การย้ายฐานการผลิตของจีน

จากการเปิดประเทศของจีนเพียงแค่ 2 – 3 ทศวรรษทำไมถึงก้าวกระโดดแซงหน้าหลายๆ ประเทศเป็นรองเพียงแค่สหรัฐฯ ที่เป็นเช่นนี้ได้เพราะนโยบายและประชากรของที่มีมากกว่าพันสามร้อยล้านคน ทั้งจีนในยุคต้นๆ ใช้นโยบายดึงเอากลุ่มนักอุตสาหกรรมจากไต้หวันเข้ามา ในยุคนั้นค่าแรงในจีนยังไม่สูง ไต้หวันเองในยุคนั้นใช้นโยบาย โรงงานหลังบ้าน ซึ่งเป็นเพราะการพัฒนาเศรษฐกิจของไต้หวันยุคนั้น ใช้นโยบายสร้างเมกกะโปรเจ็กสิบประการ โดยการพัฒนาด้านเทคโนโลยี ทำการผลิตสินค้าไอทีเกิดขึ้น ขณะที่แรงงานมีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งพอประเทศจีนเปิดประตูให้นักลงทุนชาวไต้หวัน เข้าไปลงทุนที่นั่น แต่มาวันนี้เริ่มมีการถอนการลงทุนกันมากขึ้น เนื่องจากค่าแรงสูง จนทำให้โรงงานที่ใช้แรงงานเป็นปัจจัยการผลิตหลัก (Labor Incentives) เริ่มหาฐานการผลิตแห่งใหม่ จีนจึงมองมาที่ประเทศฝั่ง CLMVT เพราะปัจจัยการลงทุนอย่าง เงินทุน ที่ดิน แรงงาน ถูกนั่นเอง ไทยได้เปรียบกว่า 4 ประเทศ เรื่องเงินทุน ไทยเรามีความเป็นไปได้สูงที่สุดในด้านการหาทุนมาดำเนินกิจการและราคาที่ดินถูกที่สุดเมื่อเทียบกับห้าประเทศ คือสามารถถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ ( Free Holds) นอกนั้นจะเป็นการถือครองสิทธิ์การเช่าระยะยาว ( Long Lease) ทั้งหมด มีแต่ค่าแรงงานเท่านั้นที่สูงกว่ากลุ่ม CLMV ทำให้เกิดการย้ายฐานเข้าไปที่ประเทศเพื่อนบ้านกันมากขึ้น ที่เห็นชัดๆ หลายบริษัทอย่าง เสื้อผ้า รองเท้า อาหาร ที่ใช้แรงงานเข้มข้นได้ย้ายไปที่เวียดนามกันหมด ดังนั้นนโยบายภาครัฐต้องดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ต้องระดมความคิดกัน และควรนำมาเป็นยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อจะได้ไม่ต้องวิ่งตามกระแส และป้องกันการย้ายฐานการผลิต

ที่มา: https://www.posttoday.com/aec/trade/592680

ผู้ประกอบการเวียดนามหวั่นผลกระทบสงครามการค้าสหรัฐ-จีน

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา สหรัฐฯประกาศเพิ่มการจัดเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนกว่า 200 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากเดิมร้อยละ 10 ขึ้นเป็นร้อยละ 25 ทำให้จีนตอบโต้ประกาศขึ้นอัตราภาษีศุลกากรจากสหรัฐมากกว่าพันรายการ โดยบริษัทใหญ่ของเวียดนามมีมุมมองปัจจัยบวกต่อสงครามการค้าสหรัฐ-จีน เนื่องมาจากความผันผวนของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับสกุลทั่วโลก ส่งผลต่อธุรกิจส่งออกเวียดนามที่ได้รับประโยชน์จากการอ่อนค่าของค่าเงินด่อง แต่หลายภาคส่วนของธุรกิจแสดงความกังวลให้ภาครัฐบาลควบคุมค่าเงินไม่ให้ผันผวนจนมากเกินไป และอีกในมุมมองหนึ่ง คือ ผู้ประกอบการเวียดนามต้องเผชิญกับคู่แข่งชาวจีนที่ลงทุนในด้านทรัพยากรมนุษย์และการรับซื้อที่ดิน รวมไปถึงผู้ประกอบการชาวจีนที่ผลิตสินค้าในเวียดนาม สำหรับสินค้ากึ่งสำเร็จรูป เพื่อที่จะส่งออกไปยังสหรัฐฯ ภายใต้ฉลากของเวียดนาม.

ที่มา: https://vietnamnews.vn/economy/520036/vietnamese-businesses-fear-fallout-of-us-china-trade-war.html#hTJ3WHW3tuhibpqp.97

ส่องดู สปป.ลาว อย่าดูถูกตลาดใหม่ที่ยังมีช่องว่างให้เติบโต ก่อนจะคุยเรื่องรุกตลาดจีน

ก่อนที่จะไปบุกตลาดจีน เราควรมาพิเคราะห์ประเทศเพื่อนบ้านเราอย่าง สปป.ลาวกันก่อนว่ามีอะไรโดดเด่นเหมาะแก่การลงทุนกันบ้าง ด้วยความที่ไทยและ สปป.ลาวเป็นเพื่อนบ้านกัน วัฒนธรรม ภาษา การใช้ชีวิต จึงคล้ายคลึงกันและเป็นจุดเชื่อมต่อกับจีนที่กำลังหนุนสารพัดโครงการไม่ว่าจะเป็น ด้านโครงสร้างพื้นฐานและท่าเรือน้ำลึกเพื่อใช้ในการส่งออก การเป็นทางผ่านให้นักท่องเที่ยวจีนมุ่งสู่ไทย และปัจจุบันได้เกิดกลุ่มผู้บริโภคใหม่คือชนชั้นกลางมากขึ้นมีอำนาจซื้อมากขึ้น จึงเป็นโอกาสดีของสินค้าไทยที่การส่งงออกซึ่งชาว สปป.ลาว ให้ความมั่นใจในคุณภาพของสินค้าและให้อยู่ในระดับเดียวกับสินค้าที่มาจากเกาหลี การจับจ่ายสินค้าส่วนใหญ่ใช้เป็นเงินสดไม่นิยมการผ่อน ไม่นิยมทานข้าวนอกบ้านเพราะมองว่าเป็นการสิ้นเปลือง นับว่าเป็นบ้านใกล้เรือนเคียงที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

ที่มา: https://www.marketingoops.com/reports/industry-insight/laos-blue-ocean/

28 มิถุนายน 2561

รถไฟความเร็วสูงจีน-สปป.ลาว อีกหนึ่งเส้นทางเชื่อมจีนสู่อาเซียน

ปัจจุบันจีนเป็นประเทศที่เข้ามาลงทุนใน มากที่สุดด้วยมูลทุนสะสมกว่า 5.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 30% ของมูลค่าเงินลงทุนจากต่างประเทศสะสมทั้งหมด โดยเฉพาะ เส้นทางรถไฟสายคุนหมิง-สิงคโปร์ภายใต้ยุทธศาสตร์ One Belt, One Road ที่ถือสัดส่วน 70% ของโครงการ ผลดีต่อการขนส่งไปจีนคือลดต้นทุนได้ถึง 40 – 70% และเส้นทางยังผ่านเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างร่วมบ่อเต็นบ่อหาน แขวงหลวงน้ำทา เขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำ แขวงบ่อแก้ว และเขตเศรษฐกิจเฉพาะอุตสาหกรรมและการค้าเวียงจันทน์-โนนทอง นครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งทั้ง 3 เขตเศรษฐกิจมีความสำคัญทางด้านเป็นศูนย์กระจายสินค้า แหล่งบันเทิงที่สำคัญ เช่น นิคมอุตสาหกรรม Vita โอกาสของผู้ประกอบการไทยคือลงทุนในภาคการผลิต ธุรกิจท่องเที่ยว ค้าปลีก ซึ่งในอนาคตจะเชื่อมกับรถไฟความเร็วสูงภายใต้โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ซึ่งจะเป็นประตูสู่การลงทุนในกลุ่ม CLMV ได้เป็นอย่างดี

ที่มา: http://www.exim.go.th/doc/adn/48780_0.pdf

19 มิถุนายน 2560