‘เมียนมา’ ชี้ช่วง 5 เดือนปี 66 ยอดการค้าต่างประเทศ พุ่ง 13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เปิดเผยว่าการค้าต่างประเทศในช่วง 5 เดือนของปี 2566 (เม.ย.-ส.ค.) ของปีงบประมาณ 2566-2567 มีมูลค่ากว่า 13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การส่งออกของเมียนมามีอยู่ที่ 6.48 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 7.21 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ดี หากพิจารณาตัวเลขการค้าในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา พบว่าตัวเลขการค้าปรับตัวลดลงราว 690.17 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ สินค้าส่งออกส่วนใหญ่ของเมียนมา ได้แก่ ผลผลิตทางการเกษตร ปศุสัตว์และป่าไม้ ผลิตภัณฑ์จากเหมืองแร่และสินค้าอุตสาหกรรม ในขณะเดียวกัน สินค้านำเข้าหลักของเมียนมา ได้แก่ สินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง วัตถุดิบที่นำเข้าจากบริษัท CMP และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-foreign-trade-soars-past-us13-bln-in-last-five-months/#article-title

‘เมียนมา’ เผย 5 เดือนปี 66 ส่งออกถั่วพัลส์ 580 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าเมียนมาส่งออกถั่วพัลส์ ปริมาณมากกว่า 720,000 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 580 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2566 (เม.ย..-ส.ค.) ของปีงบประมาณ 2566-2567 ทั้งนี้ การส่งออกถั่วพัลส์ทางทะเล มีมูลค่า 488.39 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 607,129 ตัน ในขณะที่ส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน มีมูลค่า 97.98 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ เมียนมายังส่งออกถั่วเขียวผิวดำ ถั่วเขียวผิวมันและถั่วแระ ไปยังตลาดต่างประเทศ อาทิเช่น อินเดีย จีนและสหภาพยุโรป

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-pulses-exports-earn-over-us580-mln-in-past-five-months/#article-title

บังกลาเทศ ยื่นเสนอ 3 โมเดลการค้าแบบนำเข้าน้ำตาลจากเมียนมา

สมาคมผลิตภัณฑ์น้ำตาลและอ้อยของเมียนมา (MSCA) เปิดเผยว่าบังกลาเทศได้ยื่นข้อเสนอให้มีการนำเข้าน้ำตาลจากเมียนมา ภายใต้รูปแบบระหว่างรัฐบาลกับหน่วยงานภาครัฐ (G2G), หน่วยงานรัฐกับภาคธุรกิจ (G2B) และธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) ซึ่งผลปรากฎว่าทางสมาคมฯ พร้อมที่จะส่งออกน้ำตาลไปยังบังกลาเทศ เนื่องจากมีสต็อกเพียงพอในปีงบประมาณนี้ นอกจากนี้ ยังมีการยื่นข้อเสนอให้ซื้อข้าวจากเมียนมา เนื่องจากข้าวมีคุณภาพดี

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/bangladesh-proposes-three-commercial-models-for-importing-sugar-from-myanmar/#article-title

‘ตลาดหุ้นย่างกุ้ง’ เดือน ส.ค. เข้าสู่ภาวะตลาดหมี

การซื้อขายหุ้นลักษณะแบบรายใหญ่ในกลุ่มบริษัทจดทะเบียน 8 แห่งในตลาดหลักทรัพย์ย่างกุ้ง (YSX) ชี้ให้เห็นว่าปริมาณการซื้อขายหุ้นในเดือน ส.ค. 2566 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 509,827 หุ้น จากระดับ 958,368 หุ้น ในเดือน ก.ค. และมูลค่าลดลงเหลือ 1.3 พันจ๊าด ทั้งนี้ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ย่างกุ้ง มีจำนวน 8 ราย ได้แก่ บริษัท First Myanmar Investment (FMI), Myanmar Thilawa SEZ Holdings (MTSH), Myanmar Citizens Bank (MCB), First Private Bank (FPB), TMH Telecom Public Co Ltd (TMH), Ever Flow River Group Public Co, Ltd (EFR), Amata Holding Public Co, Ltd. (AMATA) และ Myanmar Agro Exchange Public Co, Ltd (MAEX)

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/ysx-sees-bear-market-in-august/#article-title

ผู้นำอาเซียน ชี้ วิกฤตเมียนมา ความขัดแย้งจีน-สหรัฐฯ และข้อพิพาททะเลจีนใต้ ยังเป็นปัญหาใหญ่

สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่าบรรดาผู้นำชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมตัวกันที่กรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซีย เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดประจำปี ซึ่งเป็นการหารือนัดสุดท้ายของกลุ่มประชาคมอาเซียนในปีนี้ ท่ามกลางความขัดแย้ง ที่เกิดขึ้นภายในกลุ่มประเทศสมาชิก จากปัญหาวิกฤตเมียนมา การขับเคี่ยวของ 2 มหาอำนาจของโลก อย่างจีนและสหรัฐฯ และประเด็นพิพาททะเลจีนใต้ ซึ่งประเทศสมาชิกต่างมีความเห็นไม่ลงรอยกันและยังไม่พบทางออกของปัญหาดังกล่าว

ที่มา : http://www.efinancethai.com/LastestNews/LatestNewsMain.aspx?ref=A&id=dE5wSll0YWRqRlU9

‘เมียนมา’ เผยเดือน ส.ค. ยอดค้าชายแดนเมียวดี พุ่ง 55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ด่านชายแดนเมียวดี ไทย-เมียนมา สร้างมูลค่าการค้าชายแดนทะลุ 55 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือน ส.ค. ถึงแม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์ดินถล่มจากฝนตกหนัก เมื่อวันที่ 7 ส.ค. ทำให้การค้าชายแดนต้องหยุดชะงัก อย่างไรก็ดี จากเหตุการณ์ดังกล่าว กรมทางหลวงของรัฐบาลกะเหรี่ยง ได้เร่งสร้างสะพานเบลีย์ที่เป็นส่วนต่อขยายของถนนที่ถูกดินถล่ม ในขณะที่ ถนนเมียวดี-กอกะเรก ทางหลวงสายเอเชีย กลับมาใช้งานได้ตามปกติในวันที่ 15 ส.ค. โดยให้รถบรรทุก 6 ล้อสามารถขับในเลนได้ นอกจากนี้ จากตัวเลขการค้าชายแดนเมียวดี เดือน ส.ค. พบว่ามีมูลค่าการส่งออก อยู่ที่ 15.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จำนวนรถบรรทุก 1,457 คัน และการนำเข้า 40.02 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จำนวนรถบรรทุก 2,327 คัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myawady-border-trade-tops-us55-mln-in-august/#article-title

‘เมียนมา’ เผยส่งออกถั่ว เม.ย.-ส.ค. พุ่ง 630,000 ตัน

สมาคมผู้ค้าเมล็ดพันธุ์ถั่วพัลส์ ถั่วฝัก ข้าวโพด และงาแห่งเมียนมา รายงานว่าเมียนมาส่งออกถั่วและถั่วพัลส์ในช่วง เม.ย.-ส.ค. ปริมาณ 630,000 ตัน ทำรายได้เกินกว่า 511 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วเขียวผิวดำและถั่วแระ โดยส่วนใหญ่ส่งออกไปยังตลาดอินเดียและจีน นอกจากนี้ พื้นที่เพาะปลูกผลผลิตทางการเกษตรของเมียนมา มีสัดส่วน 33% ขณะที่พื้นที่ปลูกถั่ว มีสัดส่วนเพียง 20% ของพื้นที่ทั่วประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-exports-630000-tonnes-of-beans-pulses-in-april-august/#article-title

‘เมียนมา’ มุ่งเจาะตลาดบังกลาเทศ ขายข้าวแบบจีทูจี

สำนักงานส่งเสริมการค้าของเมียนมา เปิดเผยว่าบังกลาเทศยื่นข้อเสนอให้มีการซื้อข้าวจากเมียนมา เนื่องจากข้าวมีคุณภาพดีและจะทำการขายข้าวรูปแบบของรัฐบาลต่อรัฐบาล (G-to-G) ในปีนี้ โดยข้อตกลงในครั้งนี้จะกำหนดราคาขึ้นอยู่กับคุณภาพเมล็ดข้าว นอกจากนี้ หลังจากอินเดียระงับการส่งออกข้าว ส่งผลให้ราคาข้าวในตลาดโลกพุ่งสูงสุด ด้วยเหตุนี้ ประเทศในภูมิภาคเอเชียต่างจับตาทิศทางตลาดข้าวของเมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-rice-aimed-for-bangladesh-market-under-g-to-g-pact-2/#article-title

‘เมียนมา’ เผยยอดค้าชายแดนเมียวดี ทะลุ 35 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา

จากข้อมูลสถิติของกระทรวงพาณิชย์ ระบุว่ามูลค่าการค้าชายแดนไทย-เวียดนาม (เมียวดี) อยู่ที่ 35.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ใน่ชวง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมาของเดือน ส.ค. โดยการส่งออกผ่านด่านเมียวดี 9,832 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่การนำเข้า 25,572 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 7 ส.ค. เกิดฝนตกหนักได้ทำลายถนนบางส่วนบนถนนเมียวดี-กอกะเรก ซึ่งเป็นช่องทางการค้าหลักระหว่างเมียนมาและไทยและอยู่ระหว่างดำเนินการซ่อมแซม ทั้งนี้ ทางหลวงเอเชียสายเมียวดี-กอกะเร็ก จะเปิดให้บริการอีกครั้งในวันที่ 15 ส.ค. ทำให้รถบรรทุก 6 ล้อสามารถขับในช่องทางดังกล่าวได้

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myawady-border-trade-volume-crosses-us35-mln-in-past-3-weeks/#article-title

‘แบงก์ชาติเมียนมา’ เล็งปรับดอกเบี้ย หวังพยุงเศรษฐกิจ

ดร.ติน ลิน ออง รองผู้ว่าการธนาคารกลางเมียนมา (CBM) กล่าวที่ในประชุมสภาบริหารแห่งรัฐ (SAC) ครั้งที่ 22 ว่าธนาคารกลางจะปรับอัตราดอกเบี้ย เพื่อจัดการภาวะเศรษฐกิจมหภาค ขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา เตรียมการรับมืออัตราดอกเบี้ย เพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อ ตั้งแต่เดือน พ.ค. 2565 โดยดัชนีราคาผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นผลมาจากค่าเงินจั๊ตที่อ่อนค่าลงในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ รวมไปถึงการนำเข้าที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดการขาดดุลการค้าขยายไปวงกว้างขึ้น ด้วยเหตุนี้ แนวโน้มของการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลในเชิงลบต่อเศรษฐกิจของประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/cbm-to-adjust-interest-rate-on-macroeconomics/#article-title