เวียดนามคาดความต้องการใช้ปูนซีเมนต์โต 4-5% ในปีนี้

จากข้อมูลของกระทรวงก่อสร้างเวียดนาม คาดความต้องการใช้ซีเมนต์ในปีนี้เติบโตร้อยละ 4-5 จากการฟื้นตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยความต้องการใช้ซีเมนต์คาดอยู่ที่ 101-103 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4-5 ในปีก่อน หากจำแนกแหล่งที่มาของการใช้ซีเมนต์ พบว่าปริมาณการใช้ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศราว 69-70 ล้านตัน และส่งออกไปยังต่างประเทศ 32-34 ล้านตัน ทั้งนี้ จากข้อมูลของกรมวัสดุก่อสร้างคาดว่ามีปูนซีเมนต์อยู่ 2 สายการผลิตในปีนี้ ส่งผลให้จำนวนสายการผลิตซีเมนต์ทั้งหมดของเวียดนามอยู่ที่ 86 ของผลผลิตรวม หรือปริมาณผลผลิต 105.84 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม ตลาดวัสดุก่อสร้างในปีนี้ยังคงอยู่ในสถานการณ์ปกติ/ไม่เปลี่ยนแปลงจากในปีก่อนและอาจชะลอตัว สำหรับอุปสรรคของผู้ประกอบการซีเมนต์ในปัจจุบัน ได้แก่ ราคาเชื้อเพลิงและค่าแรงงานที่สูงขึ้น รวมถึงประเด็นสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี เป็นต้น ซึ่งมีการหยิบข้อเสนอการเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมสำหรับผู้ผลิตซีเมนต์ นอกจากนี้ ทางกระทรวงฯ ระบุว่าการส่งออกซีเมนต์จากจีนและไทยจะเพิ่มขึ้น ดังนั้น เวียดนามจะเผชิญกับความท้าทายในการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในตลาดโลก

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/592356/cement-demand-forecast-to-climb-4-5-this-year.html

“สนามบินก่าเมา” ตั้งเป้ารองรับผู้โดยสาร 1 ล้านคนต่อปี

จากข้อมูลขององค์การบริหารการบินพลเรือนเวียดนาม (CAAV) ได้เตรียมยกระดับขีดความสามารถของสนามบินก่าเมา (Ca Mau) ที่อยู่ในทางตอนใต้ของเวียดนามและตั้งเป้ารองรับผู้โดยสาร 1 ล้านคนต่อปี ภายในปี 2573 ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้สนามบินมีความจุเพิ่มขึ้นสองเท่าจากแผนก่อนหน้า เพื่อที่จะรองรับผู้โดยสาร 1 ล้านคนต่อปี สำหรับแผนการอนุมัติในปี 2557 ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งอำนวยความสะดวก แต่ในแผนการปี 2573 นั้น จะได้รับใบอนุญาตประเภท 4-C Category ตามมาตรฐานขององค์การบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) และยังสามารถให้บริการสนามบินทหารได้

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/ca-mau-airport-planned-to-serve-1-million-passengers-per-year-410162.vov

ผู้เชี่ยวชาญชี้เวียดนามจำเป็นหาตลาดข้าวใหม่ แทนตลาดจีน

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (Covid-2019) จะส่งผลต่อการส่งออกของเวียดนามไปยังประเทศจีน สำหรับการเก็บเกี่ยวข้าวฤดูหนาว-ใบไม้ผลิที่จะเริ่มต้นเก็บเกี่ยวในพื้นที่กู๋ลองยาง (ราบลุ่มแม่น้ำโขง) ทั้งนี้ ในจังหวัดเหิ่วซางมีพื้นที่เพาะปลูกอยู่ที่ 1,000 เฮกตาร์ ได้รับผลกระทบจากการรุกตัวของน้ำเค็ม แต่ชาวเกษตรได้เก็บเกี่ยวข้าวก่อนที่จะได้รับผลกระทบอยู่หลายร้อยเฮกตาร์และผลผลิตเก็บเกี่ยวอยู่ที่ 7.7 ตันต่อเฮกตาร์ ในส่วนราคาสินค้าเกษตรยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากต้องหาตลาดใหม่ นอกจากนี้ ทางบริษัท VinaFood เปิดเผยว่าเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา ตลาดจีนเป็นตลาดข้าวของเวียดนามรายใหญ่ที่สุด แต่ในปัจจุบันมีการขยายตัวส่งออกไปยังหลายๆประเทศ แสดงให้เห็นว่าการแพร่ระบาดของไวรัสอาจไม่กระทบมากนักต่อการส่งออกของเวียดนาม ซึ่งในปีที่แล้ว ตลาดฟิลิปปินส์ถือเป็นตลาดส่งออกข้าวรายใหญ่ที่วุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 885 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงควรขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ๆ ได้แก่ แอฟริกาและตะวันออกลาง เป็นต้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/592304/viet-nam-needs-to-find-new-rice-markets-to-replace-china-experts.html

การเติบโตของภาคอุตสาหกรรมเวียดนามในไตรมาสที่ 1 คาดว่าขยายตัว 3%

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ ขยายตัวร้อยละ 2.68 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ถ้าการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (COVID-19) อยู่ในการควบคุมได้ ซึ่งอุตสาหกรรมการแปรรูปและการผลิตเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศและมีส่วนแบ่งของสาขาอุตสาหกรรมมากที่สุด มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 2.38 สำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้ส่วนประกอบนำเข้าจากประเทศจีน จะได้รับผลกระทบอย่างมากเนื่องจากจีนเป็นแหล่งซัพพลายเออร์วัสดุและส่วนประกอบรายใหญ่ของเวียดนาม ขณะเดียวกัน อุตฯการผลิตที่ได้รับผลกระทบในทิศทางลบ ได้แก่ กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม กลุ่มผลิตยานยนต์และโลหะ เป็นต้น ทั้งนี้ หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสดังกล่าวดำเนินไปจนถึงสิ้นไตรมาสที่ 2 ซึ่งแนวโน้มการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 7 ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ นอกจากนี้ ทางสำนักงานสถิติเวียดนาม (GSO) ได้เสนอให้รัฐบาลสนับสนุนผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส ได้แก่ การหาซัพพลายเออร์ ลดอัตราภาษีการส่งออก-นำเข้าและกระตุ้นการบริโภคในประเทศ รวมไปถึงควบคุมเงินเฟ้อและรักษาเสียรภาพเศรษฐกิจมหภาคและตลาดการเงิน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/592301/industrial-sectors-growth-likely-to-hit-almost-3-in-q1.html

กลุ่มเครื่องนุ่งห่มเวียดนาม เตรียมผลิตหน้ากากในเดือน ก.พ. อยู่ที่ 6 ล้านชิ้น กัน ‘โคโรน่า’

กลุ่มสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเวียดนาม (Vinatex) เปิดเผยว่าในเดือน ก.พ. ได้เร่งการผลิตหน้ากากอนามัย 6 ล้านชิ้น เพื่อตอบสนองความต้องการในช่วงที่มีสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่  (COVID-19) ซึ่งมีกำลังการผลิต 10 ตันต่อวันที่ใช้ในทางการแพทย์ เนื่องจากไม่สามารถคาดการณ์ของสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสได้และทางสมาชิกสิ่งทอยังคงมุ่งเน้นในการผลิตหน้ากาก โดยในเดือน มี.ค. บริษัททำการผลิตอยู่ที่ 12 ล้านชิ้น ทั้งนี้ องค์กรอนามันโลก (WHO) ประกาศให้การระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ในขณะนี้เป็น “ความฉุกเฉินด้านสาธารณะสุขระหว่างประเทศ” เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสและขอให้ประชาชนควรสวมหน้ากากป้องกันเชื้อโรคและล้างมือบ่อยๆ นอกจากนี้ เวียดนามตรวจพบผู้ติดเชื้อ 16 ราย รวมถึงผู้ติดเชื้อ 11 รายที่อยู่ในจังหวัดหวิญฟุก

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/garment-group-to-provide-6-million-face-masks-in-february-amid-covid-19/168710.vnp

เวียดนามตั้งเป้า จ.ก่าเมา จะบรรลุตามเป้าหมายการส่งออก

จังหวัดก่าเมาอยู่ในทางตอนใต้ของเวียดนาม ได้หาแนวทางที่จะส่งเสริมผู้ประกอบการท้องถิ่นและผลักดันการส่งออกให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้อยู่ที่ 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ ท่ามกลางไวรัสโคโรน่า (COVID-19) โดยคณะกรรมการประชาชนประจำจังหวัดได้มุ่งเน้นในการปรับปรุงสภาพแวดล้อมสำหรับการประกอบธุรกิจและการลงทุน รวมถึงผลักดันโครงการเพิ่มประสิทธิภาพอุตสาหกรรมกุ้งในปี 2568 ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ติดตามหรือเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อให้มีมีความทันสมัย ดังนั้น ธุรกิจท้องถิ่นจึงต้องเตรียมการวางแผนการผลิตและแปรรูป ขณะที่ จากข้อมูลของกรมอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าข้อตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป (EVFTA) จะช่วยให้เวียดนามส่งออกกุ้งไปยังตลาดยุโรปเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ธุรกิจท้องถิ่นในจังหวัดก่าเมาได้สร้างรายได้ในเดือน ม.ค. 63 ประมาณ 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งตลาดส่งออกรายใหญ่ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ แคนาดา ออสเตรเลีย จีนและสหภาพยุโรปในทางตอนใต้ของเวียดนามังคงมุ่งเน้นในการผลิตหน้ากาก้องกันเชื้อ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/592306/ca-mau-looks-for-measures-to-achieve-export-turnover-target.html

รัฐสภายุโรปอนุมัติมติให้สัตยาบันข้อตกลง EVFTA และ EVIPA

จากที่ประชุมสภายุโรป (EP) เมื่อวันที่ 12 ก.พ. ให้สัตยาบันรับรองข้อตกลงเปิดการค้าเสรีระหว่างสหภาพยุโรป-เวียดนาม (EVFTA) และข้อตกลงการคุ้มครองการลงทุนเวียดนาม-สหภาพยุโรป (EVIPA) สำหรับข้อตกลง EVIPA มีมติในการประชุมด้วยเสียงข้างมาก 407 ต่อ 188 เสียง และงดออกเสียง 53 เสียง ขณะที่ ข้อตกลง EVFTA มีมติการประชุมด้วยเสียง 401, 192 และ 40 ตามลำดับ ทั้งนี้ ข้อตกลง EVFTA คาดว่าจะผลักดันการส่งออกของเวียดนามและการกระจายสินค้าไปขายในหลายๆตลาด ซึ่งผลจากข้อตกลงมีผลบังคับใช้ เวียดนามจะลดภาษีทันทีร้อยละ 65 ของสินค้านำเข้าจากสหภาพยุโรป และจะทยอยลดภาษีสินค้าที่เหลือภายในระยะเวลา 10 ปี ในขณะเดียวกัน สหภาพยุโปรจะลดภาษีทันทีร้อยละ 70 ของสินค้าส่งออกจากเวียดนาม และจะทยอยลดภาษีสินค้าที่เหลือภายในระยะเวลา 7 ปี นอกจากนี้ จากการวิจัยของกระทรวงการวางแผนและการลงทุนเวียดนาม (MPI) ระบุว่าข้กตกลงทั้งสองฝ่ายจะช่วยให้อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) จะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.6 และแนวโน้มการส่งออกของเวียดนามไปสภาพยุโรปจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 42.7 ในปี 2568 ในขณะเดียวกัน คณะกรรมาธิการยุโรปคาดว่ามูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับ 29.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และแนวโน้มการส่งออกของสหภาพยุโรปไปเวียดนามจะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 29 ในปี 2578

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/ep-ratifies-evfta-evipa-409974.vov