ธุรกิจทอเสื่อเพิ่มรายได้เสริมให้ครอบครัวในเมืองตะด้าอู้

ชาวเมืองตะด้าอู้หารายได้เสริมจากธุรกิจทอเสื่อธินฟู่ ซึ่งชาวเมียนมาส่วนใหญ่นิยมใช้เสื่อทินฟู่เป็นเฟอร์นิเจอร์ในบ้าน วัตถุดิบหลักที่ใช้ผลิตจะใช้ต้นอ้อยดิบในการทอจากเมืองปันตานอว์ การทอสื่อหนึ่งผืนจะได้รับค่าแรง 2,500 จัต แม้ค่าจ้างจะน้อย แต่หญิงสาวในเมืองก็มีรายได้พิเศษเนื่องจากเป็นธุรกิจดั้งเดิมของท้องถิ่น ส่วนราคาขายจะอยู่ที่ราคา 15,000 จัตต่อผืน เสื่อธินฟู่มีหลายขนาด ขนาดใหญ่สุดคือ 7 ฟุต นอกจากนี้เสื่อที่ใช้ในการนั่งสมาธิยังขายได้ในราคาถึง 3,000 จัตต่อผืน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/mat-weaving-business-earns-extra-family-income-in-tada-u/

“ฮานอย” ตั้งเป้าธุรกิจกว่า 900 แห่งเข้าไปในอุตสาหกรรมสนับสนุน

ตามแผนของคณะกรรมการประชาชนของเมือง ภายใต้คำสั่ง 49 / KH-UBND ที่เกี่ยวข้องกับการตั้งเป้าหมายในประเด็นการพัฒนาโครงการอุตสาหกรรมสนับสนุนในท้องถิ่น ปี 2564 โดยแผนงานระบุว่าอุตสาหกรรมสนับสนุน มีสัดส่วน 16% ของมูลค่าการผลิตทั้งหมดของภาคอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปประจำเมืองฮานอย อีกทั้ง ยังกำหนดภารกิจเพื่อช่วยในการส่งเสริมอุตสาหกรรมสนับสนุน เช่น การเชื่อมต่อระหว่างธุรกิจกับซัพพลายเออร์ในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนสนับสนุนองค์กรต่างๆ ในการนำระบบบริหารธุรกิจและการผลิตขั้นสูงมาใช่ในการทำธุรกิจ รวมถึงการส่งเสริมกิจกรรมการวิจัยและพัฒนา (R&D) และการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/911299/ha-noi-strives-to-have-900-firms-in-supporting-industries.html

ผู้เชี่ยวชาญประเมินศักยภาพของเวียดนามในการดึงดูดธุรกิจระดับโลก

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่าภาคการลงทุนจากต่างประเทศมีส่วนสำคัญต่อการผลักดันทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของเวียดนาม อีกทั้ง เวียดนามคงเป็นจุดหมายปลายทางการลงทุนที่น่าสนใจแก่นักลงทุนต่างชาติ สาเหตุมาจากเม็ดเงินลงทุนโดยตรงตากต่างประเทศจาก 24.1 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2558 ขึ้นมาแตะ 38 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562 ซึ่งตัวเลขเม็ดเงินทุนในปี 2563 อยู่ที่ 28.53 พันล้านเหรียญสหรัฐ ถึงแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ทั้งนี้ คุณ Do Nhat Hoang ผู้อำนวยการหน่วยงานการลงทุนจากต่างประเทศ กล่าวว่าการเข้าร่วมข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ทั้งความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP), ความตกลงเขตการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป (EVFTA) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) นอกจากนั้น ยังได้ย้ำถึงความสำคัญของการดึงดูดโครงการทางด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเอไอ บล็อกเชนและฟินเทค ตลอดจนการฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/experts-consider-how-vietnam-can-attract-greater-investment-from-global-firms-845168.vov

สนง.ส่งเสริมการค้าเวียดนามจับมืออาลีบาบา ผลักดันธุรกิจผ่านช่องทางส่งออกออนไลน์

สำนักงานส่งเสริมการค้าเวียดนาม (Vietrade) และเว็บไซต์อาลีบาบา (Alibaba) ที่เป็นแพลต์ฟอร์มอีคอมเมิร์ซในระดับโลก แบบ B2B ของกลุ่มบริษัทอาลีบาบา ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อส่งเสริมธุรกิจเวียดนามในการยกระดับการส่งออกออนไลน์และจัดตั้งอีคอมเมิร์ซระหว่างประเทศ ซึ่งภายใต้การลงนามบันทึกความเข้าใจนั้น ทางอาลีบาบาจะให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคสำหรับหน่วยงานส่งเสริมการค้าและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของเวียดนาม ในขณะเดียวกัน สำนักงานส่งเสริมการค้าได้มุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับอาลีบาบา เพื่อปรับปรุงการเปลี่ยนแปลงโดยใช้เทคโนโลยีดิจิตอลและเพิ่มขีดความสามารถในด้านอีคอมเมิร์ซ นอกจากนี้ ตลาดอีคอมเมิร์ซของเวียดนามในปี 2563 เติบโต 18% ด้วยมูลค่า 11.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ แม้ว่าขยายตัวได้ช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ แต่เวียดนามก็ยังเป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีอัตราการเติบโตของอีคอมเมิร์ซเป็นตัวเลขสองหลัก

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/vietrade-alibabacom-partner-to-help-firms-with-online-export-843718.vov

Visa กำหนดกลยุทธ์สนับสนุนภาคธุรกิจขนาดเล็กในกัมพูชา

ตามแนวคิดใหม่ Visa กำหนดกลยุทธ์สนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กให้สามารถปรับตัวอยู่รอดจากผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้โดยเร็ว ซึ่งการปรับตัวที่สำคัญในอันดับต้นๆ คือการเร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่การค้าในรูปแบบออนไลน์ ผ่านการชำระเงินในรูปแบบไร้สัมผัส เช่น ผ่านทางมือถือหรือในรูปแบบแตะบัตร โดยบริษัท Visa กล่าวว่าธุรกิจที่ใช้บริการของบริษัทสามารถขยายเครดิตได้สูงถึง 55 วัน โดยปลอดดอกเบี้ยเพื่อช่วยปรับปรุงกระแสเงินสดของธุรกิจขนาดเล็ก ซึ่งบริษัทได้ปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยเครื่องมือดิจิทัล เช่น G Suite และ Microsoft Office รวมถึงแพลตฟอร์มบัญชีระบบคลาวด์ เช่น Xero และ Sage ซึ่งมาพร้อมกับบัตร Visa ที่จะทำให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถใช้ประโยชน์จากส่วนลดและข้อเสนอพิเศษบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ เช่น Shopify, Boutir และ Big Commerce นอกจากนี้เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กจะได้รับการอบรมพัฒนาทักษะผ่านหลักสูตร LinkedIn Learning และ HBR Ascend รวมถึงแพลตฟอร์มโฆษณาออนไลน์ เช่น Google Ads เพื่อระบุและดึงดูดลูกค้าใหม่ทางออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50824887/visa-profiles-survival-strategies-of-small-businesses-during-pandemic/

เวียดนามรับข้อเสนอสภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจแก่นักลงทุนต่างชาติ

เมื่อวันที่ 3 มี.ค. ณ กรุงฮานอย นาย Mai Tien Dung รัฐมนตรีและประธานสำนักงานรัฐบาล กล่าวต้อนรับนายลีคังอู ผู้อำนวยการทั่วไปของบริษัทล็อตเต้ พร็อพเพอร์ตี้ และนาย Horst Geicke ประธานและกรรมการผู้จัดการบริษัทโฮทรัม แซงซัวรี่ โดยภายในงานต้อนรับนั้น นายลีคังอูได้แสดงความยินดีกับรัฐบาลในการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้และเรื่องการผลิตวัคซีน ตลอดจนความร่วมมือที่มีอย่างต่อเนื่องในทุกมิติ นาย Dung ยังกล่าวเสริมว่ารัฐบาลเวียดนามชื่นชมความพยายามของเกาหลีใต้ในฐานะเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ๋ที่สุดในประเทศ และทั้งสองประเทศยังมุ่งมั่นที่จะก้าวข้ามอุปสรรคการระบาดของเชื้อไวรัส ทั้งนี้ รัฐมนตรีฯ กล่าวถึงปัญหาที่ภาคธุรกิจได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวถือว่าเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ดังนั้น จึงต้องใช้เวลาในการฟื้นตัวค่อนข้างมาก

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-willing-to-offer-optimal-conditions-for-foreign-investors-28795.html

จำนวนธุรกิจที่จดทะเบียนใหม่ในเวียดนาม พุ่ง 21.9% ในเดือน ม.ค.

สำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าบริษัทที่จดทะเบียนใหม่ในเดือนมกราคม อยู่ที่ราว 10,100 แห่ง เพิ่มขึ้น 21.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เงินทุนจดทะเบียนรวม 155.1 ล้านล้านด่อง (6.74 พันล้านเหรียญสหรัฐ) และจำนวนแรงงาน 115,900 คน เพิ่มขึ้น 25.9 และ 37.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามลำดับ ทั้งนี้ โดยภาพรวม มีเงินทุนไหลเข้าเศรษฐกิจพุ่ง 395.1 ล้านล้านด่อง เพิ่มขึ้น 10.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม เงินทุนจดทะเบียนเฉลี่ย 15.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่ จำนวนธุรกิจที่กลับมาดำเนินกิจการ 6,503 แห่ง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/number-of-newlyestablished-firms-surges-219-percent-in-january/195842.vnp

รัฐบาลและธุรกิจ เป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความก้าวหน้าเศรษฐกิจดิจิทัลของเวียดนาม

จากข้อมูลของ Central Institute for Economic Management (CIEM) ระบุว่าการผลักดันของการนำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญทั้งภาครัฐและเอกชน จะต้องร่วมกันสร้างความก้าวหน้าของเศรษฐกิจดิจิทัลในเวียดนาม สำหรับภาครัฐบาลแล้วนั้น ได้เล็งเห็นความสำคัญของการดำเนินกฎหมาย เพื่อส่งเสริมกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ตามหลักสากล ทั้งนี้ เศรษฐกิจดิจิทัลควรครอบคลุมไปยังพื้นที่ห่างไกลและกลุ่มเปราะบาง รวมถึงผู้หญิงหรือคนจน นอกจากนี้ ผลการศึกษาของ Google, Temasek และ Bain เปิดเผยว่าผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญให้เศรษฐกิจดิจิทัลของเวียดนาม ขยายตัวร้อยละ 16 ในปีนี้ คิดเป็นมูลค่า 14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จนถึงปี 2568 อยู่ที่ 52 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ในอนาคตข้างหน้า รัฐบาลจำเป็นต้องสร้างความมั่นใจว่าโลกไซเบอร์มีความปลอดภัย และปรับปรุงกฎหมายแก่เศรษฐกิจดิจิทัล ตลอดจนนโยบายภาษีแก่ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจบนแพลตฟอร์มดิจิทัล และประเด็นในเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น

ที่มา : http://hanoitimes.vn/government-firms-are-key-to-create-breakthroughs-in-vietnam-digital-economy-315008.html

เซเว่นอีเลฟเว่นวางแผนกลับมาเริ่มดำเนินธุรกิจในกัมพูชา

บริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าการขยายสาขาร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นไปยังกัมพูชาและ สปป.ลาวจะยังคงเกิดขึ้นตามแผนที่วางไว้เมื่อสถานการณ์การระบาดดีขึ้น โดยซีพีออลล์ (กัมพูชา) และซีพีออลล์ (สปป.ลาว) ต่างได้รับสิทธิแฟรนไชส์ในการก่อตั้งและดำเนินการร้านเซเว่นอีเลฟเว่นเป็นเวลา 30 ปี ซึ่งนอกจากกลุ่มบริษัททั้งสองนี้แล้ว กัมพูชายังได้รับความสนใจจากนักธุรกิจไทยที่ต้องการสำรวจโอกาสในการเป็นหุ้นส่วนในกัมพูชาหลังจากที่ได้ลงนามข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคี (FTA) กับจีนเป็นครั้งแรก โดยการลงทุนเหล่านี้จะช่วยให้การค้าระหว่างประเทศเติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจากสถิติของสถานทูตกัมพูชาในประเทศไทยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2020 การค้าข้ามพรมแดนของไทยกับกัมพูชามีมูลค่าอยู่ที่ 6.1 พันล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 21 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50786446/7-eleven-expansion-into-the-kingdom-coming-as-planned/

“อาเซียน” หนุนเปิดประเทศ ฟื้นฟูจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยหลังเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน (ASEAN Transport Ministers Meeting : ATM) ครั้งที่ 26 ว่ามีประเด็นสำคัญด้านต่างๆ ดังนี้คือ 1.การขนส่งในการฟื้นฟูภูมิภาคอาเซียนจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 2.รับรองงานสำคัญเร่งด่วน-ผลลัพธ์ที่อาเซียนจะต้องร่วมดำเนินการให้แล้วเสร็จในปี 64 ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งกัวลาลัมเปอร์ ปี 59-68 และ 3.การขนส่งรายสาขา ทั้งทางอากาศ ทางบก ทางทะเล และการอำนวยความสะดวกในการขนส่ง ซึ่งที่ประชุมยังยินดีต่อความสำเร็จและให้การรับรองเอกสารผลลัพธ์-งานสำคัญประจำปี 63 ด้านการทบทวนแผนยุทธศาสตร์การขนส่งกัวลาลัมเปอร์ (KLTSP) ปี 59-68 ระยะกลางพิธีสาร 2 สถาบัน ฝึกอบรมด้านการบินตามความตกลงยอมรับร่วมใบอนุญาตผู้ปฏิบัติหน้าที่ประจำเที่ยวบิน แผนแม่บทเดินอากาศอาเซียน แนวปฏิบัติในช่วงสถานการณ์โควิด-19 แนวปฏิบัติการยกระดับขั้นตอนมาตรฐานรายงานข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนตามมาตรฐานสหประชาชาติ ปฏิญญาบรูไนว่าด้วยความปลอดภัยทางถนนของอาเซียน ค.ศ.2020 การเปิดตัววีดิทัศน์ความปลอดภัยทางถนนของอาเซียน และแผนที่โครงข่ายด้านการขนส่งทางบกอาเซียน จนถึงเตรียมจัดประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียนกับคู่เจรจา ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งจะมีขึ้นในลำดับถัดไปเป็นต้น

ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/1983029