BRI ส่งเสริมความสัมพันธ์จีนและกัมพูชา

บริษัทจากมณฑลหูหนานของจีนพบกับบริษัทท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างกัมพูชาและจีน โดยตัวแทนของบริษัทจากมณฑลหูหนานหลายร้อยคนในตอนกลางของจีนได้เข้าร่วมงานแสดงสินค้าการส่งเสริมการลงทุนและเครื่องจักร นำโดยคณะผู้แทนเลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์จีนมณฑลหูหนาน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและคมนาคมกล่าวว่างานดังกล่าวเป็นเวทีที่สมบูรณ์แบบในการเชื่อมโยงธุรกิจจากหูหนานกับกัมพูชาเพื่อแบ่งปันข้อมูลและแสวงหาโอกาสในด้านการลงทุน โดย ความสัมพันธ์มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้นด้วยการเปิดตัวโครงการ Belt and Road ของจีนในปี 2556 โครงการดังกล่าวมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจกัมพูชาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อปีที่แล้วจีนให้เงินกู้ยืมมูลค่า 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐแก่กัมพูชาเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะถนนสะพานและท่าเรือ โดยการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและจีนเมื่อปีที่แล้วมีมูลค่ารวม 6.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50661446/bri-boosting-ties-with-china-hunan-rep-says/

พาณิชย์ ปั้นผู้ประกอบการโคนมไทย ใช้เอฟทีเอชิงเค้กส่วนแบ่งตลาดนมในจีนและอาเซียน ยกระดับสู่ฟาร์มโคนมยุคดิจิทัล นำเข้าเทคโนโลยี Smart Farming แห่งแรกในอาเซียน

จากการลงพื้นที่ของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 62 ที่จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อหารือผู้ประกอบการโคนมของไทย ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ “จัดทัพโคนมไทย บุกตลาดต่างประเทศด้วยเอฟทีเอ” ซึ่ง จัดขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพนมและผลิตภัณฑ์นมแปรรูปของไทยให้พร้อมแข่งขันได้ในยุคการค้าเพื่อขยายตลาดส่งออกนมและผลิตภัณฑ์นมแปรรูปไปต่างประเทศ โดยเฉพาะอาเซียน และจีน โดยได้ไปเยี่ยมชมโรงเลี้ยงโคนมของบริษัท แมรี่แอนด์แดรี่ โปรดักส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผลิตและจำหน่ายนมและผลิตภัณฑ์นมแปร และยังได้รับรายงานว่าภายใต้โครงการดังกล่าว กรมเจรจาฯ ได้จัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฯ เข้าร่วมอบรมบูธแคมป์ในเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการส่งออกโดยใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอ ตลอดสำรวจตลาด และจับคู่ธุรกิจกับผู้นำเข้าของจีน และสิงคโปร์ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก สามารถจับคู่ธุรกิจ และขยายการส่งออกไปจีนและสิงคโปร์ ยังมีโอกาสร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามสัญญาระหว่างบริษัท แมรี่แอนด์แดรี่ โปรดักส์ จำกัด กับบริษัท Delaval Export AB ของประเทศสวีเดน ซึ่งมีชื่อเสียงด้านเทคโนโลยีการเลี้ยงโคนมสมัยใหม่และเป็นที่ยอมรับในยุโรป ในการบุกเบิกนำเข้าเทคโนโลยีการเลี้ยงโคนมแบบ smart farming ผ่านโปรแกรมการจัดการฟาร์มโคนมให้มีประสิทธิภาพด้วยระบบเดลโปร์ (Delpro Herd Management) เข้าสู่ภาคโคนมเป็นแห่งแรกในอาเซียน ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 62 มูลค่าการส่งออกนมและนมแปรรูปของไทยอยู่ที่ 410.7 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 15.9% สินค้าส่งออกหลัก คือ โยเกิร์ต บัตเตอร์มิลค์ นมและครีม โดยคู่ค้าหลักยังคงเป็นประเทศในแถบอาเซียน เช่น กัมพูชา ขยายตัว 19.4% ฟิลิปปินส์ ขยายตัว 26.3% และสิงคโปร์ขยายตัว 6.9% รวมทั้งฮ่องกงและจีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีความตกลงเอฟทีเอกับไทยและได้ลดภาษีนำเข้าสินค้านมโคและผลิตภัณฑ์นมโคแปรรูปให้กับไทยแล้ว จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่ต้องเร่งใช้ประโยชน์ให้สินค้าไทยสามารถขยายตลาดได้อย่างต่อเนื่อง

ที่มา: https://www.ryt9.com/s/beco/3068625

เวียดนามเผยราคาส่งออกชาพุ่งสูงขึ้นในตลาดจีน

จากรายงานทางสถิติของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 ราคาส่งออกกาแฟไปตลาดจีนเฉลี่ยอยู่ที่ 3,384 เหรียญสหรัฐฯต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งในช่วงครึ่งแรกของเดือนตุลาคม ปริมาณการส่งออกชาไปยังต่างประเทศโดยรวม 5,800 ตัน คิดเป็นมูลค่า 9.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 และ 0.4 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตามลำดับ ถึงแม้ว่าตัวเลขจะขยายตัว แต่ราคาส่งออกเฉลี่ยลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ 1,686 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ในขณะที่ ช่วงต้นปีจนถึงเดือนตุลาคมในปีนี้ เวียดนามส่งออกชา 175.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งสอดคล้องกับราคาส่งออกโดยเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 อยู่ที่ 1,753 ต่อตัน โดยประเทศปากีสถานยังคงเป็นผู้นำเข้าชารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยความต้องการชาของขาวปากีสถานเพิ่มขึ้น

ที่มา :  https://english.vov.vn/economy/tea-export-price-enjoys-drastic-rise-in-chinese-market-405305.vov

หยุยลี่ แอร์ไลเริ่มบินตรงย่างกุ้งและเต๋อหง

เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาสายการบินหยุยลี่ (Ruili Airlines) ของจีนได้เริ่มให้บริการเที่ยวบินตรงเชื่อมต่อย่างกุ้งและเต๋อหยูนจังหวัดยูนนาน จะทำการบินสี่ครั้งต่อสัปดาห์ในวันจันทร์ พุธ ศุกร์ และวันอาทิตย์จากสนามบินนานาชาติย่างกุ้ง (YIA) ไปเต๋อหง โดยจะทำการบินเครื่องบินโบอิ้ง 737 ซึ่งสามารถรองรับผู้โดยสารได้มากถึง 144 คน เที่ยวบินตรงแรกเริ่มต้นระหว่างหมางซื่อไปยัง มัณฑะเลย์ ขณะนี้ YIA ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ 34 แห่งจากสายการบินต่างประเทศ 36 แห่ง มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นมากกว่า 6% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาเนื่องจากเส้นทางใหม่ส่วนใหญ่มาจากจีน ปริมาณผู้โดยสารของย่างกุ้งเพิ่มขึ้นเป็น 4.6 ล้านคนในเก้าเดือนแรกของปี 62 ซึ่งสูงกว่าปีที่ผ่านมา 6.5% เนื่องจากการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากวิกฤตยะไข่รัฐบาลจึงได้อนุญาตวีซ่าเดินทางสำหรับหกประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย เยอรมัน อิตาลี สเปน สวิตเซอร์แลนด์ และรัสเซียโดยมีค่าธรรมเนียม 50 เหรียญสหรัฐที่สนามบินย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ และเนปิดอว์โดยเริ่มตั้งแต่เดือนนี้ ตุลาคมที่ผ่านมานักท่องเที่ยวจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง และมาเก๊าได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศโดยไม่ต้องขอวีซ่าในขณะที่อินเดียและชาวจีนจะได้รับการต่อวีซ่าในปีนี้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/ruili-airlines-starts-direct-flight-between-yangon-and-yunnans-dehong.html

สปป.ลาว, จีน ยกระดับความร่วมมือด้านไอซี

 สปป.ลาวและจีนกำลังขยายความร่วมมือในการสื่อสารข้อมูลและเทคโนโลยี เพื่อปูทางสำหรับการพัฒนาระบบการสื่อสารข้อมูลในสปป.ลาว ซึ่งความร่วมมือนี้จะช่วยขับเคลื่อน “Belt and Road” ของจีนและริเริ่มการพัฒนาระบบดิจิตอลสำหรับการเชื่อมต่อในระดับภูมิภาคที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังจะกระชับความสัมพันธ์และความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ที่ครอบคลุมระหว่างสปป.ลาวและจีน ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะร่วมมือในการใช้ระบบข้อมูลความเร็วสูงเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดความยากจนและการเติบโตทางเศรษฐกิจผ่าน “Digital Silk Road” และวางแผนที่จะยกระดับระบบดิจิตอลในสปป.ลาว ในโอกาสนี้บริษัทโทรคมนาคมชั้นนำจากสปป.ลาวและจีนรวม 4 บริษัท ตกลงที่จะร่วมมือในการบำรุงรักษาและการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม โดยจุดประสงค์เพื่อยกระดับระบบโทรคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารโทรคมนาคมในสปป.สู่ระดับสากล นี่เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายของรัฐบาลในการเปลี่ยนสปป.ลาวจากการที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลเพื่อเชื่อมโยงทางบกภายในภูมิภาค

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/laos-china-lift-ict-cooperation-new-heights-107095

กลุ่มนักลงทุนจีนลงทุนในอุตสาหกรรมกล้วยมูลค่าโครงการกว่า 30 ล้านเหรียญ

Beijing Capital Agribusiness Group ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของจีนประกาศที่จะศึกษาโครงการการลงทุนมูลค่ากว่า 30 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อทำสวนกล้วยในกัมพูชา โดยบริษัทกำลังพิจารณาการซื้อที่ดิน 1,500 เฮกตาร์ ที่จะใช้ในการปลูกกล้วย ซึ่งอธิบดีกรมวิชาการเกษตรของกัมพูชาให้การต้อนรับแผนของ บริษัท และให้คำมั่นที่จะอำนวยความสะดวกในการลงทุนเนื่องจากมองว่าการลงทุนจะมีความสำคัญต่อการพัฒนาภาคเกษตรกรรมของกัมพูชา โดยให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความทันสมัยของภาคและส่งเสริมการแปรรูปบรรจุภัณฑ์รวมถึงการส่งออกสินค้าเกษตรที่มีมาตรฐานคุณภาพสูง จากรายงานล่าสุดของกระทรวงเกษตร กัมพูชาได้ส่งออกกล้วยสดจำนวนกว่า 110,512 ตัน ในช่วงเก้าเดือนแรกของปีซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศจีน เวียดนามและญี่ปุ่น โดยมองว่าในอนาคตมูลค่าการส่งออกกล้วยอาจจะสูงมากกว่ามูลค่าการส่งออกข้าวสารภายในประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50653739/chinese-group-unveils-plan-to-invest-30m-in-banana-industry/

กลุ่มทุนจีนปรับทัพย้ายฐานลง EEC ‘สมคิด’ ช่วยกล่อม

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์รองนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางเยือนมณฑลกวางตุ้งและเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 20-25 ตุลาคม 2562 ทั้งนี้รัฐบาลจีน จะใช้เขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า (Guangdong-Hong Kong-Macao Greater Bay Area) หรือ GBA เป็นตัวเชื่อมระหว่างจีนกับโลกภายนอกโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาเซียน ขณะที่ประเทศไทยในฐานะเป็นศูนย์กลาง CLMVT และอาเซียนมีแผ่นดินเชื่อมกับจีนด้วย ขณะที่ ไทยให้ความสำคัญกับจีนเป็นอย่างมาก โดยการเป็นประเทศคู่ค้าและหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา นอกจากนี้ไทยยังเชื่อมั่นกับฮ่องกงในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาค จากนโยบาย Belt and Road ของจีนเชื่อมกับโลกทุกมิติ โดยเฉพาะกลุ่ม CLMV ของไทย เป็นประตูส่งผ่านค้าออกไปทั่วโลก ซึ่งนักธุรกิจจีนสนใจมาลงทุนไทยเพื่อเลี่ยงผลกระทบจากสงครามการค้า ขณะที่นักลงทุนฮ่องกง เลี่ยงผลกระทบจากความไม่สงบของการเมืองในประเทศฮ่องกง นอกจากนี้ การที่นายสมคิดนำคณะเดินทางไปโรดโชว์การลงทุน ณ มณฑลกวางตุ้ง และเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน จะยิ่งเพิ่มความน่าสนใจให้พื้นที่ EEC

ที่มา : https://www.naewna.com/business/449519

ผู้ค้าข้าวในกัมพูชาเริ่มส่งออกข้าวไปยังตลาดจีนมากขึ้น

เจ้าหน้าที่ของจีนตกลงที่จะเร่งการตรวจสอบใบสมัครของ บริษัท ในกัมพูชากว่า 40 แห่ง ที่ต้องการส่งออกข้าวไปยังตลาดจีน โดยสำนักงานควบคุมคุณภาพตรวจสอบและกักกันโรค (AQSIQ) ของประเทศจีน และกระทรวงเกษตรของกัมพูชาพบกันเพื่อหารือเกี่ยวกับการส่งออกข้าวของกัมพูชาไปยังประเทศจีน ซึ่งประธานสหพันธ์ข้าวกัมพูชากล่าวว่าการส่งมอบข้าวไปยังประเทศจีนเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงเก้าเดือนแรกของปีเพิ่มขึ้น 44% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยจากข้อมูลของ CRF กัมพูชาส่งออกข่าว 157,793 ตันไปยังประเทศจีนตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกันยายนคิดเป็นกว่า 39.6% ของการส่งออกข้าวทั้งหมดของกัมพูชา ซึ่งเมื่อปีที่แล้วไม่สามารถส่งออกข้าวได้ตามโควต้าที่ทางจีนกำหนดโดยส่งออกไปเพียง 170,000 ตันจากจำนวนโควต้าที่ได้รับอนุญาตที่ 300,000 ตัน อย่างไรก็ตามในปีนี้ CRF มั่นใจว่ากัมพูชาจะสามารถส่งออกข้าวได้เต็มจำนวนโควต้าที่ได้รับอนุญาต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50653395/more-local-rice-traders-set-to-export-to-chinese-market/

บริษัท TH Milk เป็นผู้ส่งออกนมรายแรกไปยังประเทศจีน

TH Milk Joint Stock Company เป็นบริษัทเวียดนามแห่งแรกที่ได้รับการอนุมัติจากกรมศุลกากรจีน ในการส่งออกผลิตภัณฑ์นมไปตลาดจีน เมื่อในวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา ฝ่ายบริหารทั่วไปของกรมศุลกากรจีนระบุว่าผลิตภัณฑ์นมของบริษัท TH Milk ผ่านการฆ่าเชื้อโรคและดัดแปลงสูตรสำหรับการส่งออไปยังจีน รวมไปถึงข้อกำหนดรายละเอียดในการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว โดยผลิตภัณฑ์นมที่ได้รับอนุญาตจากจีน จะรวมถึงอาหารแปรรูป ซึ่งมีส่วนประกอบจากนมวัวแปรรูปพาสเจอร์ไรส์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อโรคแล้ว, ผลิตภัณฑ์นมผง, นมข้นหวาน และอื่น ๆ เป็นต้น โดยทางการจีนกำหนดให้ผู้ส่งออกเวียดนามต้องได้รับใบอนุญาตจากทางการเวียดนาม และดำเนินจดทะเบียนกับกรมศุลกากรจีน หลังจากนั้นจึงทำการตรวจสอบกักกัน เพื่อขอใบอนุญาตกักกันโรค ก่อนที่จะส่งออกไปยังตลาดจีนได้อย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ เวียดนามตั้งเป้าในการส่งออกผลิตภัณฑ์นมไปยังตลาดจีน ด้วยมูลค่า 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2563

ที่มา :  https://en.vietnamplus.vn/th-milk-becomes-first-exporter-of-milk-to-china/162302.vnp

เวียดนามเผยยอดนำเข้ารถยนต์จากจีนร่วงลง

จากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนาม เปิดเผยว่าเมื่อช่วงต้นปีที่แล้ว การนำเข้ารถยนต์จากประเทศจีนลดลง เนื่องมาจากการยกเลิกอัตราภาษีนำเข้าในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน โดยในปีที่แล้ว เวียดนามนำเข้ารถยนต์ทุกชนิดจากจีนกว่า 1,565 คัน ลดลงร้อยละ 87 เมื่อเทียบกับปี 2560 ที่มีปริมาณรถยนต์ราว 11,800 คัน  และคาดว่าในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ปริมาณการนำเข้ารถยนต์ของเวียดนามอยู่ที่ 900 คัน หากจำแนกประเภทรถยนต์ ระบุว่าส่วนใหญ่เวียดนามนำเข้ารถบรรทุกจากจีน ในขณะที่ ความต้องการรถยนต์ชนิดดังกล่าวเพิ่มขึ้น และเวียดนามนำเข้ารถยนต์ไม่เกิน 9 ที่นั่ง จากอาเซียน เป็นผลมาจากการได้รับประโยชน์จากอัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 0 นอกจากนี้ สัดส่วนการนำเข้ารถยนต์ของเวียดนาม ส่วนใหญ่มาจากอาเซียนร้อยละ 88.8 ในขณะที่ จีนมีเพียงร้อยละ 1.9 ทางด้านกระทรวงฯ มองว่าในปีนี้ เวียดนามนำเข้ารถยนต์ ด้วยมูลค่า 3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ที่มา :    https://e.vnexpress.net/news/business/industries/car-imports-from-china-crash-3981546.html