งานแสดงสินค้าออนไลน์ช่วยรักษาตลาดอสังหาริมทรัพย์ช่วง COVID-19

ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไม่ซบเซาในช่วงการระบาด COVID-19 เมื่อต้นปีที่ผ่านมาเนื่องจากยอดขายจากตลาดออนไลน์ เดือนมีนาคมและเมษายน 2563 ความต้องการของตลาดในย่างกุ้งลดลง แต่ส่วนลดพิเศษและการเข้าถึงข้อมูลออนไลน์ทำให้ตลาดสามารถกลับมาอีกครั้งในกลางเดือนพฤษภาคม เมื่อเปรียบเทียบกับต้นปี 2563 จำนวนการซื้อลดลง 60% ในช่วงที่มีการระบาดของ COVID-19 แม้ความต้องการของตลาดจะลดลง แต่ราคาก็ไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญและการทำธุรกรรมยังคงทำผ่านเคาน์เตอร์ งานแสดงสินค้าออนไลน์ได้ช่วยตลาดไว้ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งต้องใช้เวลาอีกสามถึงหกเดือนกว่าที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์จะฟื้นตัว แม้ว่าตลาดจะไม่ฟื้นตัวจากระดับก่อนหน้านี้ แต่ผู้บริโภคชาวเมียนมาที่เปลี่ยนไปและเริ่มคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมออนไลน์ โดย  iMyanmarHouse.com สามารถสร้างยอดขายอสังหาริมทรัพย์สองครั้งสำคัญในช่วงสามเดือนแรกของปี 2020 ชาวเมียนมาที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศให้ความสนใจกับงานแสดงสินค้าอสังหาริมทรัพย์ออนไลน์มากขึ้น งานแสดงสินค้ายังเสนอส่วนลดพิเศษและโปรโมชั่นพิเศษและอาจดึงดูดให้ตัดสินใจกลับเมียนมาเพื่อลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/online-expos-saves-real-estate-market-during-covid-19.html

พาณิชย์ เผยตลาดออนไลน์ออสซี่โต 10 % หลังโควิค -19

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ แนะผู้ส่งออกวางแผนลุยตลาดออสเตรเลียรับ New Normal ชี้เจาะผ่านช่องทางออนไลน์ หลังเติบโตแรง คาดจะขยายตัว 20% ภายใน 12-18 เดือนข้างหน้าเผยสินค้าสุขภาพ อาหาร อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน มาแรง หลังจากเกิดวิกฤตโควิด-19 โดยพบว่าการค้าออนไลน์มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 10% ของมูลค่าธุรกิจค้าปลีกทั้งหมด โดยคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 20% ในอีก 12-18 เดือนข้างหน้า ซึ่งหากไม่เกิดวิกฤติโควิด-19 อาจจะต้องใช้เวลาถึง 10 ปี ซึ่งผู้ส่งออกไทยจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และวางแผนในการทำตลาดออสเตรเลียใหม่ โดยใช้ช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น เพื่อตอบสนองการใช้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ของชาวออสเตรเลีย ทั้งนี้ นอกจากการขยายตัวของการค้าออนไลน์ ยังพบว่า รูปแบบการซื้อสินค้าได้เปลี่ยนเป็นการซื้อออนไลน์แบบไม่สัมผัสสินค้า (Contactless Shopping) หรือการเลือกซื้อสินค้าทางออนไลน์แล้วเลือกสถานที่ๆ จะรับสินค้า (Click and Collect) โดยการลดราคาสินค้า ไม่ใช่ปัจจัยหลักในการเลือกซื้อ แต่ความสะดวกสบายในการซื้อสินค้าเริ่มมีอิทธิพลมากขึ้น และรูปแบบการค้าออนไลน์ ยังมีอิทธิพลครอบคลุมทั้งการค้าสินค้าและบริการ เช่น การให้บริการ Streaming Video การให้อาหารนกเพนกวินของ Sea Life Sydney Aquarium เป็นต้น สำหรับสินค้าไทยที่มีโอกาสในการเจาะเข้าสู่ตลาดออสเตรเลีย ได้แก่ สินค้าเพื่อสุขภาพ ที่ใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติและสินค้าออร์แกนิค ตั้งแต่อาหาร เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เครื่องสำอาง และสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยง เพื่อตลาดสัตว์เลี้ยงที่มีมากกว่า 28 ล้านตัว นอกจากนี้ ยังมีอาหารประเภท Ready to Eat และ Ready to Cook ที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มมากขึ้นกว่าการรับประทานอาหารในร้านอาหาร โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภควัยทำงานที่มีมากกว่า 65% ของจำนวนประชากรทั้งหมด ที่ต้องการความสะดวกในการพกพาและการรับประทาน และได้คุณประโยชน์ สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายครบถ้วน รวมทั้งอุปกรณ์ตกแต่งบ้านและเฟอร์นิเจอร์แบบ DIY เครื่องครัว เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์ทำสวน และเครื่องออกกำลังกาย ที่มีความต้องการเพิ่มขึ้น จากการ Work From Home จึงใช้เวลาในการปรับปรุงและซ่อมแซมที่พักอาศัย และรัฐบาลยังจัดสรรงบประมาณในการช่วยเหลือประชาชนสำหรับซ่อมแซม ปรับปรุงบ้านพักอาศัย การสร้างบ้านใหม่ และการอนุมัติโครงการก่อสร้างพื้นฐาน ทำให้มีความต้องการอุปกรณ์ก่อสร้างและของตกแต่งบ้านเพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงต่างๆ มาพร้อมกับความท้าทายและโอกาสทางธุรกิจ ความพร้อมของผู้ประกอบธุรกิจไทยในการเรียนรู้และปรับตัว เป็นสิ่งสำคัญในการทำธุรกิจในปัจจุบัน โดยตลาดออสเตรเลีย ไม่ใช่ตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่เป็นตลาดที่ต้องการสินค้าที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และมีกฎระเบียบการนำเข้าที่ค่อนข้างเข้มงวด ซึ่งเป็นหัวใจหลักในการเข้าสู่ตลาดที่ผู้ประกอบธุรกิจควรคำนึงถึง เพื่อรักษาความสัมพันธ์ทางการค้า และสร้างโอกาสในการส่งออกให้กับสินค้าไทย

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/889034?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

เมียนมาลงทุนสร้างห้องเย็น 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากเงินกู้ของธนาคารโลก

กองปศุสัตว์และสัตวแพทย์ของเมียนมาเผยมีการกู้ยืมเงิน 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากธนาคารโลกเพื่อสร้างห้องเย็นสำหรับผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ในย่างกุ้ง เขตพะโค และเขตอิระวดี ซึ่ง Covid-19 ส่งผลต่อต่อภาคปศุสัตว์ของเมียนมา เพราะการหมุนเวียนของสินค้าล่าช้าเนื่องจากมีห้องเย็นไม่เพียงพอ จากข้อมูลพบว่าประเทศเพื่อนบ้านมีสินค้าส่วนเกินจากปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์สัตว์ที่ผลิตเมื่อเกิดโรคทำให้สินค้าใกล้หมดอายุและไม่เหมาะกับการบริโภค ซึ่งสินค้าเหล่านี้กำลังถูกนำเข้าทางชายแดนอย่างผิดกฏหมาย สหพันธ์ปศุสัตว์แห่งเมียนมาได้กำหนดรายชื่อผลิตภัณฑ์สัตว์ที่เข้ามาในประเทศอย่างผิดกฎหมายแล้ว เช่น ไก่สด (เนื้อและไข่) ไก่เนื้อ ไก่แช่แข็ง ไส้กรอก ไข่ ลูกหมู หมู และหมูแช่แข็ง มูลค่าการส่งออกของผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์อยู่ระหว่าง 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐและ 13 ล้านดอลลาร์จากปีงบประมาณ 2548-2549 จนถึงปี 2560-2561 หลังจากการผ่อนปรนข้อจำกัดรัฐบาลอนุญาตให้มีการส่งออกสัตว์มีชีวิตได้ซึ่งได้รับความร่วมมือของผู้ประกอบการ ส่วนมูลค่าการส่งออกในรอบปีเพิ่มขึ้นเป็น 562.859 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/cold-storage-factories-to-be-built-with-4m-world-bank-loan

โรงแรม ร้านอาหารในเมียนมาประสบปัญหาการระบาดของ COVID-19

โรงแรมในประเทศประมาณ 60% ได้เปิดให้บริการอีกครั้ง แต่ธุรกิจยังคงซบเซาเนื่องจากข้อจำกัดและการระบาดของ COVID-19 เช่นเดียวกับร้านอาหารซึ่งเปิดใหม่ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม รายได้ลดลงมากถึง 50% ก่อนเกิดโรคระบาดเนื่องจากผู้คนยังคงระมัดระวังการไปในสถานที่สาธารณะ โรงแรมและโมเต็ลจำนวน 1,200 แห่งในประเทศได้เปิดให้บริการอีกครั้งและอีก 810 แห่งได้ผ่านการตรวจสอบและได้รับอนุญาตให้เปิดใหม่ได้อีก ซึ่งโรงแรมประมาณ 400 แห่งยังคงเปิดให้บริการในช่วงที่มีการจำกัด COVID-19 และทำหน้าที่เป็นสถานกักกันสำหรับชาวเมียนมาที่เดินทางกลับจากต่างประเทศหรือชาวต่างชาติที่มาทำธุรกิจที่นี่ U Nay Lin ประธานของสมาคมกล่าวว่าร้านอาหารดำเนินงานด้วยคนงานเพียง 70 คนเนื่องจากการตกต่ำ ซึ่งยอดขายไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ซึ่งร้านค้าส่วนใหญ่สร้างรายได้ไม่ถึง 50% เมื่อเทียบกับเมื่อก่อน ขณะที่ร้านอาหารกำลังมีการส่งอาหารแบบออนไลน์เพื่อเพิ่มยอดขาย กระทรวงโรงแรมและการท่องเที่ยวได้นำเสนอแผนบรรเทาการท่องเที่ยว COVID-19 ซึ่งจะรวมถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการท่องเที่ยว แผนดังกล่าวรวมถึงคำแนะนำด้านสุขภาพและความปลอดภัยสำหรับผู้เข้าชมในอัตราลดพิเศษสำหรับสถานที่ปลอด COVID-19 และทางเลือกการชำระเงินดิจิทัลสำหรับนักเดินทาง เมียนมาจะส่งเสริมการท่องเที่ยวในตลาดต่างประเทศตั้งแต่เดือนหน้าจนถึงเดือนมกราคม 2564 มีผู้เดินทางมาเยือนเมียนมาลดลง 44% จากเดือนมกราคมถึงเมษายน ในปี 2562 จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น 23% เป็น 4.36 ล้านคนเพิ่มขึ้นจาก 3.55 ล้านคนในปีที่ผ่านมา ชาวจีนคิดเป็นสัดส่วนเกือบหนึ่งในสามของนักท่องเที่ยวในปีที่แล้วเพิ่มขึ้น 152% จากปีที่แล้ว การท่องเที่ยวคิดเป็นสัดส่วน 6.6% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของประเทศทำรายได้ 4.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2560 และแรงงาน1.4 ล้านคน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/hotels-restaurants-myanmar-suffer-pandemic-lingers.html

การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปในกัมพูชาลดลงจากผลกระทบของ Covid-19

โฆษกกระทรวงแรงงานและฝึกอบรมด้านการส่งออกในภาคเสื้อผ้าลดลงมากกว่าร้อยละ 5 เป็นประมาณ 3.78 พันล้านดอลลาร์ในช่วงครึ่งปีแรก โดยโฆษกกระทรวงแรงงานกล่าวในการแถลงข่าวเกี่ยวกับมาตรการของรัฐบาลในการตอบสนองต่อผลกระทบของ COVID-19 ที่กระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน (MEF) เมื่อวานนี้ว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2020 การส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของกัมพูชาอยู่ที่ราว 3.784 พันล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 5.4 จากการส่งออกมากกว่า 4 พันล้านดอลลาร์ ในช่วงเวลาเดียวกันในปี 2019 เหตุผลในการลดลงนั้นเป็นเพราะผลกระทบของ COVID-19 รวมถึงการจัดซื้อที่ลดลงทั่วโลก ซึ่งเลขาธิการสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าในประเทศกัมพูชา (GMAC) กล่าวว่าการลดลงโดยทั่วไปนั้นเป็นเพราะการหยุดการดำเนินการชั่วคราวและคำสั่งซื้อที่ลดลง โดยจากรายงานครึ่งปีของธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ซึ่งกัมพูชานำเข้าลดลงร้อยละ 5 การส่งออกสินค้ากัมพูชาเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์คิดเป็นร้อยละ 45 จักรยานร้อยละ 18 ข้าวร้อยละ 29 และผลิตภัณฑ์อื่นๆ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50743103/garment-exports-fall-factories-hit-by-virus/

สปป.ลาวกำหนดให้ผู้ที่เดินทางออกจาก สปป.ลาว จำเป็นต้องมีใบนับรองแพทย์

ผู้เดินทางออกจากสปป.ลาวทุกคนจะต้องแสดงใบรับรองแพทย์สำหรับประเทศจุดหมายปลายทางเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ COVID-19  คณะกรรมการระดับชาติว่าด้วยการป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19 แห่ง สปป.ลาว ได้กล่าวว่าผู้ที่เดินทางทุกคนจะต้องมีใบรับรองแพทย์ก่อนเดินทางไปประเทศอื่น ซึ่งผู้ที่ไม่มีใบรับรองแพทย์ที่ถูกต้องจะถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทาง อีกทั้งรองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมิดตะพาบกล่าวย้ำความสำคัญของใบรับรองแพทย์สำหรับนักเดินทาง จะมีจุดตรวจสุขภาพหลายแห่งและนักท่องเที่ยวจะต้องจัดทำเอกสารทางการแพทย์จากประเทศต้นทางของตน คนในสปป.ลาวสามารถขอใบรับรองแพทย์ที่โรงพยาบาลเฉพาะแห่งในประเทศ อย่างไรก็ตามผู้ที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ ไอ เจ็บคอหรือมีปัญหาระบบทางเดินหายใจหรือมีประวัติติดต่อกับกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงจะไม่ได้รับใบรับรองแพทย์ โรงพยาบาลมิดตะพาบ, โรงพยาบาลมโหสถ และสถาบันปาสเตอร์ ในเวียงจันทน์จะอำนวยความสะดวกทำการตรวจสุขภาพสำหรับ COVID-19 ทั้งนี้ใบรับรองแพทย์จะรับรองว่าผู้เดินทางไม่แสดงอาการคล้าย COVID และการตรวจเชื้อ COVID ผลเป็นลบ ซึ่งมาตรการป้องกันนี้จะใช้เวลานานในการป้องกันการแพร่กระจายของ COVID-19

ที่มา : http://en.freshnewsasia.com/index.php/en/internationalnews/18742-2020-07-08-03-07-20.html

การเพิ่มขึ้นของรายได้บริษัทประกันฯในกัมพูชา

รายงานของสมาคมประกันภัยกัมพูชา (IAC) รายงานว่าเบี้ยประกันขั้นต้นของในกัมพูชาเติบโตขึ้นร้อยละ 21.4 ในไตรมาสแรกของปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยรายงานรายไตรมาสแสดงให้เห็นว่าเบี้ยประกันขั้นต้นสำหรับการประกันทั่วไปมีมูลค่าสูงถึง 32.76 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจาก 26.98 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2562 ซึ่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟอร์เตประกันภัย จำกัด กล่าวว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้เป็นเพราะธุรกิจมีแนวโน้มที่จะเติบโตสูงก่อนที่จะมีการระบาดของ COVID-19 คิดเป็นรายได้จากการประกันสุขภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.4 หรือ 7.14 ล้านดอลลาร์ จาก 5.25 ล้านดอลลาร์ ด้านรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 21 สู่ 5.9 ล้านดอลลาร์ ด้านอุบัติเหตุส่วนบุคคลและเบ็ดเตล็ดเพิ่มขึ้นร้อยละ 38

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50742571/insurers-income-rising-for-now/

ADB อนุมัติเงินกู้ยืม 250 ล้านดอลลาร์แก่กัมพูชาเพื่อต่อสู้กับ COVID-19

ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) ได้อนุมัติเงินกู้ยืมจำนวน 250 ล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยเหลือรัฐบาลกัมพูชาในการตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ของ COVID-19 โดยการเสริมสร้างระบบการดูแลสุขภาพของประเทศเพิ่มความช่วยเหลือทางสังคมแก่คนยากจนและผู้อ่อนแอ รวมถึงองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งธนาคารได้มอบเงินช่วยเหลือภายใต้โครงการสนับสนุนการตอบสนองและการใช้จ่าย (CARES) ต่อ COVID-19 ของ ADB โดยโปรแกรมดังกล่าวรวมถึงกรอบการมีส่วนร่วมของประเทศ จะทำให้มั่นใจได้ว่ารัฐบาลและ ADB จะดำเนินการเจรจานโยบายต่อไปเกี่ยวกับการดำเนินการและติดตามการตอบสนองต่อ COVID-19 ในกัมพูชา รวมถึงการปรึกษาหารือกับภาคเอกชนและองค์กรภาคประชาสังคม ซึ่งโปรแกรมนี้ยังเชื่อมโยงกับการสนับสนุนของ ADB ในการปฏิรูปการบริหารการคลังสาธารณะเพื่อเสริมสร้างการกำกับดูแลและความโปร่งใส ไปจนถึงการปรับปรุงประสิทธิภาพในการพัฒนางบประมาณและนโยบายการติดตามค่าใช้จ่ายและการตรวจสอบ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50742799/adb-approves-250-million-loan-to-cambodia-to-combat-covid-19/

ภาครัฐบาลและภาคเอกชนกัมพูชาเร่งปรับปรุงการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ชายแดนระหว่างประเทศต้องปิดตัวลง การท่องเที่ยวภายในประเทศจึงเป็นทางเลือกเดียวสำหรับทั้งคนท้องถิ่นและชาวต่างชาติในกัมพูชา โดยในการตอบสนองหน่วยงานท้องถิ่นและชุมชนได้รับการผลักดันเพื่อปรับปรุงคุณภาพของการให้บริการด้านการท่องเที่ยว เช่นเดียวกับการปฏิบัติด้านสุขอนามัยเพื่อสนับสนุนการเดินทางมายังกัมพูชาของนักท่องเที่ยวในประเทศ รวมถึงภาครัฐฯและภาคเอกชนมองว่าแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศทั่วประเทศกำลังจะกลายเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยม ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นหลายแห่ง โดยกำลังขอให้รัฐบาลเพิ่มโอกาสด้วยการสร้างแพ็คเกจการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์มากขึ้น ผ่านการลงทุนโดยภาคเอกชนและการสนับสนุนจากรัฐบาลสำหรับโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50742181/public-and-private-sector-needed-to-improve-eco-tourism-development/

ผู้นำสปป.ลาวและเวียดนามหารือถึงความร่วมมือหลังเกิดโรคระบาด Covid-19

นายกรัฐมนตรีสปป.ลาวเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนเดินทางไปยังดานัง ประเทศเวียดนาม ระหว่างวันที่ 5-6 ก.ค โดยนายกรัฐมนตรีทั้งสองกล่าวชื่นชมมิตรภาพพิเศษที่ยาวนานความเป็นปึกแผ่นและความไว้วางใจระหว่างสองประเทศ ซึ่งนายกรัฐมนตรีสปป.ลาวกล่าวความยินดีที่ได้เดินทางไปเยือนเวียดนามอีกครั้งหลังจากที่ประเทศประสบความสำเร็จในการควบคุมการระบาดของ Covid-19 และแสดงความยินดีกับเวียดนามที่ประสบความสำเร็จในการเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 36 และสนับสนุนบทบาทของตนในฐานะประธานอาเซียน อีกทั้งนายกรัฐมนตรีเวียดนามกล่าวแสดงความยินดีกับสปป.ลาวในความสำเร็จในการควบคุมการระบาดของ Covid-19 และแสดงความมั่นใจว่าอีกไม่นานสปป.ลาวจะฟื้นตัวจากผลของการระบาดใหญ่ และทั้งสองกล่าวถึงความร่วมมือในอนาคตอันใกล้ในด้านการค้า การบริการและการแลกเปลี่ยนในระดับประชาชน ร่วมถึงการวางแผนที่จะเปิดเส้นทางการบินใหม่โดยเร็วที่สุด ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะเร่งดำเนินการตามข้อตกลงที่มีการลงนามและเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทวิภาคีในด้านการป้องกันความมั่นคง สิ่งแวดล้อม การค้าการลงทุนและการเงิน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาระหว่างประเทศและภูมิภาคที่มีความสำคัญร่วมกันและตกลงที่จะประสานงานอย่างใกล้ชิดต่อไปภายใต้กรอบของเวทีต่าง ๆ

ที่มา : https://laotiantimes.com/2020/07/07/lao-and-vietnamese-leaders-discuss-post-pandemic-cooperation/