รัฐบาลกัมพูชารายงานตัวเลขการส่งออกสินค้าภาคการเกษตรในปี 2020

กัมพูชาส่งออกสินค้าภาคการเกษตรอยู่ที่ 4.037 พันล้านดอลลาร์ในปี 2020 ตามข้อมูลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรป่าไม้และประมง โดยสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ข้าวสาร ผลิตภัณฑ์จากการสีข้าว มันสำปะหลัง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ มะม่วง ยางพารา กล้วย ลำไย พริกไทย รังนก สินค้าประมง ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้และสินค้าอื่น ๆ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรกล่าวว่าข้าวถือเป็นส่วนสำคัญของการส่งออกสินค้าเกษตรของกัมพูชา โดยกัมพูชามีพื้นที่นาประมาณ 3.26 ล้านเฮกตาร์ที่ได้ทำการเก็บเกี่ยว ให้ผลผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 3.34 ตันต่อเฮกตาร์ ซึ่งผลผลิตข้าวเปลือกทั้งหมดของปี 2020 อยู่ที่ 10.93 ล้านตัน เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศโดยมีข้าวเหลือเพื่อการส่งออกถึง 5.9 ล้านตัน โดยกัมพูชาทำการส่งออกข้าวเปลือกสูงถึง 2.89 ล้านตันในปี 2020 สร้างมูลค่ารวม 723.48 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50800406/ministry-shares-2020-agri-export-numbers/

เกษตรฯเร่งขยายตลาดสินค้าฮาลาลไปตะวันออกกลาง-แอฟริกาเหนือ

กระทรวงเกษตรฯ.รุกขยายตลาดสินค้าฮาลาลในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ สั่งเร่งลงทุนอุตสาหกรรมเกษตรใน 3 จังหวัดภาคใต้อีกทั้งเห็นชอบวิสัยทัศน์ฮาลาล เมื่อวันที่ 14 ธ.ค.นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารมว.เกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมสินค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐาน “ฮาลาล” ครั้งที่ 7/2563 ประชุมผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting ร่วมกับ ตัวแทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง สถาบันการศึกษา และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามการพัฒนาและส่งเสริมมาตรฐาน “ฮาลาล” ในภาคการเกษตรไทยให้ก้าวไกลสู่ระดับนานาชาติทั้งระบบ ทั้งนี้ ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร ประธานคณะอนุกรรมการส่งเสริมการค้าสินค้าและผลิตผลการเกษตรมาตรฐาน “ฮาลาล” รายงานความก้าวหน้าของโครงการเปิดเส้นทางโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่มโอกาสการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารฮาลาลของไทยผ่านดูไบ เพื่อประโยชน์ต่อการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังกลุ่มตลาดที่สำคัญในตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ นอกจากนี้ ที่ประชุมฯเห็นชอบ”วิสัยทัศน์ฮาลาล” รวมถึงความคืบหน้าโครงการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมเกษตรใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ และประเด็นสำคัญเรื่อง การแก้ไขปัญหาเนื้อวัวปลอมปนเนื้อสุกร ซึ่งที่ประชุมได้สรุปแนวทางแก้ไขปัญหา โดยศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะให้บริการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ขณะที่ ผู้แทนกรมปศุสัตว์ได้รายงานความก้าวหน้าในการดำเนินการและการแก้ไขปัญหาดังกล่าว พร้อมสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคทั้งผู้บริโภคภายในและต่างประเทศ ต่อมาตรฐานสินค้าเกษตรอาหารฮาลาลไทย

ที่มา: https://www.posttoday.com/economy/news/640268

ADB อนุมัติเงินกู้ 70 ล้านดอลลาร์สำหรับภาคการเกษตรของกัมพูชา

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้อนุมัติเงินกู้ราว 70 ล้านดอลลาร์เพื่อปรับปรุงขีดความสามารถของธุรกิจด้านการเกษตรใน 6 จังหวัดทั่วกัมพูชาในการแปรรูปสินค้าเกษตรที่สำคัญ โดยมีสหกรณ์การเกษตรกว่า 230 แห่ง และธุรกิจด้านการเกษตร 50 แห่ง เข้าร่วมโครงการพัฒนาด้านการเกษตร ซึ่ง ADB กล่าวว่าการเกษตรถือเป็นส่วนสำคัญที่สามารถช่วยให้เศรษฐกิจกัมพูชาเติบโตและกระจายความหลากหลายทางเศรษฐกิจได้ หากธุรกิจทางการเกษตรขนาดเล็กและขนาดกลางในท้องถิ่นสามารถปรับปรุงความสามารถในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและทำการตลาดทั้งในและต่างประเทศได้ โดยการลงทุนภาคเอกชนในภาคการเกษตรควบคู่ไปกับการเข้าถึงสินเชื่อและวัตถุดิบคุณภาพสูงจากทางผู้ผลิตจะช่วยให้ธุรกิจการเกษตรของกัมพูชาแสดงถึงศักยภาพในการส่งเสริมการเติบโตของประเทศ รวมถึงสร้างงานและปรับปรุงวิถีชีวิตในชนบท

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50789891/adb-approves-loans-worth-70-million-for-cambodias-agricultur/

จุรินทร์ ปลื้มราคาปาล์ม-ยางดีขึ้นมาก ช่วยหนุนรายได้เกษตรกร

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า วันนี้เดินทางไปติดตามสถานการณ์ราคายางพารากับปาล์มน้ำมัน รวมทั้งมาตรการประกันรายได้เกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งขณะนี้ถือเป็นข่าวดีที่ราคายางพาราและปาล์มน้ำมันดีขึ้นมากในช่วงระยะเวลา 1 เดือนที่ผ่านมา โดยราคาปาล์มเฉลี่ยอยู่ที่ กิโลกรัมละ 6-7 บาท และราคายางพาราเหนือกว่าเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้เกษตรกรชาวภาคใต้และเกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศสามารถมีรายได้ที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 มีเป้าหมายกิโลกรัมละ 60 บาท แต่วันนี้ขึ้นไปกิโลกรัมละ 60-65 บาท ยางแผ่นรมควันแตะ 70 บาทต่อกิโลกรัม น้ำยางข้น มีเป้าหมายกิโลกรัมละ 57 บาท วันนี้อยู่ที่ 55-56 บาทต่อกิโลกรัม ยางก้อนถ้วยกิโลกรัมละ 22 บาท ทั้งภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ซึ่งถือว่าราคายางอยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่าปีที่แล้ว ที่ราคายางพาราอยู่ที่กิโลกรัมละ 40 บาท ส่วนปีนี้อยู่ที่กว่า 60 บาทต่อกิโลกรัม อย่างไรก็ตามหากราคาปรับลดลง รัฐบาลก็ยังมีนโยบายประกันรายได้ที่จะเข้าไปชดเชยส่วนต่างที่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 60 บาทสำหรับยางแผ่น และต่ำกว่ากิโลกรัมละ 57 บาทสำหรับน้ำยางข้น และกิโลกรัมละ 23 บาท สำหรับยางก้อนถ้วยชดเชยให้กับเกษตรกร

ที่มา: https://www.ryt9.com/s/iq03/3181861

ADB อนุมัติเงินกู้ส่งเสริมห่วงโซ่อุปทานการเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหารในกัมพูชา

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) ได้อนุมัติเงินกู้ 70 ล้านดอลลาร์ เพื่อปรับปรุงขีดความสามารถของธุรกิจภาคการเกษตรใน 6 จังหวัดทั่วกัมพูชาในการแปรรูปสินค้าเกษตรที่สำคัญ เช่น มันสำปะหลัง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ มะม่วง ผัก และสัตว์ปีก ภายใต้โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเพิ่มความปลอดภัยของห่วงโซ่คุณค่าทางการเกษตร โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างประโยชน์ให้กับสหกรณ์การเกษตร 230 แห่ง และธุรกิจด้านการเกษตร 50 แห่งทั่วกัมพูชา ซึ่งมองว่าภาคการเกษตรสามารถช่วยเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจ หากธุรกิจด้านการเกษตรไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือขนาดกลางในท้องถิ่นสามารถปรับปรุงความสามารถในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เพื่อสร้างมูลค่าให้กับผลผลิตและทำการตลาดในประเทศและต่างประเทศได้ โดยปัจจุบันสินค้าแปรรูปจากภาคเกษตรมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 4 ของ GDP เนื่องจากไม่มีผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มที่หลากหลาย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50787037/adb-approves-70-million-loan-to-strengthen-agricultural-value-chain-and-food-safety-in-cambodia/

ติวเข้มเกษตรกรมุ่งใช้เอฟทีเอส่งออกสินค้าท้องถิ่น

‘พาณิชย์’ ลงพื้นที่ตั้งวงให้ความรู้เกษตรกรไทย ดันสินค้าเกษตรอินทรีย์-ผ้าย้อม เจาะตลาดส่งออก แนะใช้เอฟทีเอเพิ่มแต้มต่อคู่ค้า สร้างรายได้ในชุมชน นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 28 – 29 พ.ย. 2563 กรมฯ ลงพื้นที่พบปะเกษตรกรในพื้นที่อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ ดินแดน “หุบเขาเกษตรอินทรีย์”เพื่อสำรวจศักยภาพสินค้าเกษตรในพื้นที่ เพื่อสร้างความเข้าใจในการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) เพิ่มแต้มต่อให้กับสินค้าเกษตรของไทยในตลาดคู่ค้าสำคัญให้กับสหกรณ์ เกษตรกร และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่สร้างเครือข่ายผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์จำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือขยายการส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปของไทยสู่ตลาดโลก ซึ่งปัจจุบันไทยมีความตกลงการค้าเสรี 13 ฉบับ กับ 18 ประเทศ ที่ได้มีการลดและยกเลิกการเก็บภาษีศุลกากรกับสินค้าส่งออกส่วนใหญ่จากไทยแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสที่เกษตรกรในอำเภอหนองบัวแดง จะพัฒนาสินค้าให้ได้คุณภาพเพื่อส่งออกไปต่างประเทศ  ทั้งนี้จากการลงพื้นที่ พบกลุ่มสินค้าที่มีศักยภาพ อาทิ ผ้าย้อมสีธรรมชาติของกลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติหนองบัวแดง   ทอลวดลายแบบโบราณ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นลงบนผืนผ้า ซึ่งได้รับความนิยมมากทั้งในและต่างประเทศ สร้างรายได้ 3.6 ล้านบาทต่อปี   กล้วยหอมทอง(ส่งออกไปญี่ปุ่น)  มีรายได้ 2.4 ล้านบาทต่อปี    ด้านกลุ่มสตรีสหกรณ์บ้านโหล่น ผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ส่งออกไปประเทศเกาหลีใต้ จีน และเวียดนาม มีรายได้ 63 ล้านบาทต่อปี สำหรับสถิติการค้าระหว่างประเทศปี 2563 ในช่วง 10 เดือน (ม.ค.-ต.ค. 2563) พบว่า การส่งออกสินค้าเกษตร (กสิกรรม ประมง และปศุสัตว์ ไม่รวมอุตสาหกรรมการเกษตร) ของไทยไปประเทศที่มีความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) มีมูลค่ารวมกว่า 12,288.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 70.5% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยไปโลก โดยยังคงขยายตัว 0.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 จึงมีโอกาสสูงที่การส่งออกสินค้าเกษตรไทยจะยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากไทยมีความพร้อมในการควบคุมสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ดี ปัจจุบันไทยเป็นประเทศผู้ส่งออก อันดับ 2 ของอาเซียน รองจากฟิลิปปินส์ ในช่วง 10 เดือนของปี 2563 (ม.ค.-ต.ค.) ไทยส่งออกกล้วยหอมสดสู่ตลาดโลก 2,800 ตัน มูลค่ากว่า 2.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 6.4% จากช่วงเดียวกันของปี 2562 ตลาดสำคัญ คือ ญี่ปุ่น จีน และกัมพูชา นอกจากนี้ ไทยยังครองตำแหน่งผู้ส่งออกมะม่วง อันดับ 1 ของอาเซียน  มีปริมาณ 8.5 หมื่นตัน มูลค่ากว่า 83 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 15% จากช่วงเดียวกันของปี 2562 ตลาดส่งออกสำคัญ คือ มาเลเซีย เกาหลีใต้ จีน และญี่ปุ่น

ที่มา: https://www.posttoday.com/economy/news/639140

รัฐบาลสปป.ลาวพยายามรักษาอัตราการเติบโตของการผลิตทางการเกษตร

รัฐบาลจะพยายามรักษาอัตราการเติบโตของการผลิตทางการเกษตรไว้ที่ 2.3-2.5% ในปีนี้เพื่อรับมือกับความท้าทายของภาคธุรกิจที่ต้องเผชิญในปีนี้ภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ซึ่งการคาดการณ์ผลิตทางการเกษตรอาจหดตัวลงร้อยละ 0.4 Dr. Lien Thikeo รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและป่าไม้รายงานเศรษฐกิจภาคเกษตรในที่ประชุมสมัยที่ 9 ของรัฐสภาครั้งที่ 8 ของรัฐสภา (NA) “การผลิตพืชควรถึง 1.8 ล้านตันในปีนี้ โดยผลผลิตผลไม้ 1.3 ล้านตัน เผือก 300,000 ตัน กาแฟ 160,000 ตัน ข้าวโพดหวาน 1 ล้านตัน มันสำปะหลัง 3.3 ล้านตันและอ้อยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 1.5 ล้านตัน ปศุสัตว์ควรขยายตัวร้อยละ 6 การเลี้ยงปลาขยายตัวร้อยละ 10” ในเชิงพาณิชย์ของการเกษตรและการป่าไม้รัฐบาลจะสนับสนุนการส่งออกดดยตั้งเป้าหมายที่มากกว่า 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ Dr. Lien Thikeoสนับสนุนแนวคิดการเกษตรที่สะอาดเพื่อการบริโภคภายในประเทศและการส่งออกเพื่อเพิ่มรายได้และการจ้างงานของเกษตรกรซึ่งจะช่วยหนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของสปป.ลาว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt124.php

นายกรัฐมนตรีฮุนเซนกล่าวถึงกัมพูชาต้องเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร

นายกรัฐมนตรีฮุนเซนเรียกร้องให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในภาคเกษตรในประเทศ ส่งเสริมภาคเกษตรที่สำคัญ ให้มีอาหารเพียงพอต่อคนในประเทศเพื่อการบริโภครวมถึงการส่งออก โดยนายกฮุนเซนได้สั่งให้กระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ให้ความสนใจมากขึ้นในด้านการเกษตร ปศุสัตว์ การประมงและผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพื่อส่งเสริมการเติบโตของประเทศ ในขณะที่เสาหลักเศรษฐกิจแบบดั้งเดิมอื่นๆ อยู่ในความซบเซาเนื่องจากการระบาดของโรคโคโรนาไวรัสในปัจจุบันที่ส่งผลกระทบต่อภาคส่วนอื่นๆ รวมถึงด้านบริการการท่องเที่ยว อุตสาหกรรมและการก่อสร้าง แต่ถือเป็นโอกาสสำหรับภาคการเกษตรในการมองหามาตรการ เพื่อกระตุ้นการผลิตทำให้กัมพูชาพึ่งพาตนเองแทนการนำเข้าอาหารจากต่างประเทศ ซึ่งการบริการการท่องเที่ยวและภาคอุตสาหกรรมมีการเติบโตที่สูงเป็นเวลาหลายปี ในขณะที่ภาคเกษตรมีการเติบโตเพียงเล็กน้อย แต่ในปีนี้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนต้องพยายามอย่างเต็มที่เพื่อส่งเสริมการเกษตร

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/710823/cambodia-must-boost-agricultural-output-says-prime-minister-hun-sen/

เกษตรกรเร่งรัฐฯ เจรจาส่งออกสับปะรดไปจีน

สมาคมผู้ปลูกสับปะรดกำลังขอให้รัฐบาลเจรจาส่งออกไปยังประเทศจีนโดยเร็วที่สุด ภายหลังเกษตรกรได้รับความเสียหายราว 700 ล้านจัต (458 ล้านเหรียญสหรัฐ) เนื่องจากจีนห้ามนำเข้าผลไม้จากเมียนมาซึ่งมีความเสียหายมากกว่า 24,800 ตันที่เขตการค้าชายแดมูเซ แม้ว่าสมาคมผู้ผลิตผักและผลไม้ของเมียนมา (MFVP) จะขอเจรจาการส่งออกสับปะรดและอโวคาโดแต่ทางการจีนร่วมการือเฉพาะการส่งออกกล้วย ข้าว มันสำปะหลัง และเสาวรส ซึ่งรัฐบาลพยายามอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตามมีความล่าช้าและอีก 6 เดือนเท่านั้นก็จะถึงฤดูเพาะปลูกแล้ว โดยปกติแล้ว 90% ของอาโวคาโดจะถูกส่งออกไปยังไทยและควรมีการเจรจากับจีนเพื่อเร่งการส่งออกก่อนการการเก็บเกี่ยว MFVP กล่าวว่าเกตรกรต้องการลงทุนในลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) เพื่อสร้างโรงงานบรรจุภัณฑ์และโรงงานอบแห้งเพื่อเพิ่มมูลค่าในการส่งออก และเพิ่มทุนสำหรับวัตถุดิบ เครื่องจักร และต้นทุนแรงงานที่เพิ่มขึ้น ทว่าเอสเอ็มอีเผชิญกับความยากลำบากในการจัดหาหลักประกันด้านสินเชื่อของธนาคาร ดังนั้นรัฐบาลควรเข้ามาสนับสนุน ทั้งนี้กระทรวงการคลังและวางแผนกล่าวว่าธนาคารเพื่อการพัฒนาการเกษตรจะให้สินเชื่อพิเศษสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกผลไม้ และกำลังเจรจากับธนาคารเอกชนและธนาคารของรัฐเรื่องข้อกำหนดสำหรับสินเชื่อ SME ต่อไป

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/pineapple-growers-call-official-export-channels-china.html

ภาคเกษตรกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมียนมา

ปัจจุบันรัฐบาลกำลังให้ความสำคัญกับการพัฒนาการเกษตรมากกว่าการท่องเที่ยวเนื่องจากรัฐฉานมีศักยภาพที่จะเป็นโรงไฟฟ้าการเกษตรในเมียนมา ซึ่งประชากรในรัฐฉานยังพึ่งพาการเกษตรเพื่อการดำรงชีวิต ข้าว, ข้าวโพด, ถั่วเหลือง โดยส่งออกไปยังจีน และยังเป็นที่ตั้งของเขตการค้าชายแดนมูเซและท่าขี้เหล็ก มีพลังงาน น้ำ โครงสร้างพื้นฐานเช่น ถนนที่ปรับปรุงให้ใช้งานได้ ฉานมีพื้นที่ 2.3 ล้านเฮกเตอร์ (5.7 ล้านไร่) ที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูกแต่มีการใช้พื้นที่เพียงประมาณ 800,000 เฮกตาร์ ถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักลงทุนต่างประเทศ การปะทะกันของกลุ่มติดอาวุธยังไม่น่าเป็นห่วงมากนัก ความท้าทายของรัฐฉานคือขาดข้อมูล เทคโนโลยี และการพัฒนาวิจัย การเก็บรักษา บรรจุภัณฑ์และการเชื่อมโยงตลาดเป็นจุดอ่อนที่สุดการลงทุน ปัจจุบันบริษัทค้าปลีกและค้าส่งจากเยอรมนี METRO Wholesale ได้ขยายกิจการในรัฐฉานเพื่อรับผลิตภัณฑ์โดยตรงจากเกษตรกรและผู้เลี้ยงปศุสัตว์เพื่อจำหน่าย และได้เปิดศูนย์จัดซื้อในอองแพนในรัฐฉาน รัฐบาลของรัฐฉานกำลังวางแผนที่จะดำเนินโครงการระยะสั้นเพื่อพัฒนาการเกษตรและโครงการลงทุนระยะยาวเพื่อเพิ่มการลงทุนในรัฐ แม้วรัฐฉานจะมีศักยภาพ แต่ก็ยังมีความท้าทายที่ต้องเอาชนะได้ตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการพัฒนาด้านการตลาด

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/agriculture-economic-driver.html