าการค้าปี 71 แตะ 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา นายโจโค วิโดโด (Joko Widodo) ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ได้หารือกับนายฝ่าม มิงห์ จิ๋งห์ นายกรัฐมนตรีเวียดนาม ก่อนการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 42 ที่จัดขึ้นในเมืองลาบวน บาโจ ประเทศอินโดนิเซีย โดยผู้นำทั้งสองประเทศได้หารือเกี่ยวกับการส่งเสริมการค้าที่จะบรรลุเป้าหมายกว่า 15 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2571 ตลอดจนมีการตกลงทวิภาคีด้านการลงทุน เนื่องจากทั้งสองประเทศมีการลงทุนเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีการส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานหมุนเวียน ทั้งนี้ ตามข้อมูลการค้าระหว่างอินโดนีเซียและเวียดนาม มีมูลค่ารวมกันทั้งสิ้น 13.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2565 เพิ่มขึ้นราว 11.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับปีก่อน

ที่มา : https://jakartaglobe.id/business/indonesia-vietnam-aim-for-15-billion-trade-by-2028

การค้าระหว่าง กัมพูชา-อินโดนีเซีย ขยายตัว 43% ในช่วง Q1

การค้าระหว่างกัมพูชาและอินโดนีเซียขยายตัวกว่าร้อยละ 43.2 หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 304 ล้านดอลลาร์ ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ตามรายงานของกรมศุลกากรและสรรพสามิต ซึ่งปริมาณการค้าระหว่างทั้งสองประเทศเพิ่มขึ้นตั้งแต่ในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคมปีนี้ คิดเป็นการส่งออกสินค้าของกัมพูชาไปยังอินโดนีเซียมูลค่า 12 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 74 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะเดียวกันการนำเข้าของกัมพูชาจากอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นร้อยละ 42 คิดเป็นมูลค่า 292 ล้านดอลลาร์ โดยในปัจจุบันกัมพูชาและอินโดนีเซียยังได้หารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501277914/43-jump-in-trade-between-cambodia-indonesia-in-q1/

กัมพูชา-อินโดนีเซีย สร้างความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจระหว่างกัน

กัมพูชาและอินโดนีเซีย จัดลำดับความสำคัญ 5 ด้าน เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของภาคการท่องเที่ยวระหว่างกัน กล่าวโดย Thong Khon รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชา หลังการพูดคุยกับ Sandiaga Salahudin Uno รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีภาคการท่องเที่ยว G20 โดยได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) ว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกัมพูชาและอินโดนีเซีย ซึ่งลงนามระหว่างการประชุม ASEAN Tourism Forum 2022 ณ จังหวัดสีหนุวิลล์ โดยทั้งสองประเทศวางแผนที่จะเพิ่มเที่ยวบินตรงระหว่างกันในการเริ่มต้น ซึ่งในช่วงเดือน มกราคม-มิถุนายน 2022 การส่งออกของอินโดนีเซียไปยังกัมพูชาอยู่ที่ 367.54 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.55 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การนำเข้าของอินโดนีเซียจากกัมพูชาอยู่ที่ 23.15 ล้านดอลลาร์ ลดลงประมาณร้อยละ 1.97 โดยสินค้าส่งออกสำคัญของอินโดนีเซียมายังกัมพูชา ได้แก่ ถ่านหิน ยาสูบ เครื่องจักร ยา สินค้าอุปโภคบริโภค และกระดาษเป็นหลัก ส่วนการนำเข้าของอินโดนีเซียจากกัมพูชาได้แก่ เสื้อผ้า รองเท้า ยาง และข้าว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501158890/cambodia-indonesia-to-boost-economic-cooperation/

สปป.ลาว – อินโดนีเซีย ร่วม MOU เพื่อพัฒนาโรงงานไฟฟ้า

บริษัท PT Pembangkitan Jawa-Bali (PJB) ของอินโดนีเซียและ บริษัท Electricite Du Laos (EDL) จากสปป.ลาว ได้ร่วมลงนามในความร่วมมือ (MOU) ด้านการบริหารจัดการโรงไฟฟ้าร่วมกัน ซึ่งการลงนามดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลและเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอินโดนีเซียประจำสปป.ลาว ร่วมเป็นสักขีพยาน ทั้งนี้ ภายใต้ MOU ดังกล่าว จะมีการศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินการ บำรุงรักษา ซ่อมแซมเพื่อการบริการ และเพื่อจัดหาเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าสำหรับสปป.ลาวและประเทศใกล้เคียง

ที่มา: https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten147_Lao_Indonesia_y22.php

กัมพูชา-อินโดนีเซีย ลงนาม MoU กระตุ้นภาคการท่องเที่ยวระหว่างกัน

ในระหว่างการประชุม ASEAN Tourism Forum 2022 ที่สีหนุวิลล์ Thong Khon รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชา และ Sandiaga Salahudin Uno รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและนวัตกรรมของอินโดนีเซีย ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) เกี่ยวกับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อส่งเสริมการเชื่อมต่อเที่ยวบินตรงระหว่างทั้งสองประเทศ ในการฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวระหว่างกันโดยเร็วที่สุด ซึ่งในบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ยังเน้นที่ 1.การส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยการจัดงานแสดงการท่องเที่ยวระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ 2.แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการวางแผนและจัดการสถานที่ท่องเที่ยว 3.ส่งเสริมภาคเอกชนให้ลงทุนในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 4.ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้เชี่ยวชาญ 5.ส่งเสริมความร่วมมือในการจัดงานท่องเที่ยว งานประชุม และในด้านอื่นๆ และ 6. ส่งเสริมการเชื่อมต่อเที่ยวบินตรงระหว่างสองประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501009619/cambodia-indonesia-sign-mou-to-boost-tourism-connect-direct-flights-between-the-two-countries/

กัมพูชาเรียกร้องอินโดนีเซียเปิดเที่ยวบินตรงระหว่างกัน

กัมพูชาได้เรียกร้องให้อินโดนีเซียดำเนินการเปิดเที่ยวบินตรงระหว่างประเทศกับกัมพูชา เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่นักท่องเที่ยวที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบตามกำหนดแล้ว โดย Sok Sangvar ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นตัวแทนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวกล่าวในงาน Famtrip ที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือที่ดีระหว่างสองประเทศในด้านการเจรจาต่อรอง การค้า การท่องเที่ยว และอื่นๆ ในหัวข้อ “Exploring the Land of Sunda” ที่สถานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียในกรุงพนมเปญ โดยในเดือนมิถุนายน 2019 ที่ผ่านมา Citlink ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของสายการบินได้เพิ่มเที่ยวบินระหว่างจาการ์ตาและพนมเปญ 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ แต่เที่ยวบินดังกล่าวถูกระงับไปในเดือนเมษายน 2020 เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 และปัจจัยด้านน้ำหนักบรรทุก โดยเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียให้คำมั่นที่จะผสานกับทางการอินโดนีเซียในการติดต่อขอเที่ยวบินตรงระหว่างประเทศให้กลับมาให้บริการอีกครั้ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50980346/cambodia-urges-indonesia-to-resume-direct-flights/

Grab จับมือ Hyundai นำ ‘รถไฟฟ้า’ มาให้เช่า เริ่มนำร่องที่Singaporeในปี 2021 ก่อนขยายไปอินโดนีเซียและเวียดนาม

Grab และ Hyundai Motor Group ได้ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญ เร่งผลักดันการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเดินหน้ากลยุทธ์ Mobility Service อย่างเต็มรูปแบบ จากผลสำรวจของคนขับที่เช่ารถยนต์ไฟฟ้าจาก GrabRentals ในปี 2020 พบว่า ปัญหาของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าที่คนขับ Grab และพันธมิตรเดลิเวอรีต้องเผชิญคือ ต้นทุนการเป็นเจ้าของรถยนต์ที่สูง สถานีให้บริการชาร์จมีไม่เพียงพอ และใช้เวลานานในการชาร์จแต่ละครั้ง ดังนั้น เพื่อลดอุปสรรคข้างต้นทาง Grab และบริษัทในเครือ Hyundai จะมีการพัฒนาโมเดลธุรกิจ EV แบบใหม่ เช่น การเช่ารถยนต์ไฟฟ้า และการจัดหาเงินทุนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งมีแผนเปิดตัวออกมาภายในปีนี้ โดยจะเริ่มที่สิงคโปร์เป็นที่แรก ตามมาด้วยอินโดนีเซีย และเวียดนาม

ที่มา : https://thestandard.co/grab-hyundai-electric-cars-for-rent/

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศ CLMVIP : ความเหมือนที่แตกต่าง

โดย ศูนย์วิจัยกรุงศรี

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (COVID-19) ทำให้เศรษฐกิจของประเทศกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ (ในที่นี้จะเรียกโดยย่อว่า “CLMVIP”) ได้รับผลกระทบอย่างหนักในปี 2020 อย่างไรก็ดี ในปี 2021 หลายประเทศในกลุ่มนี้ มีแนวโน้มเติบโตในอัตราสูงราวร้อยละ 4-7 ปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวของประเทศ CLMVIP ที่สำคัญ 3 ประการ คือ (i) ผลของมาตรการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากทั้งนโยบายการเงินและการคลัง โดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน (ii) การส่งออกที่ได้อานิสงส์จากวัฏจักรการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และ (iii) กระแสการรวมตัวกันภายในภูมิภาค (Regionalization) ที่เข้มแข็งขึ้น แม้ว่าประเทศในกลุ่ม CLMVIP จะมีปัจจัยสนับสนุนการเติบโตที่คล้ายคลึงกัน ในรายประเทศอาจมีลำดับการฟื้นตัวที่แตกต่าง เวียดนาม มีโอกาสฟื้นตัวโดดเด่นด้วยพื้นฐานเศรษฐกิจในประเทศที่แข็งแกร่ง และรายรับจากภาคต่างประเทศที่ขยายตัวดี ผนวกกับข้อได้เปรียบจากความตกลงการค้าเสรีสำคัญ อาทิ ความตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) ความตกลงการค้าเสรีสหราชอาณาจักร-เวียดนาม (UKVFTA) รวมทั้งยังมีการควบคุมการระบาดของโควิด-19 ได้ดี

ขณะที่ประเทศอื่น ๆ ใน CLMVIP มีระดับการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปกว่าด้วยข้อจำกัดที่แตกต่างกัน โดยอินโดนีเซียและกัมพูชา อาจฟื้นตัวเป็นลำดับถัดจากเวียดนาม แม้อินโดนีเซียมีจำนวนผู้ติดเชื้อสูง แต่คาดว่าภาคส่งออกจะมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อีกทั้งยังได้ผลบวกจากแผนการขยายมาตรการกระตุ้นของภาครัฐ รวมถึงแผนการฉีดวัคซีนและแผนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ กัมพูชาอาจได้แรงสนับสนุนจากการส่งออก นำโดยตลาดจีนและสหรัฐฯ ซึ่งอาจช่วยลดผลกระทบจากการถูกระงับสิทธิพิเศษทางภาษีบางส่วนจากสหภาพยุโรป ฟิลิปปินส์ แม้มีปัจจัยหนุนจากขนาดวงเงินกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐมากถึงร้อยละ 4 ของ GDP   แต่การเบิกจ่ายยังเป็นไปอย่างล่าช้า และสถานการณ์การระบาดในประเทศค่อนข้างรุนแรง ส่งผลให้ตลาดแรงงานยังอ่อนแอ และกระทบต่อการฟื้นตัวของการใช้จ่ายเพื่อบริโภคในประเทศ สปป.ลาว มีโครงสร้างเศรษฐกิจที่ค่อนข้างอ่อนแอ อีกทั้งขนาดการกระตุ้นเศรษฐกิจค่อนข้างจำกัด ผลกระทบจากโควิด-19 จึงทำให้ฟื้นตัวล่าช้า ขณะที่เมียนมา เผชิญประเด็นด้านเสถียรภาพทางการเมืองหลังจากผู้นำทางทหารของเมียนมาเข้ายึดอำนาจและประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี ซึ่งส่งผลฉุดรั้งความเชื่อมั่นของนักลงทุนและคู่ค้าในระยะนับจากนี้ และอาจมีผลให้พัฒนาการทางเศรษฐกิจของเมียนมาในระยะยาวหยุดชะงักลงไปได้

อ่านต่อ : https://www.krungsri.com/th/research/research-intelligence/regional-recovery-2021

เวียดนามเผย ม.ค. นำเข้ารถยนต์ 212 ล้านเหรียญสหรัฐ

ตามข้อมูลของกรมศุลกากร ระบุว่าในเดือนมกราคม เวียดนามนำเข้ารถยนต์เพิ่มขึ้นราว 85% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 เป็นรถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศ (CBU) จำนวน 8,343 คัน คิดเป็นมูลค่ารวม 212.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่จะนำเข้ารถยนต์จากไทยและอินโดนีเซีย จำนวน 4,341 คัน (84.5 ล้านเหรียญสหรัฐ) และ 1,437 คัน (19.2 ล้านเหรียญสหรัฐ) ตามลำดับ ทั้งนี้ ในปี 2563 เวียดนามนำเข้ารถยนต์ทุกประเภทที่ผลิตในต่างประเทศ จำนวน 100,000 คัน ด้วยมูลค่ารวม 2.35 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 24.5% ในแง่ของปริมาณ และ 25.6% เมื่อเทียบกับปี 2561 อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยเป็นตลาดนำเข้ารถยนต์รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม จำนวน 52,647 คัน รองลงมาอินโดนีเซีย จีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-spends-over-us-212-million-importing-cars-in-january-28233.html

เวียดนามนำเข้ารถยนต์ 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากรายงานของกรมศุลกากรเวียดนาม ระบุว่าเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน เวียดนามนำเข้ารถยนต์ที่ผลิตต่างประเทศ (CBU) จำนวน 86,000 คัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงมูลค่าการนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์อยู่ที่ 3.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงเวลาเดียวกัน ทั้งนี้ เวียดนามนำเข้ารถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ อยู่ที่ราว 5.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 1.3 พันล้านดอลลาราสหรัฐ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศไทยและอินโดนีเซีย มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 350 ล้านด่อง (15,000 ดอลลาร์สหรัฐ) – 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (51,700 ดอลลาร์สหรัฐ) นอกจากนี้ ทางผู้เชี่ยวชาญ มองว่าขนาดของการผลิต, การยกเว้นภาษี เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการเข้าถึงส่วนแบ่งทางการตลาดขนาดใหญ่

ที่มา : https://e.vnexpress.net/news/business/industries/vietnamese-spend-1-9-bln-on-imported-cars-4195897.html