ธุรกิจสิงคโปร์ค้นหาซัพพลายเออร์สินค้าเกษตรจากเวียดนาม

คณะผู้แทนจากสิงคโปร์เข้าเยี่ยมชมเวียดนาม ในช่วงปลายเดือนนี้ เพื่อค้นหาซัพพลายเออร์ผักและผลไม้และเน้นในการร่วมมือธุรกิจ ตลอดจนการถ่ายทอดโอนเทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตสินค้าเกษตร เนื่องมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ยอดการนำเข้าจากจีนลดลง ทางกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MOIT) ระบุว่าปัจจัยข้างต้นอาจจะเป็นทางออกในการแก้ไขปัญหาด้านการส่งออกสินค้าเกษตรกรรมของเวียดนามจากการแพร่ระบาดชองไวรัส ทำให้ภาคธุรกิจของสิงคโปร์ต้องหาตลาดใหม่ โดยเฉพาะตลาดกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทยและเวียดนาม เพื่อรองรับทางการค้าหยุดชะงักกับจีน ประกอบกับสิงคโปร์เป็นประเทศที่พึ่งพาการนำเข้าสินค้าเกษตร ด้วยโอกาสนี้ เวียดนามขยายการส่งออกผักผลไม้ไปยังสิงคโปร์และลดการค้ากับจีน นอกจากนี้ จากตัวเลขสถิติศุลกากร แสดงให้เห็นว่าในเดือนม.ค. มีมูลค่าการส่งออกรวมอยู่ที่ 280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 20.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันเดือนก่อนหน้า สำหรับตลาดนำเข้าผักผลไม้รายใหญ๋ที่สุดของเวียดนาม ได้แก่ จีน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 64.8 ของมูลค่าส่งออกผักผลไม้ทั้งหมด แต่ในเดือน ม.ค. มูลค่าการส่งออกไปยังจีนลดลงร้อยละ 32.4 ด้วยมูลค่า 173.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/622670/singapore-firms-seek-suppliers-of-agricultural-products-in-viet-nam.html

ธุรกิจญี่ปุ่นลงทุนภาคการค้าปลีกและบริการในเวียดนาม

ภาคการค้าปลีกและบริการเวียดนาม คาดว่าจะดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่นจำนวนมากในปีนี้ จากข้อมูลขององค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JETRO) เปิดเผยว่ากำลังซื้อของชาวเวียดนามที่เพิ่มขึ้นทั่วประเทศนั้น ทำให้ผู้ประกอบการค้าปลีกและบริการชาวญี่ปุ่น มองหาโอกาสธุรกิจในตลาดที่กำลังเติบโต ถึงแม้ว่าการลงทุนของญี่ปุ่นจะลดลงในปีที่แล้ว แต่จำนวนโครงการใหม่ของนักลงทุนญี่ปุ่นกลับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ซึ่งจำนวนโครงการที่จดทะเบียนแตะระดับสูงสุดอยู่ที่ 435 โครงการในปีที่แล้ว ทั้งนี้ จากผลการสำรวจของเจโทร ระบุว่าผู้ประกอบการชาวญี่ปุ่นที่ทำธุรกิจในเวียดนามส่วนใหญ่ร้อยละ 63.9 ตั้งใจที่จะขยายธุรกิจในประเทศ นับว่าเวียดนามเป็นประเทศที่มีอัตราการลงทุนสูงสุดในอาเซียน ในขณะเดียวกัน องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ได้กล่าวกับสื่อท้องถิ่นว่าเมื่อ 3 ปีก่อน ว่าประเทศไทยเป็นตลาดที่น่าสนใจอย่างมากสำหรับนักลงทุนและผู้ประกอบการชาวญี่ปุ่น แต่ด้วยแนวโน้มในปัจจุบัน ผู้ประกอบการชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่หันมาลงทุนในเวียดนามแทน เนื่องจากจำนวนประชากรมากกว่า 96 ล้านคน ดังนั้น ภาคบริการจีงมีศักยภาพสูงและเป็นสาเหตุที่ผู้ค้าปลีกญี่ปุ่นหลายรายเข้ามาทำตลาดในเวียดนาม นอกจากนี้ กระทรวงการวางแผนและการลงทุน ระบุว่าธุรกิจญี่ปุ่นหลายรายมักจะระมัดระวังในการลงทุน ซึ่งจากข้อมูลสถิติการลงทุน ระบุว่าในปีที่แล้ว เม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่นอยู่ที่ 1.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/japanese-businesses-to-invest-in-vietnam-s-services-and-retail/169100.vnp

ACV คาดผลกำไรลดลง 6 ล้านล้านดองในปี 63 จากโควิด-19

จากข้อมูลขององค์กรท่าอากาศยานเวียดนาม (ACV) คาดว่ากำไรในปีนี้จะสูงถึง 1.7 ล้านล้านดอง (73.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ลดลงมากกว่า 6 ล้านล้านดองเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เนื่องมาจากผลกระทบของสถานการณ์แพร่ระบาดโรคโควิด-19 โดยในปีที่แล้ว บริษัทมีรายได้สุทธิอยู่ที่ 18.3 ล้านล้านดองและกำไรหลังหักภาษีอยู่ที่ 8.3 ล้านล้านดอง เป็นผลมาจากการเติบโตของปริมาณผู้โดยสารและการขนส่งสินค้าทางอากาศ ซึ่งในระหว่างการประชุมกับคณะรัฐมนตรี ระบุว่าทาง ACV ได้เสนอให้รัฐบาลและนายกรัฐมนตรีทำการพิจารณาความคืบหน้าของโครงการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการพัฒนาระบบดาดฟ้าเรือบรรทุกเครื่องบินในท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ตและท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่าย ทั้งนี้ เอกสารทางกฎหมายนั้น เป็นแนวทางในการกำหนดของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศเวียดนามปัจจุบัน ไม่ได้กำหนดบทบาทของผู้ประกอบการท่าอากาศยานอย่างชัดเจนในด้านการลงทุน พัฒนาและขยายธุรกิจท่าอากาศยาน ซึ่งมอบหมายให้ธุรกิจได้บริหารและการใช้หาประโยชน์ ซึ่งจากข้อมูลข้างต้นส่งผลต่อการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของท่าอากาศยานเวียดนาม (ACV) นอกจากนี้ ในวันที่ 31 ธ.ค. 62 บริษัทมีเงินฝากระยะสั้นราว 31.2 ล้านล้านดอง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น ด้วยปัญหาข้างต้น จึงดำเนินการร่างแก้ไขพระราชกฤษฎีกา 102/2015 เกี่ยวกับการดำเนินงานของท่าอากาศยาน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/ha-tinhs-cage-fish-farmers-restore-production/169071.vnp

ราคาทองคำพุ่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ราคาทองคำในประเทศเพิ่มขึ้นในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ขณะที่ ราคาทองคำโลกทะยานขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา โดยบริษัทไซง่อน จิเวลรี (SJC) ระบุว่าราคาขายทองคำอยู่ที่ 45.68 ล้านดอง (1,970.2 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อตำลึง ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากวันก่อนที่ 630,000 ดอง ทั้งนี้ ข้อมูลจากสำนักข่าวรอยเตอร์ ระบุว่าราคาทองคำพุ่งทำสถิติสูงสุดในรอบ 7 ปี และเป็นสัปดาห์ที่ดีที่สุดในรอบ 6 เดือน เนื่องมาจากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยเพิ่มขึ้น หลังผู้เสียชีวิตจากโคโรนา ซึ่งในตลาดท้องถิ่น บริษัท Bao Tin Minh Chau Jewelry ในกรุงฮานอย เปิดเผยว่าในช่วงเวลาข้างต้น มีการทำธุรกรรมทองคำสำหรับผู้ซื้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 55 และผู้ขายร้อยละ 45 ขณะเดียวกัน ทางบริษัทระบุในเว็บไซต์ว่านับเป็นโอกาสที่ดีแก่นักลงทุนในการทำกำไร อย่างไรก็ตาม ผู้ค้าทองคำส่วนใหญ่มองว่าไม่เห็นถึงความแตกต่างอย่างมากกับจำนวนลูกค้าที่ซื้อทองคำ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/gold-prices-soar-at-home-and-abroad/169035.vnp

เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในจ.ห่าติ๋ญ ได้ฟื้นฟูการผลิต

เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในจ.ห่าติ๋ญ ได้ดำเนินการลงทุนเพื่อฟื้นฟูการผลิต หลังจากเผชิญกับอุปสรรคอย่างหนักในช่วงต้นเดือนกันยายนของปีนี้ เนื่องมาจากฝนตกหนักและน้ำท่วม ทำให้ปลาหลายสิบตันตาย ซึ่งชาวเกษตรกรท้องถิ่นที่ใช้กรงกรงเพาะพันธุ์ปลา หันมาใช้ประโยชน์จากแม่น้ำ ‘Do Diem’ โดยสินค้าส่วนใหญ่ใช้ในการบริโภคภายในจังหวัดและตลาดขนาดใหญ่ ทั้งนี้ ข้อมูลจากสำนักงานเกษตรและพัฒนาชนบท ระบุว่าจะดำเนินการป้องกันจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วมในปีที่แล้ว ส่งผลให้คณะกรรมจังหวัดได้ตัดสินใจที่จะผลักดันเงินรวม 707 ล้านดอง (30,400 ดอลลาร์สหรัฐ) แก่ชาวเกษตรกรที่ใช้กรงดักจับปลา ซึ่งการเลี้ยงปลาที่ใช้กรงเพาะพันธุ์ปลาในพื้นที่เปิดของแม่น้ำจะมีข้อได้เปรียบมากกว่าลักษณะเพาะพันธุ์ปลาแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านคุณภาพและผลผลิตของปลา ดังนั้น นักเพาะพันธุ์ปลาจำเป็นต้องติดตามปฏิทินฤดูกาลและสภาพอากาศ เพื่อที่จะลดความเสียหายให้น้อยที่สุด

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/ha-tinhs-cage-fish-farmers-restore-production/169071.vnp

ส่งออกผักผลไม้เวียดนามลดลง ในเดือนมกราคม

จากข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในเดือนมกราคม เวียดนามส่งออกผักผลไม้กว่า 280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 20.6 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งทางกรมการนำเข้าและส่งออกภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าในเดือน ม.ค. ยอดส่งออกผักผลไม้ไปยังจีนลดลงมากกว่าร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว มูลค่าส่งออกลดลงดังกล่าวเกิดจากการประกาศปิดด่านชั่วคราว เนื่องมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ด้วยเหตุนี้ กระทรวงฯ ได้เสนอให้ธุรกิจปรับการผลิตและส่งออกไปยังตลาดอื่นเพิ่มขึ้น อาทิ สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่นและออสเตรเลีย ทั้งนี้ ทางสมาคมผักผลไม้เวียดนาม (VINAFRUIT) ตั้งเป้ายอดส่งออกรวมในปี 2563 อยู่ที่ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากข้อตกลงการค้าเสรี นอกจากนี้ ข้อตกลง CPTPP จะช่วยให้เปิดตลาดใหม่แก่สินค้าเวียดนาม รวมถึงตลาดส่งออกสำคัญที่มีการเติบโต ได้แก่ อาเซียน (26.6%), สหรัฐอเมริกา (10.7%) และสหภาพยุโรป (32.2%)

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/fruit-veggie-exports-decline-in-january/168921.vnp

อุตฯป่าไม้ของเวียดนาม มียอดส่งออกเพิ่มขึ้น 10% ในปีนี้

จากข้อมูลของสมาคมผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้เวียดนาม (VIFORES) เผยว่าในปีนี้ การส่งออกผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูปและผลิตภัณฑ์ไม้รวม มีมูลค่า 12.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยตลาดรายใหญ่ที่สุด คือ สหรัฐอเมริกาที่มีมูลค่า 6.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว รองลงมาญี่ปุ่น สหภาพยุโรปและจีน ตามลำดับ ทั้งนี้ แนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯมีทิศทางในเชิงบวกในปีนี้ จากการที่ความต้องการเฟอร์นิเจอร์เพิ่มขึ้น นับว่าเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไม้เวียดนามในการเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดในตลาดดังกล่าว ในขณะเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าสหรัฐฯเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้น ธุรกิจสหรัฐฯ จะเพิ่มการนำเข้าเฟอร์นิเจอร์จากตลาดอื่นๆ รวมถึงเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังคงเผชิญกับการฉ้อโกงทางการค้าด้วยการปลอมแปลงแหล่งกำเนิดสินค้า เนื่องจากสินค้าที่ผลิตในจีนได้ถูกส่งออกมายังเวียดนาม และจากนั้นส่งออกไปยังสหรัฐฯ พร้อมกับติดฉลากสินค้าที่ผลิตในเวียดนาม (made-in-Viet Nam) เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีนำเข้า นอกจากนี้ กระบวนการออกใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าควรตรวจสอบอย่างรอบคอบ เพื่อให้แน่ใจว่าใบรับรองดังกล่าวได้รับอนุมัติให้ใช้กับผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรอง

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/602457/forestry-industry-to-gain-export-value-growth-of-10-this-year.html