เวียดนามเผยดัชนี CPI เดือนต.ค. เพิ่มขึ้นเล็กน้อย

สำนักงานสถิติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเวียดนามในเดือนต.ค. เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.09 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.47 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในขณะที่ ดัชนี CPI เฉลี่ยในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.17 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2559-2563 ทั้งนี้ ดัชนีดังกล่าวที่เพิ่มขึ้น เป็นผลมาจากค่าบริการทางการศึกษาที่เพิ่มขึ้น รวมถึงผลกระทบจากภัยธรรมชาติที่เพิ่งเกิดขึ้นในภาคกลางของเวียดนาม สำหรับสินค้าและบริการ 11 รายการนั้น มีเพียง 6 รายการที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ การศึกษา เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.35 รองลงมาที่อยู่อาศัยและวัสดุก่อสร้าง, เครื่องดื่มและบุหรี่, เสื้อผ้าและสิ่งทอ, ยาและบริการทางการแพทย์ รวมทั้งบริการบำรุงรักษาและบริการซ่อมบำรุงบ้าน นอกจากนี้ ราคาทองคำในประเทศมีความผันผวนตามดัชนีราคาทองคำโลกในเดือนต.ค. ลดลงร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.91 เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค. 2562 อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อในเดือนต.ค. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.07 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และร้อยละ 1.88 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/cpi-for-october-records-slight-increase-813722.vov

อัตราเงินเฟ้อเดือนกันยายนยังคงอยู่ในระดับสูง

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ลดลงในเดือนกันยายนเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แต่ก็ยังอยู่ในระดับสูงตามรายงานของสำนักงานสถิติสปป.ลาว ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) อยู่ที่ 114.97 จุดในเดือนกันยายนส่งผลให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 4.63 ลดลงจากร้อยละ 5.84 ในเดือนสิงหาคม ระดับอัตราเงินเฟ้อได้รับแรงหนุนจากราคาอาหารและสินค้านำเข้าอื่นๆ ที่เพิ่มสูงขึ้นจากการที่สปป.ลาวนำเข้าอาหารจำนวนมากจากประเทศเพื่อนบ้านรวมทั้งอาหารทะเล อีกทั้งในช่วงฤดูฝนเกษตรกรไม่สามารถปลูกพืชให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดได้ ยังมีอีกปัจจัยที่เป็นแรงหนุนสำคัญคือความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินกีบ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ค่าครองชีพในสปป.ลาวสูงขึ้น โดยมีเหตุมาจากการระบาดของ COVID -19 ส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการไหลเข้าของนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศรวมถึงการลงทุนจากต่างประเทศในสปป.ลาวซึ่งถือเป็นแหล่งรายได้หลักของสกุลเงินต่างประเทศของสปป.ลาว จากข้อมูลของสำนักงานสถิติสปป.ลาวค่าเงินกีบลดลงร้อยละ 4.29 เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐและร้อยละ 10.3 เมื่อเทียบกับเงินบาท อย่างไรก็ตามรัฐบาลพยายามจำกัดราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นโดยผลักดันให้มีการผลิตในประเทศมากขึ้นเพื่อลดความจำเป็นในการนำเข้า

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Inflation_195.php

INFOGRAPHIC : CPI เวียดนามขยับตัวสูงขึ้น 3.85% ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) ได้เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเวียดนาในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2563 ขยายตัวร้อยละ 3.85 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

สาเหตุอะไรที่ทำให้ดัชนี CPI เพิ่มขึ้น? มาจากปัจจัยเหล่านี้

  • อาหาร (+14.31%YoY)
  • กลุ่มอาหาร (+4.03%YoY)
  • เครื่องดื่มและบุหรี่ (+1.58%YoY)
  • ยาและเวชภัณฑ์ (+1.43%YoY)
  • เครื่องนุ่งห่ม (+0.73%YoY)

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/cpi-in-first-9-months-of-2020-up-385/187948.vnp

INFOGRAPHIC : เวียดนามเผย CPI เดือนก.ย.เพิ่มขึ้น 0.12%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) ได้เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนก.ย.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่แล้ว, ร้อยละ 0.01 เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค. 62 และร้อยละ 2.98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ทั้งนี้ 6 ใน 11 กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ การศึกษา (2.08%), ที่พักอาศัยและวัสดุก่อสร้าง (0.62%), เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า (0.1%), เครื่องดื่มและบุหรี่ (0.05%), ยาเวชภัณฑ์และบริการทางสุขภาพ (0.01%) และสินค้าและบริการอื่นๆ (0.02%) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่แล้ว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/september-cpi-up-012-percent/187813.vnp

เวียดนามเผยเงินเฟ้อเดือนก.ย.ชะลอตัวต่ำสุดในรอบ 5 ปี เหลือ 0.12%

จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนก.ย. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่แล้วและร้อยละ 0.01 เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2562 ซึ่งอยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2559-2563 ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ 6 ใน 11 รายการที่มีผลต่อเงินเฟ้อ ชี้ให้เห็นถึงราคาในกลุ่มการศึกษาที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ในขณะเดียวกัน CPI ในไตรมาสที่สาม ขยายตัวร้อยละ 3.81 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นอกจากนี้ ราคาทองคำในประเทศยังคงมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องมาจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์โควิด-19 ที่ระบาดไปยังทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำในเดือนก.ย.ลดลงร้อยละ 0.33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.37 เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค.และร้อยละ 30.33 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-september-inflation-slows-to-5-year-low-at-012-314350.html

ข้อมูลด้านค่าครองชีพภายในประเทศกัมพูชาขัดกับความเชื่อมั่นในท้องถิ่น

แรงงานในพื้นที่กล่าวว่ากำลังประสบกับปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น ต่างจากรายงานด้านราคาสินค้าจำพวกอาหาร ค่าขนส่ง และค่ารักษาพยาบาล ที่มีรายงานว่ายังคงมีเสถียรภาพ โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ค่อนข้างต่ำประมาณร้อยละ 2 ต่อปีจนถึงปี 2022 เช่นเดียวกับรายงานราคาอาหารล่าสุดของ World Food Programme สรุปว่าตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2019 ถึงเดือนสิงหาคม 2020 ในกัมพูชาราคาอาหารยังคงค่อนข้างคงที่สำหรับสินค้าอาหารหลักส่วนใหญ่ ซึ่ง COVID-19 และผลจากการเลิกจ้างแรงงานในหลายภาคส่วนส่งผลทำให้อุปสงค์ภายในประเทศลดลงร่วมด้วย โดยนักวิเคราะห์เศรษฐกิจกล่าวว่าระดับเงินเฟ้อควรอยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 0 ถึง 5 และควรอยู่ในช่วงร้อยละ 2 ถึง 3 ดังนั้นค่าครองชีพในกัมพูชายังคงอยู่ภายใต้การควบคุม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50767708/cost-of-living-data-goes-against-local-sentiment/

INFOGRAPHIC : เวียดนามเผยดัชนี CPI เพิ่มขึ้น 0.07%

จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (General Statistics Office) เปิดเผยว่าในเดือน สิ.ค. ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.07 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนก่อน เนื่องจากมีฝนตกหนักทั่วประเทศและการเพิ่มขึ้นของราคาข้าวในประเทศ รวมถึงราคาของธุรกิจในกลุ่มการศึกษายังขยับเพิ่มขึ้น ซึ่งตัวเลขดังกล่าว ลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือน ธ.ค. และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/cpi-increases-by-007-percent/182140.vnp

ดัชนี CPI เวียดนาม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือนสิ.ค.

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าในเดือนสิงหาคม ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.07 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนก่อน เนื่องจากผลกระทบของการเกิดฝนตกหนักทั่วประเทศและราคาข้าวข้าวในประเทศเพิ่มขึ้น รวมถึงราคาของธุรกิจในกลุ่มการศึกษายังขยับเพิ่มขึ้น ขณะที่ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ดัชนีดังกล่าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.96 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนก่อน สูงที่สุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าและบริการ 11 หมวดในจำนวนกลุ่มสินค้าหลัก 7 หมวดมีการปรับเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาหารและบริการจัดเลี้ยงเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.11, เครื่องดื่มและบุหรี่ (0.05%), ที่อยู่อาศัยและวัสดุก่อสร้าง (0.1%), บริการด้านสุขภาพและยา (0.02%), ค่าขนส่ง (0.1%), การศึกษา (0.18%) และสินค้าและบริการอื่นๆ (0.2%) นอกจากนี้ อัตราแลกเปลี่ยนด่องต่อดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.08 อยู่ในระดับ 23,288 ด่องต่อดอลลาร์สหรัฐในตลาดเสรี

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnams-cpi-index-goes-up-slightly-in-august-417977.vov

ดัชนี CPI เวียดนาม อาจอยู่ภายใต้การควบคุม ปี 2563

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เชื่อว่าสามารถควบคุมดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในปี 2563 ให้ต่ำอยู่ที่ระดับร้อยละ 4 โดยการชยายตัวของ CPI นั้นอยู่ในทิศทางที่ชะลอตัว ถึงแม้ว่าในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ส่งผลให้ CPI ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.07 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะที่ ราคาสินค้าสำคัญ อาทิ อาหาร ผลไม้และผัก โดยเฉพาะเนื้อหมู ล้วนแต่ส่งผลให้ดัชนี CPI เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันยังคงไม่สามารถคาดการณ์ได้ เนื่องจากส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับตลาดโลก ทั้งนี้ รองผู้อำนวยการสถาบันเศรษฐกิจและการเงิน ระบุว่าความต้องการเชื้อเพลิงจะไม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอนาคตข้างหน้า ราคาน้ำมันดิบคาดว่าอยู่ในระดับ 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลและไม่น่าผลักดันดันชี CPI สูงขึ้นในทันที นอกจากนี้ รัฐบาลขอให้กระทรวงการคลังและธนาคารกลางเวียดนาม ดำเนินใช้นโยบายการเงินและการคลัง เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาค โดยให้ความสำคัญกับการควบคุมอัตราเงินเฟ้อและขจัดอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงเร่งการเบิกจ่ายสำหรับการลงทุนสาธารณะ

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-cpi-may-be-kept-under-control-in-2020-23851.html

ดัชนี CPI เวียดนาม ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือน ก.ค.

จากรายงานเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม ทางสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) ในเดือนกรกฎาคม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน และร้อยละ 3.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยสินค้าโภคภัณฑ์หลัก 9 จาก 11 รายการที่ราคาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการขนส่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.91 ขณะเดียวกัน ที่อยู่อาศัยและวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้น 0.47, วัฒนธรรม บันเทิงและการท่องเที่ยว (0.3%) และสินค้าและบริการอื่นๆ (0.17%) แต่ราคาในภาคร้านอาหารและงานบริการ รวมถึงไปรษณีย์และโทรคมนาคม ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.18 และ 0.02 ตามลำดับ ทั้งนี้ สาเหตุที่ทำให้ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนกรกฎาคมเพิ่มขึ้น เกิดจากราคาน้ำมันเบนซิน ก๊าซ ไฟฟ้าและน้ำที่ปรับตัวสูงขึ้น สำหรับราคาทองคำในประเทศอยู่ที่ประมาณ 50 ล้านด่ง (2,160 ดอลลาร์สหรัฐ) ต่อตำลึง ขณะที่ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารสด พลังงาน บริการสุขภาพและการศึกษา) ในเดือนกรกฎาคมและช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.31 และ 2.74 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามลำดับ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/770319/consumer-price-index-up-04-per-cent-in-july.html