รัฐบาลเมียนมาเผยแผนสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งใหม่ (SEZ) ในรัฐมอญ

เขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งใหม่ (SEZ) จะดำเนินการในรัฐมอญโดยเชื่อมโยงเมียนมากับแนวพื้นที่เศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำตะวันออก-ตะวันตก โดย SEZ แห่งใหม่มีเป้าหมายเพื่อเชื่อมต่อกับดานังของเวียดนามและจะเป็น SEZ ที่ใหญ่ที่สุดในเมียนมาหากได้รับการอนุมัติ คาดว่าจะมีค่าใช้จ่าย 117 ล้านดอลลาร์สหรัฐในการพัฒนาและใช้เวลาอย่างน้อย 5 ปีจึงจะแล้วเสร็จ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับประเทศที่อยู่บนทางเดินเศรษฐกิจโดยมีการสร้างท่าเรือน้ำลึกและการเชื่อมต่อเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา (Thilawa SEZ) ผ่านเครือข่ายการขนส่งท้องถิ่น ในการเลือกที่ตั้ง การศึกษาความเป็นไปได้และจัดทำแผนแม่บทโดยได้รับความช่วยเหลือจากทีมที่ปรึกษาระหว่างประเทศ จุดประสงค์ในการเชื่อมต่อเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งใหม่ (SEZ) ของรัฐมอญกับเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา (Thilawa SEZ) เพื่อให้ทั้งสองพื้นที่เป็นเขตอุตสาหกรรมที่มีมาตรฐาน มีความโปร่งใส และมีคุณภาพระดับโลก โครงการนี้จะรวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารเมืองเพื่อพัฒนาอย่างเมืองเมาะลำเลิงในรัฐมอญ เมืองพะอานและเมืองเมียวดีในรัฐกะเหรี่ยง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/govt-reveals-plans-build-new-sez-mon-state.html

“Thailand Plus One” กลยุทธ์การลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษปอยเปต

เขตเศรษฐกิจพิเศษปอยเปต เป็นบริษัทย่อยของ บมจ.เขตเศรษฐกิจพิเศษพนมเปญ มีเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์กลางการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องกลและยานยนต์ ซึ่งโซนนี้จะใช้ประโยชน์จากบริเวณใกล้เคียงกับชายแดนไทยและการเข้าถึงทางหลวงสายเอเชียที่กำลังพัฒนา โดยจะเชื่อมโยงศูนย์กลางอุตสาหกรรมในอนาคตกับจุดแจกจ่ายหลัก ซึ่งเขตเศรษฐกิจพิเศษปอยเปตกำลังพัฒนาพื้นที่ราว 65.7 เฮกตาร์ และติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานมาตรฐานสากล เช่นสายไฟฟ้าของตัวเอง (ร่วมทุนกับ B. Grimm Power ในประเทศไทย), โรงบำบัดน้ำเสีย, บริการรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมงและบริการอื่น ๆ เพื่อตอบสนอง ความต้องการของผู้ผลิตที่สนใจเข้ามาร่วมลงทุน จากรายงานของธนาคารโลกระบุว่ายอดส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ไปยังญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็น 77.8 ล้านดอลลาร์ในปี 2562 เพิ่มขึ้นจาก 39.4 ล้านดอลลาร์ในปี 2561 จากรายงานของธนาคารโลก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50729641/thailand-plus-one-poipet-sez-investment-strategy/

เมียนมาสร้างทางด่วนเชื่อมต่อย่างกุ้ง-มัณฑะเลย์ และเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา

กระทรวงก่อสร้างของเมียนมาระบุว่าจะมีการสร้างทางด่วนระยะทาง 57.8 กม. เชื่อมระหว่างย่างกุ้ง – มัณฑะเลย์และเขตเศรษฐกิจพิเศษทิลาว่า คณะกรรมการพัฒนาเมืองย่างกุ้งร่วมกับสำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (JICA) กำลังดำเนินโครงการสำหรับแผนการขนส่งที่ครอบคลุมของเมืองย่างกุ้ง (YURTA) ที่ครอบคลุมมากขึ้นเพื่อลดความแออัดของการจราจรและอุบัติเหตุบนท้องถนนจากการเพิ่มปริมาณการไหลเวียนมาของสินค้า ภาคตะวันออกของถนนวงแหวนรอบนอกย่างกุ้ง (YORR) เป็นโครงการที่มีความสำคัญลำดับต้น ๆ ทางด่วนเชื่อมต่อทางด่วนย่างกุ้ง – มั ณ ฑะเลย์และ Thilawa SEZ โดยผ่านแม่น้ำย่างกุ้งและ Dala บนทางหลวงหมายเลข (7) โครงการคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2568 ซึ่งจะมีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับระเบียงเศรษฐกิจของ GMS East-West

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/expressway-to-be-built-connecting-yangon-mandalay-expressway-and-thilawa-sez

เมียนมาสร้างลงทุนกว่า 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐสร้างเขตอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษเจาะพยู

โครงการเขตอุตสาหกรรมภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษเจาะพยู รัฐยะไข่จะถูกพัฒนาขึ้นเป็นมูลค่า 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย CITIC Consortium จากจีนเป็นเจ้าของ 51% ของเขตอุตสาหกรรมในขณะที่รัฐบาลเมียนมาเป็นเจ้าของ 49% บนพื้นที่ 2,400 เอเคอร์ และโครงการที่อยู่อาศัยระดับไฮเอนด์จะถูกสร้างบนพื้นที่ 1235 เอเคอร์ ประกอบด้วยเขตอุตสาหกรรม และท่าเรือน้ำลึกพื้นที่ทั้งหมด 4,400 ไร่ เมียนมาจะถือหุ้น 30 ขณะที่ CITIC Consortium จะถือหุ้น 70% ขณะนี้มีการเจรจาเพื่อเริ่มการดำเนินการระยะแรกที่ 1.3 พันล้านดอลลาร์ สิ่งนี้เป็นไปตามข้อตกลงสัมปทานและข้อตกลงของผู้ถือหุ้นสำหรับท่าเรือน้ำลึกระหว่างสองประเทศ การพัฒนาท่าเรือเจาะพยู จะช่วยยกระดับสถานะของจีนในมหาสมุทรอินเดียทำให้การนำเข้าน้ำมันของจีนผ่านช่องแคบมะละกา SEZ เป็นสินทรัพย์อันล้ำค่าของระเบียงเศรษฐกิจจีน-เมียนมา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Belt and Road Initiative ที่จีนต้องการจะชื่อมต่อเขตแดนของประเทศต่างๆ ในแถบเอเชียทั้งหมดเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังจะเป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญสำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง คุณหมิง-มูเซ-มัณฑะเลย์-เจาะพยู

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/industrial-zone-kyaukphyu-sez-be-built-30m.html

เขตเศรษฐกิจพิเศษดึงดูดเงินมากถึง 5.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ

เขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZs) ที่จัดตั้งขึ้นทั่วประเทศดึงดูดการลงทุนเกือบ 5.7 พันล้านเหรียญสหรัฐโดยมีบริษัท 806 แห่งได้ลงทุนในโซนซึ่งประกอบด้วย 26.34% ในภาคอุตสาหกรรม 25.26%ในการค้าและ 48.4% ในภาคบริการนอกจากนี้การเข้ามาลงทุนในเขตพิเศษยังทำให้เกิดการจ้างงานซึ่งได้สร้างงานถึง 12,596 ตำแหน่งสำหรับแรงงานลาว ปัจจุบันสปป.ลาวกำลังศึกษาถึงโอกาสในการจะจัดตั้งโซนเศรษฐกิจใหม่เพิ่มเติมอีกแห่งหนึ่งซึ่งเรียกว่า “สมาร์ทแอนด์อีโคซิตี้” ระหว่างเขตหลวงน้ำทาและจังหวัดอุดมไชยและมีการคาดการณ์จะสร้างเม็ดเงินและสร้างงานให้กับสปป.ลาวได้อีกมากและจะเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/special-economic-zones-attract-us57-b-113321

ความคืบหน้าของการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย

ในแถลงการณ์เมื่อวันที่ 9 มกราคมคณะกรรมการบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย มีการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงกับ บริษัท อิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (ITD) สำหรับการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมแห่งแรกในภูมิภาคตะนาวศรี ตามการแก้ไขสัญญา จะต้องชดเชยและโยกย้ายชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเขตอุตสาหกรรม ต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากลด้านสิ่งแวดล้อม รัฐบาลไทยตกลงที่จะให้กู้ยืมเงินสำหรับการก่อสร้างทางหลวงสองเลนซึ่งจะเชื่อมต่อเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายกับชายแดนเมียนมา- ไทยเพื่อปูทางสำหรับการก่อสร้างต่อไป มีการหารือรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขสัญญาเช่าที่ดินรวมถึงการพัฒนาโครงการก๊าซธรรมชาติเหลวและโรงไฟฟ้า

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/development-dawei-sez-makes-progress.html

ใบอนุญาตโครงการการท่องเที่ยวถูกเพิกถอนเพื่อหลีกทางให้กับเขตเศรษฐกิจพิเศษ

ผู้ว่าราชการแขวงจำปาสักตัดสินใจยกเลิกใบอนุญาตโครงการที่ได้รับอนุญาตในปี 2554 ให้กับนักธุรกิจเพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่น้ำตกคอนพะเพ็งและสมภพเพื่อพัฒนาโครงการที่ได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาลโดยรัฐบาลสปป.ลาว และ บริษัท LTV Road and Bridge Construction Sole จำกัด ได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ 9,846 เฮกตาร์ภายใต้แผนดังกล่าวจะแบ่งออกเป็น 4ส่วนหลักคือการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรหัตถกรรมและกิจกรรมอุตสาหกรรมอื่น ๆมีรายงานก่อนหน้านี้ว่าจะลงทุนในโครงการมูลค่ากว่า 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐพร้อมการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นจาก 2561 ถึง 2593และคาดว่ากิจกรรมเชิงพาณิชย์จะสร้างรายได้ประมาณ 107 ล้านดอลลาร์สหรัฐและจะสร้างงานให้ 100,000 คนสำหรับคนในท้องถิ่น

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/tourism-project-licences-revoked-make-way-special-economic-zone-111888

โรงงาน Toyo Ink เริ่มดำเนินการในเมียนมา

พิธีเปิดอย่างยิ่งใหญ่ของโรงงาน Toyo Ink มูลค่า 8.4 ล้านเหรียญสหรัฐจัดขึ้นเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา (SEZ) ในเมืองสิเรียม เมื่อวันที่ 30 พ.ย. ที่ผ่านมาและจะเริ่มดำเนินการวันที่ 1 ธันวาคม บริษัท ได้รับการยกเว้นภาษีห้าปีจากรัฐบาลเนื่องจากเป็นการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา ในปัจจุบันมีพนักงาน 20 คนและใช้เวลาประมาณปีกว่าเพื่อเตรียมโรงงาน บริษัทผลิตหมึกสำหรับอุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์อาหารโดยมีการลงทุนใน 23 ประเทศรวมถึงไทยและอินโดนีเซีย บริษัท ก่อตั้งขึ้นในปี 2529 และมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายธุรกิจในเมียนมา พื้นที่ 99% ของ 405 เฮกตาร์ในโซน A ของเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวา ขายไปแล้วและประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ของโซน B ขายไปแล้ว ขณะที่โตโยต้ากำลังสร้างโรงงานประกอบรถยนต์บนพื้นที่ 21 เฮคเตอร์ที่โซน B และวางแผนที่จะเริ่มการผลิตในปี 2564

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/us84-m-worth-toyo-ink-factory-to-start-run-in-myanmar

เขตเศรษฐกิจพิเศษบ่อแตน แขวงหลวงน้ำทา ดึงดูดนักลงทุนมากขึ้น

เขตเศรษฐกิจพิเศษบ่อแตน แขวงหลวงน้ำทาหวังที่จะดึงดูดนักลงทุนมากขึ้นโดยเฉพาะในด้านการศึกษาและการแพทย์ พิธีเปิดเขตอุตสาหกรรมการศึกษาและการแพทย์จัดขึ้นในวันศุกร์ที่ผ่านมา ประธานบริษัท the Yunnan Hai Cheng Industrial Group Stock กล่าวว่าเขตดังกล่าวแบ่งออกเป็นพื้นที่พัฒนา 4 แห่ง ได้แก่ การพาณิชย์ การธนาคารและการเงิน การขนส่ง การศึกษาและสุขภาพ และการท่องเที่ยว เมื่อเสร็จสมบูรณ์คาดว่าจะมีผู้คนราว 300,000 คนอาศัยอยู่ที่นี่ ดังนั้นภาคการศึกษาและสุขภาพจึงมีความสำคัญ ในขณะเดียวกันโครงการนี้จะใช้เวลา 2-3 ปีกว่าจะเสร็จสมบูรณ์ จะลงทุนประมาณ 500-600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จะมีโรงเรียนนานาชาติและโรงพยาบาลเพื่อการรักษาโรคมะเร็งที่ทันสมัย จะมีศูนย์รวบรวมเซลล์ต้นกำเนิดและสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัยอื่น ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้คนในแขวงทางตอนเหนือของสปป.ลาวและพื้นที่ใกล้เคียง จนถึงปัจจุบันมีบริษัทต่างชาติมากกว่า 20 แห่งซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศจีนแสดงความสนใจในการลงทุนด้านการศึกษาและสุขภาพ ภาคการศึกษาและการแพทย์จะช่วยสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นส่วนสำคัญของการขยายเขตพื้นที่เศรษฐกิจ ภาคการศึกษาจะไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับโรงเรียน แต่ยังรวมถึงวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยซึ่งจะกลายเป็นศูนย์แลกเปลี่ยนการศึกษาสำหรับสปป.ลาวและจีน

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/luang-namtha-sez-eyeing-more-investors-106715

การลงทุนจากต่างประเทศในเขตเศรษฐกิจพิเศษติละวา สูงกว่า 1.86 พันล้านเหรียญสหรัฐตลอดปี 62

ปริมาณการลงทุนจาก 19 ประเทศในเขตเศรษฐกิจเศรษฐกิจพิเศษติละวามีมูลค่ามากกว่า 1.86 พันล้านเหรียญสหรัฐจนถึงกันยายน ปี 62 มีธุรกิจที่ลงทุนทั้งหมด 113 ธุรกิจจาก 19 ประเทศที่เข้ามาลงทุน เมื่อแบ่งเป็นรายประเทศพบว่าญี่ปุ่นอยู่ประมาณ 674.488 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็น 36.21% และจำนวนธุรกิจ 37 แห่ง สิงคโปร์อยู่ที่ 650 ล้านเหรียญสหรัฐคิด คิดเป็น 34% จากจำนวนธุรกิจการลงทุน 27 แห่ง ส่วนไทยมีการลงทุน 170 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็น 9% และเกาหลีใต้ 96 ล้านเหรียญสหรัฐคิดเป็น 5% ส่วนการลงทุนของมาเลเซีย, ไต้หวัน, ออสเตรเลีย, ปานามา, จีน, บรูไน, เวียดนาม, ฝรั่งเศส, สวิตเซอร์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์ยังคงต่ำกว่าร้อยละหนึ่ง

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/foreign-investment-volume-in-thilawa-sez-reaches-more-than-us-186-billion-till-2019-september