WEF : เอเชียตะวันออกและแปซิฟิกเป็นภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขันเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลก

จากรายงานของเวิร์ล อีโคโนมิกส์ ฟอร์ม (World Economic Form : 2019) เปิดเผยว่าดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก ซึ่งกลุ่มประเทศแถบเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกเป็นภูมิภาคทางเศรษฐกิจที่ดีกว่าภูมิภาคอื่นๆ ด้วยคะแนนสารสนเทศมากที่สุด โดยประเทศสิงคโปร์ขึ้นแท่นเป็นอันดับที่ 1 ของโลก เป็นประเทศที่ได้คะแนนสูงที่สุด (84.8/100) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านความมั่งคงในเศรษฐกิจมหภาค ระบบการเงิน และประสิทธิภาพของตลาด เป็นต้น ทางด้านข้อมูลของประเทศเวียดนามที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดดสูงที่สุดในโลก ทำให้อันดับขยับเพิ่มขึ้นได้ถึง 10 อันดับ มาขึ้นเป็นอยู่ในอันดับที่ 67 ของโลกในปีนี้ เมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน อย่างเช่น ประเทศกัมพูชา (อันดับ 106) สปป.ลาว (อันดับ 113) ซึ่งการขาดดุลการค้าระหว่างประเทศมีนับสำคัญต่อการจัดอันดับข้างต้น

ที่มา :  https://vietnamnews.vn/economy/536849/wef-east-asia-pacific-the-worlds-most-competitive-regional-economy.html#voVbdo0if7cB2tIC.97

เวียดนามเผยการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มพุ่งสูงขึ้น 10.4% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 62

จากรายงานสถิติของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม (MOIT) เปิดเผยว่ายอดการส่งออกเสื้อผ้าและสิ่งทอเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ด้วยมูลค่าประมาณ 24.77 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 โดยสถานการณ์ผันผวนทางเศรษฐกิจทั่วโลก และความท้าทายของผู้ประกอบการสิ่งทอในประเทศต่อการดำเนินธุรกิจ ทำให้ส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยน ทำให้ราคาสินค้าที่เอาท์ซอร์ซนั้นเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มภูมิภาคเดียวกัน ได้แก่ เกาหลีใต้ และจีน เป็นต้น ในขณะที่ การใช้จ่ายของเส้นใยและวัตถุดิบสิ่งทอประสบปัญหา เนื่องมาจากประเทศจีนเป็นแหล่งตลาดส่งออกรายสำคัญของประเทศ ซึ่งได้ลดการนำเข้า ในขณะเดียวกัน เสื้อผ้าก็ได้รับผลกระทบจากยอดคำสั่งซื้อลดลง ซึ่งปัญหาดังกล่าวข้างต้น เกิดขึ้นมาจากความกังวลของผู้นำเข้าในประเทศนั้นๆ เกี่ยวกับสถานการณ์สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ที่ไม่มีท่าทีผ่อนคลายลง

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/textile-and-apparel-export-turnover-up-104-per-cent-in-nine-months-404623.vov

ส่องโอกาสธุรกิจร้านขายยาในเวียดนาม

เวียดนามเป็นอีกหนึ่งประเทศในอาเซียนที่มุ่งเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์ ตลอดจนส่งเสริมการทำธุรกิจร้านขายยา อีกทั้ง มองว่าการที่เข้ามาลงทุนเปิดร้านขายยาของบริษัทที่ไม่ได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพในเวียดนาม คาดว่าจะช่วยให้ตลาดนี้จะพัฒนามากขึ้น ทั้งอุตสาหกรรมยาเวียดนามมีศักยภาพสูงเพราะเวียดนามมีประชากรกว่า 90 ล้านคน พร้อมรายได้ที่สูงขึ้น และให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้นนับเป็นทิศทางที่ดีสำหรับธุรกิจด้านยาและเวชภัณฑ์ โดยปัจจุบัน รัฐบาลเวียดนามมีนโยบายส่งเสริมการผลิตยาในประเทศมากขึ้น จากการสิทธิประโยชน์ด้านการลดหย่อนภาษีนิติบุคคล ภาษีการนำเข้าปัจจัยการผลิต และการใช้ที่ดิน เป็นต้น ตลอดจนส่งเสริมการลงทุนด้านสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสุขภาพและโรงพยาบาล สำหรับกฎหมายใหม่ รัฐบาลเวียดนามได้ออกกฤษฎีกาหมายเลข 115/2018/ND-CP ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจด้านเภสัชกรรมในเวียดนามส่งผลให้บรรยากาศการแข่งขันทางธุรกิจในด้านดังกล่าวเปิดกว้างมากขึ้น นอกจากนี้ โอกาสธุรกิจยาไทย ในการแก้ไขกฤษฎีกาในครั้งนี้ จะส่งผลให้บริษัทเวียดนามและบริษัทต่างชาติ สามารถนำเข้าเวชภัณฑ์ยามายังเวียดนามได้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะยาเพื่อรักษาโรคที่ไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ซึ่งมีความต้องการสูง สำหรับผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจด้านยาและเภสัชภัณฑ์ของไทยที่สนใจบุกตลาดเวียดนามควรมองแนวโน้มการพัฒนาและขยายตัวของการกระจายสินค้าแบบ Modern Trade และรีบคว้าโอกาสในการเข้าสู่ตลาดและช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด

ที่มา : https://www.bangkokbanksme.com/en/vitenam-drugstore

ฮานอยยังคงเป็นจุดหมายในการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสูงสุด ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 62

จากข้อมูลของหน่วยงานคณะกรรมการประชาชนประจำนครเมือง (The Municipal People’s Committee) เปิดเผยว่ากรุงฮานอยมีมูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ประมาณ 6.23 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ โดยมูลค่าเงินทุนจากต่างประเทศ 503 ล้านเหรียญสหรัฐฯจากทั้งหมด จะนำไปส่งเสริมโครงการใหม่ 631 โครงการ และนักลงทุนต่างชาติอัดฉีดเงินทุนกว่า 5.22 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ไห้กับผู้ประกอบการในท้องถิ่น ผ่านการซื้อหุ้นและสนับสนุนเงินทุน ในขณะเดียวกัน กรุงฮานอยตั้งเป้ายอดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากกว่า 7.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2562 ซึ่งจะลงทุนผ่านการเป็นหุ้นส่วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่าประเทศญี่ปุ่นยังคงเป็นแหล่งเงินทุน FDI มากที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 10.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาสิงคโปร์ และเกาหลีใต้ ตามลำดับ นอกจากนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำลังดำเนินงานปรับปรุงให้เอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจ และเร่งปฏิรูปการบริหารภาครัฐ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/hanoi-remains-vietnams-biggest-fdi-magnet-in-nine-months-404452.vov

เวียดนามเผยยอดส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ไปยังจีนพุ่งสูงขึ้น ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 62

จากข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม (MoIT) เปิดเผยว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2562 เวียดนามส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ไปยังประเทศจีน ด้วยมูลค่า 327 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.4 ทางด้านปริมาณอยู่ที่ 42,199 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยสหรัฐอเมริกา จีน และเนเธอร์แลนด์ ยังคงเป็นผู้นำเข้าเม็ดมะม่วงหิมพานต์รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ในช่วงเวลาดังกล่าว ในส่วนของสถานการณ์การส่งออกสินค้าไปยังจีนนั้นอย่างเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง เนื่องมาจากความตึงเครียดของสงครามการค้าสหรัฐ-จีน เป็นต้น นอกจากนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแนะนำผู้ประกอบการให้ความสำคัญในการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และสร้างมาตรฐานความปลอดภัยอาหาร เพื่อให้สามารถส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศได้เพิ่มมากขึ้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnams-cashew-nut-exports-to-china-surge-in-nine-months-404405.vov

รายงาน : บริษัทอาหารและเครื่องดื่มเวียดนาม 10 อันดับแรกในปี 2562

จากรายงานทางการเวียดนาม ณ วันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมา เปิดเผยว่าบริษัทอาหารและเครื่องดื่มเวียดนามที่มีชื่อเสียง 10 บริษัท โดยบริษัทที่ได้รับการประเมินจะจัดอันดับตามหลักเกณฑ์ 3 หลัก ดังนี้ ความสามารถทางการเงินตามรายงานการบัญชี และความน่าเชื่อถือของการเข้าถึงสื่อ เช่น สื่อโฆษณา เป็นต้น รวมไปถึงผลการสำรวจเกี่ยวกับความพึงพอใจจากการที่ลูกค้าใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทดังกล่าว ซึ่งจากการสำรวจผู้บริโภคในเดือนกันยายนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าแบรนด์สินค้าที่ได้รับความนิยมสูงสุดที่ผู้บริโภคเลือก ได้แก่ Vissan (อาหารสด), Cai Lan (เครื่องเทศและน้ำมันไว้ทำอาหาร), Heineken (เบียร์และไวน์), Vinamilk (นม) และ Acecook (อาหารกระป๋องและบรรจุภัณฑ์) เป็นต้น ในขณะเดียวกัน ตามรายงานดังกล่าว ระบุว่าการสื่อสารมีส่วนสำคัญในการเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคสามารถรับรู้แบรนด์ที่มีชื่อเสียงได้ดีขึ้น และทำการตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น แต่ผู้ประกอบการอาหารและเครื่องดื่มเวียดนามส่วนใหญ่ระมัดระวังในการใช้สื่อ เพราะว่าขาดการควบคุมข้อมูล

ที่มา : https://en.nhandan.com.vn/business/item/7999802-vietnam-report-top-10-food-beverage-companies-in-vietnam-2019.html

“WEF” จัดขีดแข่งขันเวียดนามปี 62 ดีขึ้น ก้าวกระโดด 10 อันดับ

จากรายงานของสภาเศรษฐกิจโลก (The World Economic Forum : WEF) เปิดผลการจัดอันดับความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก ปี 2562 ระบุว่าเวียดนามก้าวมาอยู่ในอันดับที่ 67 ของโลก สามารถทำคะแนนรวมได้ 61.5 คะแนน จากทั้งหมด 100 คะแนน แสดงให้เห็นว่าประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ และพร้อมสำหรับการเป็นศูนย์กลางค้าในภูมิภาค ในขณะเดียวกัน เวียดนามอยู่ในความเสี่ยงต่ำที่สุดของด้านการก่อการร้าย และมีเสถียรภาพทางด้านอัตราเงิน ในส่วนของสถานการณ์ความตึงเครียดทางการเมืองและการค้านั้น จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และเกิดภาวะชะลอตัวทางการค้า นอกจากนี้ ประเทศสิงคโปร์มีความสามารถในการแข่งขันสูงที่สุดในโลก ได้คะแนน 84.8 คะแนน ซึ่งสามารถล้มแชมป์เก่า คือ สหรัฐอเมริกาได้ และจากรายงานดังกล่าว แนะนำให้สิงคโปร์จำเป็นต้องส่งเสริมผู้ประกอบการ และพัฒนาทักษะเพิ่มมากขึ้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-up-10-places-in-global-competitiveness-index/161767.vnp

สปป.ลาวและเวียดนามวางแผนร่วมกันเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว

สปป.ลาวและเวียดนามวางแผนที่จะร่วมกันส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อดึงดูดผู้เข้าชมให้มากขึ้น ซึ่งสปป.ลาวและเวียดนามวางแผนที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านกิจกรรมต่าง ๆ และได้พูดคุยถึงความเป็นไปได้สำหรับโปรแกรมการท่องเที่ยว และพิจารณาวิธีการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกและขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองและตกลงที่จะตรวจสอบสิ่งอำนวยความสะดวกผู้เข้าชมที่เว็บไซต์ท่องเที่ยวเพื่อให้แน่ใจว่าเพียงพอ นอกจากนี้ยังมีการพูดคุยกันคือทัวร์กลุ่มที่เดินทางจากสปป.ลาวไปยังเวียดนามและในทางกลับกันการสร้างผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวใหม่โฆษณาเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและวิธีดึงดูดการลงทุนเพื่อปรับปรุงเว็บไซต์ท่องเที่ยว ซึ่งข้อมูลจากกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยวระบุว่ามีนักท่องเที่ยวมากกว่า 2.2 ล้านคนที่มาเที่ยวสปป.ลาวในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นประมาณ 5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos224.php