ธุรกิจสุราท่ามกลางวิกฤต COVID -19

สมาคมผู้ค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เผยร้านเหล้าเกือบทั้งหมดในเย่างกุ้งปิดตัวลงประมาณร้อยละ 40  ผับและร้านเหล้าส่วนใหญ่เปิดให้บริการอีกครั้งหลังผ่านวิกฤติ COVID–19 ระลอกแรกแต่สถานการ์ในตอนนี้ดูเหมือนจะแย่ลงกว่าเดิม เนื่องจากเคอร์ฟิวที่มีมาตั้งแต่เมษายน การห้ามชุมนุม ผับและร้านเหล้าจึงถูกสั่งให้ปิดดำเนินการ บรรดาสถานประกอบการไม่สามารถจ่ายภาษีสรรพสามิต ภาษีอื่น ๆ ค่าเช่าร้านและค่าแรงได้ ดังนั้นจึงมีหนี้สินจำนวนมากและปิดตัวลง ภาครัฐจึงอาจจำเป็นต้องผ่อนปรนโดยอาจทำให้ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตสุราและภาษีเป็นงวด ภาษีของสุราต้องจ่ายร้อยละ 60 ของภาษีนอกเหนือจากค่าธรรมเนียมใบอนุญาตที่ค่อนข้างสูง ปัจจุบันภาครัฐได้ออกใบอนุญาตขายสุรา 9,389 ใบในเขตย่างกุ้งของปีงบประมาณ 61-62 คาดว่าปีนี้เมียนมาจะมีรายได้จากภาษีสรรพสามิต 1.3 จัตพันล้าน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/liquor-sector-among-latest-covid-19-casualty-local-economy.html

ความไม่แน่นอนในสถานการณ์ปัจจุบันยังคงมีผลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจกัมพูชา

ธนาคารโลกคาดการณ์ภาพรวมเศรษฐกิจกัมพูชาจะหดตัวลงอย่างมากถึงลบร้อยละ 2 ในปีนี้ ทั้งแนวโน้มการเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไปของกัมพูชาควบคู่ไปกับการจ้างงานภายในประเทศที่ต่ำลง ส่งผลไปถึงรายได้ภาคครัวเรือนที่ลดลงสู่การบริโภคภายในประเทศที่ลดลง โดยกัมพูชายังมีความเสี่ยงด้านลบรวมถึงการระบาดของโควิด-19 ในท้องถิ่นที่ยังไม่จบลงทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงอย่างมากเป็นเวลานาน รวมทั้งความตึงเครียดทางการค้าทั่วโลก โดยเศรษฐกิจของกัมพูชามีตัวขับเคลื่อนการเติบโตที่สำคัญ ได้แก่ การก่อสร้าง การท่องเที่ยว และการส่งออกสินค้า ยังคงได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤตโลกที่เกิดจากการระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบัน ในแง่บวกธนาคารโลกกล่าวว่าอุปสงค์ในประเทศของกัมพูชาจะค่อยๆกลับมารวมทั้งมีแนวโน้มที่ดีจากการเจรจาการค้าทวิภาคีในปัจจุบัน โดยคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ร้อยละ 4.3 ในปี 2021 และร้อยละ 5.2 ในปี 2022

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50767885/uncertainty-remains-over-economic-outlook/

เมียนมาออกใบอนุญาตการค้ามูลค่ากว่า 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงโควิด -19

กรมการค้าภายใต้กระทรวงพาณิชย์เผย ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนถึง 23 กันยายน 63 มีการออกใบอนุญาตสำหรับการซื้อขายทั้งหมด 23,820 ใบซึ่งมีมูลค่าประมาณ 8.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยทุกคนสามารถขอใบอนุญาตการซื้อขายทางออนไลน์ได้แล้ว ซึ่งสามารถให้บริการเกือบ 200 จาก 300 ใบอนุญาตโดยไม่ต้องมีการพบกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เกือบร้อยละ 70 ของใบอนุญาตทั้งหมดได้ดำเนินการทางออนไลน์ตั้งแต่ COVID-19 ระบาดครั้งแรกเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยสามารถชำระค่าธรรมเนียมได้ทางออนไลน์กับ Myanmar Payment Union ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 63 พิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ (Harmonized System) รหัส 888 และ 650 HS จะได้รับการขยายการส่งออกและการนำเข้าสำหรับการสมัครออนไลน์ตามลำดับ โดยมีการเตรียมการสำหรับการสมัครออนไลน์เต็มรูปแบบ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-issues-over-us8-billion-worth-trade-permits-during-covid-19.html

GMAC ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอเรียกคืนสิทธิพิเศษทางการค้าจาก EU ต่อกัมพูชา

สมาคมผู้ผลิตเครื่องนุ่งห่มของกัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมาธิการยุโรปจากผลกระทบของ COVID-19 และการถูกเพิกถอนสิทธิประโยชน์ทางการค้า Everything but Arms (EBA) ของสหภาพยุโรปบางส่วน ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 12 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยส่งผลกระทบต่อการส่งออกของกัมพูชาไปยังสหภาพยุโรปประมาณ 1 ใน 5 ของมูลค่าการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ซึ่งภาคเสื้อผ้า รองเท้าและสินค้าเพื่อการเดินทาง มีมูลค่ารวม 1.1 พันล้านยูโรสำหรับการส่งออก แบ่งเป็นการส่งออกเสื้อผ้ามูลค่าราว 770 ล้านยูโร, รองเท้า 210 ล้านยูโร และสินค้าด้านการท่องเที่ยว 120 ล้านยูโร โดยการถอนสิทธิพิเศษทางการค้าในครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงตลาดในสหภาพยุโรปของกัมพูชาประมาณร้อยละ 20 ซึ่งจากการสำรวจสมาชิกพบว่าผู้ผลิตรองเท้ามีปริมาณการผลิตลดลงเฉลี่ยร้อยละ 20-40 ในช่วงครึ่งแรกของปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50767213/gmac-seeks-court-order-to-restore-trade-perks-from-eu/

เศรษฐกิจไทยศักยภาพต่ำลง ซมพิษโควิด-19 ธปท.แนะรัฐปรับโครงสร้างทันที

ธปท.ชี้พิษโควิด-19 ทำเศรษฐกิจไทยศักยภาพต่ำลง การแข่งขันลด แต่ความเหลื่อมล้ำเพิ่มสวนทาง จี้รัฐปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจทันที ก่อน “ทุน” หมด พร้อมแนะหยุดมาตรการเบี้ยหัวแตก แจกเงินเหวี่ยงแห แต่เจาะกลุ่มที่จำเป็น นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยในงานสัมมนาวิชาการของ ธปท.ประจำปี 2563 ในหัวข้อ “ปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ทำอย่างไรให้เกิดได้จริง” ว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 เพิ่มความรุนแรงของความเหลื่อมล้ำในเศรษฐกิจ และสังคมไทย ความเปราะบางในระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งลดทอนความสามารถในการแข่งขัน มากขึ้น ส่งผลต่อศักยภาพการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า ดังนั้น ต้องปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจให้เกิดผลได้จริง และต้องทำทันที เพื่อรองรับชีวิตวิถีใหม่ เพราะธุรกิจหลังโควิด-19 จะมีการแข่งขันสูงขึ้น นอกจากนี้ ต้องลดพึ่งพาภาคเศรษฐกิจใดภาคหนึ่งมากจนเกินไป จากปัจจุบัน ที่พึ่งพาการส่งออกมาก โดยต้องกระจายทรัพยากร และกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง โดยรัฐต้องสร้างแรงจูงใจให้เกิดการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ บนรากฐาน 3 ด้าน คือ 1.คนไทยและธุรกิจไทยต้องมีผลิตภาพสูง มีความสามารถในการแข่งขัน 2.ต้องมีภูมิคุ้มกันที่ดี รับมือสถานการณ์ต่างๆ ที่ผันผวน ซับซ้อนและคลุมเครือในอนาคต 3.การกระจายผลประโยชน์จากการเติบโตเศรษฐกิจ ต้องทั่วถึง ไม่เกิดความเหลื่อมล้ำรุนแรงขึ้น  อย่างไรก็ตาม การดำเนินมาตรการหลังจากนี้ควรทำภายใต้แนวคิด 3 ด้านคือ 1.การเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะสั้น ต้องสอดคล้องกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ด้านที่ 2 การปฏิรูปโครงสร้างจะไม่เกิดขึ้นได้จริง หากไม่สามารถย้ายทรัพยากรจากภาคเศรษฐกิจหนึ่งไปสู่อีกภาคเศรษฐกิจหนึ่งได้ ดังนั้น รัฐต้องสนับสนุนการโยกย้ายทรัพยากรจากภาคเศรษฐกิจที่มีกำลังการผลิตส่วนเกินไปยังภาคเศรษฐกิจที่มีศักยภาพสูงกว่า ส่วนด้านที่ 3 ยกระดับชนบท โดยให้ท้องถิ่นเป็นเป้าหมายสำคัญของการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ เพราะโควิดทำให้แรงงานย้ายกลับภูมิลำเนามากกว่า 1 ล้านคน ซึ่งจะต้องทำให้แรงงานเหล่านี้ เปลี่ยนเป็นพลังพลิกฟื้นเศรษฐกิจในต่างจังหวัด.

ที่มา: https://www.thairath.co.th/news/business/1940138

เวียดนาม, ไทยจะก้าวเป็นผู้ผลิตแล็ปท็อปชั้นนำของโลก

สำนักข่าวญี่ปุ่น Nikkei Asian Review ได้อ้างรายงานของ Market Intelligence & Consulting Institute (MIC) กล่าวว่าในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะผลิตแล็ปท็อปครึ่งหนึ่งของโลกในปี 2573 โดยคาดว่าเวียดนามและไทยจะเป็นศูนย์กลางการผลิตสำคัญของภูมิภาค สำหรับบทความดังกล่าว ชี้ให้เห็นถึงต้นทุนแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้นในจีน ประกอบกับทั่วโลกต้องการที่จะลดการพึ่งพามากเกินไปในภูมิภาคเดียวและปัจจัยสำคัญในการเปลี่ยนแปลงก็ตกไปอยู่ที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ ในปี 2562 ตลาด PC ทั่วโลกที่มีจำนวนอยู่ที่ 160 ล้านชิ้น ซึ่งกว่าร้อยละ 90 มาจากจีน และส่วนใหญ่จะผลิตสินค้าในไต้หวัน ในขณะที่ มีเพียงส่วนน้อยที่ผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ญี่ปุ่น ระบุว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ได้กระตุ้นให้เกิดการสื่อสารทางไกลและเรียนออนไลน์มากขึ้น ในขณะเดียวกัน ความต้องการคอมพิวเตอร์ ‘Chromebook’ ก็เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย

 ที่มา : https://vov.vn/en/economy/vietnam-thailand-to-emerge-as-leading-laptop-producers-781897.vov

ผลกระทบของ COVID-19 สู่การหยุดชะงักทางเศรษฐกิจของกัมพูชา

ผู้ประกอบการรายย่อย, ขนาดเล็กและขนาดกลาง (MSMEs) กำลังเผชิญกับการหยุดชะงักของการดำเนินกิจการและการหยุดชะงักของยอดขายรวมถึงการบริการที่ลดลงอันเป็นผลมาจาก COVID-19 โดย MSMEs ถือเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของการเติบโตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจมาอย่างยาวนานในกัมพูชา ซึ่งในกัมพูชา MSMEs ถูกระบุว่ามีบทบาทสำคัญในการสร้างงาน การสร้างรายได้ ให้กับประชากรที่อยู่ในช่วงผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะ MSMEs ในกัมพูชามีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 70 ของการจ้างงานทั้งหมด และมีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 58 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่ง Angkor Research and Consulting. ได้เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมโดยร่วมมือกับ Future Forum เพื่อทำการศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจในปีนี้ โดยข้อมูลที่พบในการศึกษาชี้ให้เห็นว่ารายได้สุทธิเฉลี่ยของผู้ประกอบการในครัวเรือนลดลงร้อยละ 56 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ซึ่งในระดับจังหวัดผลสำรวจระบุว่ากรุงพนมเปญและกัมปงสปือได้รับผลกระทบเชิงลบมากที่สุดระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน ในขณะที่กำปอตได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ทั้งจากการขนส่งที่แย่ลงสู่การท่องเที่ยวที่ทรุดตัวอย่างหนัก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50765790/economic-disruption-of-covid-19/

หวั่นโควิดรอบ 2 จำกัดขนส่งสินค้าข้ามเมียนมาเหลือ 6 คัน

นายยงยุทธ นาคแดง รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก(ขบ.) เปิดเผยถึงการขนส่งสินค้าระหว่างไทย-เมียนมาในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ว่า ปัจจุบันปริมาณการขนส่งสินค้าบริเวณด่านพรมแดนแม่สาย จังหวัดเชียงรายลดลง เนื่องจากการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นในเมียนมา ทำให้ไทยต้องยึดมาตรการด้านสาธารณสุขเป็นหลัก ในขณะเดียวกัน ปริมาณการขนส่งสินค้าบริเวณด่านพรมแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีปริมาณการขนส่งสินค้าราว 1,000 เที่ยวต่อวัน แต่ปัจจุบันหลังเกิดสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ทางประเทศเมียนมามีการจำกัดปริมาณการเดินรถขนส่งสินค้าข้ามประเทศ ส่งผลให้ปริมาณการขนส่งสินค้าด่านดังกล่าวเหลือเพียง 6 คันต่อวัน ขณะเดียวกันจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างหนักในเมียนมา ทำให้ต้องควบคุมด้านความปลอดภัยในการเข้า-ออกประเทศ เพื่อลดการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบ 2

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/450100

ค้าชายแดนมูเซกลับมาเปิด หลังคลายล๊อคด่านหลุยลี่

การค้าชายแดนที่ด่านมูเซของรัฐฉานกลับมาเปืดอีกครั้งหลังจากสำนักงานศุลกากรในเมืองหลุ่ยลี่ของจีนเริ่มเปิดทำการ ในวันที่ 22 กันยายน 63  การค้าชายแดนระหว่างเมียนมาและจีนถูกระงับหลังจากด่านหลุ่ยลี่ถูกปิดไปเมื่อวันที่ 15 กันยายน 63 ภายหลังตรวจพบผู้ติดเชื้อ COVID-19 ในขณะที่การเดินทางออกนอกเมืองหลุ่ยลี่ยังคงถูกจำกัด ซึ่งสินค้าอนุญาตให้ผ่านชายแดนได้แต่คนขับรถบรรทุกของเมียนมาต้องสับเปลี่ยนรถกับคนขับรถของจีนก่อนที่สินค้าจะถูกนำเข้า คาดว่าจะมีการส่งออกข้าวประมาณ 20,000 ถุงจากเมียนมาในวันนี้ มูลค่าการค้าที่ด่านมูเซสูงสุดในบรรดาด่านชายแดนโดยมีการส่งออกรวม 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 62-63 และการนำเข้าจากจีนสูงถึง 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/border-trade-muse-resumes-after-ruili-restrictions-relaxed.html

สปป.ลาวยืนยันความมุ่งมั่นเพื่อให้แน่ใจว่าประเทศจะยังอยู่ในสถานะ Least Developed Country

สปป.ลาวกำลังดำเนินการอย่างแข็งขันเพื่อดำเนินโครงการ Istanbul Program of Action (IPOA)  นายทองพันธ์ สะหวันเพ็ชรรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ระดับสูงประจำปี 2563 โดยมีคณะผู้แทนจาก 47 ประเทศ ประเทศหุ้นส่วนการพัฒนาเครือข่ายสหประชาชาติและองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม   ในการประชุมได้เน้นย้ำถึงความสำเร็จในการดำเนินโครงการต่ายๆ รวมถึงความท้าทายใหม่จากผลกระทบของ COVID -19 ต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในด้านการท่องเที่ยว การค้าและการลงทุนซึ่งส่งผลให้สูญเสียรายได้จำนวนมากและส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของผู้คน สปป.ลาวเรียกร้องให้ประเทศหุ้นส่วนและสถาบันการเงินระหว่างประเทศให้ความช่วยเหลือประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดต่อไป โดยเฉพาะในรูปแบบของ Official Development Assistance (ODA) ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อนโยบายระยะสั้นระยะกลางและระยะยาวซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่าประชาชนและธุรกิจจะได้รับการสนับสนุน

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos_reaffirms_184.php