การค้าเมียนมา-บังกลาเทศ ดิ่งลง 2.39 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณนี้

ข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ เผย การค้าผ่านด่านชายแดนระหว่างเมียนมาและบังกลาเทศ ณ วันที่ 22 ต.ค.64 ในปีงบประมาณย่อย ของปีงบประมาณ 2564-2565 หรือช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างเดือนต.ค. ถึงเดือน มี.ค.64 มีมูลค่า 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 2.39 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเป็นการส่งออก 1.19 ล้านดอลลาร์ และการนำเข้า 0.01 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเมียนมาส่งออกสินค้าไปยังบังกลาเทศทั้งทางทะเลและทางบก การค้าชายแดนส่วนใหญ่ค้าขายผ่านเมืองซิตต์เวย์และเมืองมองตอ สินค้าที่ซื้อขายระหว่างสองประเทศ ได้แก่ ไม้ไผ่ ขิง ถั่วลิสง กุ้งน้ำเค็มและปลา ลูกพรุนนแห้ง กระเทียม ข้าว ถั่วเขียว ผ้าห่ม ลูกอม แยมลูกพรุน รองเท้า อาหารแช่แข็ง สารเคมี หนัง ผลิตภัณฑ์จากปอกระเจา ยาสูบ พลาสติก ไม้ เสื้อถัก และเครื่องดื่ม

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-bangladesh-bilateral-trade-drops-by-2-39-mln-this-fy/

วันแรกของเดือน พ.ย. กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรไปกว่า 41,000 ตัน

ตามฐานข้อมูลของกรมวิชาการเกษตร ในวันแรกของเดือนพฤศจิกายน กัมพูชาทำการส่งออกสินค้าเกษตรรวมกว่า 41,671.20 ตัน ไปยัง 10 ประเทศ ซึ่งสินค้าส่งออกสำคัญในช่วงดังกล่าว ได้แก่ ข้าวสารจำนวน 16 ล้านตัน ส่งออกไปยังเวียดนาม, มันฝรั่ง 11.25 ล้านตัน ส่งออกไปยังเวียดนามและไทย, ถั่วเหลือง 2.5 ล้านตัน ส่งออกไปยังเวียดนาม, มะม่วงสด 3,570.58 ตัน ส่งออกไปยังเวียดนาม จีน และไทย และกล้วยสด 3,532.96 ตัน ส่งออกไปยังจีน โดยเวียดนามและไทยยังคงเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญสำหรับสินค้าเกษตรของกัมพูชา ซึ่งในวันที่ 1 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา เวียดนามได้กลายเป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชาในปัจจุบัน โดยสินค้าทางการเกษตรที่สำคัญของกัมพูชา ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลังแห้ง มันสำปะหลังสด แป้งมันสำปะหลัง กากมันสำปะหลัง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ข้าวโพด ถั่วเหลือง กล้วยสด ส้มโอ มะม่วงสด น้ำเชื่อมมะม่วง น้ำมันมะพร้าว พริกไทย ยาสูบ และผักนานาชนิด เป็นต้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50964166/in-just-one-day-cambodia-exported-more-than-41000-tons-of-agricultural-products-main-to-vietnam/

จีนไฟเขียวนำเข้าพืชอุตสาหกรรมจากเมียนมา

ประเทศจีน ไฟเขียวอนุญาตให้นำเข้าพืชอุตสาหกรรมจากเมียนมาได้แก่ อ้อย ยางพารา ทรากาคานกัม (tragacanth gum) และฝ้าย ผ่านมณฑลยูนนาน ซึ่งอยู่ใกล้กับชายแดนชินฉ่วยฮ่อ (Chinshwehaw) ในรัฐฉาน แต่ทั้งนี้ต้องรออนุมัติจากกระทรวงพาณิชย์เมียนมาเสียก่อน ซึ่งก่อนหน้าจีนปิดด่านชายแดนทั้งหมดเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 โดยปกติแล้ว เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ได้แก่ ข้าว ถั่วและข้าวโพด อ้อย และพริก ส่วนการนำเข้าจะเป็น วัตถุดิบอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในกลุ่ม CMP (Cut Make Pack) เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าอุปโภคบริโภค จากข้อมูลพบว่า มูลค่าการนำเข้าผ่านชายแดนชินฉ่วยฮ่อ อยู่ที่ 461.378 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563-2564 ซึ่งลดลง 541.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากปีงบประมาณ 2562-2563

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/china-greenlights-import-of-myanmar-industrial-crops/#article-title

ในช่วง 10 เดือนแรก กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 47

กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง (MAFF) กัมพูชา รายงานถึงตัวเลขการส่งออกของสินค้าเกษตรที่มีปริมาณการส่งออกรวมอยู่ที่ 4,221,153 ตัน ในจำนวนนี้ไม่รวมข้าวสารและข้าวเปลือก ซึ่งคิดเป็นการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 47.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของก่อน โดยสินค้าเกษตรสำคัญของกัมพูชาที่ทำการส่งออก ได้แก่ มันสำปะหลัง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ข้าวโพด กล้วยสด ส้มโอ มะม่วง พริกไทย พริก และอื่นๆ ขณะที่การส่งออกข้าวโพด ยาสูบ และผักรวมลดลงอย่างรวดเร็ว ส่วนผลิตภัณฑ์จากมะม่วง (สด แยม น้ำเชื่อม) เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่ว ถั่วเหลือง และพริกไทย ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วระหว่างร้อยละ 120-400 ซึ่งตั้งแต่เดือนมกราคมถึงตุลาคม กัมพูชาส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเกือบ 84 ชนิด ยกเว้นข้าวสารและข้าวเปลือก ไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยสร้างรายได้ประมาณ 2.833 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50963305/cambodias-agricultural-exports-up-over-47-percent-in-first-10-months/

ไตรมาส 3 กัมพูชาส่งออกไปจีนขยายตัวร้อยละ 52

กระทรวงพาณิชย์กัมพูชา รายงานตัวเลขการส่งออกสินค้าของกัมพูชาไปยังจีน มีมูลค่ารวมมากกว่า 1.1 พันล้านดอลลาร์ ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ คิดเป็นการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 52.74 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกัมพูชานำเข้าสินค้าจากจีนมูลค่ารวม 6.8 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.32 ทำให้มูลค่าการค้าทวิภาคีระหว่างจีนและกัมพูชาอยู่ที่ 7.9 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งทั้งสองประเทศได้บรรลุข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ระหว่างกัน โดยรัฐบาลกัมพูชาได้ให้สัตยาบันไปเมื่อไม่นานนี้ ซึ่งสินค้าของกัมพูชาส่วนใหญ่ที่ถูกส่งออกไปยังจีนผ่าน FTA เป็นสินค้าเกษตร อาทิเช่น ข้าวสาร มันสำปะหลัง มะม่วง และกล้วย ในขณะที่การนำเข้าของกัมพูชาส่วนใหญ่จะเป็นวัตถุดิบสำหรับห่วงโซ่การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป วัสดุก่อสร้าง ยานพาหนะ ฯลฯ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50963082/q3-exports-to-china-see-52-increase-in-value/

ปีงบฯ 63-64การส่งออกวัว ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ลดฮวบ 88.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

การส่งออกผลิตภัณฑ์จากสัตว์ของเมียนมาในปีงบประมาณ 2563-2564 แตะระดับต่ำสุดที่ 18.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดฮวบลง 88.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2562-2563 ที่ 107.7 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากจีนระงับการนำเข้าปศุสัตว์บริเวณชายแดน ซึ่งการส่งออกวัวที่มีชีวิตพึ่งพาจีนเป็นหลักเนื่องจากได้ราคาดี แม้จะมีตลาดภายอื่นๆ เช่น ลาว ไทย มาเลเซีย และบังคลาเทศ โดยเมียนมาจะส่งออกวัวที่มีอายุมากกว่า 5 ปี พร้อมใบรับรองการฉีดวัคซีน ใบรับรองการตรวจสุขภาพ และใบรับรองการจดทะเบียนเกษตรกรรม จากการสำรวจในปี 2561 พบว่า เมียนมามีวัวในประเทศจำนวน 11.5 ล้านตัว ตั้งแต่ปี 2560 เมียนมาส่งออกวัวไปแล้วมากกว่า 540,000 ตัว ทั้งนี้กระทรวงเกษตร ปศุสัตว์ และการชลประทานจะมุ่งมั่นลงทุนในธุรกิจการเลี้ยงโคนมและธุรกิจ การผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/exports-of-cattle-animal-products-down-by-88-9-mln-in-fy2020-2021/

ส่งออกเสื้อผ้ากัมพูชาขยายตัวร้อยละ 11.4 ในช่วง 9 เดือนแรก

กัมพูชาส่งออกเสื้อผ้ามูลค่ารวม 8.24 พันล้านดอลลาร์ ระหว่างเดือน ม.ค.-ก.ย.ปีนี้ เพิ่มขึ้น 843.4 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นร้อยละ 11.4 จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แม้จะเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในกัมพูชา รายงานโดยกรมศุลกากรและสรรพสามิตกัมพูชา ซึ่งผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศของ Royal Academy of Cambodia กล่าวว่าการเติบโตของการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปจะส่งผลดีต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยกัมพูชาส่งออกเสื้อผ้ามูลค่ารวม 9.50 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งรวมถึงเครื่องแต่งกาย รองเท้า และกระเป๋า ในปี 2020 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.44 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50960588/cambodias-garment-exports-up-by-11-4-in-jan-sept-2021/

ส่งออกสินค้าเกษตรเมียนมา พุ่ง 132.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย 15 วันแรกของเดือนตุลาคม 2564 มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรอยู่ที่ 132.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของงบประมาณย่อย (Mini Budget) ตั้งแต่ ต.ค. 2564 ถึง มี.ค. 2565 เพิ่มขึ้น 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2563-2564  ที่ส่งออกสูงถึง 87.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นแม้จีนคู่ค้าหลักซึ่งปิดพรมแดนทั้งหมดจากการระบาดของ COVID-19 ในเมียนมา ซึ่งการระบาดกระทบต่อกลุ่มสินค้าส่งออก เช่น สินค้าเกษตร ประมง ปศุสัตว์ แร่ ผลิตภัณฑ์จากป่า สินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป และสินค้าอื่นๆ ในภาคการส่งออก อุตสาหกรรมการเกษตรคิดเป็น 37% ของการส่งออกโดยรวม สินค้าเกษตรส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวและข้าวหัก ถั่วและข้าวโพด ฯ ส่วนใหญ่สินค้าเกษตรส่งออกไปยังจีน สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย และศรีลังกาเป็นหลัก ปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์กำลังให้ความช่วยเกษตรกรในด้านต่างๆ เช่น ต้นทุนการผลิตที่สูง การจัดหาเมล็ดพันธุ์ ต้นทุนการเพาะปลูก และสภาพอากาศที่ไม่แน่นอน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/agricultural-export-tops-132-9-mln-as-of-15-oct/

กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรไปยังเกาหลีใต้ปริมาณรวมกว่า 1.2 พันตัน

ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ กัมพูชาทำการส่งออกสินค้าเกษตรปริมาณรวม 1,204 ตัน ไปยังเกาหลีใต้ หรือคิดเป็นการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 106 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รายงานโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ซึ่งในปี 2019 กัมพูชาส่งสินค้าทางการเกษตรปริมาณรวมกว่า 6,000 ตัน ไปยังประเทศในเอเชียตะวันออก ในทางกลับกันปี 2020 กัมพูชาส่งออกสินค้าการเกษตรปริมาณเพียง 584 ตัน จากผลกระทบของการแพร่ระบาด โดยในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีนี้ กัมพูชาทำการส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ยางธรรมชาติ ประมาณ 950 ตัน และมะม่วงสดประมาณ 124 ตัน รองลงมาคือน้ำตาลปี๊บ 29 ตัน และข้าวโพด 21 ตัน เป็นสำคัญ ซึ่งกัมพูชาคาดว่าจะมีการส่งออกผลิตผลทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ไปยังเกาหลีใต้เพิ่มขึ้น เนื่องจากทั้งสองประเทศได้ทำการลงนามข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) อย่างเป็นทางการแล้วเมื่อไม่นานมานี้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50959981/cambodia-exported-1204-tonnes-of-agricultural-products-to-south-korea/

รัฐบาลสปป.ลาวเร่งผลิตวัวส่งออกไปจีน

รัฐบาลกำลังส่งเสริมให้เกษตรกรใน 18 จังหวัดทั่วประเทศเลี้ยงโคเพื่อส่งออก โดยได้แรงหนุนจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากประเทศจีน ภายใต้ข้อตกลงที่ลงนามระหว่างรัฐบาลของทั้งสองประเทศ สปป.ลาวได้รับโควตาจำนวน 500,000 ตัวเพื่อส่งออกไปยังประเทศจีน โดยมีแนวทางในการใช้ประโยชน์จาโครงการรถไฟสปป.ลาว-จีนเพื่อส่งเสริมศักยาภาพในการส่งออก ปัจจุบันสปป.ลาวมีแผนที่จะผลิตโคอย่างน้อย50,000 ตัวต่อปีและเป้าหมายการเลี้ยงคู่ผสมพันธุ์ที่จะออกลูกและสนับสนุนฟาร์มเป้าหมายกว่า 100 แห่งเพื่อขยายจำนวนให้เพียงพอต่อความต้องการ ความท้าทายอย่างหนึ่งที่สปป.ลาวต้องเผชิญคือความจำเป็นต้องใช้เงินลงทุน 1.76 ล้านล้านกีบเพื่อดำเนินโครงการผลิตโคเชิงพาณิชย์รวมถึงการควบคุมโรคระบาดในโคซึ่งจะเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการขยายพันธุ์เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการจากจีน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt_205_21.php