เมียนมาห้ามรถบรรทุกวิ่งในช่วงเวลาเคอร์ฟิว

Myanmar Container Truck Association (MCTA) ออกประกาศให้รถบรรทุกทุกคันทั่วประเทศห้ามวิ่งรถในช่วงเวลาเคอร์ฟิวที่รัฐบาลกำหนดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระหว่างเวลา 12.00 น. ถึง 04.00 น. ในย่างกุ้งมีรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์วิ่งต่อวันประมาณ 3,000 คัน แต่จำนวนลดลงเหลือประมาณ 1,000 คันเนื่องจากการระบาดของ COVID-19

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/container-trucks-warned-avoid-driving-during-curfew-hours.html

‘โควิด’ ฉุดธุรกิจลดจ้างงาน 75%

ถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ถึงภาคแรงงาน การจ้างงานที่มีดีมานด์ลดลงอย่างมาก จากการวิเคราะห์ของ “จ๊อบไทย” (JobThai) ผู้ให้บริการหางานสมัครงานออนไลน์ ระบุว่า องค์กรมีความต้องการแรงงานในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2563 รวมกันอยู่ที่ 303,776 อัตรา โดย ก.พ.เปิดรับสูงสุด 124,629 อัตรา แต่ในช่วง มี.ค.-เม.ย. การจ้างงานลดลง 16.5% ซึ่งเป็นช่วงที่มีตัวเลขผู้ติดเชื้อสูงขึ้นและกระจายวงกว้างมากขึ้น เมื่อวิเคราะห์ลงในรายละเอียด พบว่า ประเภทธุรกิจมีความต้องการแรงงานมากที่สุด คือ “อาหาร-เครื่องดื่ม” เนื่องจากผู้บริโภคยังคงมีการใช้จ่ายในหมวดสินค้าและบริการที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวัน ตรงข้ามกับ “ธุรกิจท่องเที่ยว” ที่มีความต้องการแรงงานน้อยที่สุด ผลจากการที่ภาคการท่องเที่ยวหดตัวรุนแรง หลายประเทศรวมถึงประเทศไทยที่ประกาศใช้มาตรการจํากัดการเดินทางระหว่างประเทศและมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติในไทยลดลง จึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจกลุ่มนี้ ซึ่งต่อเนื่องถึงธุรกิจโรงแรม รีสอร์ท สปาและสนามกอล์ฟ สำหรับทิศทางของตลาดแรงงานจากนี้ไป คาดว่าจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป เมื่อดูสถิติช่วงต้นเดือน ก.ค. พบว่าสายอาชีพที่มีแนวโน้มเปิดรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ ฟรีแลนซ์ อาจารย์-ครูและกลุ่มบุคลากรด้านสุขภาพ ได้แก่ แพทย์ เภสัชกรและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/896714?utm_source=homepage_hilight&utm_medium=internal_referral

รัฐบาลสปป.ลาวช่วยเหลือคนตกงานผ่านกองทุนประกันสังคมแห่งชาติ (NSSF) 12 พันล้านกีบ

แรงงานที่เป็นสมาชิกของโครงการประกันสังคมมีสิทธิ์ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินผ่านกองทุนประกันสังคมแห่งชาติ (NSSF) สำหรับการว่างงานชั่วคราวหรือการสูญเสียงานจากสถานการณ์แพร่ระบาด COVID-19 นำมาซึ่งการปิดตัวของโรงงานและธุรกิจต่างๆ ส่งผลให้อัตราการว่างเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25 และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกถึงแม้สปป.ลาวจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้แล้วก็ตาม กองทุนประกันสังคมแห่งชาติ (NSSF) จะให้การสนับสนุนทางการเงินเทียบเท่ากับร้อยละ 60 ของเงินเดือนพนักงานผู้ประกันตนเพื่อครอบคลุมค่าครองชีพในแต่ละวันของแรงงานเป็นมาตราการบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19   ปัจจุบันองค์กรเอกชน 249 แห่งได้ส่งเอกสารที่จำเป็นเพื่อขอความช่วยเหลือทางการเงิน กองทุนประกันสังคมแห่งชาติ (NSSF) ได้จ่ายเงินไปแล้วกว่าประมาณ 12 พันล้านกีบเพื่อช่วยเหลือพนักงานกว่า 12,000 คนจากองค์กรเอกชน 202 แห่งทั่วประเทศ

ที่มา: http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt171.php

กัมพูชาเผยช่วง 8 เดือนแรกปีนี้ ‘อังกอร์ รีสอร์ท’ รองรับนักท่องเที่ยว 400,000 คน

หน่วยงาน “Angkor Enterprise” เปิดเผยว่าอุทยานโบราณสถานอังกอร์ในจังหวัดเสียมฐาน สามารถรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 393,293 คน ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ด้วยมูลค่า 18,332,011 ดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขข้างต้น ชี้ให้เห็นว่านักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงร้อยละ 74.66 ขณะที่ รายได้ลดลงร้อยละ 73.61 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 8,817 คน ที่เข้ามาเยี่ยมชมปราสาทเกาะแกร์ (Koh Ker) จ.พระวิหาร และสร้างรายได้จากการขายตั๋วถึง 88,170 ดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ภาคการท่องเที่ยวของกัมพูชายังคงได้รับผลกระทบอย่างหนัก เช่นเดียวกันหลายๆประเทศทั่วโลก เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50759735/angkor-resort-received-400000-tourists-in-first-eight-months/

เวียดนามเผยยอดค้าปลีกและบริการลดลง ในเดือน สิ.ค.

เมื่อเร็วๆนี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เพิ่งประกาศสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในเดือนสิงหาคม พบว่ายอดค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการรวม อยู่ที่ 442,900 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนก่อน เนื่องจากพบการระบาดใหม่ที่ดานัง อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับปีที่แล้ว ยอดค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 หากจำแนกพบว่ารายได้จากการท่องเที่ยวลดลงมากที่สุด ร้อยละ 62 ด้วยมูลค่า 974 พันล้านด่อง รองลงมารายได้จากที่พักอาศัย ลดลงร้อยละ 15 ในขณะที่ รายได้จากค้าปลีกลดลงเพียงร้อยละ 0.2 ยิ่งไปกว่านั้น รายได้จากบริการอื่นๆ ลดลงร้อยละ 4.5 ด้วยมูลค่ามากกว่า 46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ยอดค้าปลีกสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการ อยู่ที่ 3.22 ล้านด่อง ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เมืองไฮฟอง (Hai Phong) เป็นเมืองที่มียอดค้าปลีกสูงที่สุดเมื่อเทียบกับปี 2562 รองลงมาฮานอย ด่งนายและโฮจิมินห์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8, 9.4 และ 8.3 ตามลำดับ ขณะที่ ดานังและคั้ญฮหว่า มียอดค้าปลีกลดลงร้อยละ 5-6 นอกจากนี้ รายได้จากการท่องเที่ยวในช่วง 8 เดือน อยู่ที่ประมาณ 13,100 พันล้านด่อง ลดลงร้อยละ 54.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุมาจากเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้นโยบายการท่องเที่ยวในประเทศไม่ได้ดำเนินมาใช้ รวมถึงนักท่องเที่ยวยกเลิกทริปทัวร์และงานเทศกาลอีกหลายแห่ง

ที่มา : https://vnexplorer.net/retail-sales-of-consumer-goods-and-services-decreased-in-august-a202088640.html

JICA ปล่อยเงินกู้ให้เมียนมา 280 ล้านดอลลาร์เพื่อสู้กับวิกฤติ COVID-19

รัฐบาลเมียนมาและองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้มูลค่า 30 พันล้านเยน (280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในเนปยีดอเมื่อวันอังคารที่ 1 กันยายน 2563 เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจตามแผนบรรเทาเศรษฐกิจ COVID-19 (CERP) และนโยบายที่เกี่ยวข้องสำหรับการลงทุนและการส่งเสริมการค้ารวมทั้งการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการเงิน ซึ่งตามแผน CERP คาดว่าจะมีการกู้เงินมาเพื่อใช้ตามแผนมูลค่ารวม 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ครั้งนี้ถือเป็นมาตรการที่สองของ JICA ซึ่งในเดือนมิถุนายน 63 ที่ผ่านมาได้เปิดตัวโครงการจัดหาเงินทุนสำหรับ SME มูลค่า 5,000 ล้านเยน เมื่อสัปดาห์ที่แล้วสหภาพยุโรปและเมียนมาได้ลงนามข้อตกลงด้านการเงินเพื่อสนับสนุนภาคการเกษตรและโภชนาการ  โดยจะลงทุน 180 พันล้านจัตในอีก 5 ปีข้างหน้าเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรปศุสัตว์และการชลประทาน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/jica-gives-myanmar-280m-loan-budget-support.html

แม้ท่องเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้น แต่ยังน้อยกว่านักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ

จากความพยายามของรัฐบาลในการลดผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด -19 แม้การเดินทางเพิ่มขึ้นของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในประเทศ แต่ไม่น่าจะชดเชยการขาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งการท่องเที่ยวที่ตกต่ำไม่เพียงส่งผลกระทบต่อธุรกิจเท่านั้น แต่ยังส่งผลอย่างมากต่อรายได้ที่คนในท้องถิ่นได้รับ หลายคนระมัดระวังการใช้จ่ายเนื่องจากความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น การเดินทางที่ลดลงอย่างรวดเร็วส่งผลให้เกิดการสูญเสียงานในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เช่น โรงแรมและร้านอาหารคิดเป็นร้อยละ 11 ของงานทั้งหมดและร้อยละ 22 เของงานในเขตเมือง ตามรายงานล่าสุดของธนาคารโลก โรงแรมและสถานที่พัก ร้านอาหาร บริษัท ทัวร์และผู้ประกอบการขนส่งอื่น ๆ ได้รับผลกระทบหนักที่สุดและอาจจะเลิกทำธุรกิจ มีการคาดการการฟื้นตัวอาจจะใช้เวลาถึงหนึ่งปี หากการระบาดของ COVID-19 ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้การสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยวอาจมากกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือร้อยละ 2.7 ของ GDP ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในวังเวียงและหลวงพระบางโดยเฉพาะผู้ให้บริการขนส่งอาหารและที่พักรวมถึงร้านค้าปลีกได้รับผลกระทบอย่างหนัก การลดลงของนักท่องเที่ยวจากประเทศเพื่อนบ้านรวมถึงจีนในไตรมาสแรกของปี 2663 ทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงจากการจำกัดการเดินทางและการปิดพรมแดนลาวอย่างต่อเนื่อง ในช่วงหกเดือนแรกของปี 2563 จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศลดลงร้อยละ 60 มื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ก่อน ธุรกิจ SMEs ที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเป็นธุรกิจที่มีแรงงานเป็นจำนวนมากจะมีความเสี่ยงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิกฤตเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน การเติบโตอย่างช้าๆ ส่งผลกระทบต่อรายได้ครัวเรือน อย่างไรก็ตามการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศทำให้ภาคเอกชนสามารถปรับปรุงบริการและพัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเพิ่มเติมเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับวิกฤตหลัง COVID-19 ได้ดีขึ้น ในปี 2563 สปป.ลาวมีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ 4.58 ล้านคนเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับปี 2561 จำนวนนักท่องเที่ยวจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 27 ในขณะที่สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นร้อยละ 22

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Domestic_170.php

กัมพูชาและเกาหลีใต้เตรียมจัดเจรจา FTA รอบ 2

วันนี้เกาหลีใต้ประกาศการเจรจาการค้าเสรี (FTA) รอบที่ 2 กับกัมพูชาในสัปดาห์นี้เนื่องจากกัมพูชาพยายามขยายการส่งออกเพราะผลกระทบทางเศรษฐกิจจากของการระบาด COVID-19 กัมพูชาเป็นแหล่งส่งออกอันดับที่ 58 ของโลก เป้าหมายเพื่อมีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับ 4 ของเอเชีย โดยมีกำหนดจะเริ่มการประชุมแบบ Virtual meeting .ในอีกสี่วันซึ่งการจัดการเจรจารอบแรกในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 63 ภายหลังหนึ่งปีหลังจากที่นายกรัฐมนตรีฮุนเซนของกัมพูชาเสนอให้มีการเตรียมการสำหรับสนธิสัญญาการค้าเสรีทวิภาคีระหว่างการประชุมสุดยอดกับประธานาธิบดีมุนแจอินของเกาหลีใต้ที่พนมเปญในเดือนมีนาคม 62 การประชุมครั้งนี้จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการกำหนดขอบเขตของสินค้าผลิตภัณฑ์ตลอดจนวิธีอื่น ๆ ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจทวิภาคี กัมพูชากำลังลดการพึ่งพาจีนและสหรัฐอเมริกาในการส่งออกเนื่องจากทั้งสองประเทศต้องใช้เวลาการขนส่งสินค้าขาออกโดยรวมมากถึงร้อยละ 40 ข้อมูลของสมาคมการค้าระหว่างประเทศของเกาหลีพบว่าปริมาณการค้าระหว่างสองประเทศแตะระดับสูงสุดตลอดกาลที่ 1 พันล้านดอลลาร์สหรับ ในปี 62 เพิ่มขึ้น 6% จากปีก่อนหน้า โดยเกาหลีใต้ส่งออกไปยังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มูลค่าถึง 697 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 62 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 เกินดุลการค้าถึง 361 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเทศส่วนใหญ่ส่งออกรถบรรทุกสินค้า เครื่องดื่ม และสิ่งทอถักไปยังกัมพูชาในขณะที่การนำเข้าจะเป็นเสื้อผ้าและรองเท้า เมื่อลงนามในสนธิสัญญาแล้วกัมพูชาจะถูกเพิ่มเข้าไปในรายชื่อพันธมิตรคู่ค้า FTA ของเกาหลีใต้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งปัจจุบันครอบคลุมเวียดนามและสิงคโปร์ ซึ่งกรุงโซลและกรุงมะนิลาจัดการเจรจา FTA เป็นรอบที่ 5 ในเดือนมกราคม 63 และอยู่ระหว่างดำเนินการการเจรจากับมาเลเซียและกำลังรอพิธีลงนามอย่างเป็นทางการในกรอบข้อตกลง Comprehensive Economic Partnership Agreement (CEPA) กับอินโดนีเซีย

ที่มา: https://www.khmertimeskh.com/50758831/cambodia-and-south-korea-set-to-hold-2nd-round-of-fta-talks/

สปป.ลาวคาดการส่งออกลดลงจากการระบาด covid-19

สปป.ลาวคาดมูลค่าการส่งออกจะลดลงอย่างน้อย 483 ล้านดอลลาร์ในปีนี้ ซึ่งเป็นจำนวนเงินมหาศาลสำหรับประเทศเล็ก ๆ ที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล หลังจากการระบาดของโรคโควิด -19 ทำให้โรงงานต้องปิดกิจการ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้ากล่าวว่ารัฐบาลตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มการส่งออกเป็น 6.42 พันล้านดอลลาร์ แต่การส่งออกในช่วง 7 เดือนแรกอยู่ที่ 2.32 พันล้านดอลลาร์ท่ามกลางการขาดดุลการค้าจำนวนมาก มีการคาดการณ์ว่าการส่งเงินกลับประเทศไปยังสปป.ลาวจะลดลงประมาณร้อยละ 50 ในปี 63 อันเป็นผลมาจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาด แรงงานชาวสปป.ลาวมากกว่า 100,000 คนได้เดินทางกลับบ้านเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด -19 ส่วนใหญ่ทำงานในประเทศไทยส่วนที่เหลือทำงานในเกาหลีใต้และญี่ปุ่น ธนาคารโลกระบุเมื่อเดือนมิถุนายนว่าการระบาดของโรคนี้สามารถผลักดันให้ผู้คนจำนวนมากถึง 214,000 คนเข้าสู่ความยากจน  การส่งออกได้รับผลกระทบอย่างมากในช่วงเดือนมีนาคมถึงมิถุนายนหลังจากที่รัฐบาลสั่งระงับการดำเนินการโรงงานเนื่องจากการระบาดของโรคระบาด แต่ระบุว่าตัวเลขดังกล่าวดีขึ้นภายในเดือนกรกฎาคมท่ามกลางการเปิดประเทศบางส่วนและการผ่อนคลายข้อจำกัดการปิดกั้น

ที่มา : https://www.ucanews.com/news/covid-19-expected-to-slash-laos-exports/89341#

รัฐบาลเมียนมาตั้งเป้า GDP โต 6% ในปีงบประมาณ 63-64

รัฐสภาได้อนุมัติกฎหมายการวางแผนแห่งชาติสำหรับปีงบประมาณ 63-64 ซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตในอัตราร้อยละ 6 จากการคาดการณ์ของปีงบประมาณ 62-63 จะขยายตัวร้อยละ 7แต่เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 คาดว่าจะเติบโตเพียงร้อยละ 4.3 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการระบาดของ COVID-19 ธนาคารโลกคาดการณ์ว่า GDP ของเมียนมาจะเติบโตร้อยละ 7.2 ในปี 63-64 ขณะที่ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียการคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 6 ภาคการผลิตไฟฟ้าคาดว่าจะเติบโตมากที่สุดร้อยละ 12.7 ในปีงบประมาณหน้า ส่วนที่สามารถเห็นการเติบโตได้คือการสื่อสาร การธนาคารและการเงินการ ขนส่ง และการก่อสร้าง ด้านการค้าคาดว่าจะเติบโตขึ้นด้วยการส่งออกรวม 16.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและการนำเข้าจะสูงถึง 18.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐทำให้ขาดดุลการค้า 34,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/govt-targets-6-gdp-growth-2020-21.html