ศักยภาพเมียนมาด้านอาหารของโลกหลังยุค COVID-19

เนื่องจากเมียนมามาเป็นประเทศเกษตรกรรมจึงมีความเป็นไปได้ที่จะตอบสนองความต้องการด้านอาหารของโลกหลังยุค COVID-19  จากการประชุมทางวิดีโอกับนางอองซานซูจีที่ปรึกษาของรัฐ นาย Sett Aung ผู้กำหนดแผนบรรเทาทุกข์ทางเศรษฐกิจและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังการวางแผนและอุตสาหกรรมและประธาน หอการค้าเมียนมา (UMFCCI)  ซึ่งเมียนมาเป็นประเทศที่มีความพอเพียงด้านอาหารเพื่อการบริโภคภายในประเทศและเป็นผู้ส่งออกโดยใช้เทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ โดย 70% ของประชากรอยู่ในพื้นที่ชนบทเศรษฐกิจหลักคือการเกษตร ดังนั้นจึงมีนโยบายในการพัฒนาภาคเกษตรที่ครอบคลุมวิสัยทัศน์ในอนาคต

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-has-the-potential-to-supply-world-food-requirement-after-covid-19-union-minister

อัพเดท สถานการณ์ COVID-19 เวียดนาม วันที่ 08.06.2563

อัพเดท สถานการณ์ COVID-19 เวียดนาม วันที่ 8 มิถุนายน 2563

สอท. ณ กรุงฮานอย ระบุว่าผู้ติดเชื้อ 331 (+4) ราย, รักษาหาย 316 ราย (+38) และไม่มีผู้เสียชีวิต

คนเวียดนามกลับจากต่างประเทศติดเชื้อเพิ่ม 4 คนแต่ไม่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มในประเทศเป็นวันที่ 53 และชุดตรวจสอบเชื้อโควิด-19 ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลกและสหราชอาณาจักร

พัฒนาการที่สำคัญในวันนี้

  • เวียดนามไม่พบผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่ในระดับชุมชน (local transmission) เป็นวันที่ 53 แต่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่กลับจากต่างประเทศ (รัสเซีย สหราชอาณาจักร เม็กซิโก) 4 ราย
  • บริษัท Sunstar JSC ร่วมมือกับ National Institute for Control of Vaccine and Biologicals และ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย Hanoi ผลิตชุดทดสอบเชื้อโควิด-19 “RT-PCR COVID-19 KIT THAI DUONG และ RT-LAMP COVID-19 KIT THAI DUONG” ซึ่งได้รับการขึ้นรายการ Emergency Use Listing Procedures ขององค์การอนามัยโลก และกระทรวงสาธารณสุขสหราชอาณาจักรออก Certicate of European Standard (CE) และ Certificate of Free Sales (CFS) สำหรับผลิตภัณฑ์ดังกล่าวด้วย

พัฒนาการที่สำคัญในวันนี้

  • ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินมาตรการป้องกันอย่างต่อเนื่องเพื่อมิให้ผู้ติดเชื้อรายใหม่
  • แนะนำให้ประชาชนหมั่นล้างมือ สวมหน้ากาก
  • งดกิจกรรมเฉลิมฉลอง พิธีกรรมทางศาสนาและมหกรรมกีฬา
  • ยังคงห้ามนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าเวียดนาม เพื่อป้องกันไม่ให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่
  • บุคคลที่เดินทางเข้าเวียดนามจะถูกกักตัว 14 วัน
  • ยกเว้นการห้ามการเดินทางเข้าประเทศของคนต่างประเทศ โดยจะพิจารณาอนุญาตให้นักลงทุนชาวต่างชาติ ผู้เชี่ยวชาญ แรงงานทักษะสูง ผู้บริหารกิจการ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาชาวเวียดนามที่ศึกษาในต่างประเทศ โดยจะต้องปฏิบัติตามมาตรการควบคุมและกักตัวอย่างเข็มงวด
  • สถานเอกอัครราชทูตฯ ขอเชิญชวนชาวไทยมอบสิ่งของ เพื่อบรรเทาผลกระทบจาก COVID-19 ให้กับชุมชน Phuc Xa กรุงฮานอย ในช่วงต้นเดือนมิ.ย. 2563

ที่มา : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย

เมียนมาเตรียมจัดการกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจาก COVID-19

เศรษฐกิจเมียนมาคาดว่าจะลดลงอีกในปีนี้เนื่องจากการระบาด COVID-19 นางอองซานซูจีที่ปรึกษาของรัฐกล่าวระหว่างการประชุมกับรัฐมนตรีคลังที่สำคัญในวันที่ 16 มิถุนายน 63 ความเสียหายส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในไตรมาสที่สามและสี่ของปีนี้ ดังนั้นรัฐบาลต้องการให้ประชาชนได้เตรียมความพร้อมด้านการเงินเพื่อรับมือกับวิกฤติที่จะเกิดขึ้น ในช่วงสามเดือนที่ผ่านมาเมียนมาได้กู้ยืมเงินดอกเบี้ยต่ำจากพันธมิตรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศและผู้ให้กู้มูลค่า 1.25 พันล้านดอลลร์สหรัฐเพื่อจัดการกับความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดจาก COVID-19 ประกอบไปด้วยกองทุนรวม 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) 270 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากญี่ปุ่น 250 ล้านดอลลาร์ดอลลาร์สหรัฐจากธนาคารโลก และ 30 ล้านดอลลาร์ดอลลาร์สหรัฐจากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) รัฐบาลได้จัดทำแผนบรรเทาเศรษฐกิจ COVID-19 (CERP) ซึ่ง SMEs กว่า 2,000 แห่งได้รับเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำจากกองทุน 100 พันล้านจัต โดยมีการจัดสรรเงินทุนเพิ่มเติมจำนวนมากถึง 500,000 ล้านจัตเพื่อช่วย SMEs และธุรกิจการท่องเที่ยวและการผลิตอื่น ๆ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-prepared-manage-further-economic-fallout-dassk.html

สำนักงานประกันสังคมเสนอการช่วยเหลือทางการเงินแก่พนักงานในช่วงการระบาดใหญ่ของ Covid-19 ในสปป.ลาว

นายจ้างสามารถลงทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคมลาว (LSS) เพื่อขอความช่วยเหลือทางการเงินสำหรับพนักงานที่ว่างงานชั่วคราวหรือผู้ที่สูญเสียวันทำงานอันเนื่องมาจากมาตรการ social distancing ในช่วงการระบาดของ COVID-19 สถานที่ทำงานหลายแห่งนำนโยบายการหมุนเวียนพนักงานเพื่อลดจำนวนคนในสำนักงานและโรงงานซึ่งหมายความว่าพนักงานทำงาน 1 วันและหยุดงาน 1 วัน ตาม LSS นายจ้างจะต้องส่งเอกสารที่จำเป็นสำหรับการสนับสนุนทางการเงิน รวบรวมรายชื่อพนักงานที่เอาประกัน พร้อมรายละเอียดที่ได้รับการยืนยันโดยสมาคมที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานของรัฐเพื่อตรวจสอบว่าลูกจ้างตกงานหรือสูญเสียการทำงานเต็มวัน การสนับสนุนทางการเงินสำหรับพนักงานครอบคลุมการขาดงานชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 1-18 พ.ค. หากผู้ประกอบการเช่นโรงแรม ร้านอาหาร บริษัททัวร์และโรงงานหยุดทำงานชั่วคราวอีกครั้งสามารถนำไปใช้กับ LSS ได้อีกครั้ง แต่ห้ามส่งพนักงานที่มีประกันน้อยกว่าหนึ่งปี LSS กล่าวว่าจะให้การสนับสนุนทางการเงิน 60 เปอร์เซ็นต์ของเงินเดือนพนักงานของผู้เอาประกันภัย นอกจากนี้เงินช่วยเหลือจะจ่ายให้กับพนักงานที่ออกจากงานชั่วคราวเนื่องจาก COVID-19 แต่ไม่ใช่สำหรับคที่ลาออก และจะตรวจสอบรายละเอียดการเรียกร้องของพนักงานแต่ละคน หากสอดคล้องกับข้อมูลของสำนักงาน เงินจะถูกโอนไปยังบัญชีธนาคารของพนักงานโดยตรง

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Social115.php

กัมพูชาคาดหวังสำหรับการเริ่มต้นใหม่ของภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศ

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในกัมพูชาอาจจะฟื้นตัวได้ในปี 2025 จากการระบาดของ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว รวมถึงอุตสาหกรรมอื่นๆ ภายในประเทศ โดยหากทุกประเทศทั่วโลกสามารถควบคุมการระบาดของ Covid-19 ได้ร้อยละ 70 ในปลายปีนี้การเติบโตของภาคการท่องเที่ยวในกัมพูชาคาดว่าจะฟื้นตัวประมาณร้อยละ 30 ในปี 2021 และ 2022 กล่าวโดยประธานสมาคมการท่องเที่ยวแห่งเอเชียแปซิฟิกประเทศกัมพูชาบทที่ (PATACC) ซึ่งตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเมษายน 2020 กัมพูชาได้ให้การต้อนรับชาวต่างชาติเพียงประมาณ 1.16 ล้านคน ตามตัวเลขจากกระทรวงการท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาเยือนกัมพูชา 4,841 คน ในเดือนเมษายน คิดเป็นการลดลงถึงร้อยละ 99.1 เมื่อเทียบเป็นรายปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50734635/hopes-for-early-tourism-resumption-dashed/

กัมพูชาคาดกลุ่มอุตสาหกรรมนอกเหนือกลุ่มเครื่องนุ่งห่มยังคงแข็งแกร่งในปีหน้า

อุตสาหกรรมนอกเหนือกลุ่มเครื่องนุ่งห่มในกัมพูชาคาดว่าจะยังคงแข็งแกร่งในปีหน้า โดยได้รับการสนับสนุนจากภาคเกษตรและบริการตามแผนยุทธศาสตร์งบประมาณของรัฐบาลในปี 2564-2566 ท่ามกลางการระบาดของ Covid-19 รัฐบาลวางแผนที่จะลดงบประมาณของรัฐในปี 2021 เป็นประมาณ 4 พันล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นการลดลงร้อยละ 50 จากปีนี้ ตามแผนงบประมาณรัฐบาลคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของประเทศจะหดตัวมาอยูที่ระดับร้อยละ 1.9 ในปี 2020 แต่จะดีดตัวขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ในปี 2021 ที่คาดว่าจะหนุนโดยภาคเกษตรที่เติบโตร้อย 1.6 และภาคบริการที่เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมคาดว่าจะเติบโต ร้อยละ 4.1 ผ่านการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มที่ไม่ใช่เสื้อผ้า รวมถึงการเติบโตจะมาจากการทำข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับหลายประเทศ เช่น จีน, เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น โดยเฉพาะการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร, วัสดุก่อสร้าง, การประกอบชิ้นส่วนและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50734782/non-garment-sectors-predicted-to-remain-healthy-next-year/

ส่งออกสิ่งทอเครื่องนุ่งห่มและไลฟ์สไตล์ไทย 4 เดือนแรกปี’63 ร่วง 10%

นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว การแข่งขันทางการค้าที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ตลอดจนการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการค้าและการส่งออกของหลายประเทศรวมถึงประเทศไทย ทั้งนี้ อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (สะสม) ช่วง 4 เดือน (ม.ค.-เม.ย. 2563) พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 2,032.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปี 2562 มูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มลดลง 10.7% โดยแยกเป็นการส่งออกกลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 1,280.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 13.4% และ การส่งออกกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 752.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 5.8% ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จึงมีแนวคิดในการพลิกฟื้นการค้าและการส่งออกของประเทศโดยการเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการเพื่อรองรับธุรกิจตามวิถีใหม่ (New normal) สำหรับภาคธุรกิจภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยนำร่องพัฒนา 30 ผลิตภัณฑ์ นำไปทดสอบตลาดคาดว่าจะทำให้ผู้ประกอบการมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 10% หรือมูลค่าไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท

ที่มา : https://www.khaosod.co.th/economics/news_4326769

ผู้บริโภคสปป.ลาวได้รับผลกระทบจากราคาอาหารที่จำเป็นเพิ่มขึ้น

จากการระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลให้มีกิจการปิดตัวลงมากมาย ทำให้มีแรงงานตกงานจำนวนมากจากตัวเลขอัตราการว่างงานในปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 25 ซึ่งจากเดิมที่อยู่ที่ร้อยละ 3 ในปีที่แล้ว ไม่เพียงแค่ปัญหาดังกล่าวที่สปป.ลาวต้องเผชิญในปัจจุบัน  แต่ในปัจจุบันระดับราคาสินค้าที่จำเป็นปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะอาหารสดจำพวกผักเช่น หัวหอม ผักชี พริกและมะเขือ ราคาเพิ่มขึ้นไปเกือบ 2 ซึ่งเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรได้ให้ความเห็นว่า “เป็นการยากที่จะควบคุมต้นทุนผักและสินค้าจำเป็นอื่น ๆ ในตลาดเนื่องจากการปรับตัวเป็นไปตามกฎอุปสงค์และอุปทานโดยคาดว่าราคาสินค้าดังกล่าวจะปรับตัวลงมาในอีก 3 เดือนข้างหน้าเพราะจะเข้าสู่ช่วงหน้าฝนซึ่งจะทำให้มีผลผลิตออกมาจำนวนมากจนส่งผลให้ระดับราคามีการปรับตัวลง” ถึงอย่างไรก็ตามรัฐบาลกำลังหารือถึงแนวทางในการช่วยเหลือผู้บริโภคหากราคามีแนวโน้มสูงขึ้นไปอีก

ที่มา : https://www.rfa.org/english/news/laos/prices-06162020154319.html

การลงทุนในย่างกุ้งยังคงดำเนินต่อแม้จะการระบาด ของ COVID-19

การระบาดใหญ่ของโคโรนาไวรัสไม่ได้ทำให้นักลงทุนสนใจในย่างกุ้งลดลง ตั้งแต่ตรวจพบเชื้อ COVID-19 ในเมียนมาเมื่อเดือนมีนาคม ซึ่งมี 4  ธุรกิจที่ได้รับอนุมัติให้ลงทุน 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐในย่างกุ้ง การประชุมเชิงปฏิบัติการและโรงงานในยังดำเนินงานตามปกติและไม่ได้รับผลกระทบรุนแรง บริษัท 3 แห่งจากจีนและฮ่องกงและบริษัทท้องถิ่นแห่งหนึ่งได้รับอนุมัติให้ลงทุนในย่างกุ้ง ซึ่งการลงทุนคาดว่าจะสร้างตำแหน่งงานกว่า 656 ตำแหน่ง โดยผู้ผลิตเสื้อผ้าและรองเท้าเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดในเขตย่างกุ้ง คณะกรรมการการลงทุนเขตย่างกุ้งจัดการประชุม 2 ครั้งต่อเดือนเพื่อตัดสินใจอนุมัติเงินลงทุนสูงสุด 5 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 6 พันล้านจัต

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/investments-yangon-continue-despite-pandemic.html

ยอดผู้โดยสารลดลงส่งผลกระทบต่อคนขับแท็กซี่อย่างหนัก

แท็กซี่ในเมียนมากำลังประสบปัญหาในการหาผู้โดยสารจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในย่างกุ้ง แม้เจ้าของอู่จะลดค่าเช่าลง (ประมาณ 50%) แต่จำนวนผู้โดยสารก็ลดลงอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้นปี สำหรับค่าธรรมเนียมการเช่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันลดลงจาก 10,000 จัต เหลือ 5000 จัตต่อเดือน รถที่ใช้แก๊สจะมีการลดค่าธรรมเนียมจาก 15,000 จัตเหลือ 8,000 จัตต่อคัน คนขับ taxi รายหนึ่งเล่าว่าแต่ก่อนมีรายได้มากกว่า 40,000 จัตต่อวัน แต่ตอนนี้เหลือเพียง 20,000 จัตเท่านั้น

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/falling-demand-hits-taxi-drivers-hard.html