รมว. คลังกัมพูชากล่าว ในช่วงฤดูแล้งกัมพูชาจะยังคงไม่ขาดแคลนไฟฟ้า

กระทรวงเหมืองแร่และพลังงานกัมพูชาได้ย้ำว่าจะไม่มีการขาดแคลนพลังงานในช่วงฤดูแล้งในปีนี้ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเหมืองแร่และพลังงานยืนยันว่าประชาชนและภาคธุรกิจจะไม่ประสบปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าในช่วงระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน ซึ่งนักลงทุนเอกชนผู้พัฒนาระบบไฟฟ้าภายในประเทศยืนยันกับรัฐบาลเพื่อให้แน่ใจว่าแหล่งจ่ายไฟในประเทศมีความเสถียรภาพมากขึ้น โดยในช่วงฤดูแล้งของปีที่แล้วประเทศประสบปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้า 400 เมกะวัตต์ เนื่องจากการขาดแคลนน้ำในการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ ซึ่งในปี 2019 แหล่งจ่ายไฟของกัมพูชาเพิ่มขึ้น 28% เป็น 3,382 mW โดยแหล่งพลังงานหลักในการดำเนินงานของกัมพูชาคือเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ 7 แห่ง ที่สร้างพลังงานทั้งหมด 1,328 mW คิดเป็น 33.5% ของพลังงานทั้งหมดภายประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50707162/minister-reiterates-no-more-power-shortage-during-the-dry-season/

เมียนมากำหนดเป้าหมายผลิตไฟฟ้ารองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น

การกระทรวงไฟฟ้าและพลังงานลงทุนประมาณ 1.2 ล้านล้านจัต เพื่อผลิตไฟฟ้าเพิ่มเติม 700 เมกะวัตต์สำหรับความต้องการพลังงานในประเทศ ปัจจุบันผลิตกระแสไฟฟ้าอยู่ที่ 700 เมกะวัตต์เพิ่มเติมและมีแผนผลิตเพิ่มอีก 1,000 เมกะวัตต์ภายในกลางปีนี้ ได้การอนุมัติให้กับบริษัทต่างประเทศ 6 แห่งเพื่อผลิตพลังงานเพิ่มเติม โดยลงทุน 6.76 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อผลิตเกือบ 4,000 เมกะวัตต์จากโครงการก๊าซธรรมชาติและพลังงานน้ำ นอกเหนือจากพลังงานจากก๊าซธรรมชาติและพลังงานน้ำแล้วยังมีการเตรียมการเพื่อพัฒนา 40 เมกะวัตต์จากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ใน Minbu และอีก 50 เมกะวัตต์ จากสองพื้นที่ใกล้เคียง นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะพัฒนาสายไฟฟ้าข้ามพรมแดนเพื่อให้ได้ 1,000 เมกะวัตต์อีกด้วย ปัจจุบันโครงข่ายไฟฟ้าแห่งชาติของเมียนมาได้จัดหาพลังงานให้กับ 368 เมืองและ 16,000 หมู่บ้าน ปี 62 ร้อยละ 50 ของประเทศสามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้และมีแผนเพิ่มการเข้าถึงไฟฟ้า 55%  ในปี 64, 75% ในปี 68 และ และ 100% ในปี 73 ซึ่งมีการจัดสรรงบประมาณ 2.3 พันล้านจัต และ 1.3 พันล้านดอลลาร์จากธนาคารโลก ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย เพื่อนำมาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน เมื่อรัฐบาลนี้เข้ารับตำแหน่งมีเพียง 34% ของประเทศเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงกริดแห่งชาติ แต่ตอนนี้ได้เพิ่มเป็น 50%

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/govt-sets-goal-generating-more-electricity-meet-demand.html

กัมพูชาจ่ายไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากความต้องการภายในประเทศ

เนื่องจากความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นและกิจกรรมด้านการพัฒนาเพิ่มขึ้นจนทำให้แหล่งจ่ายหรือสถานีจ่ายไฟในกัมพูชาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามรายงานของกระทรวงเหมืองแร่และพลังงาน โดยรายงานระบุว่าสถานีจ่ายไฟสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าจาก 2,635 เมกะวัตต์ ในปี 2018 เป็น 3,382 เมกะวัตต์ ในปี 2562 เพิ่มขึ้น 28% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งพลังงานถูกสร้างขึ้นจากแหล่งต่างๆ ที่รวมอยู่ทั้งเขื่อน โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้าดีเซลและแผงเซลล์แสงอาทิตย์ โดยในปี 2562 แหล่งพลังงานหลักของกัมพูชาคือเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ 7 แห่ง ซึ่งผลิตพลังงานได้รวม 1,328 เมกะวัตต์ คิดเป็น 33.5% ของแหล่งพลังงานทั้งหมดภายในประเทศ ส่วนแหล่งพลังงานจากอื่นๆรวม 675 เมกะวัตต์ มาจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน 627 เมกะวัตต์ จากโรงไฟฟ้าดีเซลและจากพลังงานทดแทนอีก 123 เมกะวัตต์ โดยกัมพูชานำเข้าพลัง 626 เมกะวัตต์ จากเพื่อนบ้าน เช่นประเทศไทย เวียดนามและสปป.ลาวในปี 2562 เพิ่มขึ้น 41% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50690046/cambodias-power-supply-up-nearly-30-percent-as-demand-increases

สปป.ลาวคาดส่งออกไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้น 20,000 MW ภายในปี 2573

ไฟฟ้าถือเป็นรายได้ที่สำคัญสำหรับสปป.ลาว โดยในเดือนม.ค.-ต.ค. 62 มีมูลค่าการส่งออกไฟฟ้าประมาณ 1พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยตลาดที่สำคัญของสปป.ลาวคือประเทศเพื่อนบ้านและอาเซียน โดยมีการคาดการว่าสปป.ลาวจะส่งออกไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 20,000 MW ระหว่างปี 63-72 ปัจจุบันนอกจากความต้องการจากต่างประเทศมีมากแล้ว ความต้องการใช้ไฟฟ้าในสปป.ลาวพิ่มขึ้นเนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและจำนวนโรงงานในปี 62 โดยการบริโภคภายในประเทศคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1,800 เมกะวัตต์ในอีก 5 ปีข้างหน้า จากปริมาณความต้องการที่สูงขึ้นในพลังงานไฟฟ้า ทำให้รัฐบาลสปป.ลาววางแผนที่จะผลิตกระแสไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นและรองรับการเกิดโรงงานต่างๆในเขตเศรษฐกิจพิเศษที่จะเพิ่มปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นอีก เป็นผลให้ในปัจจุบันมีการเกิดขึ้นของโรงงานพลังงานไฟฟ้าจากทั้งภาครัฐและเอกชนจากทั้งในและนอกประเทศ ส่งเสริมทั้งการลงทุนและเกิดการจ้างงานที่มากขึ้นเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อไป

ที่มา :http://annx.asianews.network/content/laos-export-20000-mw-electricity-2030-112058