ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของกัมพูชาคาดว่าจะลดลงมากกว่าร้อยละ 10 ในปีนี้

ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของกัมพูชาคาดว่าจะลดลงมากกว่าร้อยละ 10 ในปีนี้ เนื่องจากภาคการท่องเที่ยวที่ถือเป็นแหล่งรายได้หลักและการส่งออก รวมถึงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของไวรัส Covid-19 โดยความพยายามของทางภาครัฐบาลในการส่งเสริมการใช้สกุลเงินท้องถิ่นในเศรษฐกิจกัมพูชา ซึ่งธนาคารโลกกล่าวว่ามีการใช้เงินเรียลหมุนเวียนในระบบเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.3 ในปี 2562 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11.5 ในปี 2561 ในขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนเทียบกับดอลลาร์สหรัฐยังคงทรงตัว โดยคาดว่าเงินสำรองระหว่างประเทศของกัมพูชาจะลดลงในปีนี้มาอยู่ที่ 16.8 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็น 6.8 เดือนของการนำเข้าที่คาดหมาย ไปจนถึงมูลค่า FDI ที่ได้รับอนุมัติทั้งหมดของกัมพูชาลดลงร้อยละ 52.2 ในช่วงสองเดือนแรกของปี 2020 ซึ่งเป็นผลมาจากการระบาดทั่วโลกของ COVID-19 ต่อความต้องการการลงทุนระหว่างประเทศตามรายงานของธนาคารโลก โดยเศรษฐกิจของกัมพูชาในปี 2563 คาดว่าจะหดตัวระหว่างร้อยละ -1 ถึง -2.9 เนื่องจากการแพร่กระจายของโรคระบาดตามการรายงานทางเศรษฐกิจล่าสุดของธนาคารโลกสำหรับประเทศกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50731635/cambodias-forex-reserves-to-decline-in-2020/

กัมพูชาเพิ่มแรงกระตุ้นด้านการท่องเที่ยวในประเทศ

กระทรวงการท่องเที่ยวและสมาคมตัวแทนการท่องเที่ยวกัมพูชา (CATA) ได้กระตุ้นให้มีการท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มขึ้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วงการระบาดของ COVID-19 โดยภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการระบาดใหญ่ ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเมษายน 2563 ซึ่งกัมพูชาได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติราว 1.16 ล้านคน ซึ่งลดลงมากกว่าร้อยละ 52 ตามตัวเลขจากกระทรวงการท่องเที่ยว โดยคิดเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงร้อยละ 70 และนักท่องเที่ยวภายในประเทศลดลงร้อยละ 50 ขาดทุนราว 3 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจอื่นๆ ในภาคบริการด้วย ผู้อำนวยการฝ่ายการท่องเที่ยวแผนกขนส่งและการท่องเที่ยวกล่าวว่ากระทรวงกำลังให้การสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในช่วงวิกฤต ด้วยการจัดแพคเกจทัวร์ รวมถึงการเดินทาง, ร้านอาหาร, โรงแรม, มัคคุเทศก์และอื่นๆ ในราคาที่สมเหตุสมผล

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50731378/boost-urged-for-tourism/

ข้อพิพาทระหว่างแรงงาน-ภาคธุรกิจ

คุณพงษ์ชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานแรงงานและสวัสดิแถลงการณ์การถึงข้อพิพาทระหว่างแรงงานและภาคธุรกิจต่างๆในปัจจับนซึ่งมีหลายองค์กรที่ขัดคำสั่งประกาศภาครัฐเรื่องการยังคงต้องจ่ายค่าจ้างแก่แรงงานและหากธุรกิจไหนมีปัยหาด้านการเงินให้ติดธนาคารกลางเพื่อเป็นตัวกลางในการช่วยเหลือทั้ง 2 ฝ่าย สภาอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ของการประเมินว่าธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวจะสูญเสียรายได้กว่า 350 ล้าน $ จากแพร่ระบาดของ COVID-19 ตลอดจนการปิดพรมแดนทั่วประเทศไม่ได้มีการเดินทางต่างประเทศเข้ามาในสปป.ลาว ผลที่ตามมาคือการตกงานของแรงงานที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมดังกล่าวนอกจากนี้ธุรกิจอื่นๆ ก็ได้รับผลกระทบเช่นกันโดยกว่าร้อยละ 97 เป็น SMEs คิดเป็น 16% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ซึ่งจะมีผลกระทบกับเศรษฐกิจอย่างรุนแรงหากภาคธุรกิจต้องปิดตัวไปรวมถึงการตกงานของแรงงานในภาคธุรกิจต่างๆ

ที่มา : https://lao.voanews.com/a/outbreak-of-covid-19-caused-more-dispute-of-workers-layoff-in-laos/5452839.html

ญี่ปุ่นให้เงินมากกว่า 123 พันล้านกีบสำหรับการตอบสนองต่อ Covid-19

รัฐบาลญี่ปุ่นให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนกว่า 123 พันล้านคิป (1.5 พันล้านเยน) สำหรับการซื้อเครื่องมือแพทย์เพื่อสนับสนุนในการรับมือกับการระบาดของโควิด -19 เงินทุน 1.5 พันล้านเยน (US $ 13.7 ล้าน) จะถูกนำไปใช้ในการจัดหาอุปกรณ์ให้กับรัฐบาลสปป.ลาว การลงนามในครั้งนี้ญี่ปุ่นมีจุดมุ่งหมายในการสนับสนุนสปป.ลาวในความพยายามอย่างต่อเนื่องในการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สอดคล้องกับแนวคิด“ ไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง” ซึ่งอุปกรณ์การแพทย์ที่ให้ไว้ภายใต้โครงการนี้คาดว่าจะนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพทั่วสปป.ลาวโดยเฉพาะในชุมชนท้องถิ่นที่ระบบการดูแลสุขภาพยังไม่มีประสิทธิภาพ การแพร่กระจายทั่วโลกของ Covid-19 ก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อเศรษฐกิจและผู้คนของทุกประเทศรวมถึงสปป.ลาวและญี่ปุ่น ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความพยายามร่วมกันเพื่อลดผลกระทบของโรคร้ายแรงนี้ทั้งในด้านเศรษฐกิจและระบบสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Japan_108.php

เวียดนามเผยคนตกงานกว่า 5 ล้านคน เหตุโควิด-19 ระบาด

เมื่อวันที่ 3 มิ.ย. รองรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน สำนักงานส่งเสริมชีวิตคนพิการและสำนักงานกิจการทางสังคม มีการเข้าร่วมประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกล เปิดเผยว่าธุรกิจหลายแห่งในเวียดนามระงับกิจการชั่วคราวหรือลดกำลังการผลิต ส่งผลให้ลูกจ้างตกงานกว่า 5 ล้านคนทั่วประเทศ ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ เหตุจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งจากการสำรวจ แสดงให้เห็นว่าตั้งแต่เดือนม.ค.-เม.ย. สัดส่วนของคนตกงานอยู่ที่ร้อยละ 75.4 ของกลุ่มคนวัยทำงาน ถือว่าต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี และธุรกิจส่วนใหญ่ในตลาดท้องถิ่นร้อยละ 86 ได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยเฉพาะตัวลูกจ้างที่อยู่ในธุรกิจการค้าปลีก โลจิสติกส์ บริการอาหารและท่องเที่ยว ที่ต้องถูกปลดออกหรือพักงาน ทั้งนี้ ในเดือนพ.ค. จำนวนพนักงานที่กลับมาทำงานต่อเพิ่มขึ้นราว 70,000-80,000 คน แต่ก็ยังคงเผชิญกับการท้าทายหลายด้าน เนื่องจากตลาดส่งออกยังคงซบเซา นอกจากนี้ เมื่อพิจาณาถึงสถานการณ์ต่างๆ ทางสำนักงานแรงงานดำเนินหาแนวทางแก้ไขปัญหาหลายด้านด้วยกัน เพื่อช่วยเหลือทั้งนายจ้างและลูกจ้าง รวมถึงหลีกเลี่ยงในการปลดคนออก

ที่มา : https://english.vov.vn/society/over-five-million-employees-lose-jobs-due-to-covid19-414512.vov

นายจ้างยังคงต้องจ่ายค่าจ้างให้แรงงานตามปกติ

กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมของลาวได้สั่งให้นายจ้างตรวจสอบให้แน่ใจว่าแรงงานได้รับการชดเชยอย่างเป็นธรรมในช่วง COVID-19 ระบาด อธิบดีกรมจัดการแรงงานนาย Phongxaysack Intharath พูดในงานแถลงข่าวเมื่อวันอังคารที่มาถึงขั้นตอนที่กระทรวงแรงงานใช้ในการประกันการจ่ายเงินของพนักงานและการจ่ายเงินประกันสังคมแก่แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากกCOVID-19 เพื่อบรรเทาอัตราการว่างงานที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเลื่อยๆ และจะทำให้เศรษฐกิจตกต่ำลง กระทรวงได้ออกคำสั่งเฉพาะสำหรับนายจ้างธุรกิจที่หยุดดำเนินการในเดือนเมษายน จะต้องจ่ายค่าจ้างพนักงานตามปกติและธุรกิจที่ประสบปัญหาทางการเงินอย่างรุนแรงต้องจ่ายพนักงานอย่างน้อยร้อยละ 50 ของค่าจ้างปกติทั้งนี้กระทรวงได้ขอให้นายจ้างเคารพกฎหมายแรงงานและปฏิบัติตามกฎระเบียบและสัญญาจ้างที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ปัจจุบันอัตราการว่างงานในประเทศลาวเพิ่มขึ้นจากระดับเฉลี่ย 2% เป็น 25% และคาดว่าจะมีการเพิ่มขึ้นไปอีกหากรัฐบาลไม่มีมาตราการที่ช่วยเหลือแรงงาน

ที่มา : https://laotiantimes.com/2020/06/04/ministry-of-labor-orders-employers-to-pay-wages-despite-pandemic/

กัมพูชาส่งออกสินค้าทางการเกษตรกว่า 1.4 ล้านตัน ในช่วง 5 เดือนแรก

กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตร(ไม่รวมข้าว) จำนวน 1.4 ล้านตัน ไปยังตลาดต่างประเทศในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้แม้จะเกิดวิกฤตการณ์ COVID-19 ทั่วโลก โดยรายงานจากกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมงแสดงให้เห็นว่าสินค้าเกษตรที่ไม่ใช่ข้าว ได้แก่ มันสำปะหลัง, เม็ดมะม่วงหิมพานต์, ข้าวโพด, กล้วย, มะม่วงและอื่นๆ คิดเป็นมันสำปะหลัง 996,290 ตัน ซึ่งส่งออกจากเดือนมกราคมถึงพฤษภาคมเพิ่มขึ้น 9.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เป็นการส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์เพิ่มขึ้นกว่า 25% คิดเป็น 190,141 ตัน ในขณะที่กล้วยมีปริมาณการส่งออก 121,415 ตัน หรือเพิ่มขึ้น 172% โดยรายงานยังระบุด้วยว่าการส่งออกมะม่วงสดและพริกไทยเพิ่มขึ้น 50% และ 22.6% คิดเป็น 44,099 ตัน และ 2,527 ตัน ตามลำดับส่วนการส่งออกแป้งมันสำปะหลังและข้าวโพดลดลงอย่างมากโดยลดลง 97% และ 29% คิดเป็น 10,272 ตัน และ 35,636 ตัน ตามลำดับ ในขณะเดียวกันข้าวถูกส่งออกไปกว่า 356,097 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น 42% ในช่วง 5 เดือนแรกของปี

ที่มา :https://www.khmertimeskh.com/50730202/cambodia-exports-1-4-million-tonnes-of-agricultural-products-in-first-five-months/

รัฐบาลสปป.ลาวได้ชี้แจงการใช้จ่ายฉุกเฉินสำหรับการฟื้นฟูการศึกษาและสาธารณสุข

ตั้งแต่การระบาดของ COVID-19 ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวมถึงสปป.ลาว เพื่อมุ่งเน้นมาตรการเชิงปฏิบัติเพื่อป้องกันการควบคุมและแก้ไขการระบาดของ COVID-19  เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 รัฐบาลอัดฉีดงบประมาณ 10 พันล้านกีบ เพื่อใช้สำหรับการจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์รวมถึงงบประมาณอีก 6.64 พันล้านกีบเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ด้านอื่นๆ และยังมีวงเงินฉุกเฉินอีก 100 ล้านกีบที่เป็นเงินสำรองในกรณีที่ COVID-19 กลับมาระบาดอย่างรุนแรงในด้านการศึกษารัฐบาลอนุมัติวงเงิน6.9 พันล้านกีบเพื่อสนับสนุนด้านการศึกษา จำนวนเงินดังกล่าวจะเป็นส่วนช่วยในการฟื้นฟูในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของสปป.ลาว และจะเป็นฐานสำคัญในการทำให้เศรษฐกิจสปป.ลาวกลับมาขยายตัวได้อีกครั้ง

ที่มา : https://laoedaily.com.la/2020/06/01/78655/

สหภาพยุโรปจะให้ความช่วยเหลือภาคการท่องเที่ยวกัมพูชาหลังการระบาด Covid-19

กัมพูชาได้ขอให้สหภาพยุโรปให้ความช่วยเหลือในภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 โดยคำร้องขอดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวทองคอนและเอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำกัมพูชา ได้หารือทวิภาคีเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพื่อหารือเกี่ยวกับภาคการท่องเที่ยวของกัมพูชา ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสี่เสาหลักเศรษฐกิจของประเทศ โดยทางกัมพูชาได้ขอคำแนะนำจากสหภาพแรงงานในการฟื้นฟูภาค ในขณะเดียวกันก็พยายามส่งเสริมสถานที่ท่องเที่ยวของกัมพูชาในตลาดสหภาพยุโรป ซึ่งเอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปกล่าวว่าสหภาพยุโรปจะช่วยสนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยวของกัมพูชา โดยหวังว่าการร่วมมือกันจะช่วยปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกัมพูชาและสหภาพยุโรปต่อไป ซึ่งกัมพูชามีนักท่องเที่ยวจากสหภาพยุโรปจำนวน 793,937 คน ลดลง 3% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยในไตรมาสแรกของปี 2563 จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงถึง 24% โดยมีผู้เข้าชมเพียง 221,066 คน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50728834/eu-to-assist-tourism-sector-post-covid-19/

แรงงานท้องถิ่นในกัมพูชาเสี่ยงตกงานถึง 1.76 ล้านคน

ธนาคารโลกคาดการณ์การเติบโตของกัมพูชาจะชะชอตัวลงมาอยู่ที่ระหว่างร้อยละ -1 ถึง -2.9 โดยมีความเสี่ยงในภาคแรงงานอย่างน้อย 1.76 ล้าน ตำแหน่งตามรายงานเศรษฐกิจล่าสุดของธนาคารโลก ซึ่งรายงานเรื่อง “Economic Update for Cambodia in a time of COVID-19” แสดงให้เห็นว่าความยากจนในกัมพูชามีโอกาสเพิ่มขึ้นในกลุ่มครัวเรือนในภาคเศรษฐกิจสำคัญ ๆ ระหว่างร้อยละ 3 – 11 สูงกว่าระดับในปัจจุบัน ด้วยการขาดดุลทางการคลังของประเทศอาจถึงระดับสูงสุดในรอบ 22 ปี หนี้สาธารณะคาดว่าจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 35 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศภายในปี 2565 นอกจากนี้ยังเตือนว่าเงินทุนไหลเข้าจะลดลง ซึ่งจะก่อให้เกิดการผ่อนคลายของราคาในตลาดอสังหาริมทรัพย์ด้วยสินเชื่อที่ขยายตัวในปัจจุบันสำหรับภาคการก่อสร้าง โดยการบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วนและการคุ้มครองสุขภาพของคนในประเทศในระยะสั้น จะช่วยหนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในระยะสั้นและส่งเสริมความยืดหยุ่นทางการคลังและสังคมในระยะกลาง ซึ่งประสิทธิผลของการแทรกแซงของรัฐบาลจะมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50728835/report-1-76m-local-jobs-at-risksreport-1-76-million-local-jobs-at-risk/